บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน)
แนะนำองค์กร
บริษัทอมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2532 เป็นบริษัทพัฒนา และจัดการด้านนิคมอุตสาหกรรม ชั้นนำของประเทศไทย
นิคมอุตสาหกรรมทั้งสองแห่งตั้งอยู่บนพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก (Eastern
Seaboard) คือ อมตะนคร จังหวัดชลบุรี และอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง ปัจจุบันมีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมมุ่งมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัทของเราจึงมีการขยายประเทศเวียดนามด้วย อมตะนครเน้นการบริการอย่างมีคุณภาพพื้นฐาน
ดังนั้นเราจึงนำรูปแบบการบริการแบบครบวงจรเข้ามาเพื่อช่วยโรงงานต่างๆ 14 แห่ง
ที่ให้บริการในด้านการสร้างโรงงงานสำเร็จรูป ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ การบำบัด ร้านค้า
คลินิกสุขภาพ โรงเรียน ร้านอาหาร และอื่นๆอีกมากมาย
เราจึงสร้างนิคมอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดเมืองสมบูรณ์แบบ
เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและดำเนินชีวิต
วิสัยทัศน์
ผู้นำการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมระดับโลก
โดยพัฒนานิคมให้เป็น “เมืองที่สมบูรณ์แบบ” รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
โดยทำให้โรงงานและชุมชนสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข
พันธกิจ
พัฒนาเมืองที่มีความทันสมัย บริการคุณภาพ
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ภาระกิจ
การดำเนินงานที่ครอบคลุมถึงการเพิ่มมูลค่า
และการพัฒนาการดำเนินงานของนิคมให้สามารถตองสนองความต้องการของลูกค้า
เพื่อนนำไปสู่เมืองที่เพียบพร้อมไปด้วยการบริการ และระบบสาธารณูปโภคที่พร้อมสรรพ
คุณสมบัติของพนักงานอมตะ
D R I V E – The 5 Key Characteristics employees should have:
D DEPENDABLE (น่าเชื่อถือวางใจได้)
R RESPONSIVE (พร้อมให้การตอบสนอง)
I INNOVATIVE (ลองคิดสิ่งใหม่)
V VISIONARY (มองไกลไปข้างหน้า)
E EFFICIENT (เต็มคุณค่ามีประสิทธิภาพ)
การดูแลสิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบต่อสังคม
บริษัทฯ
ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้จรรยาบรรณทางธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม พัฒนาธุรกิจใหม่ที่มีรูปแบบและกระบวนการทางธุรกิจที่สร้างคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในตัวเองด้วย
(CSR In-process) ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังคงยึดมั่นต่อกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(CSR After-process) ปัจจุบันบริษัทได้จัดทำรายงาน ตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และแสดงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ56-2) ซึ่งเผยแพร่เป็นประจำทุกปี
บริษัทได้นำแนวทางในการทำกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจ
(CSR In-Process) และได้กำหนดเป็นนโยบายดังนี้
1. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้น
ก. การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน บริษัทมีการดำเนินการทั้งภายใน และภายนอกองค์กรเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน
ด้วยการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างในถนนโดยใช้หลอดประหยัดพลังงาน, การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมISO 14001 ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ใน
EIA อย่างเคร่งครัด, มีการบริหารจัดนำน้ำที่ผ่านการบำบัดจนได้มาตรฐานแล้วกลับมารดพื้นที่สีเขียวในนิคมฯ,
สนามกอล์ฟ และยังนำไปผลิตเป็นน้ำเกรดสองเพื่อให้โรงงานใช้ต่อไป
โดยระบบบำบัดน้ำเสีย ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (โครงการ 2)
- มีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียชีวภาพชนิด
SBR ขนาด 30,000 ลบ.ม. / วัน
- ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น ประมาณ 23,000 ลบ.ม. / วัน
- ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น ประมาณ 23,000 ลบ.ม. / วัน
ข. การป้องกันและลดผลกระทบด้านมลพิษจากโรงงาน เพื่อไม่ให้ส่ง ผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ดังนี้
1) โครงการรณรงค์ส่งเสริมผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมฯ ให้ทำการควบคุมและลดปริมาณมลพิษที่จะระบายออกสู่บรรยากาศให้ดีกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
2) โครงการรณรงค์ส่งเสริมผู้ประกอบการให้ทำการควบคุมการจัดการขยะอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและตามที่กฎหมายกำหนด
ซึ่งได้จัดให้มีระบบการกำจัดขยะโดย
- ขยะมูลฝอย
จัดให้มีโรงคัดแยกขยะ และจัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง /
หน่วยงานท้องถิ่นไปดำเนินการ
- กากของเสียอุตสาหกรรม กำหนดให้โรงงานที่ก่อให้เกิดของเสียอันตรายดำเนินการส่งไปยังศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมของบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจำกัด (มหาชน) หรือ GENCO ซึ่งโรงงานต้องส่งใบขนส่งกากของเสียให้โครงการรับทราบทุกครั้ง
- กากของเสียอุตสาหกรรม กำหนดให้โรงงานที่ก่อให้เกิดของเสียอันตรายดำเนินการส่งไปยังศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมของบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจำกัด (มหาชน) หรือ GENCO ซึ่งโรงงานต้องส่งใบขนส่งกากของเสียให้โครงการรับทราบทุกครั้ง
นอกจากนั้นยังมีระบบป้องกันน้ำท่วมในนิคมฯโดย
- ปรับถมพื้นที่ให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมขังทั่วไป
ทำคลองขุดและเสริมเขื่อนดินโดยรอบพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบน้ำท่วมที่จะเกิดกับพื้นที่โดยรอบ
-ระบบระบายน้ำฝนออกแบบเป็น Gutter คอนกรีต รับน้ำจากถนน แล้วระบายสู่ลำรางสาธารณะทางทิศเหนือ และทิศใต้ของพื้นที่โครงการ
-ระบบระบายน้ำฝนออกแบบเป็น Gutter คอนกรีต รับน้ำจากถนน แล้วระบายสู่ลำรางสาธารณะทางทิศเหนือ และทิศใต้ของพื้นที่โครงการ
3) การปกป้องฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวะภาพ ร่วมกับชุมชนทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนทุกๆ
ปี เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้น และยังสร้างฝ่ายชะลอน้ำ
ปลูกป่าเพิ่มสีเขียวให้กับนิคมฯและพื้นที่โดยรอบ
4) การรับฟังข้อคิดเห็นและข้อร้องเรียนจากชุมชน บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเสนอข้อคิดเห็น
และร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโรงงานและนิคมฯ ได้ตลอดเวลา จากนั้นก็จะเข้าทำการตรวจสอบและ
ทำการแก้ไขอย่างทันท่วงที เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นต่อการดำเนินการของบริษัทฯ
ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
2. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
ก. บทบาทในตลาดและการสร้างงาน
บริษัทเชื่อมั่นว่าการส่งเสริมให้ส่วนต่างๆ
ของสังคมที่อยู่รอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร และอมตะซิตี้มีความแข็งแกร่งจะมีผลให้ประเทศชาติมีความมั่นคงและเข้มแข็ง
บริษัทจึงให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชนหลายๆ ด้าน เช่นงานสาธารณกุศล การส่งเสริมการศึกษา
การติดตั้งป้ายรับสมัครงานที่ อบต./เทศบาล
งานทำนุบำรุงศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าของแต่ละตำบล(OTOP) งานมหกรรมนัดพบแรงงาน
ข. การป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น
บริษัทยึดถือความสุจริตเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ
และดำเนินธุรกิจโดยถูกกฎหมาย บริษัทไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนการทุจริตหรือจ่ายสินบนเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ
นอกจากนี้บริษัทยังเคารพและไม่สนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ของกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและผู้อื่น
ข้อดีและข้อแตกต่างของการก่อตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
- มีการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยทำหน้าที่ในการเฝ้าสังเกตและบังคับใช้ข้อบังคับและมาตรฐานเกี่ยว
กับอุตสาหกรรมในโรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรม
โดยจะครอบคลุมตั้งแต่ข้อบังคับเกี่ยวกับการก่อสร้างจนถึง
มาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางด้านการปล่อยอากาศเสียและการบำบัดน้ำเสีย
- ต้องมีการจัดสรรพเนื้อที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีเขตพื้นที่ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่สีเขียว และพื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone)
- การปลูกสร้างโรงงาน จัดตั้งและประกอบกิจการเป็นไปตาม
กฎหมายว่าด้วยโรงงาน
- อุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมการส่งออกจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับเครื่องจักร
อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
- วัตถุดิบที่นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
แต่ะหากนำออกมาจำหน่ายภายในประเทศจะต้องเสียภาษีย้อนหลัง
- พนักงาน
เจ้าหน้าที่ของรัฐมีสิทธิในการเข้าตรวจค้นโรงงาน
- นักลงทุนต่างชาติที่เลือกตั้งโรงงานภายนอกนิคมอุตสาหกรรมจะไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน
เว้นเสียแต่ว่าบริษัทนั้นจะ เป็นบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นการพิเศษ
- นิคมอุตสาหกรรมมีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน
สาธารณูปโภคที่จำเป็นเพื่อให้สะดวกในการจัดตั้งโรงงาน เป็นไปตามมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในนิคมอุตสาหกรรม
- นิคมอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัย
จะมีการก่อสร้างคันกั้นน้ำล้อมรอบพื้นที่โครงการเพื่อป้องกันน้ำท่วมและป้องกันน้ำจากบริเวณรอบนอกไหลเข้าสู่พื้นที่ภายใน
- คุณภาพของน้ำประปาที่ใช้ในเขตนิคมอุตสาหกรรมต้องได้ค่ามาตรฐานของการประปานครหลวงหรือการประปาส่วนภูมิภาค
- ระบบการบำบัดน้ำเสียต้องมีความเหมาะสมตามลักษณะสมบัติของน้ำเสียของแต่ละนิคมอุตสาหกรรม และ
การบำบัดน้ำเสียต้องเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด
- การบำบัดและกำจัดสลัดจ์ (Sludge Treatment
and Disposal) ที่ออกจากระบบบำบัดน้ำเสียต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
หรืออาจส่งสลัดจ์ให้แก่ผู้รับบริการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช่แล้วซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการถูกต้องตามกฎหมายรับไปดำเนินการบำบัดและกำจัดก็ได้
- ให้ใช้บริการการจัดการกากอุตสาหกรรม
มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลจากผู้รับบริการกำจดที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการได้
- กรณีนิคมอุตสาหกรรมใดมีความประสงค์จะสร้างระบบกำจัดกากอุตสาหกรรม มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขนเอง
ต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเภทของกิจการในนิคมอตสาหกรรมตามที่กฎหมายกำหนด
-
ติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการนิคมอุตสาหกรรมที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการว่าจ้างบุคคลที่สามหรือหน่วยงานกลาง (Third Party)
ที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
เป็นผู้ดำเนินการติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ให้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมทุก
ๆ หกเดือนหรือสองครั้งต่อปี
ข้อพิพาท
การขยายนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครเฟส 2
การต่อสู้ระหว่างวิถีทุนใหญ่กับวิถีชุมชนคนตัวเล็ก
โครงการอมตะนคร แห่งที่ 2
กำลังจะเป็นฝันร้ายของชาวชุมชนที่รักวิถีการเกษตรและชีวิตที่แอบอิงอยู่กับธรรมชาติดั้งเดิม
ที่มีความสงบสุข
สะดวกสบายตามประสาชุมชนเกษตรที่สืบทอดวิถีนี้มากว่าร้อยปีนับแต่รุ่นปู่ยาตาทวด
คนรุ่นกลางที่ผ่านการเป็นคนงานในโรงงานและผ่านการทำงานในอาคารสำนักงานมาแล้ว
พบว่าวิถีชนบทแบบดั้งเดิมที่พออยู่พอกินนั้นมีความหมายมากกว่าการเป็นมนุษย์เงินเดือนในเมืองหรือโรงงานที่แออัด
จึงหวนกลับมาที่บ้านเกิดของตนเองเพื่อปักหลักสร้างชีวิตในถิ่นฐานเดิมด้วยวิถีเกษตรตามรอยของบรรพบุรุษที่พ่อแม่สร้างมา
และพัฒนาให้มีความเจริญมั่นคงสืบต่อไป
ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สิ่งที่คนในชุมชนต้องการที่แท้จริงคือ “การมีชีวิตอยู่แบบเดิมอยู่โดยพึ่งพา
น้ำ ดิน อากาศ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติตามที่เคยเป็นมา"
ผลจากการมีนิคมอุตสาหกรรมโครงการ 1 ทำไห้พระในวัดมาบสามเกลียว
บิณฑบาตรไม่ค่อยได้ต้องเดินออกไปนอกนิคม ชาวบ้านเลี้ยงปลาไม่ได้เหมือนก่อน
ปลาโตช้าบางทีก็หงายท้องตายพร้อมๆกัน
มันไม่ใช่เรื่องเงินชดเชยแต่มันเป็นเรื่องสิทธิในอาชีพที่ตนเลือก
ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ไม่เอาโรงงานแต่ไม่กล้าแสดงออกเพราะกลัวอำนาจอิทธิพลบ้านใหญ่
ผู้นำท้องถิ่นส่วนมากก็คนของนิคมทั้งนั้น พวกเขาไม่สมัครใจเป็นคนงานในโรงงาน
เขาอยากจะเป็นเกษตรกรตามรอยบรรพบุรุษที่สืบทอดมา
และทำเกษตรกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง
การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
อมตะนคร แห่งที่ 1 มีพื้นที่ประมาณ 15,000 ไร่
ขยายจากตอนเริ่มต้นโครงการครั้งแรกในปี 2541 ถึงปัจจุบัน 2553 ในเวลาเพียง
สิบกว่าปีมีการขยายตัวจนกินพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต.บ้านเก่า ต.ดอนหัวฬอ และ
ต.หนองกะขะ เข้าไปเกือบทั้งหมด
วัดมาบสามเกลียว ซึ่งเป็นวัดดั้งเดิมกลางชุมชน
ตอนนี้ถูกล้อมด้วยโรงงาน พระสงฆ์ต้องออกไปบิณฑบาตนอกรั้วอมตะนคร
มีประชากรผู้ใช้แรงงานในโรงงานกว่า 400 แห่ง จำนวนประมาณ 120,000 คน ส่วนมากมาจากต่างถิ่น รวมทั้งแรงงานต่างด้าว
ชาวบ้านคลองตำหรุและชาวบ้านปากแม่น้ำบางปะกงผู้มีอาชีพประมงได้รับความเดือดร้อนจากน้ำเสียที่โรงงานปล่อยออกมา
แม้จะวัดค่ามาตรฐานผ่านแต่ยังมีสารพิษอื่นๆปนเปื้อนจนไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงปลา-กุ้งดังเดิมได้
ขณะนี้อมตะยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้
เมื่อประมาณปี 2552 อมตะนคร
ได้ติดต่อขอซื้อที่ดินจากวัดคาธอลิกหัวไผ่จำนวนประมาณ 6000 ไร่
แต่ประชาชนทุกตำบลลุกขึ้นมาประท้วงการซื้อขายจึงต้องยุติลง
วัดและชุมชนมีการทำสัญญาร่วมกันว่าจะไม่มีการขายที่ดินของวัดให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมอีก
พื้นที่ที่จะทำการสร้างอมตะนครแห่งที่ 2 เป็นลำคลองต่างๆ
ที่น้ำจากป่ารอยต่อ 5 จังหวัด คือ จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด น้ำไหลผ่านเป็นประจำทุกปีในฤดูน้ำหลาก ซึ่งน้ำส่วนใหญ่ไหลมาจาก อ.บ่อทอง อ.เกาะจันทร์
จ.ชลบุรี และอีกสายหนึ่งมาจากป่าเขาเขียวไหลมาทาง อ.บ้านบึง มาบรรจบกันที่
อ.พนัสนิคม และ อ.พานทอง เพื่อลงสู่แม่น้ำบางปะกง ที่จุดปลายน้ำ ณ อ.บางปะกง และ
อ.บ้านโพธิ์ ซึ่งทั้งหมดนี้รวมเรียกว่าลุ่มน้ำคลองหลวง
อันเป็นสาขาของลุ่มน้ำบางปะกง มีประชากรที่เกี่ยงข้องโดยตรงกับสายน้ำทั้งหมดที่กล่าวนี้ราว
10 อำเภอ ใน 2 จังหวัดดังนั้นการเปลี่ยนแปลงใดใดอันเกี่ยวเนื่องด้วยสายน้ำเหล่านี้ย่อมกระทบถึงประชาชนจำนวนมาก
แม่น้ำบางปะกง อันมีลุ่มนำสาขาหลายลุ่มน้ำนับจากแม่น้ำปราจีนบุรี
และป่าเขาใหญ่ จ.นครนายก ซึ่งปลายแม่น้ำบางปะกงเต็มไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรม
โรงไฟฟ้า สภาพน้ำที่ปลายน้ำบางปะกงปัจจุบันยังอยู่ในภาวะวิกฤต
ประชาชนในบริเวณนั้นยังไม่สามารถทำการเกษตรได้ตามปกติ ปลาในกระชังโตช้า
สัตว์ธรรมชาติหายาก ความหลากหลายทางชีวภาพเปลี่ยนไปมาก
ลุ่มน้ำคลองหลวงระหว่างพานทองกับพนัสนิคมมีสภาพเป็นแอ่งกระทะ
ซึ่งมีน้ำท่วมเป็นปกติทุกปี
หากเกิดโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในบริเวณนี้อีกจะเป็นการบีบและขวางทางน้ำ
มีโอกาสที่น้ำจะท่วมขังชุมชน เพราะไม่สามารถไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกงได้อย่างสะดวก
เนื่องด้วยบริเวณชุมชนทั้งหมดเป็นทางน้ำหลากตามธรรมชาติ
ที่น้ำใหม่จะไหลผ่านทุ่งนาเพื่อลงสู่แม่น้ำบางปะกง
บริเวณดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนแก้มลิงตามธรรมชาติ
ร่วมกับแหล่งรับน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นจนเกิดสมดุลของมันเองดีอยู่แล้ว
การเข้ามาก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ย่อมเป็นตัวเปลี่ยนสมดุลอย่างมากมาย ผลกระทบต่อธรรมชาติที่จะตามมาย่อมยากแก่การแก้ไขเยียวยา
บทสรุป
ผู้นำพร้อมชาวบ้านชลบุรี 12 ชุมชนกว่า 600 คน
ร่วมประชาพิจารณ์ไม่ขัดข้องสร้างนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟส 2
แต่ต้องไม่กระทบหรือส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน
บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มีการจัดประชาพิจารณ์
เพื่อรับฟังความคิดเห็น
เพื่อเป็นการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ในการสร้างนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร แห่งที่ 2 พื้นที่ ต.บางนาง ต.บ้านเก่า อ.พานทอง
จ.ชลบุรี จำนวน 2,000 ไร่ โดยมี ผู้นำท้องถิ่น ข้าราชการ ชาวบ้าน 12 ชุมชน กว่า
600 คน เข้าร่วมรับฟังและให้ข้อคิดเห็น
บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
เป็นบริษัทผู้พัฒนาและบริหารจัดการด้านนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทย
โดยปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการมาแล้ว 2 แห่ง ได้แก่
นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง
โดยชลบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนา
และส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมตามแผนการพัฒนาทั้งระดับภูมิภาคและระดับชาติ
ดังนั้น บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จึงได้รวบรวมพื้นที่
เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครแห่งที่ 2
โดยมีเป้าหมายของการพัฒนาเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
ที่มีความทันสมัยและเพียบพร้อมด้วยระบบสาธารณูปโภค เพื่อรองรับการขยายตัว
ของภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ภายใต้การร่วมดำเนินงานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้
จะเน้นการขยายคลองเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะได้ช่วยระบายน้ำได้เร็วมากขึ้น
พร้อมจะพัฒนาเมืองที่สมบูรณ์แบบ ที่เรียกว่า เมืองอัจฉริยะ ที่ร่วมกับรัฐบาล
ญี่ปุ่นมาเป็นเวลา 2 ปี โดยใช้เทคโนโลยี ควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อม ให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น
มีการลดพลังอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างเมืองวิทยาศาสตร์กับเมืองมหาวิทยาลัย
ให้ยิ่งใหญ่อีก
นายจิติล คุ้มครอง ผู้นำท้องถิ่น กล่าวว่า
ขณะนี้ชาวบ้านไม่ขัดข้องหากนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จะสร้างเฟส 2 ขึ้นมา ใน
อำเภอพานทอง หากแต่อยากให้ ประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และแขวงการทาง
จังหวัดชลบุรี เข้ามาช่วยจัดการดูแลด้านสาธารณูปโภคให้พอเพียง
จะได้แก้ไขและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ทิ้งสารพิษ
ทิ้งสารพิษตกค้าง 11 จุดทั่วฉะเชิงเทรา พบสารก่อมะเร็ง เกินมาตรฐาน 20-30
เท่าลักลอบทิ้งนานกว่า 7 ปี
ปัญหาการกำจัดกากสารเคมีและสารพิษจากอุตสาหกรรมที่ไม่ถูกต้อง
กำลังจะเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบกับสุขภาพและการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่
จ.ฉะเชิงเทรา หลังพบว่ามีการนำมาทิ้งกระจายทั่วทั้งจังหวัดมากกว่า 11 จุด
จนเกิดการรั่วไหล ตกค้าง ปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ สำหรับอุปโภค-บริโภค
จนสามารถตรวจพบสารก่อมะเร็งหลายชนิด เกินมาตรฐานเกือบ 20-30 เท่า จนสาธารณสุขจังหวัดต้องประกาศห้ามใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติรอบบริเวณนั้น
ๆ เกิดปัญหากลิ่นเหม็นรุนแรง กระทบต่อสุขภาพ พืชผลการเกษตรลดลง และสัตว์เลี้ยงตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
บริษัท เคเอสดี รีไซเคิ้ล จำกัด ซื้อบ่อลูกรังร้าง ในพื้นที่หมู่ที่ 7
ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ไว้และมีการลักลอบนำกากสารเคมีจากการนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
จ.ชลบุรี และพื้นที่อื่น มาทิ้งตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2555 มีการนำรถบรรทุกกากสารเคมีมาลงติดต่อกัน
จนทำให้รถบรรทุกติดกันเป็นแถวยาวกว่า 3 กม. ทิ้งทั้งวันทั้งคืน ในบ่อลูกลังเก่า
เนื้อที่ประมาณ 10-15 ไร่ ช่วงระยะเวลา 3 เดือน
กระทั่งสร้างความเดือนร้อนให้ชาวบ้านในพื้นที่จากกลิ่นเหม็นรุนแรง
นำไปสู่การรวมตัวของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบกว่า 3,000 คน
ร้องเรียนผ่านหน่วยงานราชการ เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัด กรมควบคุมมลพิษ
สำนักนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)
จนนำไปสู่การตรวจสอบการลักลอบทิ้งกากสารเคมีในพื้นที่ทั้งหมด พบว่า
มีการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมมาทิ้งในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา จำนวนมากกว่า 11 จุด
คือที่ อ.พนมสารคาม 6 จุด อ.แปลงยาว 5 จุด มีพื้นที่ขนาดตั้งแต่ 1 - 200 ไร่
และเกือบทั้งหมดอยู่ด้านเหนือของจังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่สูงกว่า
หลังชาวบ้านร้องเรียนผ่านไปนานกว่า 2 เดือน ประกอบกับ มีการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า
มีการลักลอบปล่อยน้ำเสียหรือกากสารเคมี
จากโรงงานรับบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมในพื้นที่ ลงสู่แหล่งน้ำในช่วงฤดูฝน
จนมีการแพร่กระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว จนเริ่มส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง สัตว์เลี้ยงออกลูกตายยกคอก
พบน้ำใช้ปนเปื้อนสารฟีนอล
"ผลการนำน้ำที่ใช้อยู่จากบ่อน้ำตื้นวงซีเมนต์ (ลึก 5-10 เมตร)
มาตรวจพบสารฟีนอลและโลหะหนักปนเปื้อนเกินมาตรฐาน
คาดว่า
สารเคมีเหล่านี้น่าจะมากับน้ำที่มีการปล่อยจากโรงงานกำจัดของเสีย ซึ่งอยู่เหนือลำน้ำออกไป ชาวบ้านจำเป็นต้องใช้น้ำดังกล่าวอยู่แต่
ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนมาช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อน ตอนนี้บ้านที่อยู่ใกล้จุดที่มีการเอากากสารพิษมาทิ้งที่สุดแค่
1 กม.เศษ
ในตอนที่ชาวบ้านพบว่ามีการนำมาทิ้ง ได้พยายามไปทักท้วง แต่เขาชี้แจงว่า
ทำถูกต้อง อบต.รู้ ไม่มีพิษ พอมาระยะหลังก็เกิดกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง กลางคืนนอนแทบไม่ได้
ชาวบ้านทำทุกอย่างตั้งแต่ร้องหน่วยงานท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กรม กระทรวง
ดีเอสไอ และสำนักนายกรัฐมนตรี ปัญหาการลักลอบนำของกากสารพิษมาทิ้งเกิดจาก
บริษัทรับกำจัดสารพิษ รับงานไว้มากเกินไป เพื่อมาบำบัด
แต่เมื่อบำบัดไม่ทันก็จะใช้วิธีการนำไปทิ้งในจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะการไปกว้านซื้อบ่อลูกลัง ซึ่งไม่มีราคา
เพราะถูกขุดหน้าดินออกไปหมดแล้ว เพื่อไว้สำหรับนำสารเคมี
กากอุตสาหกรรมเหล่านี้ไปทิ้งไว้ก่อน ส่วนที่บำบัดในโรงงานก็ทำไป
บางครั้งก็ลักลอบปล่อยออกตามลำลางสาธารณะ แหล่งน้ำต่าง ๆ ด้วย
ชาวบ้านรวมตัวกันตั้งแต่ หมู่ที่ 6, 7, 8, 9 ,12 ,14 ต.หนองแหน และหมู่ 9, 12 ต.เกาะขนุน
ที่ได้รับความเดือนร้อนโดยตรงกว่า 3000 คน อยู่ใกล้จุดที่มีการลักลอบทิ้ง
จากประชากรทั้งหมด 10,000 กว่าคน โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดคือ วันที่ 8 ก.ค.55
ชาวบ้านรวมตัวกันมากกว่า 300 คนไปปิดบ่อที่มีการนำกากสารเคมีไปทิ้ง
และรวมตัวกันเป็นกลุ่มตัวแทนมาคอยตรวจสอบการเข้าออกของรถบรรทุกสารเคมี ว่า
มีรถอะไรเข้ามาในพื้นที่บ้าง
เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำสารเคมีเข้ามาทิ้งในพื้นที่อีก
การแก้ไข
แผนการแก้ปัญหากากสารพิษที่ถูกนำมาทิ้งในพื้นที่
หลังจากมีการร้องเรียนและกรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาดำเนินการแก้ปัญหา
เริ่มจากบริษัทปูนซิเมนต์ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เสนอตัวมากำจัดให้ในราคา 300
ล้านบาท ,
บริษัทอีโก้เวิร์ด จก.เสนอตัว เข้ามาดำเนินการทำให้น้ำเสียใส
ด้วยการใช้สารเคมีบำบัด โดยสูบน้ำขึ้นมาบำบัดให้สะอาด จนหมด
พร้อมทั้งขุดดินและตะกอนมาทำให้สะอาด ด้วยงบ 30 ล้านบาทภายใน 6 เดือน
แต่ก็ผู้ประกอบการไม่รับข้อเสนอดังกล่าว
โดยเสนอให้ บ.สยามเว้สต์เซอวิส จก. เข้ามาดำเนินการ
เพราะเป็นกลุ่มบริษัทเดียวกัน ด้วยวิธีการฉีดสารเคมี เพื่อลดกลิ่น นำดินมาถมเพื่อทำคันแบ่งพื้นที่เป็นบ่อเล็ก
เพื่อบำบัดที่ละบ่อ ให้น้ำสะอาด พร้อมทั้งนำดินที่ปนเปื้อนสารพิษมาบำบัดด้วย
ภายในเวลา 2 เดือน ซึ่งชาวบ้านกังวัลใจว่า
การถมดินดังกล่าวจะเป็นการถมบ่อ และมีการบำบัดเพียงน้ำที่เหลือเท่านั้น
จึงไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้
อย่างไรก็ตาม
ภายหลังตรวจพบสารก่อมะเร็งในแหล่งน้ำ นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้นำน้ำอุปโภคไปบริการแก่ประชาชน 3 จุด พร้อมทั้งแจกจ่ายหน้ากากอนามัย 10,000
ชิ้น และประสานให้มีการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพประชาชน โดยมีตัวเลข
ประชาชนป่วย ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ 2 แห่ง จำนวน 838 ราย
ส่วนใหญ่มีอาการระบบทางเดินหายใจ แสบคอ หายใจติดขัด แสบจมูก มีผดผื่นคันตามผิวหนัง
นอกจากนี้ยังสุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะของชาวบ้านหมู่ที่ 7 จำนวน 140 ตัวอย่าง
เพื่อตรวจหาแมงกานีส ตะกั่วและสังกะสี รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อหาโครเมียม นิกเกิ้ล
สารปรอท สารฟีนอล ส่งไปยังสำนักโรคประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรคติดต่อ
เพื่อตรวจวิเคราะห์ ซึ่งยังไม่ทราบผล
ข้อเสนอจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ระบุว่า กรมควบคุมมลพิษได้ยืนยันจุดยืนว่า
ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีการนำดินลงไปถมแบ่งเป็นบ่อย่อย ๆ
เพื่อบำบัดที่ละบ่อ เพราะเป็นการนำดินไปปนเปื้อนเพิ่มขึ้น
แต่ขั้นตอนดังกล่าวกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้ดูแลกำกับและเห็นชอบให้ดำเนินการได้
หน่วยงานที่กำกับดูแลก็ต้องรับผิดชอบกับมาตรฐานที่อนุมัติให้ทำ วิธีการจะถูกต้อง
ผิดหรือถูก คำตอบมีอยู่แล้ว สำหรับกรมควบคุมมลพิษ
จะทำความเห็นเสนอภายหลังเก็บข้อมูลตามกฏหมาย หากตรวจสอบแล้ว สิ่งแวดล้อมไม่ดีขึ้น
ก็จะส่งความเห็นไปที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อตัดสินพิจารณาอีกครั้ง
หากพบส่วนราชการทำไม่ถูกต้องอย่างก็ ก็สามารถสั่งการให้แก้ไขได้
นอกจากนั้นประชาชนสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการได้ด้วยเช่นกัน
หากการอนุมัติให้ทำส่งผลเสียต่อคนในพื้นที่
"เราสามารถตรวจสอบได้ตามกฎหมาย หากพบว่า ดินหรือน้ำไม่ปลอดภัย
ก็จะส่งเรื่องเข้าไปพิจารณาตามกระบวนการ ยืนยันว่า กรมควบคุมมลพิษ
จะไม่ทิ้งเรื่องนี้จนกว่าจะแก้ปัญหาได้ โดยในวันที่ 11 ก.ย.นี้จะเริ่มกระบวนการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการตรวจสอบ
โดยเริ่มจากน้ำผิวดินในรัศมี 5 กม.รอบจุดที่พบปัญหาการทิ้งกากอุตสาหกรรม และร่วมตรวจสอบตามกระบวนการอื่นไปพร้อม
ๆ กันด้วย " นายวรศาสตร์ กล่าว
ด้านนายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าว่า
กรมดูแลปัญหาตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม หากสิ่งแวดล้อมปนเปื้อน ได้รับผลกระทบ
เราสามารถดำเนินการตรวจสอบ ควบคุมไม่ให้สิ่งแวดล้อมแพร่กระจายได้ แต่หากการปฏิบัติไม่ได้มาตรฐาน
คงจะไม่ยินยอมให้มีการขนย้ายดินหรือน้ำที่ปนเปื้อนไปยังพื้นที่อื่นรอบนอกอีก ทางกรมจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจว่า
มีอะไรมาปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมบ้าง ดูเรื่องดิน
น้ำที่แอบทิ้งลงแหล่งน้ำสาธารณะตามที่ประชาชนแจ้ง ปนเปื้อนชั้นดินไหนหรือไม่
อากาศหรือแก๊สในพื้นที่ ซึ่งก็เหม็นจริง จากผมตรวจที่เราทราบ
คือพบสารฟีนอลเกินมาตรฐาน จะต้องมีการเก็บตัวอย่างให้ครอบคลุมรัศมีทั้งพื้นที่
เพื่อพิจารณาว่า จะต้องประกาศเป็นเขตมลพิษหรือไม่
ข้อเสนอจากกรมโรงงานฯ
นายไสว โรจนะศุภฤกษ์ หน.สำนักกำจัดกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า
ทางเราในฐานะหน่วยงานที่ดูแล ได้เข้าพบชาวบ้าน
และยินดีทุ่มเทจะทำงานแก้ปัญหานี้ให้ได้
โดยได้เรียกบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินการแก้ปัญหาซึ่งรับงานจาก บริษัทเคเอสดีฯ
บริษัทต้นเหตุนำสารพิษมาทิ้ง ให้มาสาธิตวิธีการ รวมทั้งเสนอแผนการจัดการ โดยจะให้ดำเนินการทีละบ่อ
หลังจากน้ำเสียจากสารพิษตกตะกอน ก็จะสูบออก และลอกตะกอนออก
เพื่อรองรับน้ำที่บำบัดมาจากบ่อใกล้เคียง ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องให้บริษัทนี้ออกไป
แล้วเอารายใหม่มาทำ
"ถ้ารอให้มีการสร้างคันดินจนเสร็จ ชาวบ้านก็รอไม่ไหว เพราะกลิ่นเหม็นมาก
เมื่อทำคันดินบ่อแรกแล้ว ก็ต้องดำเนินการบำบัดควบคู่ไปเลย
และเมื่อบำบัดน้ำเสร็จทั้งหมด คันดินก็ต้องดำเนินการให้กลับเป็นบ่อเหมือนเดิม
เมื่อแก้ไขจนไม่เป็นอันตราย ทางผู้ประกอบการจะเอาไปถมที่ไหนก็แล้วแต่ ทางกรมได้กำหนดให้ผู้รับเหมาเข้ามารับบำบัด
จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่เรากำหนดให้ได้มาตรฐาน ซึ่งอยากให้กรมควบคุมมลพิษ
มาร่วมตรวจสอบด้วย
บิ๊กโคล่าลอบทิ้งน้ำเสีย
นิคมอมตะ สั่งปิดโรงงานผลิตน้ำดำ "บิ๊ก โคล่า"
หลังปล่อยน้ำเสียลงบ่อ ด้านอาเจ กรุ๊ป ชี้เตรียมหาแนวทางแก้ปัญหาเร่งด่วน
ยันผุดโรงงานใหม่ไม่เกี่ยวกับโรงงานถูกปิด แจงบริษัทต้องการขยายกำลังการผลิตรับการเติบโต
ลั่นยังลุยตลาดน้ำอัดลมไทย หลังกวาดแชร์ 20%
แหล่งข่าวจากนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครกล่าวว่า เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมานี้นิคมฯ
ได้สั่งปิดโรงงานผลิตน้ำอัดลมบิ๊กโคล่า หรือบริษัท อาเจ กรุ๊ป
ที่อยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีการลงทุนร่วม 3,000
ล้านบาท เนื่องจากโรงงานดังกล่าวนำน้ำเสียจากโรงงานปล่อยทิ้งลงบ่อน้ำร้างขนาด 15
ไร่ บริเวณหมู่ 7 ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา นานกว่า 6 เดือน
จนน้ำในบ่อเน่า และส่งกลิ่นเหม็น
ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่ใช้น้ำจากบ่อในการสาธารณูปโภค และล่าสุดวานนี้ (12
กันยายน) ได้มีการประชุม 3 ฝ่ายเพื่อหาข้อสรุปถึงแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา นายโซริน วอยเนีย
หัวหน้าฝ่ายการตลาด เอเชียแปซิฟิก บริษัท อาเจ กรุ๊ป
ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมบิ๊ก โคล่า
ได้กล่าวถึงกรณีโรงงานปล่อยน้ำเสียว่า บริษัทได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
เนื่องจากที่ผ่านมาบิ๊ก โคล่า ถือว่าเป็นน้ำอัดลมที่ประสบความสำเร็จในตลาดไทย
ครองส่วนแบ่ง 15-20% ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา อีกทั้งครึ่งปีแรกของปีหน้า
บริษัทยังได้วางแผนทุ่มงบหลายพันล้านบาทสร้างโรงงานแห่งใหม่ขึ้นที่ภาคเหนือ
บนพื้นที่ 40 ไร่ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยสถานที่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้บริษัท อาเจ กรุ๊ป
มีแผนสร้างโรงงานที่จังหวัดขอนแก่น
แต่เนื่องจากติดปัญหาด้านการลงทุนและเรื่องกฎหมายธุรกิจ เพราะเป็นบริษัทต่างชาติ
100% ไม่สามารถสร้างโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรมได้
ดังนั้นการลงทุนสร้างโรงงานต้องไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเพราะจะได้รับส่งเสริมการลงทุน
ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าโรงงานแห่งที่ 2 จะจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดลำพูน
เนื่องจากมีนิคมอุตสาหกรรมสามารถรองรับการลงทุนที่เกิดขึ้นได้
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท อาเจ กรุ๊ปกล่าวว่า
สาเหตุที่บริษัทอาเจสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ขึ้นเพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัว
รองรับการเติบโตของธุรกิจน้ำอัดลม
แต่การสร้างโรงงานใหม่ไม่ใช่เพื่อรองรับสาเหตุที่ต้องปิดโรงงาน อย่างไรก็ตาม
บริษัทยังคงมีการลงทุนต่อเนื่องในไทย
เนื่องจากตลาดน้ำอัดลมในประเทศไทยยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และมีการเติบโตได้อีกมาก
อีกทั้งยังมีช่องว่างทางการตลาด
และอัตราการดื่มน้ำอัดลมของคนไทยยังน้อยเมื่อเทียบกับอเมริกา หรือเม็กซิโก
ที่มา
http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000161365
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=669905
http://www.amata.com/site/inside.php?m=amata&p=15
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/
http://www.thairath.co.th/content/288767
http://www.hooninside.com/news-detail.php?id=111374
http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000112549&Html=1&CommentReferID=21961826&CommentReferNo=5&TabID=3&
http://news.sanook.com/tag/%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%84
http://www.mcot.net/site/content?id=4ff6711f0b01dabf3c004d81#.VAPfvJR_s0Q
http://amata-th.listedcompany.com/news.html/id/120545/group/newsroom_press_th
http://www.ieat.go.th/ieat/index.php/th/2013-10-14-00-58-54
http://www.amatawater.com/rule_th.php
http://amata-th.listedcompany.com/financials.html
http://www.amata.com/thai/why_economic_industrial_estate.html
http://www.waterindex.com/doc1-wastewater-from-industry1.htm
http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_airsnd01.html
คณะผู้จัดทำ
ที่มา
http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000161365
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=669905
http://www.amata.com/site/inside.php?m=amata&p=15
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/
http://www.thairath.co.th/content/288767
http://www.hooninside.com/news-detail.php?id=111374
http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000112549&Html=1&CommentReferID=21961826&CommentReferNo=5&TabID=3&
http://news.sanook.com/tag/%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%84
http://www.mcot.net/site/content?id=4ff6711f0b01dabf3c004d81#.VAPfvJR_s0Q
http://amata-th.listedcompany.com/news.html/id/120545/group/newsroom_press_th
http://www.ieat.go.th/ieat/index.php/th/2013-10-14-00-58-54
http://www.amatawater.com/rule_th.php
http://amata-th.listedcompany.com/financials.html
http://www.amata.com/thai/why_economic_industrial_estate.html
http://www.waterindex.com/doc1-wastewater-from-industry1.htm
http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_airsnd01.html
คณะผู้จัดทำ
นางสาวชุติรัตน์ แจ่มสว่าง 5430110264 R13
นางสาวดลนภา แก้วประสิทธิ์
5430110329 R13
นางสาวศิรประภา รัศมี 5430110710 R13
นางสาวหัทยา เซ็นหลวง
5430110892 R13
นายเอกภาพ ฮึกหาญสู้ศัตรู 5430110914 R13
นายเอกภาพ ฮึกหาญสู้ศัตรู 5430110914 R13
วิสัยทัศน์องค์กร
เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรม
ระบบสาธารณูปโภคและอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกในประเทศไทย
พันธกิจ
เป็นผู้นำด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม
และระบบสาธารณูปโภคระดับโลกในประเทศไทย
การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม
ระยะเวลา
25 ปีที่ผ่านมา
พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทยเป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ
เนื่องจากมีการก่อตั้งศูนย์ปิโตรเคมีแห่งชาติที่มาบตาพุต จังหวัดระยอง
การสร้างท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี รวมทั้งมีการลงทุนทางพลังงาน
โรงกลั่น ทางหลวง การคมนาคม ระบบการสื่อสาร ทรัพยากรมนุษย์
และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดใหญ่
นอกจากนี้ยังเป็นฐานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์จากหลากหลายชาติ
ซึ่งผลิตสินค้าสู่ตลาดกว่า 130 ประเทศ
เป็นสถานที่ตั้งที่ดึงดูดการลงทุนมูลค่ามหาศาลจากทั่วโลก ในการนี้ บริษัท
เหมราขพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน)
มีความภาคภูมิใจที่ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย
พื้นที่ส่วนใหญ่ของ
บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) อยู่ในบริเวณอีสเทิร์นซีบอร์ด
นิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรมของบริษัทฯ ทั้ง 8 แห่ง
ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก(มาบตาพุต)
นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด(ระยอง) และ นิคมอุตสาหกรรม เหมราช
อีสเทิร์นซีบอร์ด
เขตประกอบการอุตสาหกรรมเหมราชระยอง นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 8 มีพื้นที่ รวมกันทั้งสิ้น 41,829 ไร่ หรือ 16,732
เอเคอร์ เป็นพื้นที่รวมกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รถยนต์
และอุตสาหกรรมอื่นๆ
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด
และนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด(ระยอง) ตั้งอยู่ที่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
มีพื้นที่ 17,632 ไร่ (7,052 เอเคอร์)
สามารถเดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3138 และหมายเลข 331
นิคมอุตสาหกรรมทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและศรีราชา
30 กิโลเมตร
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก(มาบตาพุต)
ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3,548 ไร่(1,419 เอเคอร์)ในอำเภอมาบตาพุต จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปิโตรเคมีแห่งชาติและห่างจากกรุงเทพฯ
115 กิโลเมตร
ที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เหมาะอย่างนิ่งสำหรับนักลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
เคมี เหล็ก และอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาสาธารณูปโภคเป็นอย่างมากในการผลิต
ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า ไอน้ำ น้ำอุตสาหกรรมและการบำบัดน้ำเสีย
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี
และนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี2* มีพื้นที่รวมกัน 4,517
ไร่ (1,804 เอเคอร์) ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อวิน
และตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 110
กิโลเมตร Hermaraj CIE และ Hermaraj
CIE2 สามารถเดินทางโดนทางหลวงหมายเลข 331 และทางหลวงหมายเลข
331 ใหม่ ซึ่งเชื่อมไปยังทางหลวงสาย 7 เชื่อมสู่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
ส่งผลดีต่อการขนส่งสินค้าและสามารถเดินทางไปตัวอำเภอศรีราชาได้สะดวก เพียง 25
กิโลเมตร จากนิคม Hemaraj CIE ปัจจุบันนิคมแห่งนี้มีผู้ประกอบการมากกว่า
81 ราย และ 118 สัญญา
รวมเป็นเงินลงทุนกว่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ
ประกอบด้วยอุตสาหกรรมเหล็กขนาดใหญ่ อิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน ชิ้นส่วนยานยนต์
และอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก
เขตประกอบการอุตสาหกรรมเหมราชระยองตั้งอยู่ที่
อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง มีพื้นที่ทั้งหมด 3,438 ไร่
หรือ 1,375 เอเคอร์ ห่างจากกรุงเทพฯไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 150
กิโลเมตร และ 22 กิโลเมตรห่างจากท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุต
Hemaraj RIL มีโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูง และมีนักลงทุน 36
ราย และ 47 สัญญา
รวมถึงบริษัทในเครือของสยามซีเมนต์และบริษัทร่วมทุนต่างชาติหลายบริษัท
Hemaraj SIL มีพื้นที่ทั้งหมด
3,619 ไร่ หรือ 1,448 เอเคอร์
ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางเหนือ 70 กิโลเมตร ด้วยทางหลวงหมายเลข 1 Hermaraj SIL มีที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการขนส่งไปยังภาคเหนือ
ใต้ ตะวันออก และอยู่ใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติ 2 แห่ง
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี
ก่อตั้งในปี
2532
ผู้อำนวยการนิคมคือ นางสาวลักขณา เมี้ยนกำเนิด ผู้พัฒนานิคมคือ
บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ที่ 331/8-9
หมู่ 6 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
มีเนื้อที่ทั้งหมด 3,867 ไร่
แบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป 2,096 ไร่ เขตประกอบการเสรี 460
ไร่ เขตที่พาณิชย์ 72 ไร่
และพื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 854 ไร่
บริการภายในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี
ระบบน้ำ
:
อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 36,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
ระบบไฟฟ้า
: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่มีความสามารถจ่ายไฟฟ้า 80 เมกกะโวลต์-แอมแปร์ แรงดันไฟฟ้า 115/22 กิโลโวลต์
ระบบโทรศัพท์
:
เหมราชฯเป็นผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมรายแรกในประเทศไทยที่ให้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วครอบคลุมพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม
โดยให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ
ระบบถนน
:
สายประธาน กว้าง 14 เมตร, 4 ช่องทางจราจร สายรองประธาน 8.5 เมตร 2 ช่องทางจราจร
ระบบป้องกันอัคคีภัย
:
รถดับเพลิง ตลอด 24 ชั่วโมง
ระบบรักษาความปลอดภัย
:
ยามรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
ผังแสดงการใช้พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี
นโยบายในการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม
บริษัท
เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ได้มีการวางนโยบาย
และตั้งใจที่จะให้นิคมอุตสาหกรรม
ชุมชนและธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวและยั่งยืน เริ่มจากความเข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมต่างๆ
ซึ่งทำให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมและบริหารโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ
- การจัดการของเสียของบริษัท
ได้เลือกใช้วิธีการกำจัดขยะอย่างปลอดภัยคือระบบฝังกลบ
ซึ่งเป็นวิธีการจัดการของเสียที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม บริษัท เวสต์
แมนเนจเมนท์ สยาม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลก
ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี ให้บริการแก่โรงงานต่างๆ
ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก รวมถึงโรงงานทั่วประเทศ
- - การบำบัดน้ำเสียและบึงประดิษฐ์
มีบริการทั้งระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศและแบบบึงประดิษฐ์ไว้รองรับน้ำเสียจากโรงงานต่างๆ
ในนิคมสำหรับระบบสระเติมอากาศนั้นจะใช้มอเตอร์
เพื่อเติมออกซิเจนจากอากาศให้แก่น้ำเสีย
ในขณะที่ระบบบึงประดิษฐ์จะมีการใช้พืชและแบคทีเรียในการบำบัดน้ำเสีย และยังผลดีต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว
ยังสามารถลดการใช้พลังงานในการบำบัดน้ำเสีย
อีกทั้งน้ำที่บำบัดแล้วสะอาดพอที่โรงงานจะนำกลับไปใช้รดต้นไม้และเป็นน้ำหล่อเย็นในระบบการผลิต
แผนผังระบบจัดการน้ำ
-
- - ระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม
มีการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่
ESIE
(E:MC2)เพื่อตรวจสอบข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมตามเวลาจริง
ซึ่งเป็นศูนย์แห่งแรกในนิคมอุตสาหกรรมที่ดำเนินงานโดยเอกชน
ศูนย์นี้มีหน้าที่ประมวลข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมตามเวลาจริงโดยใช้วิธีการเชื่อถือได้และโปร่งใส
การตรวจสอบนี้รวมถึงการวัดคุณภาพน้ำ การรายงานการปล่อยมลสารสู่อากาศและมลพิษทางเสียง
ใช้ระบบที่มีประสิทธิผลในการติดตามในโรงงาน
และยังมีช่องทางหลากหลายในการรับร้องเรียนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ระบบเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม
รายงานรายงานการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่อยของโรงงาน
การเปรียบเทียบมลพิษทางอากาศที่นิคมฯวัดได้
ด้านมลพิษทางอากาศ
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP)
- ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP) ในเวลา
24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 0.33 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
และในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 0.10 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ตามที่มาตรฐานกำหนด
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมวัดได้
|
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP) ในเวลา
24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 0.33 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมที่วัดได้ 0.0204 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
|
- - ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ในเวลา 24 ชั่วโมง
จะต้องไม่เกิน 0.12 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในเวลา
1 ปี จะต้องไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ตามที่มาตรฐานกำหนด
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมวัดได้
|
ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ในเวลา 24 ชั่วโมง
จะต้องไม่เกิน 0.12 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมที่วัดได้ 0.0068 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
|
ด้านมลพิษทางน้ำ
- - ค่า BOD
ค่า BOD จะต้องไม่เกิน 20 mg/l หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง
หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม
หรือประเภทของระบบน้ำเสียตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 60 mg/l
ตามที่มาตรฐานกำหนด
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมวัดได้
|
จะต้องไม่เกิน 20 mg/l หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง
หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม
หรือประเภทของระบบน้ำเสียตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 60 mg/l
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมที่วัดได้ 6 mg/l ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
|
- - ค่า TDS
ค่า TDS จะต้องไม่เกิน 3,000 mg/l หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง
หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 5,000 mg/l
ตามที่มาตรฐานกำหนด
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมวัดได้
|
จะต้องไม่เกิน 3,000 mg/l หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง
หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 5,000 mg/l
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมที่วัดได้ประมาณ 900 mg/l ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
|
- - ค่า pH
ค่า pH จะต้องอยู่ในช่วงระหว่าง pH 5.5 – 9.0
ตามที่มาตรฐานกำหนด
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมวัดได้
|
จะต้องอยู่ในช่วงระหว่าง pH 5.5 – 9.0
|
ค่าที่นิคมอุตสาหกรรมที่วัดได้ประมาณ 8 ซึ่งอยู่ในช่วงค่ามาตรฐาน
|
นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม Corporate Social Responsibility : CSR)
บริษัทได้กำหนดนโยบายการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน
และสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกๆฝ่ายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้บริษัท มุ่งเน้นนำความรับผิดชอบต่อสังคม CSR เข้ามาอยู่ในทุกขั้นตอนของกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการ ให้บริการระบบสาธารณูปโภค และอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเป็นนโยบายหลักของบริษัท อาทิ
การใช้นโยบาย PP1 (Public Participation 1) และ
PP2 (Public Participation 2) นั่นคือ การเข้าไปพบปะผู้นำชุมชนในบริเวณโดยรอบนิคมฯ ซึ่งช่วยให้บริษัทรับรู้ความต้องการที่แท้จริงของแต่ละชุมชน นอกจากนั้นในกระบวนการดำเนินธุรกิจ หรือพัฒนานิคมอุตสาหกรรม
บริษัทได้นำ CSR เข้ามาอยู่ในกระบวนการดังกล่าวด้วย โดยบริษัทได้นำระบบ ISO 14001:2004 ISO
9001:2008 และ CSR DIW ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาใช้ในขั้นตอนของการทำงานบริษัท
เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ได้มีการจัดทำกิจกรรมเพื่อสังคมดังนี้
- การแจกอุปกรณ์การศึกษา
บริษัทได้ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลามากกว่า
25 ปี
โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการจัดโครงการแจกของให้นักเรียนในโรงเรียนรอบๆ
นิคมเป็นประจำทุกปี
- ทุนการศึกษา
คัดเลือกและให้ทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายทุกด้านให้กับนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในท้องถิ่น
เพื่อให้โอกาสให้ได้เรียนในระดับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอาชีวศึกษา
- โครงการ Adopt-a-School
บริษัทได้ทำการร่วมมือกับหอการค้าอเมริกัน
(AMCHAM) ประเทศไทยในโครงการ Adopt-a-School จัดฝึกอบรมครูให้แก่โรงเรียนมากกว่า
52 แห่งในแต่ละปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังวิธีการ สอนที่เน้นที่การเสริมกระบวนการคิด และเน้นการเรียนรู้แทนการท่องจำ
สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและอื่นๆ
บริษัทได้เข้าร่วมการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในโครงการของเทศบาลมาบตาพุดและบ้านฉาง
ซึ่งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างการนิคมอุสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและโรงงานในการดูแลและช่วยเหลือชุมชน
กิจกรรมอื่นๆ รวมถึงการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่การจัดอาชีพให้ชุมชน
การแบ่งปันความรู้ให้แก่คนในท้องถิ่น การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เป็นต้น
เปรียบเทียบระหว่างกฎหมายที่มีกับสิ่งที่นิคมปฏิบัติ หรือ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
เปรียบเทียบระหว่างกฎหมายที่มีกับสิ่งที่นิคมปฏิบัติ หรือ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหมายระเบียบนิคมอุตสาหกรรม
|
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี
|
ด้านหลักเกณฑ์ทั่วไปในการระบายน้ำเสียตามประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่ 38/2554
|
นิคมฯได้มีการจัดสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศและแบบบึงประดิษฐ์
โดยส่วนของสระเติมอากาศใช้การบำบัดจากการเติมอากาศ
ในขณะที่ระบบบึงประดิษฐ์จะมีการใช้พืชและแบคทีเรียในการบำบัดน้ำเสีย
|
ด้านการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในนิคมอุตสาหกรรมตามประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่ 58/2544
|
นิคมฯได้เลือกใช้ระบบฝังกลบโดยให้บริษัท เวสต์ แมนเนจเมนท์
สยาม จำกัด
เป็นผู้ให้บริการในการจัดการ
|
ด้านการกำหนดอัตราการปล่อยมลสารทางอากาศจากปล่องของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมตามประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่ 46/2541 และประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 39/2549
|
นิคมฯได้มีการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
โดยมีหน้าที่ระมวลข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมตามเวลาจริงโดยใช้วิธีการเชื่อถือได้และโปร่งใส
ประกอบด้วยการวัดคุณภาพน้ำ การรายงานการปล่อยมลสารสู่อากาศและมลพิษทางเสียง
|
ข่าวเกี่ยวกับบริษัท
ชาวบ่อวินสุดทน
ปัญหาบ่อขยะ บุกร้อง “ยิ่งลักษณ์” ลงมาดูแล
“ไร่สับปะรดมีอยู่ก่อนแล้ว
นิคมอุตสาหกรรมมาซื้อที่ดินบริเวณนี้แล้วตั้งโรงงาน โรงขยะก็มาตั้งอยู่ใกล้ๆ
ปล่อยน้ำเสียออกมา ผ่านไร่สวนของชาวบ้าน
ลงลำห้วยในชุมชนไหลลงไฟรวมที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ที่เขาเอาไปทำน้ำประปา
ตอนนี้ไม่ใช่แค่กลิ่นเหม็นที่เรากลัว แต่เรากลัวโรคมินามาตะ
จึงทำให้พวกเราต้องลุกขึ้นคัดค้าน
ความรู้สึกของ ทิวา แตงอ่อน
ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี บ่งบอกถึงความกังวลใจ หากบริษัท
เวสท์ แมเนจเมนท์ สยามจำกัด หรือ WMS บริษัทลูกของกลุ่ม บริษัท โดวะ ประเทศญี่ปุ่น
กลุ่มธุรกิจจัดการขยะที่มีเครือข่ายทั่วโลกกว่า 76 บริษัท โดยตั้งในไทย 6 บริษัท
หนึ่งในนั้นคือ บริษัท อีสเทริ์น ซีบอร์ด เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด
ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ใน ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา
เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2544 จะดำเนินการในเฟสที่ 2 บนพื้นที่ 110 ไร่
โดย ทิวา เล่าว่าเริ่มแรกที่มีการทำหลุมฝังกลบขยะใช้พื้นที่ 75
ไร่ จำนวนขยะกว่า 2 ล้านตัน ซึ่ง MWS บอกกับชาวบ้านว่าเป็นขยะไม่อันตราย แรกๆ
ชาวบ้านก็ไม่รู้เรื่อง หลังจากนั้น 2 ปี
ชาวบ้านบ่อวินนับพันคนและพนักงานโรงงานหลายแห่ง ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง
โดยชาวบ้านได้ร้องเรียนไปยัง WMS หลายครั้งแต่ปัญหากลิ่นเหม็นก็ยังมีต่อเนื่อง
โรงงานบางแห่งที่อยู่ใกล้ต้องย้ายหนีไปตั้งที่อื่น
แต่บ้านเรือนของชาวบ้านซึ่งอยู่กันมาหลายชั่วอายุคนก็ต้องทนรับสภาพมากว่า 10 ปี
นับแต่มีการก่อสร้างหลุมฝังกลบขยะ
“เรารู้ว่าเขารับฝังกลบขยะอันตราย
ที่รู้เพราะว่า คนขับรถขนขยะเป็นคนบ่อวิน ซึ่งเขาไปรับจากท่าเรือ
คุณจะหลอกใครก็ได้ แต่หลอกคนบ่อวินไม่ได้
ที่ชาวบ้านสงสัยคือทำไมเขานำเข้าขยะจากต่างประเทศมาทิ้งในไทย
ให้คนไทยรับกรรมและที่สำคัญยังทำธุรกิจบำบัดน้ำเสียจากโรงงานต่างๆ ในพื้นที่ชลบุรี
ระยองมาบำบัดจากวันละ 350,000 ลิตร เป็น 800,000 ลิตร
แล้วปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำห้วยบอนกับห้วยมะนาว ใน ต.บ่อวิน ไหลผ่าน อ.มาบยางพร
อ.ปลวกแดง แล้วมาลงอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ซึ่งเอาไปทำน้ำประปาเลี้ยงคนเป็นแสนๆ
คนใน จ.ระยองและภาคตะวันออก”
ขณะที่ชาวบ้านบ่อวินกังวลว่า
น้ำที่ปล่อยออกจากการบำบัดแล้วอาจไม่ได้มาตรฐาน
เนื่องจากทางสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงมาตรวจสอบเมื่อเดือนพฤศจิกายน
2553 พบว่าคุณภาพน้ำจากบ่อสังเกตการณ์รอบหลุมฝังกลบขยะมีปริมาณ การปนเปื้อนโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็งจาก
9 ชนิด เกินกว่า 6 ชนิด และ แมงกานีส 12 ชนิด ยังพบสารอินทรีย์ระเหยง่าย
แต่กลับผ่านการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA
จากเฟสแรกที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ จาก MWS ในปีที่ผ่านมา
ยังประกาศจะขยายกิจการในเฟสที่ 2 อีก 110 ไร่
ในพื้นชนที่เดิมและรับฝังกลบขยะอันตรายโดยเฉพาะ ซึ่ง ทิวา เล่าว่า
เมื่อรู้ว่าเขาจะยายกิจการ เราก็เดินหน้าคัดค้าน
โดยรวบรวมรายชื่อชาวบ้านได้หลายพันคนเพื่อยื่นคัดค้าน ขณะเดียวกัน WMS กลับเดินหน้าเช่นกัน โดยยื่น สผ.เพื่อทำรายงาน EIA และ
HIA ในส่วนที่ขยายเพิ่มเติม
“เราไม่ยอมและเราคัดค้าน
แต่เขาไม่สนใจเสียงชาวบ้าน ซึ่ง สผ.ก็เข้ามาตรวจแล้ว พบว่า
เป็นไปตามที่ชาวบ้านร้องเรียน แต่ราชการทำให้ EIA และ HIA
ผ่านได้ ทำได้ยังไง ทั้งๆที่ ที่ผ่านมารวบรวมรายชื่อชาวบ้านรวม 8
แฟ้ม พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและแบบสอบถาม ไปยื่นให้ทั้ง สผ. ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม
แต่เขาไม่สนใจชาวบ้านแม้แต่น้อย”
การเริ่มต้นคัดค้านตามประสาชาวบ้านที่มีการร้องเรียนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นจะไม่เป็นผล
จึงนำมาสู่การจุดพลุประกาศคัดค้านเด็ดขาดจะไม่เอาหลุมฝังกลบขยะไว้ในพื้นที่บ่อวิน
ซึ่ง ทิวา บอกว่าจากเดิมที่เคยเสนอว่าจะให้ WMS ปรับปรุงหลุมฝังกลบแรกและให้มีการจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียให้ดี
และหยุดปล่อยลงสู่แม่น้ำ แต่เขาไม่เคยทำตามที่ชาวบ้านร้องขอ
วันนี้เราพร้อมเดินหน้าคัดค้านเพราะที่ตั้งก็ไม่เหมาะสมมานานแล้ว
นอกจากอากาศเป็นพิษยังส่งผลต่อดิน ต่อน้ำ หากใครรู้ว่าสับปะรดศรีราชามีแหล่งที่มาอยู่ใกล้บริเวณบ่อขยะแล้วใครจะซื้อกิน
ขณะที่แตงโมกำลังออกผล ใบยังไหม้และเน่าเสีย กระทบไปหมดทุกอย่าง
“ที่ผ่านมากระบวนการการทำงานของเขาเอื้อต่อการปิดบังซ่อนเร้นมาก
คือ ขุดลงไปในดินเป็นแอ่งกระทะ เอาขยะเข้ามาเท แล้วเอาดินกลบ เอาผ้าดำปิด
ไม่มีใครรู้ว่าเอาอะไรมาทิ้ง เพราะเป็นพื้นที่ปิดอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน
ฝังจนกลายเป็นภูเขา มองเห็นในระยะไกลหลายกิโลเมตร
เท่ากับคนบ่อวินมีระเบิดเวลาน้ำหนัก 2 ล้านตัน ข้างล่างเป็นผ้ายางดำ 1.5 มิลลิเมตร
รองก้นหลุม คิดดูว่าสารเคมีก็สามารถกัดกร่อนผ้ายางได้ ทำให้สารพิษซึมสู่น้ำใต้ดิน
ซึมสู่น้ำบาดาล ชาวบ้านใช้น้ำบาดาลรดพืชเกษตรแล้วใครเดือดร้อน”
โดย ทิวา เล่าว่า
ขณะที่ชาวบ้านบ่อวินคัดค้านที่ไม่ให้มีบ่อฝังกลบขยะในพื้นที่เพียง 2 เดือน
กลับมีหลุมฝังกลบขยะเกิดใหม่อีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ 500 ไร่ อ.มาบยางพร จ.ระยอง
ห่างจาก ต.บ่อวินไป 10 กิโลเมตร เป็นโอกาสของคนที่เห็นโอกาส
ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เมื่อเขารู้ว่าคนบ่อวินไม่เอาบ่อขยะ
จึงเปิดพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับขยะที่โยกย้ายมาจากบ่อวิน
ซึ่งจุดนี้อยู่ติดกับต้นน้ำอ่างเก็บน้ำดอกกรายเป็นแหล่งผลิตน้ำประปา เช่นกัน
“เราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้
ไล่จากที่หนึ่งไปเกิดอีกที่หนึ่ง ดูชาวบ้านที่ จ.สระบุรี
เจ็บป่วยกันมามากมายก็ต้องทนรับสภาพไป เราไม่อยากไปก่อกรรมทำเข็ญ ซึ่งชาวบ้านใน
อ.มาบยางพร ยังไม่มีใครกล้าลุกขึ้นมาต่อต้าน เพราะชาวบ้านกลัวอิทธิพล”
ขณะที่จุดยืนของกลุ่มอนุรักษ์บ่อวินได้เปลี่ยนเป้าหมายใหม่
จากเดิมที่คัดค้านเพื่อไล่จากบ่อวินไปอยู่ที่อื่น แต่ตอนนี้เราเสนอให้
กรมส่งเสริมการลงทุน (BOI) และการนิคมแห่งประเทศไทย
รวมถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
จัดการเรื่องการบำบัดขยะอย่างเป็นระบบทั้งประเทศ เพื่อลดปัญหามลพิษที่อาจจะเกิดขึ้นและลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบกิจการกำจัดขยะด้วย
ทิวา บอกว่าในวันที่ 8
ตุลาคมที่จะถึงนี้
ชาวบ้านบ่อวินจะรวมพลเครือข่ายคัดค้านบ่อขยะทั่วประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
(สช.) เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการคัดค้านบ่อกำจัดขยะที่ไม่มีการจัดการที่ดีจนก่อให้เกิดมลพิษ
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
และรณรงค์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีการจัดการขยะให้เป็นระบบทั่วประเทศ
หลังจากนั้นจะเดินหน้ายื่นหนังสือร้องเรียนไปถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ให้ลงมาดูแลเรื่องนี้
โดยเขาเสนอว่าหากจะลดปัญหาความขัดแย้งกับชาวบ้านก็ควรให้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมีบ่อกำจัดขยะในพื้นที่
ไม่ต้องมาตั้งใกล้ชุมชนให้คนในนิคมโวยวายกันเอง
ใครก่อมลพิษคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบและจะเสนอว่าปัจจุบันยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอีกมากนอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
หากเป็นไปได้รัฐบาลควรจัดหาที่ดินแปลงใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้โรงงานเพื่อรองรับขยะที่มีจำนวนมหาศาล
“ถ้ารัฐบาลแก้ปัญหาด้วยการควบคุมการก่อสร้างบ่อกำจัดขยะให้อยู่ในจุดที่เป็นแหล่งกำเนิดขยะ
ก็จะลดปัญหาได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ต้องรวมไปถึงผู้ประกอบกิจการต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
หากชาวบ้านไม่เดือดร้อนก็จะไม่ออกมาคัดค้าน
แต่ในเมื่อชาวบ้านคัดค้านแล้วก็ควรลงมาดูแล ลงมาแก้ไขปัญหา”
วันนี้แม้จะเป็นการประกาศต่อสู้ครั้งแรกของชาวบ่อวิน
ที่ไม่เพียงทำเพื่อให้ตัวเองได้หลุดพ้นจากกลิ่นเหม็นมลพิษต่างๆ ที่จะส่งผลต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากขยะเท่านั้น
หากแต่พวกเขายังเข้าใจคนหัวอกเดียวกันที่ต้องทนรับสภาพ
โดยที่ไม่มีหน่วยงานใดเหลียวแล ซึ่ง ทิวา กล่าวทิ้งท้ายว่า
“หากวันนี้คนบ่อวินจุดประกายปัญหานี้ไปสู่สังคมให้รับรู้ได้
ก็คาดหวังว่าการแก้ไขปัญหาจะเกิดขึ้นอย่างจริงจังเสียที
เราอยากให้ลูกหลานมีอากาศที่บริสุทธิ์หายใจบ้าง”
สู้ในที่แจ้งเพื่อไม่ให้ถูกเก็บอย่างลับๆ
ยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนรักบ่อวิน
19 เมษายน 2553 บริษัทอิสเทิร์น ซีบอร์ด เอนไวรอนเมนทอล
คอมเพลกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือข่าย เวสท์ แมเนจเมนท์ สยาม จำกัด (MWS) มีนัดกับชาวบ้านบ่อวิน
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
เพื่อขอรับฟังความเห็นต่อกรณีโครงการก่อสร้างบ่อขยะระยะที่ 2 วันเดียวกันนั้นเอง
กลุ่มคนรักบ่อวิน ได้ถือกำเนิดขึ้นภายใต้การนำของทิวา แตงอ่อน และชาวบ่อวินอีก 8
คน เพื่อบอกกับ MWS ว่าพวกเขาไม่ต้องการบ่อขยะระยะที่ 2
ของบริษัท แม้ในวันนั้นกลุ่มคนรักบ่อวินจะมีกันอยู่เพียงประมาณ 50 คน
แต่เสียงของพวกเขาก็ดังพอที่จะทำให้การทำประชาพิจารณ์ต้องยกเลิกไป
และนับจากวันนั้นมา
กลุ่มคนรักบ่อวินก็เติบโตขึ้นทั้งในชุมชนบ่อวินและกับสาธารณะภายนอก
ที่ชื่อของพวกเขาจะปรากฎตามสื่อตามวาระและโอกาส
“สิ่ิงสำคัญในการเคลื่อนไหวคือเราต้องออกสื่อเยอะๆ
ให้สังคมรู้ว่าเราทำอะไรอยู่ จะได้ไม่มีใครกล้ามาทำอะไรเรา ถ้าสู้เงียบๆ
ก็อาจถูกเก็บเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับแกนนำบางคน
การเคลื่อนไหวเราต้องอยู่ในที่แจ้งอย่าอยู่มุมมืด” ทิวากล่าวถึงเหตุผลที่กลุ่มคนรักบ่อวินมักจะปรากฏตัวตามสื่อ
เหตุผลสำคัญที่กลุ่มคนรักบ่อวินเกิดขึ้น
เพราะพวกเขาไม่ต้องการให้โครงการบ่อกำจัดขยะบ่อที่ 2 ต้องเกิดขึ้นในชุมชนของพวกเขา
เพราะลำพังกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และนำเสียที่ซึมออกมาจากบ่อขยะบ่อแรกของ ซีบอร์ด
เอนไวรอนเมนทอล คอมเพลกซ์ ก็ทำลายชุมชนของพวกเขามากพอแล้ว
นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านโครงการบ่อกำจัดขยะบ่อที่ 2 แล้ว
พวกเขายังเรียกร้องให้มีปรับปรุงการบวนการเก็บและบำบัดขยะของบ่อกำจัดขยะบ่อที่ 1
ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ฝังกลบขยะของเสียอันตรายจากนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆ
ของภาคตะวันออกแล้ว ยังมีขยะอุตสาหกรรมที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นด้วย
ระหว่างปี 2553-2555
กลุ่มคนรักบ่อวินมีการเคลื่อนไหวเกือบจะตลอดเวลา ทุกครั้งที่บริษัทมีการเคลื่อนไหว
ทุกครั้งที่การนิคมอุตสาหรกรรมมีการเคลื่อนไหว
ทุกครั้งที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการเคลื่อนไหว พวกเขาก็จะออกมาเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน
บางครั้งพวกเขาสามารถรวบรวมคนในชุมชนออกมาแสดงพลังได้ถึงกว่า 2,000 คน
ยามที่ไม่มีใครมีการเคลื่อนไหว ทิวา และเพื่อนๆ จะพากันค้นหาข้อมูล
เพื่อศึกษาว่าการกำจัดขยะของเสียอุตสาหกรรมควรต้องเกิดขึ้นในรูปแบบใด
เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาขยะของเสียอันตรายที่มีมากขึ้นตามกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมของประเทศที่เติบโตขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
ควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวของชาวบ้านบ่อวิน
คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับบ่อกำจัดขยะบ่อที่ 1
และโครงการบ่อกำจัดขยะโครงการที่ 2
“ตอนนี้โครงการที่ 2 ระงับไปชั่วคราว
เราก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรมันจะกลับมาอีก ส่วนบ่อแรกที่มีปัญหา
เขาก็มีการปรับปรุงบริษัทเปลี่ยนผู้บริหารยกชุดเลย
ชุดใหม่มาจากญี่ปุ่นเขาปรับปรุงทุกอย่างตอนนี้กลิ่นก็ไม่มีแล้ว
ส่วนน้ำที่ไหลซืมมาเขาก็เอาพลายสติกบุที่พื้นบ่อมันก็ไม่มีน้ำซืมออกมา
พอเขาทำปรับปรุงตามที่เราเรียกร้อง มันก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะเคลื่อนไหวต่อไป”
ทิวากล่าว
ถามว่าประสบความสำเร็จไหม ทิวามองว่า
พวกเขาประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะเป็นตามที่พวกเขาเรียกร้องและคาดการณ์เสมอไป
“ผมคิดว่ามันเป็นไปได้ที่โครงการที่
2 จะยังไม่ได้ยกเลิก แต่อาจจะแค่ชะลอออกไปเพื่อให้ยืดเวลาให้ชาวบ้านอ่อนแรงลง
พวกเราเคลื่อนไหวกันโดยไม่มีใครสนับสนุน ใครจะเคลื่อนไหวได้นานๆ ต่างก้ต้องทำงาน
หาเงินกันทั้งนั้น” ทิวากล่าว
นับจากโครงการระยะที่ 2 ถูกระงับชั่วคราว และโครงการที่ 1
ได้รับการปรับปรุง ทิวาสังเกตว่าชาวบ้านที่เคนร่วมกันต่อสู้ถอยกลับกันเยอะ
“มันไม่มีเหตุผลที่เราจะเคลื่อนต่อ
เขาทำทุกอย่างตามที่เราเรียกร้องแล้ว ผมคิดว่าการเคลื่อนไหวมันต้องมีเหตุผล
แต่ก็วิตกเหมือนกันว่าหากโครงการระยะที่ 2
กลับมาการรวมกลุ่มเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นยาก” เหตุผลสำคัญที่ทิวาหวั่นไหวก็คือสมาชิกของชาวบ่อวินที่ส่วนใหญเริ่มเป็นคนนอกที่ย้ายถิ่นมาตามตลาดแรงงานของภาคอุตสาหกรรมในชลบุรีที่ขยายตัวขึ้นทุกวัน
ขณะที่คนบ่อวินเองเริ่มลดน้อยลง
“คนที่ไม่ได้เป็นชาวบ่อวิน
เขาไม่ค่อยห่วงใยมากเท่าพวกเรา เขามาแล้วเขาก็ไป บางคนมาซื้อบ้านจัดสรรเลย แต่เขาก็ยังพร้อมไป
ไม่เหมือนพวกเราที่ไม่ได้มีแต่บ้าน แต่มีที่ดิน มีถิ่นฐานอยู่ที่นี่
พวกเรามีน้อยการเคลื่อนไหวก็จะลำบาก”
อย่างไรก็ดีทิวาพอใจกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนรักบ่อวิน
ที่ผ่านมา แม้จะเป็นเวลาเพียง 2 ปี แต่ก็เป็น 2 ปีที่มีคุณภาพของกลุ่มเคลื่อนไหวที่เรียกได้ว่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
จุดสำคัญที่ทิวาคิดว่ามีส่วนสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จ
นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวผ่านสื่อแล้ว
ยังมีส่วนสำคัญที่แกนนำที่ไม่มีผลประโยชน์กับโครงการที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่
และไม่อิงกับการเมือง
“มีบางกลุ่มเคลื่อนไหวที่แกนนำมีผลประโยชน์
หรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เราจะเห็นเลยว่ากลุ่มนั้นจะอยู่ได้ไม่นาน
ชาวบ้านไม่เชื่อถือ และการเคลื่อนไหวจะไม่บริสุทธิ์”
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
ทิวายอมรับว่า ในฐานะแกนนำเขาเคยได้รับการเสนอผลประโยชน์หลายครั้ง
เพื่อให้หยุดเคลื่อนไหว แต่เขาปฏิเสธมาตลอด นอกจากนี้เขายังรับรู้ด้วยว่าชาวบ่อวินหลายคนที่ออกมาเคลื่อนไหว
ได้รับการเข้าหาโดยกลุ่มอิทธิพลบางกลุ่ม ที่ไม่ได้เพียงเข้าหาเพื่อเสนอผลประโยชน์
แต่เข้าหาเพื่อ “ขอ” ไม่ให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
“หลายคนที่เคยให้การสนับสนุนค่ารถ
ค่าถ่ายเอกสาร มาบอกว่าขอไม่ให้แล้วนะ บางคนยังให้อยู่แต่ไม่ออกตัว
บางคนออกไปจากกลุ่มเราเลย เพราะมีคนไปหาเขาแล้วบอกว่า “พี่ขอนะ”
คุณอย่าลืมว่าที่นี่ชลบุรี
แค่นี้มันก็พอที่จะทำให้เขาหยุดเข้ากลุ่มกับเราแล้ว” ทิวาบอกเล่าอุปสรรคสำคัญในการเคลื่อนไหว
วันนี้กลุ่มคนรักบ่อวิน อาจจะไม่มีสมาชิกมากเท่าที่ผ่านมา
เพราะข้อเรียกร้องของพวกเขาได้รับการตอบสนองแล้ว
และพวกเขาเองก็ต้องกลับไปทำงานเลี้ยงชีพ
แต่แกนนำอย่างทิวายังคงทำงานด้านข้อมูลอยู่
เพราะคิดว่าสักวันหนึ่งพวกเขาอาจต้องกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ตราบที่โครงการระยะที่ 2
ยังไม่ประกาศชัดว่ามีการยกเลิก
ชาวบ้านหวั่นผุดนิคมฯ
เหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 2 ทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก
ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวบ้านหวั่นโครงการก่อสร้างนิคมฯ
เหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 2 ในเขตตำบลเขาคันทรง ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนประชาชน
เพราะพื้นที่โครงการกว่า 3,000 ไร่ เป็นพื้นที่รับน้ำ
หากดำเนินการจริงน้ำคงท่วมอย่างหนัก วอนนิคมฯ วางแนวทางแก้ไขด้วย
วันนี้ (18 พ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 4
เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายอาคม พันธุ์เฉลิมชัย
นายกเทศมนตรีนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ เป็นประธานประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1
เพื่อร่วมกำหนดขอบเขต และแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โครงการนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 2 ของบริษัทเหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด
(มหาชน) ตั้งอยู่ที่ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
โดยมีประชาชนในเขตพื้นที่ก่อสร้างโรงงาน และในเขตรัศมี 5
กิโลเมตร เข้าร่วมประชุม และเสนอแนะปัญหา และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อทางบริษัทฯ
และบริษัทฯ ที่ปรึกษา
เพื่อนำไปวางแนวทางเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะดำเนินโครงการ
สำหรับโครงการนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด
2 ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 331 ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 3,151.76 ไร่ ซึ่งโรงงานภายในพื้นที่ ประกอบด้วย
1.อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และประกอบรถยนต์
2.อุตสาหกรรมประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
3.อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง 4. อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์
ฯลฯ
ด้านนายสมพงษ์
ลีลาเบญจกุลพร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.เขาคันทรง กล่าวว่า
ปัจจุบันพื้นที่บริเวณเขตตำบลเขาคันทรง
และตำบลใกล้เคียงมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี, นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง), สวนอุตสาหกรรม สยามอีสเทิร์น อินดัสเตรียล พาร์ค ฯลฯ และล่าสุด
จะมีนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด 2 เกิดขึ้นอีก
สำหรับนิคมอุตสาหกรรมเหมราช
อีสเทิร์น ซีบอร์ด 2 มีพื้นที่โครงการทั้งสิ้น 3,151.76 ไร่
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่รับน้ำทั้งสิ้น
เมื่อเวลาฝนตกน้ำจะไม่ไหลเข้ามาท่วมบ้านเรือนของประชาชน และพื้นที่เศรษฐกิจ
โดยในช่วงก็เข้าท่วมบ้างแล้ว แต่เมื่อนิคมฯ เหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 2 เกิดขึ้น
ปัญหาน้ำท่วมคงเกิดขึ้น และคงหนักอย่างแน่นอน เพราะพื้นที่รับน้ำทั้งหมดถูกปิดกั้น
และนำไปสร้างโรงงานทั้งสิ้น
นายสมพงษ์
กล่าวต่อไปว่า ปัญหาเรื่องน้ำท่วมในอนาคต คงเป็นปัญหาใหญ่อย่างแน่นอน ดังนั้น
ขอให้นิคมฯ วางแนวทางในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจนสร้างความเดือดร้อน
และความเสียหายต่อประชาชน
ชาวบ้านวอนนายทุนสร้างนิคมฯเหมราช
เตรียมป้องกันน้ำท่วม-สวล.
ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวบ้าน ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
หวั่นโครงการก่อสร้างนิคมฯเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด 2 ทำเกิดน้ำท่วมบ้านเรือน
เพราะโครงการเกือบ 4,000 ไร่ เป็นพื้นที่รับน้ำ หากไม่หาวิธีการป้องกันน้ำคงท่วมหนัก
วันนี้
(30 เม.ย.) ที่ห้องประชุมองค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) เขาคันทรง อ.ศรีราชา
จ.ชลบุรี นางมีนา ทิพยโสภณกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท แอร์เซฟ จำกัด
บริษัทที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด 2
เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1
เพื่อร่วมกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการของบริษัท
เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ต.เขาคันทรง
โดยมีประชาชนในเขตพื้นที่ก่อสร้างโรงงาน และในเขตรัศมี 5 กิโลเมตร เข้าร่วมประชุม
เสนอแนะปัญหา และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
เพื่อนำไปวางแนวทางแก้ไขก่อนที่จะดำเนินโครงการ
สำหรับโครงการนิคมอุตสาหกรรมเหมราช
อีสเทิร์น ซีบอร์ด 2 ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 331 ต.เขาคันทรง มีเนื้อที่
3,151.76 ไร่ ภายในประกอบด้วยอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และประกอบรถยนต์อุตสาหกรรมประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์
เป็นต้น
นายสมพงษ์
ลีลาเบญจกุลพร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.เขาคันทรง กล่าวว่า โครงการของบริษัท
เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ส่วนใหญ่ชาวบ้านไม่ได้คัดค้าน
แต่เพียงให้ข้อสังเกต และข้อควรระวัง
เพื่อหาแนวทางในการป้องกันปัญหาหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
เนื่้องจากโครงการอยู่ริมถนนหมายเลข 331 ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา และต.คลองกิ่ว
อ.บ้านบึง อาจมีปัญหาด้านการจราจร ทางโรงงานควรจัดหาพื้นที่จอดรถให้ผู้ที่มาติดต่อโรงงานหรือบริการพนักงานไม่ควรจอดเกะกะริมถนน
หน้าร้านอาหารของชาวบ้าน
เพราะจะสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านและประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน
นอกจากนี้
ยังมีปัญหาการจัดสรรน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมช่วงหน้าฝน
เพราะพื้นทีก่อสร้างนิคมฯเป็นทั้งเนินและพื้นที่รับน้ำ
หากไม่ดูแลให้เป็นระบบจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่อยู่ด้านล่างจากน้ำท่วม
สร้างความเสียหายอย่างมาก ดังนั้น
โครงการควรวางแผนรองรับให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสร้างความเดือดร้อนและความเสียหายแก่ชาวบ้าน
ด้านนางนิตยา
ทองเย็น ชาวบ้านหมู่ 4 ต.เขาคันทรง กล่าวว่า
อยากให้ทางโครงการวางแผนการจัดการปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างด้วย
เช่น ฝุ่นละออง การจราจร
โดยควรพรมน้ำเพื่อไม่ให้เกิดฝุ่นรบกวนความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
รวมทั้งเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมหลังจากมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้น
โดยเฉพาะการรั่วไหลของสารเคมี และอยากจะให้โครงการจัดทำแผนดูแลชุมชนด้วย
จากข่าวที่ 1 เมื่อปี 2554 ชาวบ่อวินได้ร้องเรียนบริษัทฯอันเนื่องมาจากโรงงานในนิคมได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติใกล้พื้นที่ชุมชน
ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสายหลักที่จะถูกนำไปผลิตเป็นน้ำประปาให้ประชาชนใช้บริโภค ผลตรวจสอบน้ำจากการบำบัดก็ถูกพบว่ามีสารโลหะหนักและสารอื่นๆปนเปื้อนอยู่ในปริมาณที่เกินกว่ามาตรฐาน
อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องบ่อฝังกลบขยะซึ่งเดิมทีชุมชนโดยรอบเข้าใจว่าเป็นขยะทั่วไป
แต่แท้จริงแล้วชาวบ้านที่ทำงานขนส่งขยะเพื่อนำมาฝังกลบพบว่าเป็นขยะอันตรายซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศมาทำลายในไทย
ส่งผลให้พื้นที่โดยรอบได้รับผลกระทบจากขยะอันตราย
เพราะน้ำชะขยะที่ปนเปื้อนสารเคมีอันตรายรั่วซึมออกมาจากบ่อขยะ
จนดินในพื้นที่เพาะปลูกไม่สามารถสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพได้ จากข้อความทั้งหมดข้างต้น
เหตุการณ์ดังกล่าวกลับไม่ถูกเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี 2554 ของบริษัทแต่อย่างใด
จากข่าวที่ 2 ชาวบ้านรวมตัวกันเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ปี
2553-2555 จนในที่สุดโครงการการจัดการขยะของบริษัทได้ถูกแก้ไข
และเมื่อข้อเรียกร้องได้รับการตอบสนอง
กลุ่มชาวบ้านที่เกี่ยวข้องจึงกลับไปประกอบอาชีพปกติกันตามเดิม ซึ่งชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกล่าวว่ายังมีโครงการระยะที่
2 ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
หากโครงการดังกล่าวยังไม่ยกเลิก กลุ่มผู้ประท้วงจะอาจจะกลับมาอีกในอนาคต
นอกจากนี้ในปี 2556
บริษัทฯมีโครงการก่อสร้างนิคมฯเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด 2 บริเวณตำบเขาคันทรง
จากข่าวที่ 3 จะเห็นได้ว่าพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่รับน้ำ
หากการก่อสร้างมีข้อผิดพลาด บริเวณดังกล่าวจะมีน้ำท่วมขังอย่างหนัก ซึ่งจากข่าวที่
4 จะเห็นได้ว่าปัญหาดังกล่าวยังอยู่ในการดำเนินงานหาทางแก้ไขต่อไปในอนาคต
ที่มา
http://envi.hemaraj.com/Detail_factory.asp?Sitecode=1&keyword=yes&inspect=3
http://www.hemaraj.com/page/main.asp
http://www.mbtec-waste2energy.com
http://www.ppvoice.org/?p=2992
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000143272
http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9570000048108
ที่มา
http://envi.hemaraj.com/Detail_factory.asp?Sitecode=1&keyword=yes&inspect=3
http://www.hemaraj.com/page/main.asp
http://www.mbtec-waste2energy.com
http://www.ppvoice.org/?p=2992
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000143272
http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9570000048108
คณะผู้จัดทำ
นางสาวณัฐณิชา ว่องวรรธนะกุล 5430110302 R13 หมู่ 800
นายธนกฤต ภัควีรภัทร 5430110337 R13 หมู่ 800
นางสาววัลวิภา วงศ์กวีวิทย์ 5430110671
R13 หมู่ 800
นายสารัช นุชปาน 5430110761 R13 หมู่ 800
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น