ตัวอย่างการนำเสนอรายงานขององค์กรที่ได้จัดทำบัญชีสิ่งแวดล้อม
v ข้อมูลองค์กร
บริษัท
อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน)
เป็นบริษัทฯเตาเผากำจัดกากอุตสาหกรรมแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย
ให้บริการในการรวบรวม ขนส่ง และจัดเก็บของเสียอุตสาหกรรม เพื่อนำไปกำจัดโดยกระบวนการเผาทำลาย
มุ่งมั่นที่จะดำเนินกิจการโดยเน้นการพัฒนาการให้บริการเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า
และตระหนักถึงความสำคัญของการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
จึงได้กำหนดนโยบายคุณภาพและสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักการ
“ทำตามกฎ ลดมลพิษ คิดพัฒนา ลูกค้าพึงพอใจ”
v
แนวคิด
บริษัทฯ
มีเจตจำนงและมุ่งมั่นที่จะดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังนี้
1.ให้บริการอย่างมีคุณภาพ
เพื่อลดความพึงพอใจของลูกค้า
2.ปฏิบัติตามกฎหมาย
ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และข้อกำหนดของลูกค้า
3.ควบคุม ป้องกัน
และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากกิจกรรมการดำเนินงาน
4.ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
5.ส่งเพิ่มให้พนักงานมีส่วนร่วมในระบบการจัดการด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
6.สร้างวัฒนธรรมองค์กรในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
v การดำเนินงานด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สำหรับผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ประจำปี 2556 ที่ได้กำหนดมาตรการในการปฏิบัติไว้
8 ประเด็น ได้แก่
1. คุณภาพอากาศโดยกำหนดให้ต้องมีการควบคุมผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศซึ่งอาจเกิดจากกระบวนการเผาทำลาย
โดยการติดตั้งอุปกรณ์กำจัดและควบคุมมลพิษทางอากาศเพื่อควบคุมให้คุณภาพอากาศที่ปล่อยออกมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
รวมทั้งการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆและจัดให้มีพื้นที่สีเขียวเป็นแนว Buffer
Zone
2. เสียงต้องมีการควบคุมและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากเสียงของเครื่องจักร
3. คุณภาพน้ำผิวดินต้องมีระบบรวบรวมและจัดการน้ำแต่ละประเภทอย่างชัดเจน
ได้แก่ น้ำเสียจากอาคารสำนักงาน น้ำเสียที่ปนเปื้อนของเสีย และน้ำฝนที่ไม่ปนเปื้อน
4. น้ำใต้ดินต้องมีการติดตามคุณภาพน้ำใต้ดินที่อาจเกิดการปนเปื้อนจากกิจกรรม
5. การคมนาคมต้องมีมาตรการในการควบคุมการเดินรถขนส่งทั้งภายในและภายนอกพื้นที่โครงการ
รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และต้องมีการฝึกอบรมพนักงานขับรถในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
6. การจัดการกากของเสีย
ต้องมีการจัดการกากของเสียทั้งที่รับมากำจัดในโครงการและที่เกิดจากกระบวนการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
7. เศรษฐกิจสังคม
ต้องมีการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนโดยรอบโครงการรับทราบผลการดำเนินการของโครงการ
8. สาธารณสุข/อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ต้องมีการจัดการและควบคุมดูแลทั้งกระบวนการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย
รวมทั้งต้องมีการตรวจสุขภาพพนักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ซึ่งในปี 2556
บริษัทฯได้ปฏิบัติและติดตามการปฏิบัติตามมาตรการทั้งหมดอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนดโดยผลการตรวจวัดคุณภาพด้านต่างๆไม่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด
ตารางแสดงระยะเวลาการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะคุณภาพอากาศที่ระบายออกจากปล่องตามประกาศกระทวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม
พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดในการดำเนินงานที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็มีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังได้จัดทำโครงการเพื่อการประหยัดทรัพยากรและพลังงาน
ได้แก่
1. โครงการควบคุมประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการเผาทำลาย
ซึ่งมีเป้าหมายควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อการเผาของเสีย 1 ตันให้มีปริมาณลดลงจากปริมาณการใช้ในปี
2555 รวมทั้งค่าเฉลี่ยปริมาณการใช้ไฟฟ้าในการเผาของเสีย 1
ตัน น้อยกว่าปี 2555 ร้อยละ 10 ซึ่งจากการดำเนินโครงการพบว่าสามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้ลดลงจากปี 2555 ร้อยละ 22
ซึ่งสามารถลดได้มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในการเผาของเสียปี 2555
เท่ากับ 46 หน่วยต่อตันของเสียปริมาณใช้ไฟฟ้าในการเผาของเสียปี
2556 เท่ากับ 36 หน่วยต่อตันของเสีย)
2. การจัดการน้ำเสียและการนำมาใช้ประโยชน์ได้
โดยบริษัทฯสามารถบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์จากน้ำเสียทั้งที่รับมากำจัดและที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินงาน
ทดแทนการเผาทำลายโดยการใช้น้ำเสียที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในกระบวนการลดอุณหภูมิก๊าซร้อนในหอลดอุณหภูมิ
v ผลการดำเนินงานด้านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม
ความรับผิดชอบต่อสังคมของอัคคีประการ ดำเนินการภายใต้กรอบ CSR-CIW ที่กำหนดกรอบการรายงานแห่งความยั่งยืน 7
ประการ ได้แก่ 1.การกำกับดูแลกิจการ 2.สิทธิมนุษยชน 3.การปฏิบัติด้านแรงงาน 4.สิ่งแวดล้อม 5.การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม 6.ผู้บริโภค 7.การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน(รายละเอียดนำเสนอในรายงานแห่งความยั่งยืน(AKP
Sustainability Report 2556)) อย่างไรก็ตาม
บริษัทฯได้กำหนดการดำเนินกิจกรรมแก่ลูกค้าที่ใช้บริการและชุมชนโดยรอบศูนย์ฯและเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของการให้บริการ
4 โครงการดังนี้
1. “กิจกรรมเปิดประตูสู่อัคคี” เป็นโครงการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ
และเอกชน สถาบันการศึกษา
ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไปในการปฏิบัติงานของการเผาทำลายสิ่งปฏิกูลฯ โดยในปี 2556 บริษัทฯได้รับความสนใจจากภาครัฐและเอกชนเข้าเยี่ยมชมรวมทั้งสิ้น
243 หน่วยงาน 1,562 คน
แบ่งออกเป็นหน่วยงานเอกชนจำนวน 229 หน่วยงาน 917 คน หน่วยงานภาครัฐ 7 หน่วยงาน 486 คน และสถาบันการศึกษา 7 หน่วยงาน 159 คน
กราฟแสดงจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯในปี 2552-2556
2. “การพัฒนาชุมชนเพื่อสังคม”
เป็นโครงการที่บริษัทฯสร้างสรรค์และจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะที่สำคัญต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นหลัก
ได้แก่ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ โครงการฟื้นฟูศักยภาพผู้ป่วยราชการสนาม
โครงการอาสาพัฒนาเพื่อน้อง (ทาสีโรงเรียน) โครงการสอนน้องแยกขยะ
โครงการหน้าบ้านหน้ามอง โครงการเสียเหงื่อเพื่อน้อง เป็นต้น
3. “สื่อสารกว้างไกล
ปลอดภัยสิ่งแวดล้อม” ได้ร่วมจัดกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัย (หนึ่งโรงงาน
หนึ่งร่มเงา) ให้แก่ลูกค้าเดิมที่ใช้บริการมีการจัดบูธประชาสัมพันธ์แก่สาธารณะ
และจัดนิทรรศการสัมมนาวิชาการ อาทิ
การจัดบูธในการประชุมวิชาการอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
สัมมนาวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเรื่องการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมกับความจำเป็นในการลงทุนเตาเผาขยะอันตรายเพิ่มขึ้น
ตลอดจนการจัดทำวารสารในรูปแบบ Electronic (AKP E-letter) เป็นต้น
4. “กิจกรรมสัมพันธ์”
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯและชุมชนโดยรอบ ได้แก่ วันปีใหม่
วันเด็ก วันสงกรานต์ ลอยกระทง เป็นต้น
v ลักษณะและข้อมูลนำเสนอ
จากรายงานประจำปีของบริษัท โดยข้อมูลที่นำเสนอส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
เช่น การดำเนินงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ
กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม รางวัลที่ได้รับทางด้านสิ่งแวดล้อมและการรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น
จากนี้จะเป็นการยกตัวอย่างข้อมูลที่ถูกนำเสนอในรายงานประจำปีของบริษัท
ดังนี้
·
รางวัลที่ได้รับทางด้านสิ่งแวดล้อมและการรับผิดชอบต่อสังคม
1.
CSR-DIW จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
CSR-DIW จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
1. รางวัล “เหรียญทอง” จากโครงการยกระดับผู้ประกอบการจัดการของเสียที่ได้มาตรฐาน
2.
รางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวสาหรับบริษัทฯ
มีระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
3.
รางวัลโรงงานสีขาว
·
ข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
บริษัทไม่มีข้อพิพาททางกฎหมายที่คดีอาจมีผลกระทบด้านลบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
และบริษัทไม่มีข้อพิพาททางกฎหมายที่คดีอาจมีผลกระทบด้านลบต่อสินทรัพย์ของบริษัทที่มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ
5 ของส่วนของผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้ หากกรณีที่มีข้อพิพาทกับ บริษัท
เบตเตอร์ เวิลด์ จำกัด (มหาชน) (“BWG”) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบริษัท
เนื่องจาก BWG และบริษัทมีกรรมการร่วมกัน 2 ท่าน ได้แก่ นายสุวัฒน์ เหลืองวิริยะ และนายสุทัศน์ บุณยอุดมศาสตร์ ซึ่ง
BWG มีข้อพิพาททางกฎหมาย ดังนี้
ข้อพิพาทที่ BWG อยู่ในฐานะเป็นผู้ร้องสอด ในปี 2546 ได้มีกลุ่มบุคคลร่วมกันฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง
โดยมีหน่วยงานทางราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และละเลยต่อหน้าที่ ในขั้นตอนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการของหน่วยงานราชการให้แก่
BWG มีความไม่ถูกต้อง และร้องขอให้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานรับฝังกลบ
สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่อันตราย และที่เป็นอันตราย และให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
และให้ทาง BWG ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดให้กับราษฎรที่เดือดร้อน
ซึ่งศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องของ ผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์
2547 และพิจารณาให้ BWG เป็นผู้ร้องสอดในฐานะคู่กรณีฝ่ายที่
3
ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550
ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุด BWG ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550 เพื่อขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง
โดยให้ยกฟ้องอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้รับคำแก้อุทธรณ์ของ
BWG ไว้พิจารณาแล้ว
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดี
ซึ่งได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกล่าวหานายกรัฐมนตรี ว่าปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ตามความนัยมาตรา
9 วรรคแรก(2) ของพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. 2542 โดยศาลเห็นว่า BWG อาจได้รับผลกระทบจากคำพิพากษาของศาลจึงได้กำหนดให้BWG เป็นคู่กรณีฝ่ายที่ 3 และให้เรียกว่าเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่
4 โดยผู้ฟ้องคดีได้มีคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
เพื่อขอให้ยุติการดำเนินการบ่อฝังกลบไว้เป็นการชั่วคราว ตามคดีหมายเลขดำที่
863/2552 รวมไปกับคำฟ้องด้วยนั้น ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งยกคำขอกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา
โดยให้เหตุผลว่ายังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แน่ชัดว่า ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมเกิดจากการประกอบกิจการโรงงานฝังกลบกากขยะอุตสาหกรรมแต่อย่างใด
และยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะนำมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามคำขอของผู้ฟ้องคดีมาใช้ได้
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ได้มีกลุ่มบุคคลฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ตามคดีหมายเลขดำที่
4906/2553 โดยกล่าวหาว่า BWG กระทำละเมิด ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้BWG ชดใช้ค่าเสียหายรวมกันเป็นเงินทั้งสิ้น
2,006 ล้านบาทเศษ และมีคำสั่งห้ามมิให้BWG ประกอบกิจการทั้งปวงอันเป็นการก่อให้เกิดมลพิษ
หรืออันเป็นการสร้างเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ฟ้องคดีอีกต่อไป
ที่ปรึกษากฎหมายของ BWG ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับผลของคดีนี้ว่า กลุ่มบุคคลที่ฟ้องต่อศาลแพ่งในคดีนี้
เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันกับที่ฟ้องในคดีศาลปกครอง โดยได้นำเอาข้อเท็จจริงเดิมที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้นมาเป็นมูลเหตุในการฟ้องคดีแพ่งอีก
ซึ่งศาลแพ่งน่าจะมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะคำฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมายและเสียสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ เนื่องจากการฟ้องคดีได้ล่วงเลยเกินกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนด
ประกอบกับศาลปกครองกลางได้เคยมีคำวินิจฉัยแล้วว่ายังไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันว่าการประกอบกิจการของ
BWG ที่ผ่านมา ได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย
ก่อให้เกิดมลพิษ หรือสร้างเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ชุมชนข้างเคียง อันเป็นมูลเหตุของการละเมิดตามฟ้องแต่อย่างใดทั้งสิ้น
v วิธีการนำเสนอ
เนื่องจากลักษณะการประกอบของบริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) คือ “ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม” (เตาเผาขยะอุตสาหกรรม) มีความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนใกล้เคียง
ซึ่งกิจการได้ตระหนักถึงความเสี่ยงทางด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากหากเกิดความเสียหายหรือมีผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
อันเป็นผลมาจากการดำเนินการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลของกิจการ กิจการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ซึ่งอาจมีผลทำให้กิจการต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น และจะมีผลกระทบต่อรายได้ของกิจการ
ทั้งนี้กิจการได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว
จึงกำหนดแนวทางดำเนินงานต่างๆ
และมีการควบคุมมาตรฐานสิ่งแวดล้อมตามที่หน่วยงานราชการกำหนด
เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านมลภาวะต่อชุมชน และควบคุมปัญหา
รวมถึงกำหนดให้ผู้ปฎิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างเข้มงวดเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน
วิธีการนำเสนอที่เกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคตของกิจการมีในรูปแบบที่หลากหลาย
เช่นมีการชี้แจงเกี่ยวกับการสร้างโรงงานเตาขยะญี่ปุ่น
ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเตาเผาขยะทั่วไปให้ชุมชนได้รับรู้จนกว่าจะเข้าใจตรงกัน
มีการร่วมเสวนาแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ณ
ศูนย์นิทรรศการการประชุมไบเทคบางนาเมื่อเร็วๆนี้ ทั้งนี้กิจการได้มีการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างดี
จึงได้รับรองมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO:14001:2004 และมาตรฐานในการจัดการคุณภาพ
ISO 9001:2008 และยังมีบทบาทต่อสิ่งแวดล้อม โดยจัด “โครงการเปิดประตูสู่อัคคี” เพื่อให้หน่วยงานต่างๆทั่วประเทศได้เข้ามาเรียนรู้ระบบขั้นตอนการจัดการเตาเผาอุตสาหกรรรม
ที่มุ่งใช้เทคโนโลยีทันสมัยมีประสิทธิภาพต่อการกำจัดมลพิษในสิ่งแวดล้อม และ “โครงการสื่อสารกว้างไกล ปลอดภัยสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อม
ให้ปราศจากมลพิษอันเกิดจากการกำจัดของเสียอันตราย
v วิเคราะห์การนำเสนอ
วิธีการนำเสนอสื่อและข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้กับสาธารณะได้ทราบตามที่กล่าวมาข้างต้นมีลักษณะการนำเสนอที่ดี
1.
มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอที่ชัดเจน เช่น
เรื่องการชี้แจงแนวทางการสร้างเตาเผาขยะญี่ปุ่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงให้ชุมชนเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าการสร้างเตาเผาขยะแบบญี่ปุ่นนี้จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อไม่ให้ชุมชนมีการไม่พอใจและเกิดการประท้วงในเวลาต่อมา
ซึ่งอาจมีผลกระทบรุนแรงต่อตัวองค์กรเอง
จึงต้องมีการชี้แจงก่อนการก่อสร้างโดยละเอียด
และให้ชุมชนเข้าใจและตระหนักถึงผลที่จะตามมาของเตาเผาขยะนี้
2.
มีรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม
เช่นการจัดกิจกรรม
หรือโครงการกาต่างๆที่ทำให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชนมากขึ้น
เป็นการส่งเสริมให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยมีการจัดบูธหรือมีการสัมนาเรื่องสิ่งแวดล้อม
ภายในกิจกรรมด้วย
3.
เนื้อหาสาระดี
แน่นอนว่าการจัดโครงการขึ้นมาแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงประโยชน์และเนื้อหาสาระที่จะได้รับเมื่อโครงการเสร็จสิ้น
ซึ่งโครงการที่จัดล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น เพราะได้ดำเนินการภายใต้กรอบความรับผิดชอบต่อสังคมของอัคคีประการ CSR-CIW ที่กำหนดกรอบการรายงานแห่งความยั่งยืน 7
ประการ ได้แก่ 1.การกำกับดูแลกิจการ 2.สิทธิมนุษยชน 3.การปฏิบัติด้านแรงงาน 4.สิ่งแวดล้อม 5.การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม 6.ผู้บริโภค 7.การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน จึงได้เกิดเป็นโครงการต่างๆได้
4.
คุณสมบัติของผู้นำเสนอ ในการนำเสนอด้วยวาจา คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ ความไว้วางใจ เชื่อถือ และการยอมรับได้มาก เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ และเนื่องจากองค์กรได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO
ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
จึงมีคุณสมบัติที่ดีสำหรับเป็นผู้นำเสนอข้อมูลต่างๆที่นำไปจัดงานสัมมนาหรือการจัดโครงการแต่ละครั้ง
รายงานประจำปีของบริษัทที่เกี่ยวกับสิ่งแวดและข้อกำหนดรายงานความยั่งยืนของ
กลต.
v เปรียบเทียบกับข้อกำหนดรายงาน CSR ตามแบบ 56-1
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลตามแบบ
56-1
ได้มีการปรับปรุงใหม่
โดยกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เพิ่มเติม ซึ่งจะมีผลใช้บังคับกับแบบ 56-1 ที่ต้องส่งต่อสำนักงาน
ก.ล.ต. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป โดยสาระสำคัญของข้อมูล CSR ที่เปิดเผยในแบบ
56-1 ประกอบด้วยข้อมูลใน 4 ส่วน ซึ่งจะเปรียบเทียบกับบริษัท
อัคคีปราการ จำกัดว่ามีการจัดทำการเปิดเผยข้อมูลในส่วนนี้ไว้หรือไม่ อันได้แก่
กลต.
|
AKP
|
||
|
-นโยบายความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคม
-วิสัยทัศน์ขององค์กร “มุ่งมั่นที่จะใช้และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยด้วยกลไกทางเทคโนโลยี”
-ภารกิจและกลยุทธ์ คือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน
ถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินกิจการของบริษัทที่แสดงถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน
|
||
2.ข้อมูลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
กระบวนการจัดทำรายงาน มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ใช้ และการดำเนินงานซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่บริษัทได้เปิดเผยไว้
|
-กระบวนการจัดทำรายงานไม่มีการเปิดเผยไว้ในรายงาน
-การดำเนินงานซึ่งเป็นไปตามนโยบายความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคมมีการดำเนินงานดังนี้
· การสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่ดี
· มีการควบคุม
ป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
· ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
พัฒนาชุมชน
สังคมและสิ่งแวดล้อม
|
||
กลต.
|
AKP
|
||
|
-การดำเนินธุรกิจศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม(เตาเผาขยะอุตสาหกรรม)บางปู จ.สมุทรปราการ
มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนใกล้เคียง
บริษัทจึงได้มีการควบคุมมาตรฐานในการดำเนินงานและควบคุมปัญหาต่างๆ
จนได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001:2008
ด้านการจัดการคุณภาพ และ ISO 1400:2004 ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
|
||
4.กิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR-after-process)
ตามที่ประสงค์จะเปิดเผยกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(CSR-after-process) ตามที่ประสงค์จะเปิดเผย
|
-ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต
เช่น
โครงการอาสาพัฒนา โครงการสอนน้องแยกขยะ
-ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
เช่น
โครงการเปิดประตูสู่อัคคี โครงการสื่อสารกว้างไกล ปลอดภัยสิ่งแวดล้อม
-ด้านการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น
กิจกรรมวันเด็ก ปีใหม่ ลอยกระทง
|
การเปิดเผยข้อมูลทั้ง 4 ส่วนข้างต้น บริษัทควรเปิดเผยนโยบายและการดำเนินงานของบริษัทและ
บริษัทย่อย ที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
สิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนของกิจการและสังคมโดยรวม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจปกติ
(CSR-in-process)
ตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ การประเมินความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ
และสะท้อนอยู่ในการดำเนินงาน
ส่วนกรณีที่บริษัทมีการบริจาคช่วยเหลือ
สังคมในรูปแบบต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจปกติ (CSR-after-process) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
บริษัทอาจเปิดเผยกรณีดังกล่าวไว้ด้วยก็ได้ โดยให้แยกจากเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ
ปกติของบริษัท
v ตัวอย่างรายงาน
( ที่มา : รายงานประจำปี 2556 บริษัท
อัคคีปราการ จำกัด หน้า 73)
( ที่มา : รายงานประจำปี 2556
บริษัท อัคคีปราการ จำกัด หน้า 70)
( ที่มา : รายงานประจำปี 2556
บริษัท อัคคีปราการ จำกัด หน้า 74)
v วิเคราะห์ ต่อองค์การ และระบบบัญชีบัญชีสิ่งแวดล้อมขององค์การ
บริษัทมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดรายงานทั้ง 4 ส่วนที่สำคัญ
ในด้านนโยบายภาพรวม
รวมถึงวิสัยทัศน์ ภารกิจ และ กลยุทธ์ที่นำไปสู่ความยั่งยืน นโยบาย วิสัยทัศน์
ภารกิจและกลยุทธ์ขององค์การมีข้อกำหนดและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน
มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยตั้งศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม(เตาเผาขยะอุตสาหกรรม) ซึ่งได้รับ ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001:2008 ด้านการจัดการคุณภาพ และ ISO 1400:2004 ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
และนอกจากนั้นบริษัทยังมีกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต
ด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมและด้านการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม
แต่ในเรื่องของกระบวนการจัดทำรายงานนั้นยังไม่มีการเปิดเผยไว้ชัดเจนซึ่งหากบริษัทได้ทำการปรับปรุงให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ
ก.ล.ต.
จะทำให้บริษัทเป็นธุรกิจที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รายงาน
เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ
(พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม)
เสนอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พัชนิจ
เนาวพันธ์
จัดทำโดย
นางสาว
กมลทิพย์ ถนอม รหัสนิสิต
5430110043
นางสาว นิรชา จันทรัพย์ รหัสนิสิต 5430110400
นางสาว
ปาริชาติ กรเกษม รหัสนิสิต 5430110469
นางสาว นนทยา วิชระโภชน์ รหัสนิสิต
5430111040
นางสาว กมลรัตน์ ภู่ทรานนท์ รหัสนิสิต
5430111180
คณะวิทยาการจัดการ
สาขาบัญชีบริหาร
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การบัญชีบริหารสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
อ้างอิง
บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน). 2556. ข้อมูลทางการเงิน. ค้นเมื่อ สิงหาคม 21 ,2557,
บริษัท อัคคีปราการ จำกัด
(มหาชน). 2556. CSR. ค้นเมื่อ สิงหาคม 21 ,2557,
บริษัท อัคคีปราการ จำกัด
(มหาชน). 2556. บริการองค์กร.
ค้นเมื่อ สิงหาคม
21 ,2557,
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
2556. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙. ค้นเมื่อ สิงหาคม 23 ,2557,
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด
(มหาชน). 2555. การจัดการมลพิษทางอากาศ.
ค้นเมื่อ สิงหาคม 23 ,2557,
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2556.
วิธีจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน. ค้นเมื่อ สิงหาคม
24 ,2557,
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. 2535. พระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.
2535. ค้นเมื่อ สิงหาคม
20 ,2557, จาก http://www.acfs.go.th/km/download/act_factory_2535.pdf
พรนภา ธีระกุล.
2556. นักบัญชีสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ สิงหาคม
21 ,2557,
ดร.กิตติมา
อัครนุพงศ์. 2556. การบัญชีสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ สิงหาคม 21
,2557,
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น