รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. ๒๕๕o มาตรา ๖๗
บัญญัติว่า
สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน
ในการอนุรักษ์บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง
ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน
ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
การดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบ
ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน
และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระ
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
หรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว
สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง
นอกจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. ๒๕๕o มาตรา ๖๗ ที่มีความเกี่ยวข้องแล้ว
ยังมีกฎหมายอื่นที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมดังนี้
1.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕
2.
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
3.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๕๐
4.
พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521
จากที่กล่าวไปข้างต้นนี้
ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕o มาตรา ๖๗
โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง
โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชน มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ให้โรงงานตามบัญชีท้ายประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
หรือเอกชน ที่ต้องจัดทำ EIA ตามพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม
2535 เป็นโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
2. ก่อนพิจารณาคำขออนุญาตของโรงงานตามข้อ
1 ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
และผู้มีส่วนได้เสียก่อน โดยวิธีการให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงาน EIA ออกตามมาตรา 46 และ 51 ของพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535
3. ในการพิจารณาคำขออนุญาตโรงงานตามข้อ
1 ให้ผู้อนุญาตตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535
พิจารณาเฉพาะโรงงานที่ผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการผู้ชำนาญการตามมาตรา 49 ของพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535 แล้วเท่านั้น
โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชน
จึงต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม
2535 ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน (Health Impact Assessment : HIA) และยังต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
และผู้มีส่วนได้เสียตามหลักเกณฑ์และวิธีการในประกาศฯ ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น