โครงการ ทางพิเศษสายบูรพาวิถี–พัทยา
ความเป็นมาของโครงการ
เนื่องจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูการนาเข้าและส่งออกสินค้าหลักของประเทศด้วยสัดส่วนถึงร้อยละ 54 ของปริมาณการนาเข้าและส่งออก ทั้งประเทศ รวมไปถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีอัตราความเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี) อันเป็นเส้นทางหลักที่ใช้ในการเดินทางขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพมหานครและพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกต้องประสบปัญหาสภาพการจราจรที่ค่อนข้างหนาแน่น มีรถบรรทุกขนส่งสินค้าขนาดใหญ่เป็นจานวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณการจราจรในอัตราที่ค่อนข้างสูงขึ้นในอนาคต
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ตระหนักถึงความจาเป็นในการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษเพื่อรองรับความต้องการเดินทางและขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงได้วางแผนการดาเนินงานในระยะเร่งด่วน เพื่อต่อขยายโครงข่าย ทางพิเศษบูรพาวิถีไปยังนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งชายหาดบางแสนและเมืองพัทยาซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
เพื่อให้บรรลุตามกรอบนโยบายและแผนการพัฒนาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ กทพ. จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จากัด บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จากัด และบริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา พร้อมทั้งจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร และมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อโครงการ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน คุ้มค่ากับการลงทุน ประชาชนผู้ใช้เส้นทางได้รับความสะดวก ปลอดภัย และเป็นโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชนท้องถิ่น หรือเกิดผลกระทบในระดับที่ยอมรับได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
1) เพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดเวลาแก่ผู้ใช้เส้นทางที่เดินทางจากกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ไปยังภาคตะวันออกของประเทศ
2) เป็นทางเลือกในการเดินทางสู่จังหวัดทางภาคตะวันออก
3) ช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
(ถนนสุขุมวิท) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7
(มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ–ชลบุรี)
4) ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก
5) รองรับการพัฒนาระบบขนส่ง และโลจิสติกส์ของประเทศ
6) เชื่อมโยงการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวม
5. ระยะเวลาการศึกษา
การศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการ ทางพิเศษสายบูรพาวิถี–พัทยา มีระยะเวลารวม 15 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 ถึงเดือนกันยายน2557
การจัดทำ EIA ของโครงการประเภทคมนาคมโครงการ ทางพิเศษสายบูรพาวิถี–พัทยา
ขอบเขตการศึกษา
การดาเนินงานของโครงการ มีขอบเขตครอบคลุมทั้งการศึกษาด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดาเนินงานเผยแพร่ข้อมูลโครงการ การประชุมรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน และงานประชาสัมพันธ์โครงการ
พื้นที่ศึกษาของโครงการ
พื้นที่ศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของโครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา จะครอบคลุมพื้นที่ศึกษารัศมีข้างละ 500 เมตร ตามแนวสายทาง ของโครงการตั้งแต่จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถี บริเวณเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สิ้นสุดโครงการบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
(ถนนสุขุมวิท) บริเวณทางแยกทัพพระยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี รวมระยะทางประมาณ 71 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ศึกษาอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาล รวม 15 แห่ง และ 1 เมืองพัทยาครอบคลุมพื้นที่ใน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา และอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
แนวสายทางเลือกและการคัดเลือกแนวสายทางเลือกที่เหมาะสม
หลักเกณฑ์การกำหนดแนวสายทางเลือกเบื้องต้น
อาศัยหลักการในการพิจารณาดังนี้
1) มีระยะทางสั้น
2) สามารถเชื่อมต่อกับทางสายหลัก และสถานที่สำคัญ
เช่น นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ มหาวิทยาลัย
3) หลีกเลี่ยงแนวสายทางที่จะเกิดผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่น
สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
ศาสนสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
และสถานที่ราชการ
4) คำนึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงวิศวกรรม เช่น
ความคดเคี้ยว และความลาดชันของแนวสายทาง
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวสายทางที่เหมาะสม
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวสายทางที่เหมาะสมจะพิจารณาถึงองค์ประกอบในด้านต่างๆ
ดังนี้
1) ปัจจัยด้านวิศวกรรมและการจราจร
แนวสายทางที่ดีคือ
แนวสายทางที่สั้น ความคดเคี้ยวน้อย และสามารถรองรับให้บริการการจราจร
ได้มากการเดินทางจะมีความสะดวก
ปลอดภัย รวมทั้งทำให้ระบบโครงข่ายถนนในพื้นที่และการเชื่อมต่อการเดินทางมีประสิทธิภาพสูง
2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
แนวสายทางที่ดีคือ
แนวสายทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจสูง โดยสามารถลดเวลา
การเดินทาง
ในขณะเดียวกันควรเป็นแนวสายทางที่มีค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนน้อย
3) ปัจจัยด้านผลกระทบและสิ่งแวดล้อม
แนวสายทางที่ดีคือ
แนวสายทางที่มีผลกระทบต่อการโยกย้ายและการเวนคืนน้อย และมี
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านอื่นๆน้อย
เช่น วัด โรงเรียน ชุมชน และแหล่งโบราณสถาน เป็นต้น
แนวสายทางเลือกของโครงการ
จากการพิจารณาหลักเกณฑ์การกำหนดแนวสายทางเลือก และจากการตรวจสอบข้อมูลสภาพพื้นที่ศึกษา ของโครงการ สามารถกำหนดแนวสายทางเลือกเบื้องต้นของโครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี–พัทยาได้ 7 แนวสายทางเลือก ดังนี้
แนวสายทางเลือกที่ 1 มีจุดเริ่มต้นต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีบริเวณเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยเป็นทางยกระดับต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีลงมาตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
(ถนนสุขุมวิท) ผ่านนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชลบุรี ตลาดหนองมน มหาวิทยาลัยบูรพา โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะมีทางเชื่อมเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และสิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
(ถนนสุขุมวิท) บริเวณห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีพัทยาใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 66 กิโลเมตร
แนวสายทางเลือกที่ 2 มีจุดเริ่มต้นต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีบริเวณเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยในช่วงแรกจะเป็นทางยกระดับต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
(ถนนสุขุมวิท) ผ่านนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จากนั้นแนวสายทางจะเบี่ยงซ้ายไปตามแนวเลี่ยงเมืองชลบุรี ผ่านสุสานไตรสาธารณพุทธสมาคม แล้วแนวสายทางจะขนานกับทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านสโมสรการบินพลเรือน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา สุสานหลุงกัง ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะมีทางเชื่อมเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร จากนั้นแนวสายทางจะเข้าสู่ เมืองพัทยาไปตามแนวถนนเลี่ยงเมืองพัทยา และสิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
(ถนนสุขุมวิท) บริเวณห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีพัทยาใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 69 กิโลเมตร
แนวสายทางเลือกที่ 3 มีจุดเริ่มต้นต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีบริเวณเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยในช่วงแรกจะเป็นทางยกระดับต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีมาตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
(ถนนสุขุมวิท) ผ่านนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จากนั้นแนวสายทางจะเบี่ยงซ้ายไปตามแนวถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ผ่านสุสานไตรสาธารณพุทธสมาคม และจะเปิดเส้นทางใหม่เบี่ยงไปทางซ้ายของทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านสโมสร-การบินพลเรือน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ผ่านโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะมีทางเชื่อมเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร จากนั้นแนวสายทาง จะผ่านฟาร์มจระเข้พัทยา และสิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) บริเวณห้างสรรพสินค้า บิ๊กซีพัทยาใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 72 กิโลเมตร
แนวสายทางเลือกที่ 4 จุดเริ่มต้นต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีบริเวณเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยจะเป็นทางยกระดับต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถี มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ผ่านนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จากนั้นแนวสายทางจะเบี่ยงซ้ายไปตามแนวถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ผ่านหน้าสุสาน ไตรสาธารณพุทธสมาคม แล้วแนวสายทางจะไปในทิศทางขนานกับทางรถไฟสายตะวันออกระยะทางประมาณ 4.70 กิโลเมตร ช่วงนี้เป็นการเปิดแนวใหม่ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วจึงปรับเข้าไปใช้แนวเส้นทางยกระดับบนแนวทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ. 1076 และไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
(ถนนสุขุมวิท) จากนั้น จะเป็นทางยกระดับบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ไปจนสิ้นสุดโครงการ โดยจะผ่านพื้นที่ใกล้เคียง เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจะมีทางเชื่อมเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วไปสิ้นสุดโครงการบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) บริเวณทางแยกทัพพระยา รวมระยะทางประมาณ 71 กิโลเมตร
แนวสายทางเลือกที่ 5 มีจุดเริ่มต้นต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีบริเวณเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นแนวสายทางเลือกที่ผสมผสานกันระหว่างแนวสายทางเลือกที่ 1 กับช่วงทางเลี่ยงเมืองชลบุรี ตลาดหนองมน และทางเลี่ยงเมืองศรีราชา ซึ่งทางเลี่ยงเมืองศรีราชาจะเริ่มต้นบริเวณตลาดบางพระ แนวเส้นทาง จะเบี่ยงซ้ายเพื่อใช้เส้นทางขนานกับแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านค่ายลูกเสือวชิราวุธ สถานีชุมทางศรีราชา จากนั้นแนวสายทางจะแยกออกจากแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกมุ่งเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ส่วนช่วงที่ผ่านเมืองพัทยา ยังคงใช้ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
(ถนนสุขุมวิท) และสิ้นสุดโครงการบริเวณสามแยกถนนทัพพระยา (ถนนสุขุมวิทแยกทัพพระยา) รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 71.6 กิโลเมตร
แนวสายทางเลือกที่ 6 มีจุดเริ่มต้นต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีบริเวณเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นแนวสายทางเลือกที่ผสมผสานกันระหว่างแนวสายทางเลือกที่ 1 กับทางช่วงเลี่ยงเมืองชลบุรี ตลาดหนองมน และทางเลี่ยงเมืองพัทยา แนวทางเลือกนี้สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนในเขต เมืองชลบุรี ตลาดหนองมน และเมืองพัทยาได้ ซึ่งทางเลี่ยงเมืองพัทยาจะเริ่มบริเวณบ้านโรงโป๊ะ โดยใช้แนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 เป็นทางเบี่ยงเพื่อไปบรรจบกับแนวทางรถไฟสายตะวันออก จากนั้นแนวสายทางจะมีทิศทางขนานกับทางรถไฟผ่านสถานีรถไฟพัทยา ไปจนกระทั่งตัดผ่านถนนชัยพฤกษ์ 2 แล้วแนวทางเลี่ยงเมืองจะเบี่ยงขวา เพื่อไปบรรจบกับจุดสิ้นสุดโครงการที่บริเวณถนนทัพพระยา รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 70.9 กิโลเมตร
แนวสายทางเลือกที่ 7 มีจุดเริ่มต้นต่อจากทางพิเศษบูรพาวิถีบริเวณเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นแนวสายทางเลือกที่ผสมผสานกันระหว่างแนวสายทางเลือกที่ 1 กับทางช่วงเลี่ยงเมืองชลบุรี และตลาดหนองมน ทางช่วงเลี่ยงเมืองศรีราชา และทางช่วงเลี่ยงเมืองพัทยา เพื่อลดผลกระทบในช่วงผ่านชุมชนเมือง ทั้ง 3 แห่ง คือ ชลบุรี ศรีราชา และพัทยา โดยใช้เส้นทางเลี่ยงเมืองทั้ง 3 แห่งมาผสมผสานกับแนวสายทางเลือกที่ 1 ทาให้สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนในเขตเมืองได้ทั้งหมด โดยมีระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 71.6 กิโลเมตร
รูปแบบโครงสร้างทางยกระดับเบื้องต้นของโครงการ
โครงสร้างทางพิเศษ เป็นโครงสร้างทางยกระดับรองรับช่องจราจรขนาด 6 ช่องจราจร โดยแบ่งเป็นช่องจราจรขาไปและกลับอย่างละ 3 ช่องจราจร แต่ด้วยลักษณะพื้นที่โครงการมีข้อจากัดเรื่องการใช้พื้นที่และระบบสาธารณูปโภค ที่หนาแน่น จึงต้องพิจารณาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างและระยะเวลาก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบจากสภาพจราจร ที่หนาแน่นในพื้นที่ โดยในการศึกษาโครงสร้างมีทั้งหมด 3 รูปแบบ ซึ่งจะได้พิจารณารูปแบบทางยกระดับที่เหมาะสมที่สุดสาหรับโครงการ มีรายละเอียดดังนี้
รูปแบบที่ 1 ทางยกระดับแบบคานกล่องชนิดหล่อสำเร็จ (Segmental
Box Girder) รูปแบบโครงสร้าง มีลักษณะเป็นคานคอนกรีตรูปกล่องสี่เหลี่ยมคางหมูภายในกลวงแบบกล่องเดี่ยว มีปีกยื่นออกไปทั้งสองข้างความกว้างประมาณ 27 เมตร มีรูปแบบคล้ายคลึงโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี มีความยาวช่วงสะพานระหว่าง 30–45 เมตร โครงสร้างรูปแบบนี้จะก่อสร้างโดยอัดแรงภายหลังแบบดึงลวดภายนอกออกแบบเป็นชิ้นส่วนประกอบกัน ช่วงละประมาณ 2.5 เมตร นามาต่อ ๆ กัน แต่ละชิ้นจะมีน้าหนักประมาณ 85–100 ตัน ดังแสดงในรูปโครงสร้างชนิดนี้ต้องใช้พื้นที่กว้างในการหล่อชิ้นส่วนแบบเข้ารูป (Match
Cast) และต้องการที่สาหรับเก็บกองชิ้นส่วนจานวนมากเพื่อให้สามารถป้อนงานได้ทันเวลา
รูปแบบที่ 2 ทางยกระดับแบบคานกล่องชนิดหล่อในที่ (Cast
in–situ Box Girder) รูปแบบโครงสร้าง มีลักษณะเป็นโครงสร้างพื้นสะพานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องแบบหล่อในที่ ลักษณะคานรูปกล่องสี่เหลี่ยมคางหมูคล้ายรูปแบบที่ 1 ต่างกันที่รูปแบบที่ 2 จะจัดวางลวดแบบภายใน (Internal
Post–Tension) ความยาวช่วงสะพานประมาณ 35–45 เมตร หน้าตัดคานจะลึกประมาณ 2.0–2.5 เมตร ดังแสดงในรูปการก่อสร้างโครงสร้างชนิดนี้จะต้องทา บนนั่งร้านเคลื่อนที่ (Movable Scaffolding) เนื่องจากความสูงและเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการจราจรระหว่าง การก่อสร้าง
รูปแบบที่ 3 ทางยกระดับแบบคานรูปตัวไอ (I–Girder) รูปแบบโครงสร้างเป็นคานคอนกรีตอัดแรงหล่อเป็นรูปตัวไอ เหมาะสาหรับช่วงสะพานตั้งแต่ 15–35 เมตร คานคอนกรีตรูปตัวไอจะถูกวางห่างกันเป็นช่วงๆ ตามแนว ความกว้างของสะพาน โดยเทคอนกรีตทับหน้าเพื่อให้คานคอนกรีตอัดแรงทั้งชุดทางานเป็นระบบเดียวกันหรือในกรณีที่ต้องการลดปัญหาในการเทคอนกรีตพื้นโดยไม่ต้องใช้ไม้แบบก็สามารถใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปวางบนคานคอนกรีตอัดแรง แล้วเทคอนกรีตทับหน้าอีกชั้นหนึ่ง ดังแสดงในรูปโครงสร้างชนิดนี้จะสามารถก่อสร้างได้ง่ายและรวดเร็วอีกทั้ง มีราคาถูกกว่าอีก 2 รูปแบบ
ทางยกระดับแบบคานกล่องชนิดหล่อสำเร็จ
ทางยกระดับแบบคานกล่องชนิดหล่อในที่
ทางยกระดับแบบคานรูปตัวไอ (I Girder)
การคัดเลือกรูปแบบโครงสร้างทางยกระดับ
รูปแบบโครงสร้างทางยกระดับที่เหมาะสมที่สุดนั้น จะต้องคัดเลือกจากรูปแบบที่มีความเป็นไปได้ใน การก่อสร้างในพื้นที่ โดยได้พิจารณาเปรียบเทียบปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่มีความสำคัญมากน้อยแตกต่างกัน โดยกำหนดปัจจัยหลักประกอบไปด้วย
· ความยากง่ายในการก่อสร้าง รูปแบบของโครงสร้างและความซับซ้อนของการก่อสร้าง เป็นประเด็นสำคัญที่จะนามาพิจารณาเพื่อประเมินระดับความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโครงการ ทั้งนี้ปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้รับเหมาในประเทศ ที่มีข้อจากัดเรื่องอุปกรณ์ เครื่องมือและเทคโนโลยีสาหรับก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่
· ระยะเวลาการก่อสร้าง ระยะเวลาอาจมีผลที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับปัจจัยด้านอื่น ๆ ตามมา หากโครงการสามารถดาเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้ในเวลาอันสั้น ย่อมทาให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้ทาง สามารถใช้ประโยชน์ของโครงสร้างทางเพื่อการขนส่งได้ในอนาคตอันใกล้
· มูลค่าการก่อสร้าง ค่าก่อสร้างของโครงสร้างทางยกระดับ ขึ้นอยู่กับปริมาณวัสดุก่อสร้าง ส่วนประกอบทางยกระดับบางอย่างอาจมีราคาแพง นอกจากนั้นยังรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ดาเนินการที่จาเป็นต้องออกแบบพิเศษสาหรับโครงสร้างขนาดใหญ่
· การบำรุงรักษา ในการก่อสร้างโครงการต้องมีการดูแลรักษาโครงสร้างในอนาคตและตลอดอายุการ ใช้งานที่ได้ออกแบบไว้ตามรูปแบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน จะมีส่วนประกอบบางอย่างที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้อง จัดตั้งงบประมาณเพื่อมาดูแลรักษาด้วย
· ด้านสถาปัตยกรรมและความสวยงาม การออกแบบโครงสร้างทางยกระดับ โดยเฉพาะโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่และมีงบประมาณในการก่อสร้างมาก ต้องเลือกรูปแบบที่มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม รูปทรงและลวดลายต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ของพื้นที
· ด้านผลกระทบต่อการจราจรระหว่างการก่อสร้าง ต้องพิจารณาถึงการใช้พื้นที่จราจรในระหว่างการก่อสร้าง การขนส่งชิ้นส่วนสะพานไปประกอบกัน ความปลอดภัยที่กองเศษวัสดุที่เหลือ และปัญหาการระบายน้าในบริเวณพื้นที่โดยรอบขณะทาการก่อสร้าง
งานเผยแพร่ข้อมูลของโครงการ และการมีส่วนร่วมของประชาชน
กลุ่มเป้าหมายที่เชิญประชุม
การกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ดำเนินการตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและ
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม
ของสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549 และตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
พ.ศ. 2548 โดยจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกเป็น 7 กลุ่มประกอบด้วย
1) ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ
2) หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3) หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
4) หน่วยงานราชการในระดับต่างๆ
5) องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม/องค์กรพัฒนาเอกชน/สถาบันการศึกษา/นักวิชาการอิสระ
6) สื่อมวลชน
7) ประชาชนทั่วไป
การดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูลของโครงการ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม ดังนี้
1.
งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลของโครงการ
ในการดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลของโครงการแก่ประชาชน ประกอบด้วย
1) จัดทำเอกสารประกอบการประชุมเพื่อใช้ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
2) จัดทำแผ่นพับ เพื่อใช้ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และแจกจ่ายประชาชนผู้สนใจโครงการ
3) ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อท้องถิ่น ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุชุมชน เสียงตามสายในชุมชน/หมู่บ้าน เว็บไซต์ www.buraphavithi–pattaya.com เป็นต้น
4) ติดประกาศประชาสัมพันธ์โครงการ ที่จังหวัด อำเภอ และในชุมชนท้องถิ่น
5) จัดทำบอร์ดนิทรรศการเพื่อใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโครงการแก่ประชาชน และใช้ในกิจกรรมการประชุม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน
6) จัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลโครงการ และกิจกรรมด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
2.
งานการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
การมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับรู้ และเข้าใจโครงการ และให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่
1) การพบปะหารือ และรับฟังความคิดเห็นผู้นาชุมชน และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่โครงการ : มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ศึกษาของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของชุมชน กรณีมีการพัฒนาโครงการ และเพื่อชี้แจงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการแก่ผู้นำชุมชน ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น และผู้บริหารส่วนราชการในพื้นที่ศึกษา
2) การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 : เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบและเข้าใจถึงเหตุผลความจำเป็นและขอบเขตการศึกษาของโครงการ รวมถึงเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาและการพัฒนาโครงการ
3) การประชุมกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1 : เพื่อแนะนำและชี้แจงข้อมูลความเป็นมาของโครงการ เหตุผลความจำเป็นและแนวทางการศึกษา รวมทั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงแนวสายทางเลือกต่าง ๆ ของโครงการ สำหรับเป็นแนวทางในการศึกษาและจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกรณีมีการพัฒนาโครงการ
4) การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 : เพื่อชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการ และเสนอผลการคัดเลือกแนวสายทางที่เหมาะสม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวสายทางของโครงการ
5) การประชุมกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2 : เพื่อชี้แจงผลการคัดเลือกแนวสายทางและรูปแบบของโครงการ พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นความวิตกกังวลด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแนวทางหรือมาตรการในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ
6) การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 : เพื่อนำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการจัดการด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อนาไปเพิ่มเติมมาตรการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการดำเนินโครงการต่อไป
วัตถุประสงค์ของการประชุม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน
การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนวัตถุประสงค์หลักของการประชุม ดังนี้
1) เพื่อชี้แจงข้อมูลความก้าวหน้าของโครงการ และนำเสนอผลการคัดเลือกแนวสายทางที่เหมาะสม พร้อมทั้งเหตุผลหลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาคัดเลือกแนวสายทางของโครงการ ตลอดจนแผนการดำเนินงานในขั้นต่อไปเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ
2) เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวสายทางที่เหมาะสมของโครงการจากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ดำเนินการกิจกรรมไปแล้ว 3 กิจกรรมได้แก่
1. การพบปะหารือ และรับฟังความคิดเห็นหน่วยงานราชการระดับจังหวัด และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่โครงการ ในวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2556 เวลา 10.00–12.00 น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดชลบุรี โดยมีตัวแทนจากหัวหน้าส่วนราชการและผู้แทนหน่วยงานเข้าร่วมการประชุมฯ จานวน 21 คน
2. การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ในวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2556 เวลา 08.30–12.00 น. ณ ห้องประชุมแปซิฟิค เดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีผู้เข้าร่วมการประชุมจานวน 118 ราย เป็นตัวแทนจากหน่วยงานราชการในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน ประชาชนที่อยู่อาศัยและผู้ประกอบการ สถานศึกษา ศาสนา ในรัศมี 500 เมตร จากกึ่งกลางแนวสายทางโครงการและประชาชนทั่วไปที่สนใจโครงการ
3. การประชุมกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1 ดำเนินการในระหว่างวันที่ 19–20 พฤศจิกายน 2556 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ณ ห้องประชุมของเทศบาลตำบลบางทราย กลุ่มที่ 2 ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองชลบุรี กลุ่มที่ 3 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางพระ และกลุ่มที่ 4 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอบางละมุง มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง 4 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 196 คน เป็นตัวแทนจากระดับอำเภอ ตำบล เทศบาล และชุมชน
การดำเนินงานในช่วงต่อไป
1) งานศึกษาด้านวิศวกรรม
ศึกษารูปแบบโครงสร้าง ขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง ออกแบบเบื้องต้นแนวสายทางหลัก ทางขึ้น–ลง และทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถี ออกแบบระบบระบายน้า ระบบการจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบการควบคุมการจราจร จัดทำรายงานด้านธรณีวิทยา รายงานสำรวจ และจัดทำแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.
2) งานศึกษาวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจ
งานศึกษาวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ ค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดาเนินงาน เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจของโครงการ
3) งานศึกษาวิเคราะห์ทางด้านการเงิน
งานศึกษาวิเคราะห์ทางด้านการเงิน ประกอบด้วย การจัดทำแผนการลงทุน ศึกษารูปแบบการลงทุนและแหล่งเงินทุน รวมทั้งวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านการเงิน
4) งานด้านสิ่งแวดล้อม
งานจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้แก่ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการกำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ
5) งานเผยแพร่ข้อมูลของโครงการ และการมีส่วนร่วมของประชาชน
งานเผยแพร่ข้อมูลของโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ประชุมกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2 ในช่วงเดือนเมษายน 2557 และการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 ประมาณเดือนพฤษภาคม 2557
การรับฟังความคิดเห็นภายหลังการจัดประชุม
ที่ปรึกษาจะเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการภายหลังจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสาธารณชนแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้แก่ โทรศัพท์ 0 2522 7369 ต่อ 123 และ 143 โทรสาร 0 2522 7368
e–mail address : enrich.pp@gmail.com เว็บไซต์โครงการ www.buraphavithi-pattaya.com และทางไปรษณีย์ที่ บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จากัด เลขที่ 43/833-4 หมู่ที่ 3 ซอยอัมรินทร์นิเวศน์ ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
ความคิดเห็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
หลังจากนำเสนอรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็น
ให้ข้อเสนอแนะและซักถามประเด็นข้อวิตกกังวล ข้อสงสัย แก่ผู้นำเสนอโครงการ
ซึ่งสามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้
ด้านวิศวกรรม
- ควรออกแบบแนวสายทางเลือกของโครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา
โดยใช้เส้นทางพิเศษบูรพาวิถี(การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)
ทางหลวงแผ่นดิน (กรมทางหลวง) ทางหลวงชนบท (กรมทางหลวงชนบท) และเส้นทางรถไฟ
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) ให้มีความเชื่อมโยงกันเพื่อความสะดวกในการเดินทางและการขนส่งสินค้า
- จากแนวสายทางเลือกเบื้องต้นที่ได้นำเสนอ
ผู้เข้าร่วมประชุมบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการตามแนวสายทางเลือกที่ 1 เพราะบางช่วงของถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
มีพื้นที่เขตทางแคบ บางช่วงไม่มีเกาะกลางถนน ประกอบกับมีประชาชนชนอยู่อาศัยและประกอบธุรกิจการค้าหนาแน่น
จึงเสนอให้มีการพิจารณานำแนวสายทางเลือกเบื้องต้นทั้ง 3
สายมาผสมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน
โดยปรึกษาหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นด้วยเพื่อหาแนวสายทางที่เหมาะสมต่อไป
- ควรพิจารณาแนวสายทางที่มีความเหมาะสมและไม่เกิดผลกระทบต่อสังคม ชุมชน
หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีสภาพการจราจรติดขัดในปัจจุบัน
โดยเฉพาะบริเวณทางเข้านิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
- ควรพิจารณาทางขึ้น-ลงที่เหมาะสม
เพียงพอ ต่อความต้องการในการเดินทาง และเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่โดยให้มีการเชื่อมต่อกับบริเวณชุมชนและหน่วยงานราชการต่าง
ๆ เช่น สถานศึกษา ตลาดค้าขายที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี สถานที่ท่องเที่ยว ท่าเรือ
นิคมอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง
- ควรให้ประชาชนรับทราบข้อมูลการศึกษาด้านการจราจรและการคาดการณ์ผลกระทบด้านการจราจร
ด้านเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
- ควรมีการออกแบบและติดตั้งป้ายจราจรให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามาตรฐานสากล
- จุดสิ้นสุดของโครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา
บริเวณหน้าห้างบิ๊กชีพัทยาใต้ยังไม่เหมาะสม
เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการจราจรติดขัดควรพิจารณาต่อขยายแนวสายทางออกไปจนถึงแยกเทพประสิทธิ์
- พิจารณาทำทางเลียบตลอดแนวทางยกระดับ
- พิจารณาพื้นที่ใต้ทางยกระดับเพื่อจัดทำเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ให้กับคนในท้องถิ่นด้วย
เช่น ทำลานออกกำลังกาย เป็นต้น
- พิจารณาทำทางขึ้น– ลง ให้กับชุมชนที่อยู่ใกล้โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยาด้วย
ด้านสิ่งแวดล้อม
- ควรเพิ่มเติมการศึกษาด้านสาธารณสุข
เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่
- โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา แนวสายทางเป็นทางยกระดับทำให้บดบังทัศนียภาพ
- การทำทางยกระดับพื้นที่ด้านล่างควรพิจารณาทำจุดกลับรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงและคนที่ใช้รถในถนนระดับดิน
- ควรมีมาตรการจัดการไม่ให้ชุมชนเข้าไปอยู่อาศัยใต้ทางยกระดับเพื่อไม่ให้เกิดเป็นชุมชนแออัดซึ่งอาจเกิดปัญหาสังคมตามมาภายหลังได้
- โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา
ถ้าก่อสร้างตามแนวถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนน
สุขุมวิท) จะทำให้การจราจรติดขัดและเกิดผลกระทบต่อชุมชน
ร้านค้า ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าบริเวณสองข้างทาง
- มีมาตรการในการแก้ไขพื้นที่ชุมชนที่ถูกแบ่งแยกและได้รับผลกระทบด้านสังคมจากการดำเนินโครงการอย่างไร
ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
- ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการไปยังสถาบันการศึกษาในพื้นที่ด้วย
เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น
โดยการติดประกาศ หรือจัดนิทรรศการ
เพื่อให้นิสิตนักศึกษา บุคลากรของสถาบัน และบุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูล
โครงการ
อื่น ๆ
- เมื่อเปิดใช้งานแล้วควรพิจารณาให้ตำรวจจราจรสถานีเดียวเท่านั้นที่ดูแลบนทางด่วนพิเศษ
ความคิดเห็นจากแบบประเมินผลจากแบบประเมินผลการประชุม
ได้ดังนี้
1) ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการระหว่างการก่อสร้าง
จากการตอบแบบประเมินผลของผู้เข้าประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วม
ประชุมตอบว่า
การพัฒนาโครงการช่วงระหว่างการก่อสร้างอาจก่อให้เกิดผลกระทบกับปัญหาการจราจร
ติดขัด ถนนชำรุด
และความไม่สะดวกในการเดินทาง มีสัดส่วนที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 11.28 ปัญหาฝุ่น
ละอองจากกิจกรรมการก่อสร้างและเสียงดังจากกิจกรรมการก่อสร้าง
มีสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 10.24
และอีกร้อยละ 9.37 ตอบว่ามีความสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
2) ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการช่วงเปิดดำเนินการ/เปิดใช้งาน
จากการตอบแบบประเมินผลของผู้เข้าประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วม
ประชุมตอบว่า ช่วงเปิดดำเนินการ/เปิดใช้งานอาจช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด
ร้อยละ 10.23 เพิ่ม
ทางเลือกในการเดินทางทำให้สะดวกยิ่งขึ้น
ร้อยละ 10.04
ประหยัดเวลาในการเดินทาง ร้อยละ 9.66
เพิ่มโครงข่ายในการเดินทาง ร้อยละ 8.14 เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น ร้อยละ 7.20 และบางส่วนเห็นว่า
อาจเกิดผลกระทบช่วงเปิดดำเนินการ/เปิดใช้งาน
คือเสียงดังจากรถที่ใช้เส้นทางโครงการ รอยละ ้ 8.90
ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง ร้อยละ 8.14 แรงสั่นสะเทือนที่เพิ่มขึ้นจากยานพาหนะ
ร้อยละ 7.77 เป็นต้น
3) ประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ
จากการตอบแบบประเมินผลของผู้เข้าประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่1 มีผู้เข้าร่วม
ประชุม ร้อยละ 53.01 ไม่แสดงความคิดเห็น อีกรอยละ ้ 46.99 แสดงความคิดเห็นในด้านประโยชน์ที่จะ
ได้รับจากการพัฒนาโครงการในประเด็นต่างๆ
ได้แก่ เป็นการพัฒนาด้านการคมนาคม/การจราจรเพื่อการ
เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน ในปีพ.ศ.
2558 ร้อยละ 33.33 ส่งเสริมระบบโลจิสติกส์และกระตุ้น
เศรษฐกิจนิคมอุตสาหกรรมเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างท่าเรือต่างๆให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วขึ้น
ร้อยละ
28.21 ทำให้การคมนาคมขนส่งรวดเร็วขึ้น
รอยละ ้ 15.38 สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุุและเพิ่ม
ทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชนได้ร้อยละ
12.82
และช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาคตะวันออก
ร้อยละ 10.26 เป็นต้น
4) ประเด็นข้อกังวลห่วงใยและสิ่งที่ต้องให้ความดูแลใส่ใจเป็นพิเศษจากการดำเนินโครงการ
จากการตอบแบบประเมินผลของผู้เข้าประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วม
ประชุมมีประเด็นข้อกังวลห่วงใยและสิ่งที่ต้องให้ความดูแลใส่ใจเป็นพิเศษจากการดำเนินโครงการ
คือ ให้
ความสำคัญเรื่องกับมลภาวะต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
เช่น ฝุ่นละออง เขม่าควัน เสียงดัง ฯลฯ และควร มี
มาตรการแก้ไขและลดปัญหาผลกระทบ ร้อยละ
28.07ปัญหาด้านการจราจรติดขัดระหว่างการก่อสร้าง/
ดำเนินการ และปัญหาอุบัติเหตุจากการก่อสร้าง
มีสัดส่วนที่เท่ากันร้อยละ 15.79 ราคาค่าผ่านทางควรมี
อัตราที่ไม่แพงเกินไป ร้อยละ 12.28 ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยที่สุดเพราะ
มีการผ่านพื้นที่ป่า ร้อยละ 10.53
และควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีชุมชนหนาแน่นเพื่อลดปัญหาผลกระทบและการเวนคืน
ควรหามาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบในช่วงระยะก่อสร้างมีสัดส่วนที่เท่ากันร้อย
ละ 8.77
การดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน
จากการสรุปผลการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
(กทพ.) ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อ
นำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม
เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ
โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา ณ
โรงแรมเดอะซิตี้ศรีราชา ตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัด
ชลบุรี เมื่อวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2557 เวลา 8.30
- 12.00 น. ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 3
นับตั้งแต่
เริ่มการศึกษาของโครงการ
โดยมีรองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นประธานในการ
ประชุมก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้น
ในเวลาประมาณ 8.00
น.ได้มีประชาชนประมาณ 800 คน เดินทางมา
รับเอกสารประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่ 3
และแผ่นพับประชาสัมพันธ์
โครงการ ครั้งที่ 3 จากนั้นได้ทยอยเข้าห้องประชุม
โดยไม่มีการลงชื่อเข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งชูแผ่นป้ายที่มี
ข้อความไม่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการตามแนวสายทางที่ที่ปรึกษาจะนำเสนอ
เนื่องจากเห็นว่าจะ
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และมีผู้ที่จะต้องได้รับ
ผลกระทบจากการถูกเวนคืนตามแนวเขตทางของโครงการด้วย
เวลาประมาณ 9.00 น.
รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ และบริษัทที่ปรึกษาได้ขึ้นเวทีเพื่อจะนำเสนอข้อมูลและรายละเอียดของโครงการ
แต่ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ยินยอม พร้อมทั้งได้มีการซักถามและกล่าวโจมตีการทางพิเศษฯและบริษัทที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
และขอให้การทางพิเศษฯทบทวนพิจารณาใช้แนวสายทางตามทางหลวงหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ – ชลบุรี) แทน
ในการนี้การทางพิเศษฯและตัวแทนบริษัทที่ปรึกษาได้ชี้แจงว่าแนวสายทางที่นำเสนอเป็นแนวสายทางที่อยู่ในผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯเท่านั้นยังไม่ใช่แนวสายทางที่จะนำไปดำเนินการออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างโครงการ
ในระหว่างนี้
พ.ต.อ.สุวิชาญ ญาณกิติกุล รอง ผบก.ภ.จว.ชลบุรีได้เข้ามาช่วยเจรจาเพื่อให้บรรยากาศ
การประชุมดำเนินต่อไปได้แต่ผู้เข้าร่วมประชุมยังคงคัดค้าน
และต้องการให้การทางพิเศษฯยืนยันที่จะไม่ใช้
แนวสายทางตามผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา
โดยมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สรุปว่า เห็นด้วยกับ
โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา
แต่ต้องการให้พิจารณาใช้แนวสายทางตามทางหลวงหมายเลข 7
(มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ – ชลบุรี)
แทนแนวสายทางที่ที่ปรึกษานำเสนอ และขอให้การทางพิเศษฯและที่ปรึกษา
จัดประชุมเพื่อชี้แจงกับประชาชนในพื้นที่ให้ทราบถึงผลสรุปของการศึกษาโครงการภายในเดือนสิงหาคม
2557 โดยเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าวและแจ้งให้ประชาชนทราบ
ทั้งนี้
ที่ปรึกษาจะนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่
3 ไปปรึกษาหารือกับหน่วยงานราชการระดับจังหวัด
ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น และประชุมกลุ่มย่อยกับ
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตามแนวสายทางโครงการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันต่อการพัฒนา
โครงการ
พร้อมทั้งรับฟังประเด็นปัญหาและผลกระทบ ข้อวิตกกังวลห่วงใยจากประชาชน
เพื่อหาวิธีแนวทาง
ในการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ
ในการดำเนินงานพบปะ
หารือและประชุมกลุ่มย่อย
จะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป และหลังจาก
นั้นจะดำเนินการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน 2557
ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น