พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2535 : บริษัท บ้านปู จำกัด(มหาชน)

3.1.2 บริษัท บ้านปู จำกัด(มหาชน)

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี  2526 เพื่อดำเนินธุรกิจเหมืองถ่านหินในประเทศไทย หลังจากนั้นได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2532 และตั้งแต่ปี 2533 บริษัทฯ ได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจไฟฟ้าในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศไทย และขยายการดำเนินธุรกิจเหมืองถ่านหินไปยังประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งเข้าไปบริหารจัดการท่าเรือและแร่อุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย
ในปี 2544 เป็นต้นมา บ้านปูฯ ตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์ที่เน้นการเป็นบริษัทชั้นนำด้านพลังงานถ่านหิน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การตัดสินใจดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานจากทักษะความเชี่ยวชาญหลักของบริษัทฯ และความสามารถในการแข่งขันด้านพลังงานถ่านหิน รวมทั้งเล็งเห็นศักยภาพในการเติบโตของบริษัทฯ ในอุตสาหกรรมนี้  การตัดสินใจดังกล่าวนำไปสู่การทยอยขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของบริษัทฯ (เช่น ธุรกิจแร่ อุตสาหกรรม ธุรกิจท่าเรือ การลงทุนธุรกิจไฟฟ้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงานถ่านหิน)  ปัจจุบัน บริษัทฯ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจถ่านหินเป็นหลัก  และลงทุนในฐานธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งในประเทศไทย ลาว อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย และมองโกเลีย

แนวคิด

การที่บริษัท บ้านปู จำกัด(มหาชน) สามารถดำรงอยู่ได้ในระยะยาว ไม่ใช่แต่เพียงรูปแบบ แต่โดยแก่นแท้ที่สร้างขึ้นจากผลการดำเนินงาน บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กร นอกจากธุรกิจจะยืนหยัดอยู่ได้ในระยะยาวแล้ว บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายด้วย นอกจากนั้น ในการที่บริษัทฯ จะก้าวไปสู่การเป็นบริษัทพลังงานในระดับภูมิภาคที่มีความฉับไวตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ การทำงานในเชิงรุก การเป็นผู้นำด้านคุณภาพ การมีแผนการปฏิบัติงานที่เป็นสากล และมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์ จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะสร้างแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืน

การดำเนินการ

            บริษัท บ้านปู จำกัด(มหาชน)ได้ดำเนินการผลิตถ่านหินและไฟฟ้า โดยมีกระบวนการ 3 อย่าง คือ
1.      การทำเหมืองแบบเปิด
2.      การทำเหมืองใต้ดิน
3.      โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมเป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตทั้งกระแสไฟฟ้าและความร้อน โดยกระบวนการสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ :
- กระบวนการผลิตไฟฟ้า
- กระบวนการผลิตไอน้ำ
- กระบวนการเผาไหม้ถ่านหิน



ตารางเปรียบเทียบ ระหว่างประเด็นที่ต้องปฏิบัติตามกับการดำเนินงานของบริษัท

มลพิษทางน้ำ
กฎหมาย
มาตรา 69 ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุม มลพิษมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดประเภทของแหล่งกำเนิด มลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียหรือของเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกเขตที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษไม่เกินมาตรฐานควบคุม มลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนดตามมาตรา 55 หรือมาตรฐานที่ส่วนราชการใด กำหนดโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นและมาตรฐานนั้นยังมีผลใช้บังคับตาม มาตรา 56 หรือมาตรฐานที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดเป็นพิเศษสำหรับเขต ควบคุมมลพิษตามมาตรา 58
มาตรา 70 เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่กำหนด ตามมาตรา 69 มีหน้าที่ต้องก่อสร้าง ติดตั้งหรือจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือระบบกำจัดของเสียตามที่เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนด เพื่อการนี้ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษจะกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีผู้ควบคุม การดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสียที่กำหนดให้ทำการ ก่อสร้าง ติดตั้งหรือจัดให้มีขึ้นนั้นด้วยก็ได้
ในกรณีที่แหล่งกำเนิดมลพิษใดมีระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัด ของเสียอยู่แล้วก่อนวันที่มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 69 ให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษเพื่อตรวจสอบ หากเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษเห็นว่าระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสีย ที่มีอยู่แล้วนั้นยังไม่สามารถทำการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียให้เป็นไปตาม มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนดไว้ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง แหล่งกำเนิดมลพิษมีหน้าที่ต้องดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงตามที่เจ้าพนักงาน ควบคุมมลพิษกำหนด
มาตรา 70 กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่กำหนดมีหน้าที่ต้องก่อสร้าง ติดตั้งหรือจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือระบบกำจัดของเสียตามที่เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนด เพื่อการนี้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษจะกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีผู้ควบคุม การดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสียที่กำหนดให้ทำการ ก่อสร้าง ติดตั้งหรือจัดให้มีขึ้นนั้นด้วยก็ได้
สิ่งที่บริษัทปฏิบัติ
บริษัท บ้านปู เป็นผู้ก่อมลพิษ กล่าวคือเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทำโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน เหมืองแร่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำลายสภาพแวดล้อมโดยรอบ บริษัทจึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย โดยทางบริษัท บ้านปู มีการป้องกันและแก้ไขการเกิดน้ำที่เป็นกรดจากการทำเหมือง (Acid Mine Drainage)   ซึ่งเน้นการจัดการตั้งแต่ขั้นตอนการสำรวจ การวางแผนผลิต การจัดการพื้นที่ไปจนถึงการฟื้นฟูสภาพของพื้นที่ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการผลิต (Mine Site Rehabilitation)  มีการใช้ระบบบำบัดน้ำแบบชีวภาพด้วยหินปูนไร้อากาศ (Successive Alkalinity Producing – SAP) เพื่อบำบัดสภาพความเป็นกรดของน้ำจากการทำเหมืองซึ่งระบบดังกล่าว ได้รับรางวัล ASEAN Coal Awards 2013 เมื่อเดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา


มลพิษทางอากาศ
กฎหมาย
มาตรา 68 ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุม มลพิษมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดประเภทของแหล่งกำเนิด มลพิษที่จะต้องถูกควบคุม การปล่อยอากาศเสีย รังสี หรือมลพิษอื่นใดที่อยู่ใน สภาพเป็นควัน ไอ ก๊าซ เขม่า ฝุ่น ละออง เถ้าถ่าน หรือมลพิษอากาศ ในรูปแบบใดออกสู่บรรยากาศไม่เกินมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด ที่กำหนดตามมาตรา 55 หรือมาตรฐานที่ส่วนราชการใดกำหนดโดยอาศัย อำนาจตามกฎหมายอื่นและมาตรฐานนั้นยังมีผลใช้บังคับตามมาตรา 56 หรือ มาตรฐานที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดเป็นพิเศษสำหรับเขตควบคุมมลพิษตาม มาตรา 58
เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง มีหน้าที่ต้องติดตั้ง หรือจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย อุปกรณ์ หรือเครื่องมืออื่นใด สำหรับการควบคุม กำจัด ลด หรือขจัดมลพิษซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ อากาศตามที่เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนด เว้นแต่จะได้มีระบบ อุปกรณ์หรือ เครื่องมือดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษได้ทำการตรวจสภาพและทดลอง
แล้วเห็นว่ายังใช้การได้อยู่แล้ว เพื่อการนี้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษจะกำหนด ให้มีผู้ควบคุมการดำเนินงานระบบบำบัดอากาศเสีย อุปกรณ์ หรือเครื่องมือ ดังกล่าวด้วยก็ได้
สิ่งที่บริษัทปฏิบัติ
บริษัท บ้านปู ได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินและเหมืองแร่ ซึ่งจากการดำเนินงานดังกล่าวส่งผลให้กิจการมีฝุ่นละอองในอากาศ จากการเปิดหน้าดินและการขนส่งถ่านหิน และ การปลดปล่อยอากาศเสียจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซอ๊อกไซด์ของคาร์บอน ซัลเฟอร์และไนโตรเจน ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทางอากาศรอบๆชุมชนเป็นอย่างมาก กิจการจึงได้นำเอาเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาประยุกต์ใช้กับโรงไฟฟ้าทั้งที่อยู่ในประเทศไทย สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณะรัฐประชาชนจีน เช่น เทคโนโลยีหัวเผาลดไนโตรเจนออกไซด์ (Low NOx Burner) การใช้หม้อไอน้ำเผาไหม้แบบฟลูอิไดซ์เบดหมุนวน (Circulating Fluidized Bed – CFB) เพื่อลดซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ ไนโตรเจนออกไซด์ขณะเผาไหม้ การกำจัดฝุ่นละอองขี้เถ้าลอย (Fly-ash) โดยการใช้เครื่องดักจับฝุ่นโดยใช้ไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator : ESP) และการใช้เทคโนโลยีดักจับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization : FGD) แบบกึ่งแห้ง (Semi-dry) รวมทั้งมีระบบการตรวจวัดแบบต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring System – CEMS) ทั้งที่ปากปล่อง และชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่า ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด


มลพิษอื่นและของเสียอันตราย
กฎหมาย
มาตรา ๗๘ การเก็บรวบรวม การขนส่ง และการจัดการด้วยประการใดๆ เพื่อบำบัดและขจัดขยะมูลฝอยและของเสียอื่นที่อยู่ในสภาพเป็นของแข็ง การป้องกันและควบคุมมลพิษที่เกิดจากหรือมีที่มาจากการทำเหมืองแร่ทั้งบนบกและในทะเล การป้องกันและควบคุมมลพิษที่เกิดจากหรือมีที่มาจากการสำรวจ และขุดเจาะน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและสารไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดทั้งบนบกและในทะเล หรือการป้องกันและควบคุมมลพิษที่เกิดจากหรือมีที่มาจากการปล่อยทิ้งน้ำมันและการทิ้งเทของเสียและวัตถุอื่นๆ จากเรือเดินทะเล เรือบรรทุกน้ำมัน และเรือประเภทอื่น ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๗๙ ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดชนิดและประเภทของของเสียอันตรายที่เกิดจากการผลิต การใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การสาธารณสุขและกิจการอย่างอื่นให้อยู่ในความควบคุม ในการนี้ให้กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ และวิธีการเพื่อควบคุมการเก็บ รวบรวม การรักษาความปลอดภัย การขนส่งเคลื่อนย้าย การนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และการจัดการ บำบัด และกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาที่เกี่ยวข้องด้วย
สิ่งที่บริษัทปฏิบัติ
การจัดการของเสียอันตราย แต่ละหน่วยธุรกิจในเครือบ้านปู มีมาตรการในการคัดแยกและการกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะของเสียอันตราย ซึ่งจัดให้มีการจัดการเพื่อการกำจัดที่ถูกต้อง สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย ตามที่มีกำหนดไว้ในแต่ละท้องถิ่น

รายงานทางการเงินประจำปี 2556 



ข้อวิเคราะห์ที่มีต่อบริษัท
จากการที่ได้เห็นวิธีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทบ้านปู พบว่าบริษัทได้มีการวางแผนบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม แต่บริษัทนี้ยังขาดการทำแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และไม่สามารถทราบผลได้อย่างแน่ชัดว่าได้มีการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนที่มีการวางไว้หรือไม่ รวมถึงความชัดเจนของค่าใช้จ่ายและต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นว่ามีการบริหารจัดการอย่างไรเพราะบริษัทไม่ได้มีการกล่าวถึง ส่วนการพัฒนาทรัพยากรแร่ควรทำควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการนำทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การนำทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและก่อให้เกิดความยั่งยืนต้องดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ให้มลพิษจากกิจกรรมการนำทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม


จัดทำโดย
         น.ส. นฤมล      แต่งสวน            รหัสนิสิต  5430110396
         น.ส. รัฐจิต        เห่งนาเลน        รหัสนิสิต  5430110591
         น.ส. รีนรินทร์  ทวีชัยทัศน์         รหัสนิสิต  5430110612
         น.ส. วรรณิศา   ศรีสุไชย           รหัสนิสิต  5430110639
         นาย  สุรินทร์    มาศแท้             รหัสนิสิต  5430110850

                                     หมู่เรียน 800   R13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น