การจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ กรณีศึกษาตัวอย่าง บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน)

ตัวอย่างการนำเสนอรายงานขององค์การที่ได้จัดทำบัญชีสิ่งแวดล้อม และนำเสนอต่อสาธารณะ
            ข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ แนวคิด การดำเนินการ และรายงาน
**ข้อมูลองค์การบริษัทไทยออยล์จำกัด (มหาชน)
ชื่อย่อหลักทรัพย์
TOP
เลขทะเบียนบริษัท
0107547000711
ประเภทธุรกิจ
บริษัทฯเป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายนํ้ามันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศซึ่งก่อตั้งขึ้นในปีพ.. 2504 เป็นโรงกลั่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยมีธุรกิจหลักคือการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียมปัจจุบันมีกำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวันนอกจากนี้บริษัทฯยังประกอบธุรกิจอื่นๆในบริษัทย่อยซึ่งประกอบด้วยธุรกิจการผลิตสารอะโรมาติกส์และสารตั้งต้นสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาดเช่นผงซักฟอกธุรกิจการผลิตนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐานธุรกิจผลิตไฟฟ้าธุรกิจขนส่งและบริการจัดเก็บนํ้ามันดิบนํ้ามันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทางเรือและทางท่อธุรกิจด้านการบริหารจัดการเรือธุรกิจพลังงานทดแทนธุรกิจสารทำละลายและธุรกิจให้บริการด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรสำหรับเครือไทยออยล์
ทุนจดทะเบียน
20,400,278,730 บาทประกอบด้วยหุ้นสามัญที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดจำนวน 2,040,027,873 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 10 บาท
จำนวนพนักงาน
794 คน (ณวันที่ 31 ธันวาคม 2556)
สถานที่ตั้ง
สำนักงานกรุงเทพ
เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์อาคารเอชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิตแขวงจตุจักรเขตจตุจักรกรุงเทพฯ 10900 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : 0-2797-2999, 0-2797-2900, 0-2299-0000โทรสาร : 0-2797-2970
สำนักงานศรีราชาและโรงกลั่นนํ้ามัน
42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิทกม.ที่ 124 ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี 20230 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : 0-3840-8500, 0-3835-9000โทรสาร : 0-3835-1554, 0-3835-1444
เว็บไซต์

วิสัยทัศน์
บริษัทไทยออยล์จำกัด (มหาชน) มุ่งที่จะเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจเชิงบูรณาการด้านการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีที่ต่อเนื่องอย่างครบวงจรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

พันธกิจ
            - เป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำในด้านผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน
            - ก้าวสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศส่งเสริมการทำงานเป็นทีมมุ่งสร้างสรรค์สิ่งใหม่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่นระหว่างกันเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน
            - มุ่งเน้นหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม

ค่านิยม


สายโซ่มูลค่าของเครือธุรกิจไทยออยล์

ธุรกิจของเครือไทยออยล์เป็นการขยายสายโซ่มูลค่าจากโรงกลั่นนํ้ามันซึ่งเป็นธุรกิจหลักของไทยออยล์  เข้าสู่ธุรกิจต้นนํ้าได้แก่การขนส่งนํ้ามันดิบทางทะเล และธุรกิจปลายนํ้าได้แก่ธุรกิจปิโตรเคมีและนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐานการผลิตกระแสไฟฟ้าการผลิตเอทานอลการผลิตสารทำละลายและธุรกิจสนับสนุนอื่นๆเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความยั่งยืนในสายโซ่มูลค่าของเครือไทยออยล์ส่งผลให้เครือไทยออยล์  มีรายได้จากการขายสูงถึง 414,599 ล้านบาทในปี  2556  ”
  -ธุรกิจการกลั่นนํ้ามันเป็นธุรกิจหลักที่มีกำลังการกลั่นโดยเฉลี่ยประมาณ 275,000 บาร์เรลต่อวันคิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณการกลั่นทั้งหมดในประเทศไทย
                -
ธุรกิจปิโตรเคมีและนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน
เป็นธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบพลอยได้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสายโซ่การผลิตของโรงกลั่น ได้แก่ การผลิตสารอะโรเมติกส์ประมาณ 838,000 ตันต่อปี นํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน ยางมะตอยและนํ้ามันยางมลพิษตํ่า (TDAE) ประมาณ 684,535 ตันต่อปี
                - ธุรกิจสารทำละลาย
เป็นธุรกิจที่นำวัตถุดิบพลอยได้จากโรงกลั่นไปให้บริษัทร่วมลงทุนผลิตสารทำละลายได้ประมาณ 76,000 ตันต่อปีซึ่งมีการจำหน่ายสารทำละลายในประเทศไทยและในประเทศเวียดนาม

           - ธุรกิจไฟฟ้าเป็นการต่อยอดเพื่อสร้างเสถียรภาพทางธุรกิจประกอบด้วยโรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่นขนาด 118 เมกกะวัตต์ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงโดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากบริษัทไทยออยล์เพาเวอร์จะถูกนำมาใช้ภายในไทยออยล์เป็นหลักนอกจากการผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วยังสามารถผลิตพลังงานไอนํ้าซึ่งมีปริมาณ 168 ตันต่อชั่วโมงเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ปฏิบัติการอื่นๆอีกด้วย
               - ธุรกิจเอทานอล
เป็นธุรกิจที่รองรับนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนตลอดจนเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตโดยมีโรงงานที่เป็นบริษัทร่วมทุนทั้งหมด 3 แห่งซึ่งมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 800,000 ลิตรต่อวัน
              - ธุรกิจการขนส่งและอื่นๆ
เป็นธุรกิจที่สนับสนุนด้านการตลาดการปรับปรุงประสิทธิภาพและการสร้างโอกาสในอนาคตประกอบด้วยธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์นํ้ามันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทางเรือระหว่างประเทศโดยมีเรือบรรทุกนํ้ามันและปิโตรเคมีขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดใหญ่รวม 7 ลำนํ้าหนักบรรทุกรวม 728,074 ตันบรรทุกและได้ลงทุนในธุรกิจขนส่งนํ้ามันสำเร็จรูปทางท่อที่มีกำลังการส่ง 26,000 ล้านลิตรต่อปีธุรกิจจัดการงานทรัพยากรบุคคลสำหรับกลุ่มบริษัทในเครือไทยออยล์ตลอดจนมีการลงทุนในบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีการกลั่นและปิโตรเคมี





               ปัจจุบันโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์สามารถผลิตน้ำมันปิโตรเลียมสำเร็จรูป ประมาณ 12,000 ล้านลิตรต่อปี หรือประมาณร้อยละ 21 ของกำลังการกลั่นรวมภายในประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการน้ำมันสำเร็จรูป ในประเทศได้ร้อยละ 35 โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ได้รับการออกแบบ ให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุด จากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ดังกล่าว จึงมีกระบวนการกลั่นหลายขั้นตอน คือมีทั้งหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ หน่วยเพิ่มคุณภาพ และหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเชียแปซิฟิก โดยมีความยืดหยุ่นสูง ในการใช้วัตถุดิบหรือน้ำมันดิบจากแหล่งต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิด ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ








ทำหน้าที่กลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ โดยแยกประเภทตามอุณหภูมิที่ต่างกัน






ทำหน้าที่แปลงสภาพผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่ำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี



ทำหน้าที่ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน ที่ต้องการ เช่น การกำจัดสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากน้ำมัน เป็นต้น


















      โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายการส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางทะเล รถไฟ รถบรรทุก และผ่านระบบท่อลำเลียงที่สามารถขนส่งผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด (Multi-Product Pipeline) ของ บจ. ท่อส่งปิโตรเลียมไทย ดังนั้น บริษัทฯ จึงสามารถอำนวยความสะดวกในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
          ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พัฒนาเทคโนโลยีการกลั่นน้ำมันให้เจริญก้าวหน้า เพื่อยกระดับ มาตรฐานอุตสาหกรรมการกลั่นของบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับสากลมาโดยตลอด แต่เพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพเป็นเลิศแก่ลูกค้า บริษัทฯ จึงได้นำระบบมาตรฐาน ISO 9001 : 9002 และ ISO/IEC 17025 เป็นเครื่องมือในการบริหารการผลิต และการรับรองห้องปฏิบัติในการทดสอบผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปตามลำดับ โดยบริษัทฯ ได้รับการรับรองทั้ง 2 ระบบแล้ว จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตั้งแต่ ปี 2539 และยังคงได้รับการรับรองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
           บริษัทฯ ได้รับรางวัล TQC AWARD ซึ่งเป็นรางวัลที่บ่งชี้ถึงความเป็นเลิศในด้านการบริหาร จัดการอย่างเป็นระบบในปี 2552 โดยบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า และสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน



       
 บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมันที่เชื่อมโยงกระบวนการผลิตปิโตรเคมี ซึ่งได้รับการยอมรับในวงการพลังงานว่า เป็นโรงกลั่น ที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยบริษัทฯได้บริหารและพัฒนาโครงสร้างธุรกิจ โครงสร้างเงินทุน รวมทั้งระบบบริหารจัดการให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 บริษัทฯ ได้พัฒนาระบบการวางแผนกลยุทธ์ และพัฒนาธุรกิจที่เชื่อมโยงกับการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management) รวมทั้งระบบการการบริหารจัดการผลงาน (Performance Management System) เพื่อผลักดันการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์
และพัฒนาความพร้อมขององค์กรและบุคลากรได้พร้อมๆ กัน อีกทั้งบริษัทฯ มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการวางแผน และประเมินสถานการณ์ทางธุรกิจและพลังงาน โดยได้จัดตั้งหน่วยงานวิเคราะห์อุตสาหกรรมขึ้นเพื่อสนับสนุนการจัดสินใจทางธุรกิจที่สำคัญซึ่งต้องอาศัยความแม่นยำของข้อมูลอุตสาหกรรมและธุรกิจเพื่อรองรับตลาดที่ผันผวนในระหว่างปี
          นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมด้วยโครงการที่สามารถดึงความเป็นเลิศออกมาจากทุกสายงานของกลุ่มหรือเรียกว่า โครงการ Operational Excellence เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายทางธุรกิจและนำพาองค์กรไปให้ถึงเป้าหมาย ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจของทุกสายงาน มีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดธุรกิจ หรือปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรรวมทั้งยังมีการทบทวน
การปฏิบัติการอย่างรอบคอบร่วมกันในกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์ธุรกิจ โครงการOperational Excellenceดังกล่าวจัดขึ้น ทุกไตรมาส ส่งผลให้เครือไทยออยล์มีความพร้อมและความคล่องตัว แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ผันผวนเพียงใด
รางวัลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม







































ผลิตภัณฑ์และการนำไปใช้









      


























**แนวคิด
         ชาวไทยออยล์ทุกคนตระหนักถึงความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี จึงให้ความสําคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและมีกระบวนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้บริษัทฯยังได้ปลูกฝังแนวคิดและการปฏิบัติของบุคลากร โดยมุ่งเน้นกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดีซึ่งเป็นรากฐานที่สําคัญยิ่งต่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มั่นคง และยั่งยืนขององค์กร


**การดำเนินงาน









>>>ลักษณะและข้อมูลที่นำเสนอ





1.เหตุการณ์ไฟไหม้คลังน้ำมันไทยออยล์ ปี พ.. 2542
เหตุเกิด   วันที่ 2 ธันวาคม 2542 (เวลา 23.30 น.) - 4 ธันวาคม 2542 (เวลา 10.45 น.)
สถานที่  คลังน้ำมันของโรงกลั่นไทยออยล์ ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ลักษณะเหตุ    เกิดเพลิงลุกไหม้และระเบิดขึ้นที่ถังน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินหมายเลข 3003 ซึ่งมีความจุทั้งสิ้น 3ล้านลิตร แต่มีน้ำมันบรรจุเพียง 1.5 ล้านลิตร และต่อมาได้ลุกลามไปยังถังเก็บน้ำมันข้างเคียงอีก  3 ถัง คือ
T-3004 , T-3005 และ T-3006 ทำให้น้ำมันเสียหายทั้งสิ้น 24.5 ล้าน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ที่หมุนวาล์วน้ำมัน  ทำให้น้ำมันล้นถังออกมา    แล้วมีไอน้ำมันกระจายเหมือนหมอก และสันนิษฐานว่าเหตุที่ทำให้เกิดระเบิดมีเพลิงไหม้ อาจมา จากไอความร้อนของรถยนต์ที่เจ้าหน้าที่ขับไปดูเหตุ  กระทบกับไอน้ำมัน จนเกิดปฏิกิริยาเป็นเปลวไฟพุ่งไปตามน้ำมันที่ไหลออกมาจากถังทำให้ถังน้ำมันระเบิดขึ้น บริเวณเพลิงไหม้ทั้งหมดกินพื้นที่  ประมาณ 10 ไร่  โดยพื้นที่ทั้งหมดของโรงกลั่นมีประมาณ 1,500 ไร่   เพลิงไหม้อยู่ในวง  จำกัด  ฉีดโฟมหล่อเลี้ยงถังน้ำมันไม่ให้ลุกลามไปยังถังที่เหลืออีก 5 ถัง และในจำนวนนั้นมีถังน้ามันเปล่า ส่วนอีก 4 ถัง ได้สูบน้ำมันออกไปเก็บในที่ปลอดภัย ใช้เวลาในการดับเพลิงรวมทั้งถึง 48 ชั่วโมงซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เกิดปัญหามลพิษตามมา
ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง แก๊สชนิดต่างๆ ฝุ่นละอองมลพิษที่โรงกลั่นปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้แก่ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อปล่อยสู่อากาศจะทำปฏิกิริยากับไอน้ำกลายเป็นกรดซัลฟิวริกและเกลือซัลเฟต เป็นอันตรายต่อปลา สัตว์น้ำ พืชน้ำ และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหาร เมื่อมนุษย์กินปลาหรือสัตว์น้ำเหล่านั้นเข้าไปจะได้รับพิษด้วย นอกจากนี้ยังมีแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ ทำให้ความร้อนบนผิวโลกถ่ายเทขึ้นสู่ระดับสูงที่เย็นกว่าได้ลำบาก อุณหภูมิบนผิวโลกจึงร้อนขึ้น ถือเป็นสาเหตุปฏิกิริยาเรือนกระจกทำให้โลกร้อนด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้เกิดปฏิกิริยาโอโซนซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของคนในระแวงนั้น และปล่องของโรงกลั่นน้ำมันยังปล่อยฝุ่นละอองออกมา ฝุ่นขนาดเล็กเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์มากสุด เนื่องจากเล็กพอที่จะผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และเข้าสู่ปอด ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้และยังสร้างความตะหนกตกใจให้กับชาวบ้านในระแวงนั้น เพราะ ในระแวกนั้นก็มีทั้ง เด็ก คนชรา และยังเป็นแหล่งชุมชน โรงพยาบาล สถานศึกษาอีกด้วย ซึ่งความเสียหายนี้ส่งผลให้เกิด :
ผู้เสียชีวิต           7 ราย , บาดเจ็บ 18 ราย (สาหัส 4 ราย , เล็กน้อย 14 ราย)
พื้นที่และประชาชน : ที่ได้รับความเสียหาย ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา ได้รับความเสียหายมากใน 4หมู่บ้าน
             - หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวอุดม      จำนวน    968 ครอบครัว 2,940 คน
             - หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งเทครัว    จำนวน    883 ครอบครัว 1,270 คน
              - หมู่ที่ 3 บ้านแหลมฉบัง   จำนวน    580 ครอบครัว 1,725 คน
             - หมู่ที่ 4 บ้านปากทางอ่าว จำนวน 1,502 ครอบครัว 3,388 คน
สถานบริการได้รับความเสียหาย : โรงพยาบาลอ่าวอุดมตึกสิรินธร ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด
 บริษัทไทยออยล์ : ทรัพย์สินเสียหายประมาณ 850 ล้านบาท ได้แก่
           - น้ำมันเบนซินถูกเผาผลาญไป จำนวน 24.5 ล้านลิตร                                   
           - ถังบรรจุน้ำมันเสียหายจำนวน 4 ถัง
           -  สำนักงาน รถยนต์ รถดับเพลิง
สถานบริการได้รับความเสียหาย: โรงพยาบาลอ่าวอุดมตึกสิรินธรได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด
 บริษัทไทยออยล์: ทรัพย์สินเสียหายประมาณ 850 ล้านบาท ได้แก่
            - น้ำมันเบนซินถูกเผาผลาญไป จำนวน 24.5 ล้านลิตร                                    
            - ถังบรรจุน้ำมันเสียหายจำนวน 4 ถัง
             -  สำนักงานรถยนต์ รถดับเพลิง
2. เหตุการณ์กรณีน้ำมันรั่วไหลบริเวณท่อรับน้ำมันดิบกลางทะเล




กรณีน้ำมันรั่วไหลบริเวณท่อรับน้ำมันดิบกลางทะเลของบมจ.ไทยออยล์เขตอ่าวอุดม อำเภอ
ศรีราชา จังหวัดชลบุรีเมื่อวันที่
23 พฤศจิกายน 2548ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งอ่าวอุดม ประมาณ 3 ไมล์ทะเล พบเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ ชื่อ RYUHO MARU โตเกียว ที่มาจอดทอดสมอขนถ่ายน้ำมันดิบ บริเวณดังกล่าว เข้าสู่โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ หลังเกิดเหตุกว่า 3 ชั่วโมงยังไม่มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐหรือกลุ่มขจัดคราบน้ำมันเข้ามาดำเนินการแต่อย่างใด โดยมีเพียงเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยออยล์ นำเรือตรวจการณ์มาตรวจสอบจุดเกิดเหตุ และเรือบรรทุกบูมน้ำมันมาล้อมบริเวณข้างลำเรือเท่านั้น แต่ไม่สามารถล้อมคราบน้ำมันไว้ได้ เนื่องจากมีคลื่นลมแรงมาก และขณะนี้คราบน้ำมันดิบกำลังไหลไปทางอ่าวพัทยาขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่บนเรือใหญ่ต้องใช้เวลานานกว่า 30 นาที ถึงสามารถปิดวาล์วน้ำมันที่ไหลลงสู่ทะเลได้ ซึ่งคาดว่าปริมาณน้ำมันดิบที่ไหลลงสู่ทะเลไม่น้อยกว่า 3 แสนลิตรอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่ระหว่างการตรวจสอบสาเหตุที่เกิดขึ้น ว่าเกิดจากพนักงาน, ระบบการขนส่งน้ำมันมีปัญหา หรือคุณภาพของท่อส่งน้ำมันเสื่อมคุณภาพ โดยจะต้องตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งซึ่งจากเหตการณ์น้ำมันรั่วดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อ
 1.ทางกายภาพ (Physical impact)
            เมื่อขนสัตว์ซึ่งปกติ จะกันน้ำ (ทำให้สัตว์ลอยน้ำได้และรักษาอุณหภูมิของร่างกาย) ถูกน้ำมันเปื้อนจะจับกันเป็นก้อน ทำให้น้ำซึมเข้าถึงผิวหนัง มีผลให้สัตว์ไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้ จึงหนาวตาย (เนื่องจากอุบัติเหตุเหล่านี้มักเกิดในต่างประเทศเขตหนาว เช่น แคนาดา อเมริกาเหนือหรืออาจเกิด overheat ถ้าเกิดในเขตร้อน) และอาจทำให้สัตว์จมน้ำตายได้ นอกจากนั้นคราบน้ำมันยังอาจอุดตันจมูก ปาก หรือระคายเคืองตาได้ และในภาวะดังกล่าว สัตว์ผู้ล่าก็จะล่าสัตว์เหล่านี้ได้โดยง่าย (แต่หมายถึงได้กินอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ)
2.การปนเปื้อนของสารพิษ (Toxic contamination)
          น้ำมันมีความเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร (ทำให้เกิดแผลหลุมและมีเลือดออกในทางเดินอาหาร), ตับ, ตับอ่อน, ไต (ทำลายเนื้อเยื่อเหล่านี้อย่างรุนแรง), ปอด (ปอดบวมจากการสำลักพบได้เป็นปกติในกรณีเช่นนี้), ระบบประสาทส่วนกลาง และมีผลระยะยาวต่อระบบสืบพันธุ์ โดยน้ำมันสามารถเข้าสู่ตัวสัตว์ได้ทั้งทางการหายใจ (ไอระเหย) ซึมผ่านทางผิวหนัง และทางปาก (จากการปนเปื้อนในอาหาร และจากพฤติกรรมการไซร้ขน เมื่อขนเปื้อนน้ำมันจะทำให้สารที่เป็นพิษจากน้ำมันจะเข้าสู่ตัวสัตว์ได้) 
3.ผลต่อแหล่งอาหาร (Food resource contamination)
          สัตว์น้ำที่ปนเปื้อนน้ำมันจะมีสารพิษในตัว เมื่อสัตว์ผู้ล่ากินเข้าไปก็จะได้รับสารพิษ และสัตว์ที่ปนเปื้อนมักมีกลิ่นน้ำมันทำให้ผู้ล่าไม่กิน เกิดภาวะขาดอาหาร

 - ปัญหาไทยออยล์กับชุมชน

ชาวบ้านจวก ไทยออยล์ไม่จริงใจแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวบ้านหวั่นผลกระทบมลพิษจากโรงกลั่นไทยออยล์ แม้จะเข้ามาช่วยเหลือ แต่ไม่จริงจังเตรียมตรวจสอบหลังปกปิดข้อมูล
       
       
นายสุจินต์ ตั้งเจริญประเสริฐ ประธานชุมชนบ้านทุ่ง ซึ่งมีพื้นที่ติดกับโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ชาวบ้านและประชาชนในพื้นที่มีความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ และกลุ่มโรงงานในเครือ เนื่องจากจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการ ซึ่งชาวบ้านก็พอใจในระดับหนึ่งที่บริษัทฯเข้ามาดูแลช่วยเหลือ
       แต่การช่วยเหลือนั้น หากมองลึกๆ แล้วเป็นการช่วยเหลือที่ไม่ตรงจุด หรือจริงใจเท่าที่ควร เพราะเมื่อเกิดผลกระทบในจุดหนึ่งของหมู่บ้าน แต่กลับไปให้ความช่วยเหลืออีกจุดหนึ่งของหมู่บ้านที่ไม่ได้รับผลกระทบเท่าไร และที่สำคัญ ทางบริษัทนำข้อมูลการช่วยเหลือไปประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้หน่วยงานต่างๆ ทราบว่า ชาวบ้านจำนวนมากให้การสนับสนุนกิจการของบริษัทไทยออยล์ โดยไม่มีผลกระทบกับชาวบ้าน และอีกประการหนึ่ง คือ ในการชี้แจงโครงการใหม่ๆ โดยจะชี้แจงกับกลุ่มชาวบ้านที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโครงการนั้นๆ ส่วนที่รับได้ผลกระทบจะไม่ได้รับการชี้แจง ดังนั้น ผลที่ได้รับจากชาวบ้านจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
       นายสุจินต์ กล่าวว่า ปัญหาโรงกลั่นน้ำมันที่มีอยู่ทั่วประเทศ มีผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงแทบทั้งสิ้น เช่นที่ จ.ระยอง โดยชุมชนเกิดขึ้นมาก่อนที่โรงงานจะเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ควรจะมีแนวทางในการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่จะให้ชาวบ้านเป็นคนย้ายบ้านเรือนออกนอกพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และที่ผ่านมามีกลิ่นสารเคมีรั่วไหลออกมาจากบริษัทฯในเครือ โดยตอนแรกๆ ทางบริษัทฯก็ไม่ยอมรับ จนมีเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางมาตรวจสอบ และพบสิ่งที่เกิดขึ้น จึงสั่งให้แก้ไขปัญญาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว
       ปัจจุบันเริ่มมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีโรงงานในเครือเกิดขึ้นอีกหลายแห่ง แต่การให้ข้อมูลข่าวสาร หรือปัญหาที่เกิดขึ้นระยะหลังไม่ค่อยให้ข้อเท็จจริงและสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณใกล้กับชุมชนที่มีการปรับพื้นที่ทั้ง 2 จุด เนื้อที่หลาย 10 ไร่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ยอมชี้แจงว่ากำลังดำเนินการอะไร โดยไม่ควรจะปกปิดข้อมูลที่เกิดขึ้น
       ผมเป็นประธานชุมชน แต่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม กับบริษัท ไทยออยล์ ได้เลย เนื่องจากจะถูกกีดกันในทุกๆ รูปแบบ แม้การประชุมของบริษัทฯเสร็จแล้ว เพียงแต่ขอเอกสารหลักฐานในการประชุม ทางบริษัทฯก็ไม่ให้ ซึ่งหมายความว่าอย่างไร ทั้งๆ ที่ขอเพียงเอกสารหลักฐานในการประชุมเท่านั้น ก็ยังไม่ได้ ที่สำคัญเมื่อลูกบ้านมาสอบถาม แต่ไม่มีข้อมูลชี้แจงให้ลูกบ้านได้รับทราบ โดยจะมองว่าตนมีอะไรกับทางบริษัทฯหรือเปล่า นายสุจินต์ กล่าว    
       นายสุจินต์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา เคยมีปัญหาบริษัทฯในเครือไทยออยล์ที่สร้างขึ้นมา โดยชาวบ้านไม่ทราบว่าเป็นโรงงานอะไร แต่เมื่อสร้างเสร็จและเปิดประกอบกิจการ ก็มีทั้งฝุ่นและเขม่าควัน เข้าสู่บ้านเรือนประชาชนเป็นจำนวนมาก และเมื่อไปสอบถามจึงได้รู้ว่าเป็นโรงงานที่สร้างมลพิษอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ชาวบ้านเริ่มระแวง และเฝ้าระวังโรงงานที่จะเกิดขึ้นอีก หวั่นได้รับผลกระทบ
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9490000089704

>>>วิธีการนำเสนอ
1.วิธีการแก้ไขในเรื่องของปัญหามลพิษต่างๆจากเหตุการณ์ คลังน้ำมันไทยออยล์ระเบิด
        โดยแนวทางในการจัดทำแผนต่างๆของคลังน้ำมันนั้น  ก่อนอื่นจะต้องทราบก่อนว่าสาเหตุของการเกิดไฟไหม้เกิดได้จากอะไรบ้าง  ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ อันดับแรกต้องดูจากตัวโรงงานเป็นหลักว่ามีวิธีการดูแลรักษาที่ได้มาตรฐานหรือไม่ ซึ่งจะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ดังนี้
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตรายในคลังน้ำมัน
                  -     การบรรจุสารที่มากจนล้น
                  -     ความบกพร่อง เสียหายของจุดที่ถ่ายเทสาร
                  -     ความเสียหายจากการเคลื่อนที่ของรถบรรทุกขนส่ง
                  -     การเคลื่อนที่ของรถและเรือขณะที่ยังเชื่อมต่อเพื่อถ่ายเทสาร
                  -     ไฟฟ้าสถิตย์
                  -     อุปกรณ์ไม่ทำงานตามปกติ
                  -     การไม่ปฏิบัติตามกฎ
        ซึ่งในกรณีของคลังน้ำมันนั้น  จะต้องเน้นไปที่แผนป้องกัน  เพราะการควบคุมเมื่อเกิดเหตุขึ้นมาแล้วนั้นทำได้ยาก  ดังนั้นในการป้องกันเพลิงไหม้ของคลังน้ำมันนั้น  สามารถสรุปงานที่ทาง เจ้าหน้าที่ คลังน้ำมันจะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมจากหน่วยบกอื่นๆได้ดังนี้
                  1.   การตรวจสอบถังเก็บ
                        1.1     การตรวจสอบภายนอกถัง
                        1.2     บันไดและชานพักบันได
1.3     หลังคาถังแบบตรึงแน่น ( Fixed roof )
1.4     หลังคาถังแบบลอยตัว ( Floating roof )
                        1.5     ผนังถัง
                        1.6     ฐานถัง
                        1.7     อุปกรณ์ที่ติดกับถัง
                  ๒.  การตรวจสอบภายในถัง
            2.1     การตรวจสอบความหนาของแผ่นเหล็กประกอบตัวถัง
                        2.2     วัดความหนาอย่างน้อยแผ่นละ ๑ จุด
                        2.3     เน้นตรวจสอบผนังช่วง ๓๐๐ mm จากก้นถังและขอบถังด้านบน
                        2.4     ฐานถังโดยเฉพาะที่มีน้ำขัง
                        2.5     ประวัติการสึกกร่อนและการใช้งาน
การตรวจสอบต้องใช้อุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือการระเบิด
                  3.   ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเพิ่มเติม
                        3.1     ติดตั้งอุปกรณ์วัดอุณหภูมิในถังน้ำมันโดยถ้าใกล้ถึงจุดวาบไฟของน้ำมัน  หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำมันเกินกว่า ๑๕ °แล้วให้ชุดควบคุมส่งสัญญาณเตือนเพื่อให้ จนท.ไปทำการหล่อเย็นก่อนที่น้ำมันนั้นๆอุณหภูมิจะถึงจุดวาบไฟ
                        3.2     ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ชนิด IR เพื่อตรวจหาประกายไฟแล้วให้ชุดควบคุมส่งสัญญาณเตือนเพื่อให้ จนท.ไปทำการหล่อเย็นก่อนที่น้ำมันนั้นๆอุณหภูมิจะถึงจุดวาบไฟ
                        3.3     ติดตั้งอุปกรณ์วัดแรงดันภายในถังน้ำมัน  โดยเมื่อมีแรงดันเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในถังก็แสดงถึงแนวโน้มที่อาจจะเกิดเพลิงไหม้ได้
แผนการควบคุมหรือระงับเหตุนั้น  สามารถสรุปหัวข้อที่ทางเจ้าหน้าที่คลังน้ำมันจะต้องวิเคราะห์เพิ่มเติมจากหน่วยงานอื่นๆได้ดังนี้
                  1.   แผนผังสถานที่เก็บ
                  2.   การแบ่งประเภทของสารที่เก็บ
                  3.   ระยะห่างที่สัมพันธ์กับผลความร้อน
             4.   การเก็บกักของเขื่อนปิดล้อมจะต้องสามารถเก็บกักปริมาณน้ำมันที่รั่วออกมาจากถังได้ทั้งหมด  โดยน้ำมันจะต้องไม่ล้นเขื่อนปิดล้อม
         สำหรับแผนการขนย้ายนั้น  อย่างที่ได้กล่าวมาในขั้นต้นแล้วว่าลักษณะเพลิงที่ไหม้มีพลังงานคายออกมามากดังนั้นจึงไม่สามารถดับได้โดยง่าย  ซึ่งทาง เจ้าหน้าที่คลังน้ำมันจะต้องจัดทำแผนการขนย้ายเพิ่มเติมจากหน่วยงานอื่นๆ  โดยวิธีที่ดีที่สุดคือการถ่ายน้ำมันบริเวณถังข้างเคียงของถังที่เกิดเพลิงไหม้และถังที่เกิดเพลิงไหม้ออกไป  ยังถังที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเพลิงไหม้นั้น  โดยทางคลังจะต้องติดตั้งลิ้นเปิด ปิดอัตโนมัติ (Hydraulic Valve , Motor Drive , Solenoid Valve , etc. )  ไว้ที่ก้นถังแทนลิ้นธรรมดา  ซึ่งสามารถควบคุมได้จากห้องควบคุม  โดยเมื่อเกิดเหตุแล้วถ้าทำ Feed Line เรียบร้อยแล้ว  ก็จะสามารถถ่ายน้ำมันจากถังที่ไหม้หรือถังข้างเคียงของถังที่เกิดเพลิงไหม้ไปยังถังอื่นได้เพื่อกำจัดเชื้อเพลิงลง  โดยที่ระหว่างถ่ายถังนั้นก็ต้องหล่อเย็นน้ำมันในท่อด้วย  เพื่อให้น้ำมันที่ถ่ายไปนั้นเมื่อไปถึงถังใหม่แล้วมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดวาบไฟ  และปิดลิ้นถังที่เกิดเพลิงไหม้เมื่อเนื้อน้ำมันใกล้ถึงลิ้นเปิด-ปิด  เพื่อป้องกันการระเบิดในท่อ
        สำหรับแผนการอพยพนั้นอย่างที่ได้กล่าวมาในขั้นต้นแล้วว่าลักษณะเพลิงที่ไหม้มีพลังงานคายออกมามากดังนั้นจึงไม่สามารถดับได้โดยง่าย  ซึ่งทาง เจ้าหน้าที่คลังน้ำมันจะต้องจัดทำแผนการอพยพเพิ่มเติมจากหน่วยบกอื่น ๆ  เพราะผลผลิตจากการที่น้ำมันเผาไหม้ไม่สมบูรณ์นั้นจะเกิดควันเป็นจำนวนมาก  ซึ่งเป็นอันตรายต่อบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ข้างเคียง  ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุขึ้นมาอาจจะต้องเริ่มแผนอพยพก่อน โดยอพยพกำลังพลและชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบจากควันไฟ
                  สำหรับแผนในการฟื้นฟูนั้นจะเริ่มเมื่อเพลิงสงบแล้ว  โดยสามารถสรุปหัวข้อที่จะต้องมีได้ดังนี้
                  1.   ส่งผู้บาดเจ็บเข้ารับการรักษา
                  2.   สำรวจโครงสร้างของถัง ( ส่วนมากจะทำลายทิ้งและสร้างใหม่ )
                  3.   สำรวจระบบต่างๆ
                  4.   สำรวจความเสียหายอื่นๆ
                  5.   ประเมินขีดความสามารถของหน่วยที่เหลืออยู่
                  6.   ตรวจสอบหาสาเหตุของเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น
                  7.   รายงานผลการผู้บังคับบัญชา
                  8.   ปรับปรุงมาตรการเพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ขึ้นภายในหน่วยใหม่
                  9.   ซ่อมทำอุปกรณ์/จัดหาทดแทน ที่ชำรุด
                  ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นวิธีการที่โรงงานจะต้องจัดทำเพื่อป้องกันเหตุคลังน้ำมันระเบิด แต่ไม่ใช่จะป้องกันและแก้ไขที่ตัวโรงงานอย่างเดียว แต่สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นพิเศษ คือ ในเรื่องของการจัดการแก้ไขสภาพแวดล้อมรอบๆพื้นที่ ที่ได้รับความเสียหายจาก เหตุการณ์ การระเบิดคลังน้ำมันครั้งนี้ ซึ่งทางบริษัทไทยออยล์ได้ออกมาจัดการกับความรับผิดชอบในการดูแลสิ่งแวดล้อมหลังเกิดเหตุการณ์ ดังกล่าว
1.       ตรวจสอบการแพร่กระจายของหมอกควันพิษที่เกิดจากการระเบิดว่ามีการฟุ้งกระจายไปที่ใดบ้าง
2.       ตรวจดู สิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่นั้น เช่น ในบริเวณที่เกิดระเบิดมี ระบบนิเวศที่ได้รับความเสียไหม
3.       หลังจากเกิดการระเบิด ก็จะทำให้มีขยะเกิดขึ้น ดังนั้นหน่วยงานต้องช่วยกันจัดเก็บ และคัดแยกขยะ เพราะขยะดังกล่าวเป็นขยะที่มาจากการเผาไหม้ จึงอาจทำให้มีสารเคมีที่เป็นอันตรายปนเปื้อนอยู่
4.       มีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาปกติเหมือนเดิม
5.       เข้าสำรวจพื้นที่แหล่งเกษตรกรรมบริเวณใกล้เคียง ว่าได้รับผลกระทบหรือได้รับสารเคมีปนเปื้อนหรือไม่ พร้อมเข้าแก้ไขทันทีถ้าค้นพบ

2.วิธีการแก้ไขในเรื่องของปัญหามลพิษต่างๆจากเหตุการณ์กรณีน้ำมันรั่วไหลบริเวณท่อรับน้ำมันดิบกลางทะเล



การรั่วไหลของนํ้ามันและสารเคมีเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อความยั่งยืนของบริษัทในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเนื่องจากการรั่วไหลของนํ้ามันและสารเคมีปริมาณมากหรือการรั่วไหลอย่างต่อเนื่องสามารถก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อสิ่งมีชีวิตสุขภาพของมนุษย์ตลอดจนเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ได้ดังนั้นเครือไทยออยล์จึงให้ความสำคัญต่อการป้องกันการรั่วไหลควบคู่ไปกับการเตรียมพร้อมเพื่อตอบสนองในกรณีฉุกเฉินและการติดตามตรวจสอบกระบวนการรักษาความปลอดภัยโดยมีการจัดการดังนี้



3.การติดตามและตรวจสอบกระบวนการรักษาควาปลอดภัย
            เพื่อให้การป้องกันเหตุการณ์นํ้ามันรั่วเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเครือไทยออยล์ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผนฉุกเฉิน (Emergency Manual: QMOS-SSM-01)ให้ครอบคลุมแผนฉุกเฉินและการบริหารจัดการภาวะวิกฤต (Emergency andCrisis Management Manual: QMOS-SSM-01) อย่างน้อยปีละครั้งและมีการทบทวนบทบาทหน้าที่ของผู้อยู่เวรคอยเหตุฉุกเฉิน (Emergency Duty Personnel) เป็นประจำแลต่อเนื่องพร้อมทั้งให้มีการทวนสอบผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมโดยคณะกรรมการด้านความมั่นคงความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมกลุ่มปตท. (PTT Group SSHE Auditor)

4.มาตรการป้องกันอุบัติภัยทางทะเลของบริษัทไทยออยล์จำกัด(มหาชน)



         เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์นํ้ามันรั่วไหลจากการขนถ่ายนํ้ามันในทะเลเครือไทยออยล์ได้จัดทำมาตราการป้องกันอุบัติภัยทางทะเลซึ่งประกอบไปด้วยการประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกรณีนํ้ามันรั่วไหลทางทะเลการป้องกันอุบัติภัยทั้งทางด้านวิศวกรรมในขณะสูบถ่ายนํ้ามันด้านการปฏิบัติการด้านอุบัติเหตุจากเรือลำอื่นชนขณะนำเรือเข้าผูกทุ่นและขณะสูบถ่ายนํ้ามันด้านภัยคุกคามจากการก่อการร้ายและ
การระงับเหตุฉุกเฉินเมื่อเกิดนํ้ามันรั่วไหล(Oil Spill Response) ซึ่งมาตราการดังกล่าวได้รับการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันพร้อมทั้งแจ้งมาตราการดังกล่าวให้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยทั่วกันอย่างสมํ่าเสมอ



- การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(Environmental Impact Assessment: EIA)
การศึกษาผลกระทบที่มีต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
         เครือไทยออยล์มุ่งมั่นในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยเน้นการให้ความสำคัญกับการมี
ส่วนร่วมของประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินงานของเครือไทยออยล์เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบสามารถเติบโตควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืนโดยเครือไทยออยล์จะมีการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมรอบพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งในด้านคุณภาพอากาศคุณภาพนํ้าทะเลนํ้าใต้ดินตลอดจนความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในทะเลซึ่งผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมาพบว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประเทศไทยนอกจากนี้เมื่อเครือไทยออยล์จะมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานใดๆที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาทิเช่นการดำเนินโครงการใหม่หรือการขยายโครงการเครือไทยออยล์จะทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(Environmental Impact Assessment: EIA) ซึ่งครอบคลุมการประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการทั้ง 4 ด้านตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและแนวทางการจัดทำรายงาน EIA ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้แก่

1. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเช่นคุณภาพอากาศคุณภาพนํ้าดิน
2. ทรัพยากรทางชีวภาพเช่นสัตว์พืชหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
3. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เช่นนํ้าดื่มนํ้าใช้ไฟฟ้าการจราจร
4. คุณภาพชีวิตทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจสังคมและสาธารณสุข

            ทั้งนี้ในการจัดทำรายงานEIA แต่ละโครงการจะต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นทางการอย่างน้อย2 ครั้งซึ่งผลการรับฟังความคิดเห็นที่ได้จะถูกรวบรวมไว้ในรายงาน EIA และเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาอีกทั้งในช่วงระยะดำเนินการโครงการเครือไทยออยล์จะจัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตราการลดผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้องทุก 6 เดือนตลอดอายุของการดำเนินโครงการเพื่อเป็นการสื่อสารถึงผู้มีส่วนได้เสียให้รับทราบผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบในพื้นที่ในปี 2556 ที่ผ่านมาเครือไทยออยล์มีการดำเนินการจัดทำรายงาน EIA และได้รับความเห็นชอบรายงานทั้งสิ้น4 โครงการและมี 2 โครงการที่ยังอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานฯทั้งนี้เครือไทยออยล์มีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและมวลชนสัมพันธ์เครือไทยออยล์ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆทั้งหน่วยงานภายในโรงกลั่นและแผนกบริหารงานชุมชนและมีผู้บริหารสูงสุดในสายปฏิบัติการเป็นประธานเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้เต็มที่โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือนนอกจากนี้เครือไทยออยล์ได้มีหน่วยงานชุมชนสัมพันธ์ที่มีความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกับชุมชนโดยตรงซึ่งเป็นช่องทางในการสื่อสารเพื่อสอบถามข้อมูลเสนอแนะ
หรือร้องเรียนทั้งในด้านสิทธิทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยสามารถแจ้งเหตุผ่านผู้นำชุมชนเจ้าหน้าที่บริหารงานชุมชนของเครือไทยออยล์จดหมายร้องเรียนและโทรศัพท์สายตรงไปที่ศูนย์ประสานงานที่ดำเนินงานที่ดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมงโดยในปีที่ผ่านมามีการรับข้อมูลการแจ้งเหตุจากชุมชนเข้ามาจำนวน 68 กรณีโดยมีเพียง 1 กรณีที่เกิดขึ้นจากเครือไทยออยล์และต้องมีการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานโดยบันทึกเข้าสู่ระบบกลางเพื่อเก็บประวัติและเป็นช่องทางในการตรวจสอบและติดตามผล 24 ชั่วโมง
เนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือกันหลากหลายหน่วยงาน

นโยบายการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคม 
นโยบายการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคม : หนึ่งในคุณธรรมองค์กร
             Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เป็นหนึ่งในหลักการที่บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความสำคัญต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจ ด้วยตระหนักว่า องค์กรจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน ต้องอาศัยทั้งวิสัยทัศน์ ความสามารถ ควบคู่กับการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินงาน ด้วยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งรวมถึงการมีความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
             บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ให้คณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนยึดถือปฏิบัติ ด้วยความเชื่อมั่น ศรัทธาและเข้าใจในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ไปปฏิบัติในการบริหารจัดการธุรกิจทุกระดับ และถือเป็นกิจวัตรจนเป็นวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังยึดมั่นในความเป็นธรรม ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน และปฏิบัติงานเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ อย่างเต็มความสามารถด้วยความสุจริตโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนเสนอแนะปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจและความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นไปตามมาตรฐานสากล

นโยบายการกำกับดูแล 
            บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทชั้นนำของภูมิภาค สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินธุรกิจ เพิ่มมูลค่าขององค์กรและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ด้วยการบริหารจัดการธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการอันเป็นสากลและเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย และดำรงรักษาความเป็นเลิศในคุณธรรม อันเป็นคุณค่าพื้นฐานขององค์กรชั้นนำ ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.       คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน จะปฏิบัติตามคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ด้วยความเชื่อมั่น ศรัทธา และเข้าใจในหลักการกำกับดูแลกิจการ
2.       คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน จะนำหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ไปปฏิบัติในการบริหารจัดการธุรกิจทุกระดับ โดยถือเป็นกิจวัตรจนเป็นวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร
3.       คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน จะยึดมั่นในความเป็นธรรม ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน และปฏิบัติงานเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความสุจริต โปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้
4.       คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน อาจเสนอแนะปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ เพื่อให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ และความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
5.       การปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ถือเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญในการประเมินผลการบริหารจัดการทางธุรกิจของคณะกรรมการบริษัทฯ กับผู้บริหาร และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคน

             นอกจากการกำหนดนโยบายการกำกับกิจการเพื่อใช้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแล้ว ความรับผิดชอบต่อสังคมถือเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของบริษัทฯ ที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความเอาใจใส่และคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กรไม่ว่าจะเป็น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ตลอดจนชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทฯ ให้ความสำคัญและห่วงใยในความปลอดภัยของสังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงให้ความสำคัญและรับผิดชอบในด้านการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบต่อความเสียหายของสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะชุมชนในเขตรอบโรงกลั่นฯ
            ดังนั้น สิ่งสำคัญที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญควบคู่กับการดำเนินธุรกิจเสมอมาคือความรับผิดชอบของสังคม ซึ่งถือเป็นพันธกิจที่บริษัทฯ มีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นในพนักงานทุกระดับ จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบในด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และให้การสนับสนุนต่อชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม พัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนในระยะยาว


นโยบายคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม
1.       ดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพและบริการที่สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยปฏิบัติตามแนวนโยบายด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งยึดมั่นในกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของราชการ มาตรฐาน และข้อกำหนดของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด
2.       วางแผนบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและควบคุมการดำเนินกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสังคม
3.       ควบคุมและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ตามมาตรฐานสากล ทั้งในส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นทางน้ำ อากาศ เสียง ความร้อน ขยะมูลฝอย และกากของเสีย
4.       ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขแนวนโยบายให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง สามารถรองรับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี กฎหมาย การใช้พลังงาน สถานการณ์สิ่งแวดล้อม และสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสอดคล้อง
5.       ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกแก่พนักงานและบุคคลผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการสื่อสารให้เป็นที่เข้าใจแนวปฏิบัติพร้อมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณะ

 ความสำคัญของการรับผิดชอบต่อสังคมต่อการดำเนินธุรกิจ
 แนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
            จากวิสัยทัศน์ของเครือไทยออยล์ที่จะดำเนินธุรกิจเชิงบูรณาการด้านการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมีอย่างครบวงจรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงดุลยภาพด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม 
           เครือไทยออยล์จึงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการดูแล ความเอาใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้วยความเป็นเลิศและเป็นแบบอย่างที่ดีของประเทศและให้ความช่วยเหลือสังคมด้วยความจริงใจ โดยใช้จุดแข็งและประสบการณ์ในความเชี่ยวชาญด้านพลังงานของบริษัทฯ ที่สั่งสมยาวนานกว่า 50 ปี มาช่วยเหลือสังคมทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ 
           การดำเนินโครงการด้าน CSR ของเครือฯ ในระดับประเทศจะเอื้อประโยชน์ให้กับท้องถิ่นที่สาธารณูปโภคของรัฐไม่สามารถเข้าถึง โดยมุ่งเน้นทำโครงการผลิตพลังงานสะอาดและที่มีความยั่งยืนโดยนำพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งเหลือใช้มาผลิตพลังงานใช้ให้เกิดประโยชน์ แทนการปล่อยทิ้งไปโดยสูญเปล่า ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนดูแลโครงการและในจัดการทรัพยากรของตนเองอย่างมีระบบและครบวงจรเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ทางสังคมหรือคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

กลยุทธ์หลักในการดำเนินงานด้าน CSR
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน กลยุทธ์หลักของเครือไทยออยล์ในการดำเนินงานด้าน CSR มี 5 ประการ ได้แก่ 
1.       นำจุดแข็งและประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านพลังงานที่ยาวนานกว่า 50 ปีของไทยออยล์ไปทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยมีความสอดคล้องตามแนวทาง Brand Promise
2.       ทำโครงการ CSR ร่วมกับสถาบันหรือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และองค์กรไม่แสวงหากำไร
3.       มุ่งเน้นทำโครงการ CSR เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการพัฒนาที่ไม่สมดุล ผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM)
4.       เน้นการทำกิจกรรมหรือโครงการ CSR กับชุมชนในเชิงลึกและกว้างมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายประชาคมร่วมกัน
5.       เสริมสร้างจิตสำนึกให้พนักงาน ออกมาช่วยเหลือดูแลสังคม

แนวทางการดำเนินงานด้าน CSR ของเครืองไทยออยล์
ไทยออยล์พัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม ครอบคลุมการดำเนินงานทั้งในกระบวนการทางธุรกิจ (CSR in process) และนอกเหนือกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ (CSR after process) เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยเริ่มต้นจากภายในองค์กร ขยายออกสู่ชุมชนใกล้เคียงและสังคมในระดับประเทศ โดยมุ่งเน้นใน 4 กรอบ คือ
1.       WORKPLACE : STAFF PARTICIPATION เริ่มต้นจากภายในองค์กร ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยเชื่อมโยงให้เห็นจุดร่วมระหว่างเป้าหมายทางธุรกิจ การดูแลสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสังคมรวมทั้งการกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในโครงการ จิตอาสาที่สอดคล้องกับแนวนโยบาย CSR ของบริษัทฯ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีและความเข้าใจที่ถูกต้องต่องานด้าน CSR (Ref in the park)
2.       ENVIRONMENT : CLEAM ENERGY LEADER เป็นผู้นำและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางด้าน "พลังงานสะอาด" ด้วยการเลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสุดและผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดสภาวะโลกร้อน พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มคุณค่าให้กับสังคม ตลอดจนบริหารจัดการการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามมาตรฐานขั้นสูงของสากล
3.       COMMUNITY : STRENGTH FOCUSED ขยายความรับผิดชอบสู่ชุมชนรอบรั้วโรงกลั่นและชุมชนในท้องถิ่นห่างไกล ด้วยการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยพัฒนาและดำเนินงานที่มุ่งเน้นจุดแข็งที่เป็นต้นทุนทางสังคมที่สั่งสมมานานของชุมชน บนความสามารถหลักของเครือไทยออยล์ ตลอดจนต่อยอดโครงการที่มีอยู่เพื่อร่วมเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนและสังคมโดยรวม ด้วยความเชื่อมั่นบนพื้นฐานแนวคิดการเติบโตร่วมกันระหว่าง อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและชุมชน 
4.       MARKETPLACE : INTEGRATED CSR TO THAI OIL WAY สร้างความยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ด้วยการบูรณาการแนวคิด CSR ให้เป็นสอดคล้องกันกับการบริหารจัดการองค์กรและการพัฒนาธุรกิจ เพื่อสร้างคุณค่าร่วมและนำไปสู่การสร้างความแตกต่างและความสามารถในการแข่งขันภายนอก

>>>ข้อวิเคราะห์ในการนำเสนอ
            ในการแสดงแนวทางป้องกันและรับผิดชอบจากการเกิดเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ จาก บริษัท
ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) คือ เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลพัทยาและเหตุการณ์โรงกลั่นน้ำมันระเบิด จะเห็นว่าบริษัท ไทยออยล์ ได้มีการนำเสนอแนวทางป้องกันออกมาในรูปแบบเว็บไซด์และมีการจัดทำคู่มือเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้รับข่าวสารและวิธีการป้องกันจากเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทมีการจัดทำแผนรายงานปี 2557   และมีโครงการที่ช่วยบำบัดน้ำมันที่รั่วไหลไปแล้วกับคนในชุมชนมีการจัดทำกิจกรรมกับชุมชนในบริเวณใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบ


                        จากแนวทางการจัดการรายงานเสนอต่อสาธารณะ 
                  เปรียบเทียบกับข้อกำหนดรายงานความยั่งยืนของ กลต.

>>>เปรียบเทียบ ประเด็นเหมือน ประเด็นต่าง 

จากรายงานความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบขององค์กรต่อสภาวะเศรษฐกิจของผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย และต่อระบบเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก ดังนั้นตัวชี้วัดเศรษฐกิจจะชี้ให้เห็นถึง
-          การหมุนเวียนของต้นทุน
-          ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจหลักขององค์กรต่อสังคม
โดยในรายงานความยั่งยืนของ กลต. จะแบ่งเกณฑ์วิธีการชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ออกเป็น  9 หมวด
        ข้างล่างนี้จะเป็นตารางเปรียบเทียบความรับผิดชอบของสังคม บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) กับข้อกำหนดรายงานความยั่งยืนของ กลต.


2. หมวดพลังงาน

3.หมวดน้ำ


4. หมวดความหลากหลายทางชีวภาพ



5. หมวดการปล่อยก๊าซ น้ำทิ้ง และของเสีย



6. หมวดสินค้าและบริการ

7. หมวดความร่วมมือ

8. หมวดการขนส่ง

9. หมวดภาพรวม

     

     


การเปรียบเทียบ พรบ.โรงงาน2535 กับ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน)



 
      

       


>>>ตัวอย่างรางาน
ความยั่งยืนของเครือไทยออยล์คือ การเติบโตอย่างยั่งยืนและคงอยู่ในระยะยาว โดยการดำเนินงานที่เป็นเลิศตลอดจนให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ  ความรับผิดชอบต่อสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


โครงการด้านสิ่งแวดล้อม



       เครือไทยออยล์ได้จัดโครงการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมน้อมเกล้าถวายราชินีและโครงการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมน้อมเกล้าถวายองค์ราชันเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชนีนาถและวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นประจำทุกปีรวมทั้งสนับสนุนเครือข่าย 7 ชุมชนรอบโรงกลั่นเทศบาลนครแหลมฉบังโรงเรียนรอบโรงกลั่นกลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวอุดมจัดกิจกรรมพลิกฟื้นทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลอ่าวอุดมหลายครั้งอาทิโครงการปล่อยพันธุ์ปูม้าและบริบาลแม่ปูสู่ทะเลอ่าวอุดมเป็นต้นและจัดทำโครงการระบบนิเวศเขาภูไบเพื่อสำรวจ
     ความหลากหลายทางธรรมชาติโครงการสื่อสารสีเขียวและร่วมกันจัดตั้งศูนย์ประสานงานและคณะกรรมการขับเคลื่อนและคณะทำงานปฏิบัติการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและมวลชนสัมพันธ์เป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภายในโรงกลั่นและแผนกบริหารงานชุมชนเพื่อทำงานเชิงรุกในการกำหนดมาตรการและแผนการดำเนินงานติดตามเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

โครงการด้านการสร้างความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมและสิ่งแวดล้อม


        การบริหารจัดการด้วยรูปแบบสามประสานซึ่งเป็นเวทีประชุมร่วมระหว่างเครือไทยออยล์ชุมชนและเทศบาลนครแหลมฉบังในปี 2556 มีการจัดรูปแบบการทำงานโครงการบ้านอ่าวอุดมชุมชนปลอดขยะในการจัดการสามประสานอย่างเป็นระบบและมีการตั้งกองทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับดำเนินการจัดการขยะในชุมชนอีกด้วยโครงการอื่นๆเช่นโครงการเปิดบ้านสานใจเยาวชนไทยสู่โรงกลั่นโครงการธนาคารความดีในชุมชนบ้านอ่าวอุดมโครงการยุวทูตชุมชนโครงการพัฒนานิสิตนักศึกษาและเยาวชนในชุมชนให้เป็นผู้สืบทอดภารกิจการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืนของชุมชนโดยใช้ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์ประสานงานของชุมชนและหน่วยราชการต่างๆโดยร่วมมือในการจัดประชุมแลกเปลี่ยนดูงานจัดนิทรรศการและบรรยายให้ความรู้เรื่องต่างๆเป็นต้นเครือไทยออยล์ลงพื้นที่สำรวจปัญหาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนพบว่าโรงเรียนวัดแหลมฉบังประสบปัญหาด้านสาธารณสุขพื้นฐานคือนํ้าประปาไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ทำให้ครูและนักเรียนกว่า 400 คนประสบปัญหาความเดือดร้อนอย่างมากจึงได้จัดโครงการสร้างบ่อนํ้าประปาแก่โรงเรียนวัดแหลมฉบังโดยการจัดสร้างถังเก็บนํ้าประปาขนาด 13 ลูกบาศก์เมตรให้กับโรงเรียนวัดแหลมฉบังเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ด้านสาธารณสุขอีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทฯคู่ค้าชุมชนและหน่วยงานภาครัฐทั้งนี้เครือไทยออยล์มีแผนที่จะสร้างบ่อเก็บนํ้าประปาให้โรงเรียนอื่นๆในพื้นที่ที่ขาดแคลนนํ้าประปาต่อไป

>>>วิเคราะห์ ต่อองค์การ และระบบบัญชี บัญชีสิ่งแวดล้อมขององค์การ
ระบบบัญชีสิ่งแวดล้อมในองค์การของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) ยังไม่มีการจัดระบบบัญชีที่แสดงถึง ต้นทุนที่เกี่ยวกับระบบสิ่งแวดล้อมของบริษัทอย่างชัดเจน ฉะนั้นในองค์การควรจะมีการจัดทำระบบบัญชี เกี่ยวต้นทุนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อจะทำให้เห็นภาพของ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายหรือผลกำไรที่ชัดเจนมากขึ้น
ด้านล่างจะเป็นตารางสรุปผลการดำเนินงานคร่าวๆของด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่มีการเปิดเผยเป็นแบบสรุปด้านบัญชีสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน


แหล่งข้อมูลอ้างอิง






รายงาน
เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ (พระราชบัญญัติโรงงาน 2535)
เสนอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์  พัชนิจ  เนาวพันธ์
จัดทำโดย
                        นาย          เนติวัทธ์             บัวเงิน                        รหัสนิสิต          5430110418
                        นางสาว   พรชญา               เอี่ยมประภัสสร          รหัสนิสิต          5430110493
                        นาย          วชิระ                  บุญช่วยแล้ว               รหัสนิสิต          5430110621
                        นางสาว   ปณิตา                  เทพมงคล                  รหัสนิสิต          5430111104
                        นางสาว   กนกวรรณ           พานิชชีวะ                 รหัสนิสิต           5430111261
                                                            
R13   หมู่ 800,830
คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบัญชีบริหาร

ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา   การบัญชีบริหารสิ่งแวดล้อม( 03760433) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น