ตัวอย่างการนำเสนอรายงานขององค์การที่ได้จัดทำยัญชีสิ่งแวดล้อม
และนำเสนอต่อสารธารณะ
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ แนวคิด
การดำเนินการ และรายงาน
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ
บริษัท
บางจากปิโตเลียม จำกัด (มหาชน)เป็นบริษัทชั้นนำของคนไทยประกอบธุรกิจปิโตเลียมครบวงจร
ตั้งแต่จัดหาน้ำมันดิบ ผลิต และจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปจัดขึ้นตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
19 มิถุนายน 2527 จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดำเนินการในลักษณะบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2527 จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัท มหาชน จำกัด เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2536
และได้นำหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2537 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน
1,531 ล้านบาท ทุนชำระแล้ว 1,377 ล้านบาท
เครื่องหมายทางการค้า
โครงสร้างองค์กร
แนวคิด
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด
(มหาชน) เป็นบริษัทไทยชั้นนำที่ก่อตั้งเพื่อดำเนินธุรกิจพลังงานตั้งแต่ปี2528ที่ได้ยึดหลักวัฒนธรรมองค์กร “พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม” มาโดยตลอด
นั่นหมายถึงว่า บริษัทฯ มุ่งพัฒนาธุรกิจให้มีความสมดุลระหว่างมูลค่าทางธุรกิจและคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมและสังคม
โดยบริษัทฯ ได้นำทั้งหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ หลักธรรมาภิบาล
และหลักการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร นอกจากการบริหารจัดการด้านธุรกิจให้สามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่องด้วยหลักการธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรอย่างเคร่งครัดแล้ว
บริษัทฯ ยังได้นำแนวคิดการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญตั้งแต่ระดับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์กร
โดยบริษัทฯ ได้บรรจุตัวชี้วัดด้านสังคมแลสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการดำเนินงาน
เพิ่มเติมจากตัวชี้วัดด้านอื่นๆ (ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการ
และด้านบุคลากร)ทำให้บริษัทฯ สามารถถ่ายทอดเป้าหมายเกี่ยวกับด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติการในส่วนและสายงานต่างๆของบริษัทฯ
ได้อย่างถูกต้อง ทำให้แผนการปฏิบัติการมีความเชื่อมโยงหรือไม่ขัดต่อเป้าหมายตัวชี้วัดด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว
ในขณะที่ระดับปฏิบัติการนั้น นอกจากจะได้รับการถ่ายทอดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมมาจากตัวชี้วัดขององค์กรแล้ว
พนักงานทุกคนของบริษัทฯ ที่ได้ยึดถือวัฒนธรรมพนักงาน “เป็นคนดี
มีความรู้ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น” และค่านิยมทั้ง 3 ข้อข้างต้น จะเป็นส่วนขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการต่างๆ
ทั้งที่เกิดประโยชน์ในทางตรงและทางอ้อมให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างแท้จริง
วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
วิสัยทัศน์ Greenergy
Excellence
มุ่งสร้างสรรค์ธุรกิจพลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พันธกิจองค์กร
ต่อผู้ถือหุ้น/คู่ค้า/ลูกค้า/เจ้าหนี้
ดำเนินธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนเติบโตต่อเนื่องและเป็นธรรม
ต่อสังคม/ชุมชน/สิ่งแวดล้อม
มีวัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อพนักงานพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ
ค่านิยม
Beyond Expectation มุ่งความเป็นเลิศ
Continuing Development สร้างสรรค์ไม่หยุดนิ่ง
Pursuing Sustainability คำนึงถึงความยั่งยืน
วัฒนธรรมพนักงาน
เป็นคนดี มีความรู้
เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
วัฒนธรรมองค์กร
พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม
การดำเนินการ
1.พัฒนาธุรกิจให้เติบโตและมีการกระจายความเสี่ยงสู่ธุรกิจที่รายได้มั่นคง
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด
(มหาชน) ได้กำหนดเป้าหมายที่จะมีการเติบโตสร้างมูลค่าให้กับกิจการอย่างยั่งยืน โดยการปรับโครงสร้างรายได้ขององค์กรจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจการกลั่นสูงถึงร้อยละ
70 และจากธุรกิจการตลาดอยู่ประมาณร้อยละ 30
ซึ่งด้วยธรรมชาติของธุรกิจการกลั่นที่มีความผันผวนสูง
ไม่ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกหรือค่าการกลั่นที่ผันผวนขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาค
ซึ่งอาจจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทฯ มีความผันผวนตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น
บริษัทฯ
จึงได้กำหนดเป้าหมายให้โครงสร้างรายได้ขององค์กรมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจการกลั่นอยู่ที่ระดับร้อยละ
50 ธุรกิจการตลาดร้อยละ 20 และธุรกิจใหม่ซึ่งนับรวมถึงธุรกิจพลังงานสะอาดและธุรกิจพลังงานอื่นๆ
อีกร้อยละ 30 ณ ปี2558
ซึ่งธุรกิจใหม่นี้จะมุ่งเน้นธุรกิจพลังงานสะอาดและธุรกิจพลังงานอื่นๆ
ที่มีรายได้ที่คงที่และมีความเสี่ยงจากความผันผวนของปัจจัยภายนอกต่ำ เช่น
ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานทดแทนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มที่รวมไปถึงการปลูกปาล์ม
หรือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม เป็นต้น
เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของกิจการอย่างมั่นคงและเป็นการกระจายความเสี่ยงรายได้ของบริษัทฯ
ในอนาคตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2. มุ่งสู่บริษัทที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์
(Carbon Neutral Company)
บริษัทฯ
ตระหนักว่าการดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันนั้น
มีการใช้พลังงานค่อนข้างสูงและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการกลั่นและแปรรูปน้ำมันดิบให้เป็นน้ำมันสำเร็จรูป
ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ตั้งเป้าหมายสู่บริษัทที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์
เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจการกลั่นของบริษัทฯ
ให้เหลือน้อยที่สุด โดยภายในปี2558 บริษัทฯ จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่าร้อยละ 50
(จาก Business as usual baseline) ซึ่งเกิดจากความพยายามที่จะพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 118 เมกะวัตต์
โรงงานผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง
การผลิตน้ำมันดีเซลจากสาหร่าย
รวมไปถึงการปรับปรุงด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้เชื้อเพลิงสะอาดของธุรกิจการกลั่นด้วยเช่นกัน
3.พัฒนารูปแบบกิจกรรมและการดำเนินธุรกิจที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ
เห็นว่าการดำเนินกิจกรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ควบรวมหรือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจนั้น
จะไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ของกิจกรรมนั้นได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น บริษัทฯ
จึงได้มุ่งพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้
ซึ่งจะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีและต่อเนื่องไปพร้อมๆ กับการเติบโตของธุรกิจนั่นเอง
สำหรับรูปแบบทางธุรกิจที่บริษัทฯ ได้พัฒนาจนประสบความสำเร็จและยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องนั้นได้แก่
รูปแบธุรกิจการร่วมดำเนินธุรกิจปั๊มน้ำมันร่วมกับสหกรณ์การเกษตร
ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้และยังเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชน
และสังคมของกลุ่มสหกรณ์ด้วย ทั้งนี้รวมไปถึงการรับซื้อสินค้าเกษตรที่ผลิตโดยชุมชนต่างๆ
มาเป็นสินค้าส่งเสริมการขายของบริษัทฯ อีกทั้งบริษัทฯ ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงพลังงาน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์พัฒนารูปแบบธุรกิจการส่งเสริมการพลิกสวนส้มร้างสู่ปาล์มน้ำมัน
ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรในพื้นที่สวนส้มร้างรังสิตและยังเป็นการพัฒนาและยังเป็นการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทดแทนอีกด้วย
ซึ่งการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทดแทนดังที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า
10 ปีในการส่งเสริมทั้งแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่จะมีรายได้ที่ดีขึ้นจากราคาพืชผลการเกษตรที่สูงขึ้น
4.
เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้
บริษัทฯ
ได้ดำเนินการโดยยึดหลักเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้
ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลและตามกฎเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หรือแม้กระทั่งการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพอากาศและน้ำทิ้งบริเวณรอบโรงกลั่นน้ำมันบางจากฯ
ซึ่งนับว่าเป็นการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเชิงรุก (Proactive) โดยได้มีการติดตั้งป้ายบอกคุณภาพอากาศและน้ำทิ้งดังกล่าวหน้าโรงกลั่น
และบริเวณชุมชนรอบโรงกลั่น เพื่อแสดงข้อมูลอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา
บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ
ได้จัดทำบัญชีและพัฒนาบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อ (Environmental cost accounting) มาอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมว่า
สามารถเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการบริหารด้านสิ่งแวดล้อม
การใช้ทรัพยากร ควบคู่กับการบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ดังวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่ว่า “มุ่งสร้างสรรค์ธุรกิจพลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
โดยมีจุดเริ่มต้น
:
2548 : การจัดทำบัญชีต้นทุนสิ่งแวดล้อมเฉพาะสายการผลิต
2551 : นำข้อมูลเข้าระบบบัญชีอิเลคทรอนิคส์
เพื่อให้สามารถจัดทำและนำเสนอรายงานให้กับผู้บริหารและหน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลสามารถใช้ข้อมูลได้ตลอดเวลา
2552 :
ขยายขอบเขตการจัดทำรายงานคลอบคลุมถึงศูนย์จ่ายน้ำมันบางปะอินและตั้งแต่ปี2552
เป็นต้นมา
บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นข้อมูลที่ได้จัดทำและนำเสนอให้กับหน่วยงานภายนอก
และนักลงทุนได้ทราบผ่านบทคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) และ IR Newsletter
ทุกไตรมาสตลอดมา นอกจากนี้ยังถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาและหน่วยงานอื่นที่สนใจอีกด้วย
ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมปี 2556 โดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ประมาณ 33,804 ล้านบาทหรือร้อยละ 31.73 โดยร้อยละ 99เป็นค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น
33,976 ล้านบาท จากกำลังการผลิตเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจาก 73.71 พันบาร์เรล/วัน
ในปี2555 เป็น 99.34 พันบาร์เรล/ วันในปี 2556
ขณะที่ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่ายเพื่อ ควบคุมมลพิษโดยรวมลดลงร้อยละ
56.14 และ 13.13 ตามลำดับ
ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบที่ไม่ได้คุณภาพที่ลดลง 151.19 ล้านบาท
เนื่องจากมีการดูแลกระบวนการผลิตได้ดีขึ้น ใช้กำลังการผลิตค่อนข้างสม่ำเสมอในปี 2556 ทำให้ค่าใช้จ่ายในการนำน้ำมันดิบที่ไม่ได้คุณภาพไปกลั่นใหม่ (Rerun
Cost) เฉลี่ยลดลงจาก 1.36 บาทต่อลิตรในปี 2555 เหลือ 1.07 บาทต่อลิตรในปี 2556
นอกจากนั้น
ยังมีรายได้จากการจำหน่ายของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ได้แก่
ปริมาณกำมะถันเหลวซึ่งลดลงเนื่องจากปริมาณและราคาขายต่อหน่วยลดลงขณะที่รายได้จากการขายกลีเซอรีนไม่ต่างจากเดิมมากนัก
ลักษณะและข้อมูลที่นำเสนอ
ลักษณะเป็นการนำเสนอแบบรางงานสิ่งแวดล้อมโดยข้อมูลที่นำเสนอรายงานฉบับนี้
จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมของบริษัท บางจากฯ ในรอบปี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31
ธันวาคม 2556 ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำและเผยแพร่รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นปีที่
9 และอ้างอิงแนวทางการรายงานตาม Global
Reporting Initiatives Guideline Version 4.0 (GRI-G4) ในระดับหัวข้อหลัก (Core) และยังเสนอการดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อตกลงภายใต้หลักสากล
10 ประการ ของ UN GlobalCompact ที่บริษัทฯร่วมเป็นสมาชิก
สาระสำคัญแสดงถึงการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ
ที่มุ่งสร้างสรรค์ธุรกิจและผลิตภัณฑ์เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดสังคมสีเขียวอย่างยั่งยืนเนื้อหาและสาระสำคัญในการรายงานปี
2556 ประกอบด้วย ข้อมูลหลักองค์กร: วิสัยทัศน์
กลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการที่ดี
การต่อต้านคอร์รัปชั่น ความเสี่ยงหลักขององค์กร และผลการปฏิบัติงานด้านเศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อมและสังคม โดยให้มีการตรวจรับรองจากหน่วยงานภายนอก คือ บริษัท
ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างจำกัด
ซึ่งบริษัทได้คัดเลือกหน่วยงานภายนอกจากประสบการณ์ในการให้ความเชื่อมั่นต่อรายงานฯ
ในธุรกิจประเภทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพื่อความสมบูรณ์และเชื่อถือได้ตามแนวทางในการนำเสนอข้อมูลของ
GRI-G4 ในขั้นตอนการจัดเก็บ รวบรวม และรายงานข้อมูลของดัชนีชี้วัดการดำเนินการที่เป็นประเด็นสำคัญต่อธุรกิจโรงกลั่นและสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อเนื่องเป็นปีที่
2 อันได้แก่
ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม : การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การใช้พลังงาน การใช้น้ำ และการปล่อยของเสีย
ข้อมูลด้านสังคม : อัตราความถี่ของการบาดเจ็บและอัตราความสาหัสของการบาดเจ็บ
และจำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยของพนักงานต่อปี
ขอบเขตรายงานครอบคลุมกิจกรรมของทุกสายงานของบริษัทฯ
แต่มิ ได้ รวมถึงบริษัทย่อยและบริษัทที่เกี่ยวข้องอื่นหากแต่ข้อมูลตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บ
และอัตราความสาหัสการบาดเจ็บครอบคลุมเฉพาะพื้นที่โรงกลั่นฯ
วิธีนำเสนอ
บริษัท
บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้มีการนำเสนอผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท
บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) คือ http://www.bangchak.co.th
4.4 ข้อวิเคราะห์การนำเสนอ
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน คือ มีความต้องการที่แน่ชัดว่า เสนอเพื่ออะไร โดยทำให้เราสามารถพิจารณาได้ถูกต้องชัดเจน
2. มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม คือ มีความกระทัดรัดได้ใจความ เรียง
ลำดับไม่สนใช้ภาษาเข้าใจง่าย ใช้ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ช่วยให้พิจารณาข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
3. เนื้อหาสาระดีมีความน่าเชื่อถือสมบูรณ์ครบถ้วน ตรงตามความต้องการ มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันสมัย และมีเนื้อหาเพียงพอแก่การพิจารณา
4. มีข้อเสนอที่คือ มีข้อเสนอที่สมเหตูสมผล มีข้อพิจารณาเปรียบเทียบ ทางเลือกที่เห็นได้ชัด เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
รางวัลที่เคยได้รับ
รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ
(SET Award of Honor)
ในงาน
SET Awards 2012 ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร
โดยบริษัทฯได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในด้าน
- รายงานบรรษัทภิบาล (Top
Corporate GovernanceReport)
ต่อเนื่องเป็นปีที่
7 เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้านรายงานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- ความรับผิดชอบต่อสังคม
(Corporate Social Responsibilities)
ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม
พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังได้รับรางวัลดีเด่นในสาขารางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
และนักลงทุนสัมพันธ์ด้วย
รางวัลจากงาน Recognition Awards 2012 “THEBEST OF ASIA”
ซึ่งจัดโดย นิตยสาร Corporate Governance Asia โดยบริษัทฯ ได้รับ
- รางวัล Asian Corporate
Director Recognition Award 2012
ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ ดร. อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างความเติบโตทางธุรกิจ
โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงความ
พยายามในการยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีภายในประเทศ
- รางวัล Corporate
Governance Asia Recognition Award 2012
ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่บริษัทที่มีความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับภูมิภาค
รางวัล Outstanding
Entrepreneur Award
เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ ดร. อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ในฐานะผู้นำองค์กรที่มีความมุ่งมั่นและสามารถสร้างความเติบโตทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
โดยคำนึงถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ในงาน“ASIA
PACIFIC ENTREPRENEURSHIP AWARDS 2012 THAILAND” ซึ่งจัดโดย
Enterprise Asia องค์กรอิสระที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในภูมิภาคเอเชีย
รางวัล Gold Award
ของ
The Asset Corporate Awards 2012 โดยพิจารณาจากการดำเนินงานในด้านการบริหารการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การเงิน และนักลงทุนสัมพันธ์ ซึ่งจัดโดยนิตยสาร
The Asset
รางวัล Best Investor Relations
จากงาน
2nd Asian Excellence Recognition Awards 2012 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่บริษัทที่ดีเด่นด้านนักลงทุนสัมพันธ์
จากผลคะแนนและความคิดเห็นจากผู้อ่านนิตยสาร นักลงทุน นักวิเคราะห์ ฯลฯ จัดโดยนิตยสาร
Corporate Governance Asia
รางวัล IP Champion 2012
เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์และ
นำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิผล
และมีความโดดเด่นในเชิงธุรกิจ ซึ่งจัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
ICT
Excellence Awards หมวดโครงการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ไทย
เป็นรางวัลที่มอบให้แก่องค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำหรับโครงการระบบฐานข้อมูลสำนักกฎหมาย
(e-Legal System) ในงาน “Thailand ICT
Excellence Awards 2011” ซึ่งจัดโดยสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ผลการประเมินจากผลสำรวจรายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน
ประจำปี 2555
โดยมีคะแนนในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ” ซึ่งจัดโดยสมาคม
ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)Ent
ผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นอยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ”
ในโครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (Annual General Meeting - AGM)
ประจำปี 2555 ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
รางวัลที่ 1 สถานีบริการร่มรื่น จากโครงการกรุงเทพสะอาดร่มรื่น
และรางวัลที่ 1 ห้องน้ำสะอาดในกรุงเทพฯตามมาตรฐานกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
สำหรับสถานีบริการน้ำมันบางจาก สาขาวิภาวดีรังสิต (ปั๊มGreen Station แห่งแรกของไทย) เพื่อส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของอาคารและสถานที่สาธารณะ จัดโดยกรุงเทพมหานคร
ใบรับรองมาตรฐาน ISO / IEC 27001: 2005
ด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ จากบริษั
BUREAUVERITAS (ประเทศไทย)
จำกัด
ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 4 วัฒนธรรมสีเขียว
(Green Culture)
จากกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อรับรองว่าบริษัทฯ มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
มีการติดตามประเมินผลและทบทวนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
จากแนวทางการจัดการรายงานเสนอต่อสาธารณะเปรียบเทียบกับข้อกำหนดรายงานความ
ยั่งยืนของ
กลต.
เปรียบเทียบประเด็นเหมือนประเด็นต่าง
วิเคราะห์ ต่อองค์การ และระบบบัญชีบัญชีสิ่งแวดล้อมขององค์การ
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)
วิเคราะห์ต่ององค์กร : คิดสร้างสรรค์ก้าวสู่ผู้นำองค์กรสีเขียว
จากเจตนารมณ์และการดำเนินงานของบางจากฯ ที่จะร่วมสร้างสังคมสีเขียว(Green Society) ด้วยวัฒนธรรมองค์กร “พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม”วัฒนธรรมพนักงาน “เป็นคนดี
มีความรู้ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น”ภายใต้วิสัยทัศน์
“Greenergy Excellence” พัฒนานวัตกรรมด้านพลังงาน
กระบวนการผลิต พลังงานทดแทน การประหยัดพลังงานในองค์กรผลิตและจำหน่ายพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่สร้างสมดุลระหว่างมูลค่าและคุณค่า ของชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
การดำเนินธุรกิจของ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ยึดตามวัฒนธรรมองค์กรมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2528 ที่มุ่ง “พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม” จนได้รับการยอมรับจากสังคมในวงกว้าง และส่งเสริมให้พนักงาน “เป็นคนดี มีความรู้ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น” ปัจจุบันได้ยกระดับการบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือ CSR ตามหลักสากล ISO 26000 และ UN Global Compact รวมทั้งได้จัดทำรายงานการพัฒนาธุรกิจร่วมไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม (Sustainability Report) ตามแนวทาง The Global Reporting Initiative (GRI) เผยแพร่เป็นประจำทุกปี เพื่อให้บริษัท บางจากฯ (มหาชน) และบริษัทในเครือได้นำแนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (CSR-in-Process) จึงได้กำหนดเป็นนโยบายดังนี้
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฏหมายและกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ ตรวจสอบได้ ปฏิบัติตามนโยบายการกำกับกิจการที่ดี และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้น พนักงาน ชุมชนและสังคม คู่ค้า สื่อมวลชน ลูกค้าและประชาชน คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
กระบวนการผลิต พลังงานทดแทน การประหยัดพลังงานในองค์กรผลิตและจำหน่ายพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่สร้างสมดุลระหว่างมูลค่าและคุณค่า ของชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
การดำเนินธุรกิจของ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ยึดตามวัฒนธรรมองค์กรมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2528 ที่มุ่ง “พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม” จนได้รับการยอมรับจากสังคมในวงกว้าง และส่งเสริมให้พนักงาน “เป็นคนดี มีความรู้ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น” ปัจจุบันได้ยกระดับการบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือ CSR ตามหลักสากล ISO 26000 และ UN Global Compact รวมทั้งได้จัดทำรายงานการพัฒนาธุรกิจร่วมไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม (Sustainability Report) ตามแนวทาง The Global Reporting Initiative (GRI) เผยแพร่เป็นประจำทุกปี เพื่อให้บริษัท บางจากฯ (มหาชน) และบริษัทในเครือได้นำแนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (CSR-in-Process) จึงได้กำหนดเป็นนโยบายดังนี้
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฏหมายและกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ ตรวจสอบได้ ปฏิบัติตามนโยบายการกำกับกิจการที่ดี และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้น พนักงาน ชุมชนและสังคม คู่ค้า สื่อมวลชน ลูกค้าและประชาชน คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี หลีกเลี่ยงการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ รวมถึงส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมในห่วงโซ่ธุรกิจทุกขั้นตอน (Business Chain)
สิทธิมนุษยชนและการปฎิบัติต่อพนักงาน
ยึดมั่นในวัฒนธรรมของบริษัทฯ สนับสนุนและเคารพในการปกป้องสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม จัดให้มีสวัสดิการ ความปลอดภัยและสุขอนามัยในสถานที่ทำงาน รวมถึงปฏิบัติตามนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ระดับองค์กรและการพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับการทำงานของพนักงานอย่างมืออาชีพ พัฒนาระบบการทำงานและสร้างนวัตกรรมในองค์กร อีกทั้งส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์กับสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม
ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพตรงตามหรือสูงกว่าความคาดหมายของผู้บริโภค ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ถูกต้อง เพียงพอ ไม่เกินความเป็นจริง รักษาความลับของลูกค้าไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมิชอบ
สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ตระหนักและมีกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในทุกกระบวนการทางธุรกิจ รวมถึงใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานตามหลักการสากล
การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม ส่งเสริมการใช้กระบวนการทางธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วยสร้างเศรษฐกิจและความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อนบ้าน และสังคมไทย
การพัฒนาและเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
สนับสนุนการสร้างสรรค์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Co-Creation) ในการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างความสมดุลระหว่างมูลค่าและคุณค่าต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับความเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี หลีกเลี่ยงการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ รวมถึงส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมในห่วงโซ่ธุรกิจทุกขั้นตอน (Business Chain)
สิทธิมนุษยชนและการปฎิบัติต่อพนักงาน
ยึดมั่นในวัฒนธรรมของบริษัทฯ สนับสนุนและเคารพในการปกป้องสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม จัดให้มีสวัสดิการ ความปลอดภัยและสุขอนามัยในสถานที่ทำงาน รวมถึงปฏิบัติตามนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ระดับองค์กรและการพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับการทำงานของพนักงานอย่างมืออาชีพ พัฒนาระบบการทำงานและสร้างนวัตกรรมในองค์กร อีกทั้งส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์กับสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม
ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพตรงตามหรือสูงกว่าความคาดหมายของผู้บริโภค ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ถูกต้อง เพียงพอ ไม่เกินความเป็นจริง รักษาความลับของลูกค้าไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมิชอบ
สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ตระหนักและมีกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในทุกกระบวนการทางธุรกิจ รวมถึงใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานตามหลักการสากล
การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม ส่งเสริมการใช้กระบวนการทางธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วยสร้างเศรษฐกิจและความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อนบ้าน และสังคมไทย
การพัฒนาและเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
สนับสนุนการสร้างสรรค์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Co-Creation) ในการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างความสมดุลระหว่างมูลค่าและคุณค่าต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับความเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม :
นับเป็นเวลาต่อเนื่องถึง 16 ปี ที่บริษัทฯ
ยังรักษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระบบมาตรฐาน ISO
1400 1ครอบคลุมทั้งกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ศูนย์จ่ายน้ำมันบางจาก
และศูนย์จ่ายน้ำมันบางปะอิน
และด้วยความมุ่งมั่นของผู้บริหารสูงสุดที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2556 บริษัทฯ ได้ปรับปรุงและประกาศใช้นโยบาย ความปลอดภัย ความมั่นคง
สิ่งแวดล้อม และพลังงาน เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการตามระบบ ISO 1400 1, OHSAS/TIS 1800 1และ ISO
50001 บริษัทฯ ได้ยื่นขอใบรับรองแล้วในช่วงปลายปี 2556 การประกาศนโยบายครั้งนี้ ได้เพิ่มเติม เรื่อง
ความมั่นคงโดยกำหนดให้พนักงานและผู้รับเหมาทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายความมั่นคงด้วย
นอกเหนือจากปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน
รวมถึงต้องปฏิบัติงานให้เกิดความมั่นคงทั้งต่อตนเอง ผู้เกี่ยวข้องชุมชน
และสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ ผู้บริหารสูงสุด
ยังได้สนับสนุนทรัพยากรเพื่อปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการลงทุนเพิ่มในโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่และรักษาสภาพแวดล้อม
เป็นการต่อยอดโครงการลดน้ำทิ้ง น้ำใช้
ซึ่งจะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการในช่วงปลายปี 2557
ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้สามารถนำน้ำทิ้งกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ในกระบวนการผลิตได้
อันจะส่งผลให้ลดการระบายน้ำทิ้งออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะอีกทางหนึ่งยิ่งกว่านั้น
ยังให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล จึงจัดสรรงบประมาณพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ให้มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ผ่านการอบรมหลากหลายหลักสูตร ได้แก่
ผู้ตรวจประเมินภายในองค์กร การใช้งานระบบบริหารจัดการเอกสารและ ISO ออนไลน์, ผู้ปฏิบัติงานประจำระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ
ผู้ปฏิบัติงานประจำระบบบำบัดมลพิษอากาศการตรวจสอบและควบคุมการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหย
(VOCs), หลักการทำงานของระบบรีเวอร์สออสโมซิส (ReverseOsmosis) และระบบทำตะกอนแห้งด้วยเครื่องบีบอัดตะกอน (Filter Press)ในปีนี้ บริษัทฯ
ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และเตรียมการเพื่อยื่นขอการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
(Green Industry)ระดับที่ 5
เครือข่ายสีเขียว (Green Network) จากกระทรวงอุตสาหกรรม
หลังจากได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่4 ในปี 2555
ระบบบัญชีสิ่งแวดล้อมขององค์กร : บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯได้จัดทำและพัฒนาบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental
Cost Accounting) มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญบัญชีค่าใช้จ่ายสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการบริหารด้านสิ่งแวดล้อมการใช้ทรัพยากรควบคู่กับการบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ดังปรัญชาของบริษัท ที่ว่า “มุ่งสร้างสรรค์ธุรกิจพลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
โดยมีจุดเริ่มต้น :
2548 :การจัดทำบัญชีต้นทุนสิ่งแวดล้อมเฉพาะสายการผลิต
2551 :นำข้อมูลเข้าระบบบัญชีอิเลคทรอนิคส์ เพื่อให้สามารถจัดทำและนำเสนอรายงานให้ผู้บริหารและ หน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลสามารถใช้ข้อมูลได้ตลอดเวลา
2552 :ขยายขอบเขตการจัดทำรายงานคลอบคลุมถึงศูนย์จ่ายนน้ำมันบางปะอิน
ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ได้มีการนำเสนอบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมให้ก้บหน่วยงานภายนอก และนักลงทุนได้ทราบผ่านบทคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) และ จดหมายข่าวนักลงทุน (IRNewsletter) ทุกไตรมาส ตลอดมานอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา และหน่วยงานอื่นที่สนใจอีกด้วยค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมปี 2556 โดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ประมาณ 33 ,804 ล้านบาทหรือร้อยละ 3 1.73 โดยร้อยละ 99เป็นค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 33 ,976 ล้านบาท จากกำลังการผลิตเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจาก 73.71 พันบาร์เรล/วันในปี 2555 เป็น 99.34 พันบาร์เรล/ วันในปี 2556 ขณะที่ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษโดยรวมลดลงร้อยละ 56.14 และ 13.13 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบที่ไม่ได้คุณภาพที่ลดลง 151.19 ล้านบาท เนื่องจากมีการดูแลกระบวนการผลิตได้ดีขึ้น ใช้กำลังการผลิตค่อนข้างสม่ำเสมอในปี 2556 ทำให้ค่าใช้จ่ายในการนำน้ำมันดิบที่ไม่ได้คุณภาพไปกลั่นใหม่ (Rerun Cost) เฉลี่ยลดลงจาก 1.36 บาทต่อลิตรในปี 2555 เหลือ 1.07 บาทต่อลิตรในปี2556นอกจากนั้น ยังมีรายได้จากการจำหน่ายของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ได้แก่ ปริมาณกำมะถันเหลวซึ่งลดลงเนื่องจากปริมาณและราคาขายต่อหน่วยลดลงขณะที่รายได้จากการขายกลีเซอรีนไม่ต่างจากเดิมมากนัก
โดยมีจุดเริ่มต้น :
2548 :การจัดทำบัญชีต้นทุนสิ่งแวดล้อมเฉพาะสายการผลิต
2551 :นำข้อมูลเข้าระบบบัญชีอิเลคทรอนิคส์ เพื่อให้สามารถจัดทำและนำเสนอรายงานให้ผู้บริหารและ หน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลสามารถใช้ข้อมูลได้ตลอดเวลา
2552 :ขยายขอบเขตการจัดทำรายงานคลอบคลุมถึงศูนย์จ่ายนน้ำมันบางปะอิน
ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ได้มีการนำเสนอบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมให้ก้บหน่วยงานภายนอก และนักลงทุนได้ทราบผ่านบทคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) และ จดหมายข่าวนักลงทุน (IRNewsletter) ทุกไตรมาส ตลอดมานอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา และหน่วยงานอื่นที่สนใจอีกด้วยค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมปี 2556 โดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ประมาณ 33 ,804 ล้านบาทหรือร้อยละ 3 1.73 โดยร้อยละ 99เป็นค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 33 ,976 ล้านบาท จากกำลังการผลิตเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจาก 73.71 พันบาร์เรล/วันในปี 2555 เป็น 99.34 พันบาร์เรล/ วันในปี 2556 ขณะที่ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษโดยรวมลดลงร้อยละ 56.14 และ 13.13 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบที่ไม่ได้คุณภาพที่ลดลง 151.19 ล้านบาท เนื่องจากมีการดูแลกระบวนการผลิตได้ดีขึ้น ใช้กำลังการผลิตค่อนข้างสม่ำเสมอในปี 2556 ทำให้ค่าใช้จ่ายในการนำน้ำมันดิบที่ไม่ได้คุณภาพไปกลั่นใหม่ (Rerun Cost) เฉลี่ยลดลงจาก 1.36 บาทต่อลิตรในปี 2555 เหลือ 1.07 บาทต่อลิตรในปี2556นอกจากนั้น ยังมีรายได้จากการจำหน่ายของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ได้แก่ ปริมาณกำมะถันเหลวซึ่งลดลงเนื่องจากปริมาณและราคาขายต่อหน่วยลดลงขณะที่รายได้จากการขายกลีเซอรีนไม่ต่างจากเดิมมากนัก
(หน่วย
: ล้านบาท)
2555 2556
ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์
น้ำมันดิบ
(Crude Feed) 96,406.01
127,407.41
เอทานอล
(Ethanol) 2,391.83
5,551.98
ไบโอดีเซล (บี100) 3,106.96
2,971.28
น้ำมันพืชใช้แล้ว 23.38
35.76
สารเคมี
47.98 39.88
น้ำใช้ในการผลิต 34.63 40.03
พลังงานที่ใช้ในการผลิต 4,022.86
3,964.21
ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์
น้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพ (SLOP OIL) 258.70 107.5
1ตะกอนน้ำมันจากถังน้ำมันดิบ/น้ำมันเตา 1.86
2.19
น้ำทิ้ง 8.35 6.65
สารเคมีที่มากเกินพอจากน้ำบ่อปรับเสถียร 0.17 1.71
กำมะถันไม่ได้คุณภาพ 0.12 -
ค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษ
ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อม 15.04 34.74
ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ 171.37 128.70
ค่าบำบัดน้ำทิ้ง 6.22 4.54
ค่ากำจัดของเสีย 8.74 6.93
ค่าธรรมเนียมและภาษีด้านสิ่งแวดล้อม
- -
ค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อม
ค่าใช้จ่ายการติดตามและตรวจวัด 5.77 5.39
ค่าเสื่อมราคาพื้นที่เก็บกากของเสีย 0.23
0.25
ค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินระบบจัดการ
0.17 0.07
ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อม 0.01 0.47
ประโยชน์ของผลผลิตพลอยได้และการนำของเสียมาใช้ใหม่
กำมะถันเหลว (15.39) (4.26)
กลีเซอรีน (0.64) (0.37)
เศษเหล็ก-อลูมิเนียม (7.98) (10.89)
กระดาษ 0.00 (0.05)
กลีเซอรีน (0.64) (0.37)
เศษเหล็ก-อลูมิเนียม (7.98) (10.89)
กระดาษ 0.00 (0.05)
รายงาน
วิชา
Environmental
Management Accounting ( 03760433 )
เสนอ
อาจารย์
พัชนิจ เนาวพันธ์
จัดทำโดย
1. นางสาว
จิตสุภา รุงเรือง รหัสนิสิต 5430160083
2. นางสาว
นงลักษณ์ วรพันธ์ รหัสนิสิต 5430160440
3. นางสาว
พิมลพรรณ สุขเกษมรหัสนิสิต 5430160580
4. นางสาว
รัชนิดา หนูแก้ว รหัสนิสิต
5430160652
หมู่เรียน
850
คณะวิทยาการจัดการ
สาขาบัญชีบริหาร R12
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขต ศรีราชา ปีการศึกษา 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น