วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

การจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย

ตัวอย่างโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน (EHIA)

โครงการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง

 1.  ข้อมูลองค์กร


การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)


                การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นรัฐวิสาหกิจสาธารณูปการในสังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพุทธศักราช 2494 มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการท่าเรือ เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน ปัจจุบัน การท่าเรือแห่งประเทศไทยรับผิดชอบบริหารท่าเรือที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือเชียงแสน ท่าเรือเชียงของ และท่าเรือระนอง

                การท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้บริการเรือชายฝั่ง และเรือลำเลียงภายในประเทศจอดขนถ่ายและขนส่งสินค้า ให้บริการโรงพักสินค้านอกเขตรั้วศุลกากร รับฝากเก็บสินค้าทั้งในโรงพักสินค้าและกลางแจ้งและยัง มีบริการให้เช่าพื้นที่  ให้บริการขุดลอกและสำรวจร่องน้ำ  งานขุดลอกและสำรวจร่องน้ำนอกจากจะรับผิดชอบดูแล การบำรุงรักษาร่องน้ำทางเดินเรือและติดตั้งเครื่องหมายการช่วยในการเดินเรือในพื้นที่รับผิดชอบตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 48 กิโลเมตร และ ร่องน้ำสันดอน ระยะทาง 18 กิโลเมตร เพื่อให้เรือเดินทะเลเข้า-ออกทะเลได้โดยสะดวก และปลอดภัยแล้วยังรับบริการด้านการขุดลอกและสำรวจแก่บริษัทเอกชนทั่วไปด้วย

                นอกจากนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทยยังเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำแผนที่ร่องน้ำสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยา  และแผนที่แม่น้ำเจ้าพระยา  โดยมีบริการให้แก่ผู้สนใจดังนี้

                1.  แผนที่ร่องน้ำสันดอน ตั้งแต่ร่องน้ำสันดอนเจ้าพระยา ถึง สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ
                2.  แผนที่แม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ถึง สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ

                1.1  วิสัยทัศน์

                        การท่าเรือแห่งประเทศไทย มุ่งสู่การเป็นประตูการค้าหลักของประเทศที่ให้บริการ เป็นเลิศ และปลอดภัย เพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

                1.2  ค่านิยม

                            PROUD to be PAT

                           1)  P-Performance Excellence ร่วมมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการ การปฏิบัติงานและการบริหารจัดการองค์กร





                            2)  R-Responsibility ความสำนึก ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ องค์กร สังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศ
                            3)  O-Ownership ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร ความภาคภูมิใจและภักดีในองค์กร ทำให้ ร่วมกันสร้างสรรค์ และพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน
                            4)  U-Unity ความมุ่งมั่นร่วมแรงร่วมใจ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะปฏิบัติงาน ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรและส่วนรวม การอยู่และทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี เอื้ออาทร มีความเคารพนับถือให้เกียรติซึ่งกันและกัน
                            5)  D-Devotion การอุทิศเวลา การทำงานด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ และโปร่งใสใน การให้บริการ                      

                1.3  ภารกิจ

                            1.  บริหารและพัฒนาท่าเรือให้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่สำคัญ ให้มีบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ในระดับสากล เพื่อส่งเสริมระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) และเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน (Sustainable Competitiveness)
                            2.  พัฒนาระบบการขนส่งและการขนถ่ายสินค้าให้มีโครงข่ายเชื่อมโยง (Logistics Chain) การให้บริการระหว่างท่าเรือ (Port Service Networks) และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
                            3.  ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสินทรัพย์อย่างสมดุลในเชิงธุรกิจเอกชนกับเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน

                1.4  นโยบาย

                            1.  พัฒนากิจการการท่าเรือฯ ให้เสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน
                            2.  สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
                            3.  บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ที่สามารถควบคุม ตรวจสอบได้
                                   3.1  นโยบาย คุณภาพ ความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย
                                   3.2  นโยบาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การท่าเรือแห่งประเทศไทย

2.  การดำเนินการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย

                2.1  การแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศ

          การท่าเรือแห่งประเทศไทย มีการดำเนินการโครงการและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการดูแลและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลและมาตรฐานของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้

                         1.  จ้างที่ปรึกษาจากสำนักงานบริการเทคโนโลยีสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อวางกรอบแนวทางและกำหนดนโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของการท่าเรือฯ ให้เป็นท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยที่ปรึกษาฯ ดำเนินการสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อม ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำสถานะด้านสิ่งแวดล้อมและวางกรอบแนวทางและกำหนดนโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของการท่าเรือฯ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) สำหรับการเป็นท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับท่าเรือทั้ง 5 แห่ง
                            2.  ดำเนินการโครงการให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้บริหารและพนักงานโดยจัดฝึกอบรม การบริหารจัดการท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Port)” ซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของท่าเรือ และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นท่าเรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
                            3.  การท่าเรือฯ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำ จัดกิจกรรมวันทางทะเลโลกเพื่อเผยแพร่กิจกรรมการขนส่งทางน้ำให้ประชาชนโลกได้รับทราบเป็นประจำทุกปี สำหรับปี 2556 องค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization:IMO) ได้กำหนดหัวข้อในการจัดงาน คือ “SustainableDevelopment : IMO contribution beyond Rio+2”ณ หอประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพฯ
                            4.  จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมโดย
    1)  การจัดทำแผ่นพับ ท่าเรือสีเขียว” และ วิถีสีเขียวเพื่อแจกให้พนักงานได้รับทราบข้อมูลแนวทางในการดูแลสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน
    2)  จัดทำบทความลงในวารสาร News Wave หัวข้อเรื่องการท่าเรือฯ รายงานผล
การติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
    3)  จัดทำบทความลงใน APA News Letter หัวข้อเรื่อง PAT Goes Green
(or Environmental Friendly) with The Environmental Management Framework and Policy for Port Authority of Thailand
                            5.  การท่าเรือฯ เข้าร่วมโครงการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและเสียงรถราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคมของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งทำการตรวจวัดควันดำ คาร์บอนมอนอกไซด์ไฮโดรคาร์บอนและระดับเสียงโดยทำการตรวจวัดปีละ ครั้ง เป็นประจำทุกปี


2.2    โครงการที่บริษัทมีส่วนร่วมของประชาชน

            -        โครงการปะการังเทียมเฉลิมพระเกียรติ ระยะที่ 2ของการท่าเรือฯ
            -        โครงการ ปั่นจักรยานลดโลกร้อน เพื่อสุขภาพกับการท่าเรือฯ
            -        การท่าเรือฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ                          -        การท่าเรือฯ ร่วมบริจาคเงินโครงการ เสียสละ เพื่อผู้เสียสละ
            -        การท่าเรือฯ จัดงานวันเด็กแห่งชาติ 2556
            -        การท่าเรือฯ จัดแข่งขันเปตองการกุศล ท่าเรือโอเพ่น” ครั้งที่ 26
            -        งานสัปดาห์รักษ์สุขภาพ ครั้งที่ 6
            -        การท่าเรือฯ มอบเงินสนับสนุนจัดหาเครื่องมือแพทย์แก่โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธ
บริหาร
            -        การท่าเรือฯ ร่วมโครงการประชาอาสาปลูกป่า “800 ล้านกล้า 80 พรรษา มหา
ราชินี
           -          การท่าเรือฯ จัดแข่งขันฟุตบอล 6 โรงเรียนในเขตพื้นที่การท่าเรือฯ
           -          พนักงานการท่าเรือฯ ร่วมบริจาคโลหิต ให้แก่สภากาชาดไทย

3.  ผลกระทบที่เกิดจากการก่อสร้างและดำเนินการโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง

      3.1   ผลกระทบหลัก

                            1.  สูญสิ้นพื้นที่ทำมาหากินของชาวประมงและประชาชนทั่วไป (ครัวของพัทยา-ศรีราชา-หนองมน)
                            2.  ความหลากหลายทางธรรมชาติและการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหมดสิ้นไป

                            3.  การพังทลายของชายหาดถูกกัดเซาะทุกๆปี
                            4.  ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางหายนะ
                            5.  ระหว่างก่อสร้าง เกิดฝุ่นละอองและมลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียง
               6.  เกิดตะกอนขุ่นข้นสะสมบริเวณหน้าหาด ปะการัง แพลน และสัตว์น้ำไม่สามารถมีชีวิตและอาศัยอยู่ได้
               7.  เมื่อเกิดภาคอุตสาหกรรม ประชาชนในพื้นที่เกิดความเสี่ยงต่อโรคร้ายต่างๆโดยเฉพาะโรคมะเร็งและโรคระบบทางเดินหายใจ
                             8.  เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของชาวประมงและอาชีพที่มีความสัมพันธ์ทาง
ทะเล
                             9.  หลักประกันทางคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่หมดไป
              10.  เกิดการแย่งชิงทรัพยากรทางระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน เช่น ประปา ไฟฟ้า ถนนฯ
                            11.  สัตว์น้ำซึ่งเป็นอาหารของประชาชนปนเปื้อนสารเคมีจากภาคอุตสาหกรรม
                            12.  วิถีการดำเนินชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
               13.  ขาดหน่วยงานรับผิดชอบต่อปัญหาต่างๆที่จะเกิดในเวลาต่อมาอย่างจริงจัง จริงใจ และยั่งยืน
                            14.  สุขภาพจิตโดยรวมของชุมชนเสื่อมถอยลง
                            15.  เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อภาครัฐ ขาดความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของโครงการ

                3.2  ภัยที่คุกคามสิ่งแวดล้อม สุขภาวะ สังคม และเศรษฐกิจชุมชน

                            1.  ตะกอนเลน สภาพน้ำที่เสียหาย จากเฟส1และ2

                            2.  คราบน้ำมัน คราบยางมะตอย
                            3.  น้ำเสียที่ไหลเข้ามาในคลองของชาวบ้าน
                            4.  พื้นที่ทำมาหากินที่สูญสลายไปเมื่อตอนก่อสร้างเฟส 2
                            5.  อุบัติเหตุทางบกและทางน้ำที่เพิ่มขึ้น
                            6.  การเจ็บป่วยเนื่องมาจาก โรคทางระบบทางเดินหายใจ
                            7.  การจราจรหนาแน่นเพิ่มขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ

3.3  ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

                         25 พ.ค. 2554 ไฟไหม้ตู้คอนเทรนเนอร์ท่าเรือแหลมฉบัง เพลิงไหม้ตู้คอนเทรนเนอร์ใส่สารเคมีบนเรือสินค้าขนาดใหญ่ที่จอดเทียบท่าที่บริเวณท่าเทียบเรือ B3 ในท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จังหวัด ชลบุรี โดยเพลิงได้ลุกไหม้ลุกลามไปยังตู้ใส่สารเคมีตู้อื่นๆรวมกว่า 10 ตู้ที่บรรทุกอยู่บนเรือชื่อ MOL AQUA สัญชาติญี่ปุ่นซึ่งเป็นเรือสินค้าขนาดใหญ่บรรทุกตู้คอนเทรนเนอร์ใส่สารเคมีอยู่กว่า 200 ตู้
                        9 มิ.ย. 2553 ชาวบ้านเขตเทศบาลแหลมฉบัง จ.ชลบุรี พบเกลือทะเลสีขาวใสขนาดใหญ่จำนวนมาก บริเวณที่การท่าเรือดูดน้ำทะเลขึ้นมาเพื่อขยายพื้นที่ จมอยู่โคลนลึกใช้ตะแกรงร่อนจะเห็นเกลือสีขาวใส โดยมีประชาชนแห่ไปขุดเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปขายหรือบริโภค เกลือที่พบมีสารไซยาไนด์ปนเปื้อน มีอันตรายมากหากนำไปบริโภค สารไซยาไนด์เมื่อกินเข้าไปจะจับเม็ดฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงจำทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายขาดออกซิเจนโดยเฉพาะสมองไวต่อการขาดออกซิเจนอยู่แล้วทำให้เสียชีวิตได้

                    25 พ.ย. 2552 แหลมฉบังวิกฤตสารเคมีรั่วฟุ้งกระจายส่งกลิ่นในรัศมี 3 ก.ม.ชาวบ้านที่สูดกลิ่นในรัศมี 3 ก.ม.ชาวบ้านที่สูดดมกลิ่นโดนตัวมีอาการแสบจมูก เคืองตา อาเจียน ต้องอพยพหนีวุ่นกลางดึก เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลนับสิบรายล่าสุดมีการเสียชีวิต 2 ศพแต่ยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกี่ยวข้องกับการสูดดมสารเข้าไปหรือไม่เนื่องจากผู้ตายมีโรคประจำตัวก่อนแล้ว


4.  ผลกระทบที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับ









                จากการประท้วงและคัดค้านจากประชาชนทำให้โครงการท่าเทียบเรือแหลมฉบังเฟส ยังไม่ได้มีการเริ่มก่อสร้าง เนื่องจากยังไม่ผ่านขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ของประชาชน โดยทางด้านของการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้มีการออกมารับฟังความคิดเห็นของประชาชน และรับฟังข้อเสนอต่างๆ และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้ประชาชนยังได้มีการจัดทำ EIA ฉบับชาวบ้าน เพื่อทำการติดตามผลของการทำประชาพิจารณ์ของโครงการ

5.       ผลกระทบต่อการจัดการทางบัญชี

                สำหรับค่าใช้จ่ายการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม  EHIA และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น กิจการควรถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น เนื่องจากยังไม่สามารถดำเนินโครงการต่อได้และไม่ได้มีการลงทุนในสินทรัพย์ของโครงการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น