ข้อแตกต่าง
ระหว่างบริษัทที่จัดตั้งในนิคมอุตสาหกรรมและบริษัทที่มิได้จัดตั้งในนิคมอุตสาหกรรม
เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ จึงต้องมีการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบบริหารจัดการรวมถึง "สิทธิประโยชน์" ต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น มีขีดความสามารถในการเลือกตลาดการค้าได้ตามสภาวะแข่งขันปัจจุบัน ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือผลิตเพื่อส่งออก
ความน่าสนใจที่จะจัดตั้งบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม
นิคมอุตสาหกรรมพัฒนาขึ้นในพื้นที่ซึ่งมีความสะดวกในเรื่องการเดินทางของบุคลากรที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนคมนาคมขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ โดยปกติแล้วนิคมอุตสาหกรรมจะตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือ สถานีรถไฟ และเส้นทางคมนาคมขนส่งอื่นๆ เพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ และการเดินทางและการพักอาศัยของบุคคลกรที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม
การบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมนั้นถูกกำหนดให้ต้องมีพร้อมซึ่งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและการให้บริการ เช่น การให้บริการน้ำเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบบำบัดน้ำเสีย ถนน ไฟฟ้า ระบบการสื่อสาร การให้บริการระบบท่อ การให้บริการโรงงานมาตรฐาน นอกจากนั้นยังมีจัดตั้งระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบท่อก๊าซธรรมชาติ รวมถึงมีความพร้อมของอุตสาหกรรมสนับสนุนและบริการที่เกี่ยวข้อง มีความมั่นคงในการลงทุนนิคมอุตสาหกรรม และความพร้อมของศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรมอีกด้วย
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ โดยการให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมให้โรงงานเข้าไปอยู่ร่วมกันในนิคมอุตสาหกรรม อย่างเป็นระบบระเบียบ สะดวกต่อการ จัดระบบจัดการและควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น
1. การจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. การควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. การจัดการน้ำเสีย
4. การจัดการขยะจากอุตสาหกรรม
ปัจจุบันการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้แบ่งพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone: GIZ) คือ เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม การบริการ หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือการบริการ
2. เขตประกอบการเสรี (IEAT Free Zone) คือ เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรมเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ การรักษาความมั่นคงของรัฐ สวัสดิภาพของประชาชน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หรือความจำเป็นอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ซึ่งผู้ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั้งสองจะได้รับโอกาสและทางเลือกตลอดจนสิทธิประโยชน์ ดังนี้
· สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี (Non-Tax Privileges) สำหรับการลงทุนใน GIZ และ I-EA-T Free Zone}
1) สิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม
2) ได้รับอนุญาตนำผู้เชี่ยวชาญ ช่างฝีมือต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศพร้อมการให้บริการขอวีซ่าและ Work Permit
3) ได้รับอนุญาตนำคู่สมรส บุตรและผู้อยู่ในอุปการะเข้าพักอาศัยในประเทศ พร้อมการให้บริการขอวีซ่า
4) สามารถนำส่งเงินตราต่างประเทศออกนอกราชอาณาจักรได้
5) สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจาก BOI ในกรณีขอรับการส่งเสริมการลงทุน
2) ได้รับอนุญาตนำผู้เชี่ยวชาญ ช่างฝีมือต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศพร้อมการให้บริการขอวีซ่าและ Work Permit
3) ได้รับอนุญาตนำคู่สมรส บุตรและผู้อยู่ในอุปการะเข้าพักอาศัยในประเทศ พร้อมการให้บริการขอวีซ่า
4) สามารถนำส่งเงินตราต่างประเทศออกนอกราชอาณาจักรได้
5) สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจาก BOI ในกรณีขอรับการส่งเสริมการลงทุน
สิทธิประโยชน์การลงทุน บีโอไอ
ผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม จะได้รับสิทธิประโยชน์จาก บีโอไอ ดังนี้
ผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม จะได้รับสิทธิประโยชน์จาก บีโอไอ ดังนี้
สิทธิประโยชน์
|
เขต 1
|
เขต 2
|
เขต 3
36 จังหวัดและนิคม
แหลมฉบัง นิคม/เขต อุตสาหกรรม ใน จ.ระยอง |
เขต 3
23 จังหวัด
| ||||
ในนิคม/เขต
อุตสาหกรรมที่ ได้รับการส่งเสริม |
นอก
นิคมฯ
|
ในนิคม/เขต
อุตสาหกรรม ที่ได้รับส่งเสริม (ไม่รวมนิคม แหลมฉบัง นิคม/เขต อุตสาหกรรม ใน จ.ระยอง |
นอก
นิคมฯ
|
ในนิคม/เขต
อุตสาหกรรมที่
ได้รับการส่งเสริม
|
นอก
นิคมฯ
|
ในนิคม/เขต
อุตสาหกรรมที่ ได้รับการส่งเสริม |
นอก
นิคมฯ
| |
อากรขาเข้า
เครื่องจักร
|
ลดหย่อน 50%
|
ลดหย่อน 50%
|
ยกเว้น*
|
ลดหย่อน 50%
|
ยกเว้น*
|
ยกเว้น*
|
ยกเว้น*
|
ยกเว้น*
|
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
|
3 ปี
|
Χ
|
7 ปี*
|
3 ปี
|
8 ปี
|
8 ปี
|
8 ปี
|
8 ปี
|
อากรวัตถุดิบ
เพื่อผลิตส่งออก
|
ยกเว้น
1 ปี
|
ยกเว้น
1 ปี
|
ยกเว้น
1 ปี
|
ยกเว้น
1 ปี
|
ยกเว้น
5 ปี
|
ยกเว้น
5 ปี |
ยกเว้น
5 ปี |
ยกเว้น
5 ปี |
ลดหย่อนภาษี
เงินได้ 50%
|
Χ
|
Χ
|
Χ
|
Χ
|
5 ปี
|
Χ
|
5 ปี
|
5 ปี
|
หักค่าขนส่ง
ไฟฟ้า ประปา
2 เท่า |
Χ
|
Χ
|
Χ
|
Χ
|
√
|
Χ
|
√
|
√
|
หักค่าติดตั้ง
สิ่งอำนวย ความสะดวก |
Χ
|
Χ
|
Χ
|
Χ
|
√
|
√
|
√
|
√
|
อากรขาเข้าวัตถุดิบ
เพื่อผลิต
จำหน่ายใน ประเทศ |
Χ
|
Χ
|
Χ
|
Χ
|
ลดหย่อนร้อยละ
75 เป็นเวลา 5 ปี* ให้คราวละ 1 ปี (ยกเว้น นิคมฯ แหลมฉบัง และนิคม/เขต อุตสาหกรรมใน จ.ระยอง) |
Χ
|
ลดหย่อนร้อยละ
75 เป็นเวลา 5 ปี* ให้คราวละ 1 ปี
|
Χ
|
*สำหรับคำขอฯ ที่ยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557
หมายเหตุ
√= ได้รับสิทธิประโยชน์
Χ = ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์
· สิทธิประโยชน์ด้านภาษี (Tax Privileges) สำหรับการลงทุนใน I-EA-T Free Zone}
1) ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี (Non-Tax Privileges)เช่นเดียวกับ GIZ
2) ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (Tax Privileges)
3) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ในการผลิต
4) ได้รับยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับของที่นำเข้าเพื่อการผลิตสินค้า หรือเพื่อพาณิชยกรรม
5) ได้รับยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับวัตถุดิบรวมทั้งผลิตภัณฑ์สิ่งพลอยได้และสิ่งอื่นที่ได้จากการผลิต
1) ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี (Non-Tax Privileges)เช่นเดียวกับ GIZ
2) ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (Tax Privileges)
3) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ในการผลิต
4) ได้รับยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับของที่นำเข้าเพื่อการผลิตสินค้า หรือเพื่อพาณิชยกรรม
5) ได้รับยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับวัตถุดิบรวมทั้งผลิตภัณฑ์สิ่งพลอยได้และสิ่งอื่นที่ได้จากการผลิต
การอนุญาตสิทธิประโยชน์ทางด้านต่างๆ
ด้านการอนุญาตสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
- ระบบผ่านพิธีการใบขน
- ขั้นตอนผู้ประกอบการเขตประกอบการเสรีขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
- การยกเว้นค่าบริการในการออกหนังสือรับรองสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอาการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-PP) และระบบ e-Paperless
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมจะได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าบริษัทที่มิได้จัดตั้งในนิคมอุตสาหกรรม
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.ieat.go.th/
คณะผู้จัดทำ
1. นางสาวมนัชยา
เด่นดำรงกุล รหัสนิสิต 5430110574
2. นางสาวสิริพรรณ์
โกมลรัตน์มงคล รหัสนิสิต 5430110809
3. นางสาวอรวรรณ
ไก่แก้ว รหัสนิสิต 5430110906
4. นางสาวณัฏฐิกา
มารศรี รหัสนิสิต 5430111082
5. นางสาวกรรณิการ์
ปราณนัทธี รหัสนิสิต 5430111091
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น