การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(กนอ.)
เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยจัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้าไปอยู่รวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบ
และเป็นกลไกของรัฐบาลในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกสู่ภูมิภาคทั่วประเทศโดยมี
"นิคมอุตสาหกรรม" เป็นเครื่องมือดำเนินการ
ภาระหน้าที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

2. จัดให้มีและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนลงทุนและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
4. จัดให้มีระบบและการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม
5. อนุญาต อนุมัติการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมและจัดให้ได้เพิ่มเติมซึ่งสิทธิประโยชน์ สิ่งจูงใจ และการอำนวยความสะดวกแก่การประกอบอุตสาหกรรม
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและพลังงาน
- พัฒนา นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม
และการกำกับดูแลโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรม ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบข้อบังคับข้อกำหนด และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และพลังงานอย่าเคร่งครัด
- พัฒนานิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรม โดยมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและชุมชน ในระดับที่ยอมรับได้
- เน้น การป้องกัน รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตามตรวจสอบ และปรับปรุงระบบสาธารธูปโภคสาธารณูปการ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และพลังงาน ที่มีประสิทธิภาพภายใต้แนวทาง Clean & Green อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม
- มุ่งเสริมสร้างบุคลากรของ กนอ. ให้มีความรู้และสรรสร้างในคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและพลังงานประสาน ความร่วมมือกับผู้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม ชุมชนและองค์กรต่างๆ เพื่อการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การป้องกันและการบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และการอนุรักษ์การใช้พลังงาน
- พัฒนานิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรม โดยมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและชุมชน ในระดับที่ยอมรับได้
- เน้น การป้องกัน รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตามตรวจสอบ และปรับปรุงระบบสาธารธูปโภคสาธารณูปการ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และพลังงาน ที่มีประสิทธิภาพภายใต้แนวทาง Clean & Green อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม
- มุ่งเสริมสร้างบุคลากรของ กนอ. ให้มีความรู้และสรรสร้างในคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและพลังงานประสาน ความร่วมมือกับผู้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม ชุมชนและองค์กรต่างๆ เพื่อการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การป้องกันและการบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และการอนุรักษ์การใช้พลังงาน
แนวทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และพลังงาน
กำหนดแนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและพลังงานในนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมเพื่อกำกับและควบคุมการพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและมีความปลอดภัยสูงสุด
โดยแบ่งเป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้
1. ระยะพัฒนาโครงการ (Development Period)
ในการพัฒนาโครงการเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม กนอ.ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานด้วยความตระหนักในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการยอมรับจากชุมชนโดยมีการเตรียมการเพื่อป้องกันและ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีมาตรการเพื่อแก้ไขและติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ สรุปได้ดังต่อไปนี้
ในการพัฒนาโครงการเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม กนอ.ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานด้วยความตระหนักในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการยอมรับจากชุมชนโดยมีการเตรียมการเพื่อป้องกันและ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีมาตรการเพื่อแก้ไขและติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ สรุปได้ดังต่อไปนี้
1.1 การเลือกพื้นที่
(Site Selection)
โดยมีการสำรวจและพิจารณาความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นดังนี้
- สภาพภูมิประเทศทั่วไป
- แหล่งรองรับน้ำทิ้ง / แหล่งน้ำใช้
- คุณภาพอากาศและระดับเสียง
- ชุมชนบริเวณใกล้เคียงโครงการ
โดยมีการสำรวจและพิจารณาความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นดังนี้
- สภาพภูมิประเทศทั่วไป
- แหล่งรองรับน้ำทิ้ง / แหล่งน้ำใช้
- คุณภาพอากาศและระดับเสียง
- ชุมชนบริเวณใกล้เคียงโครงการ
1.2
การจัดทำแนวคิดการออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
- โรงงานที่มีน้ำเสียประเภทเดียวกันอยู่บริเวณเดียวกัน
- โรงงานที่ไม่มีมลภาวะตั้งอยู่บริเวณรอบนอกนิคมอุตสาหกรรม หรือติดกับชุมชน
- กำหนดที่ตั้งโรงงานที่มีผลกระทบด้านกลิ่น / อากาศ โดยคำนึงเรื่องทิศทางลม
- จัดให้มีระบบกำจัดของเสียอยู่ส่วนในของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
- นำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
- กำหนดพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
- กำหนดให้มีพื้นที่แนวกันชนรอบนิคมอุตสาหกรรม
- คำนึงถึงด้านภูมิสถาปัตย์ / ความเป็นเอกลักษณ์กลมกลืนกับท้องถิ่น (Unique)
- โรงงานที่มีน้ำเสียประเภทเดียวกันอยู่บริเวณเดียวกัน
- โรงงานที่ไม่มีมลภาวะตั้งอยู่บริเวณรอบนอกนิคมอุตสาหกรรม หรือติดกับชุมชน
- กำหนดที่ตั้งโรงงานที่มีผลกระทบด้านกลิ่น / อากาศ โดยคำนึงเรื่องทิศทางลม
- จัดให้มีระบบกำจัดของเสียอยู่ส่วนในของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
- นำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
- กำหนดพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
- กำหนดให้มีพื้นที่แนวกันชนรอบนิคมอุตสาหกรรม
- คำนึงถึงด้านภูมิสถาปัตย์ / ความเป็นเอกลักษณ์กลมกลืนกับท้องถิ่น (Unique)
1.3
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) ทำการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการเพื่อกำหนด
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบรวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโครงการทั้งในระยะก่อสร้าง
และระยะดำเนินการ
1.4
การออกแบบรายละเอียดโครงการ (Detail Design) ในการออกแบบรายละเอียดโครงการ
กนอ. ได้กำหนดให้ โครงการนำข้อมูลจากการออกแบบเบื้องต้น (Conceptual
Design) และรายงาน EIA มาใช้ประกอบในการออกแบบ
และก่อสร้างระบบป้องกันมลพิษที่ได้มาตรฐาน ประกอบด้วย
- ระบบท่อรวมน้ำเสีย
- ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง
- ระบบบริหารจัดการมูลฝอยและกากอุตสาหกรรม
- ระบบท่อรวมน้ำเสีย
- ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง
- ระบบบริหารจัดการมูลฝอยและกากอุตสาหกรรม
2. ระยะก่อสร้างโครงการ (Construction Period)
กนอ.
กำกับและควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบที่เสนอไว้รวมทั้งดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบและติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมระหว่างการก่อสร้าง
ตามรายงาน EIA
3. ระยะดำเนินการ (Opeartion Period)
-กำกับและควบคุมนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานให้ดำเนินการตามกฎหมายและจ้อกำหนดต่างๆ
ทั้งในสภาวะปกติ และในสภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งในกรณีที่มีการร้องเรียน
- ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมนิคมอุตสาหกรรม /ท่าเรืออุตสาหกรรม อย่างสม่ำเสมอได้แก่คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ระดับเสียงและกากอุตสาหกรรมตามที่ได้เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งกรณี ภาวะฉุกเฉินและมีการร้องเรียน
- ฟื้นฟู / แก้ไข และยกระดับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรม
- ส่งเสริมและยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามีัย และพลังงาน ให้ได้มาตรฐานสากล โดยการนำระบบ ISO 14001 และ มอก.18000 ตลอดจนแนวคิดด้านเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) มาประยุกต์ใช้กับนิคมอุตสาหกรรม และโรงงาน
- ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานควบคุมดูแลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าอย่าง ประหยัดเท่าที่จำเป็นพร้อมทั้งรณรงค์การใช้น้ำอย่าง รู้คุณค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เป็นประโยชน์
- ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมนิคมอุตสาหกรรม /ท่าเรืออุตสาหกรรม อย่างสม่ำเสมอได้แก่คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ระดับเสียงและกากอุตสาหกรรมตามที่ได้เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งกรณี ภาวะฉุกเฉินและมีการร้องเรียน
- ฟื้นฟู / แก้ไข และยกระดับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรม
- ส่งเสริมและยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามีัย และพลังงาน ให้ได้มาตรฐานสากล โดยการนำระบบ ISO 14001 และ มอก.18000 ตลอดจนแนวคิดด้านเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) มาประยุกต์ใช้กับนิคมอุตสาหกรรม และโรงงาน
- ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานควบคุมดูแลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าอย่าง ประหยัดเท่าที่จำเป็นพร้อมทั้งรณรงค์การใช้น้ำอย่าง รู้คุณค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เป็นประโยชน์
การบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร
(One Stop Service Center : OSS) ขึ้น
เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ.
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน
การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย
หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
ปัจจุบัน กนอ. มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 55 นิคม กระจายอยู่ใน 15 จังหวัด ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง จำนวน 11 นิคม และนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานกับผู้พัฒนา จำนวน 44 นิคมอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน กนอ. มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 55 นิคม กระจายอยู่ใน 15 จังหวัด ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง จำนวน 11 นิคม และนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานกับผู้พัฒนา จำนวน 44 นิคมอุตสาหกรรม
ที่มา
http://library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19425.pdf
http://www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/legis/compe/th/rules/2542/a156-2G-2542-A0001.htm
คณะผู้จัดทำ
1. นางสาว
เขมิกา ทรงเดชธนาวุฒิ รหัส 5430110141
2. นางสาวจิตติมา
ผลพิกุล รหัส 5430110167
3. นางสาว
จิรัชญา อยู่ดี รหัส 5430110175
4. นางสาว
วัสดา ดอกขาวรัมย์ รหัส 5430111058
5. นางสาว
จุฑารัตน์ อันทะนิล รหัส 5430111066
นิคมอุตสาหกรรม
: นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
ปีที่ก่อตั้ง : 2521
ผู้อำนวยการนิคม
: นายรณชัย ขำภิบาล
โทรศัพท์ : 0-2326-0221-3, 0-2326-0137, 0-2326-0234
โทรสาร : 0-2326-0220
จำนวนผู้ประกอบการ
: 224 โรงงาน
ผู้พัฒนานิคม :
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สถานที่ตั้ง : 40 ช.ฉลองกรุง 31 แขวงลำปลาทิว
เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520พื้นที่โครงการ : - เนื้อที่ทั้งหมด 2,559 ไร่
- เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1,228 ไร่
- เขตประกอบการเสรี 683 ไร่
- เขตพาณิชยกรรมและที่พักอาศัย 9.23 ไร่
- พื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 638.77 ไร่
สิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดตั้งขึ้นตามกฎระเบียบนิคมอุตสาหกรรม 1.ระบบน้ำประปา
ปัจจุบันนิคมฯมีปริมาณความต้องการใช้น้ำของโรงงานต่างๆ ภายในนิคมฯเฉลี่ยประมาณ18,918 ลบ.ม./วัน (ข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551-เดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 แสดงดังตารางที่ 2.3-1) และภายหลังมีโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) จะมีปริมาณความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 980 ลูกบาศก์เมตร/วัน รวมปริมาณความต้องการใช้น้ำทั้งหมด 19,898 ลูกบาศก์เมตร/วันปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังรับบริการน้ำประปาจากการประปานครหลวง สาขามีนบุรีในปริมาณที่จ่ายให้กับนิคมฯ ตามความต้องการของนิคมฯโดยเดินท่อส่งจ่ายน้ำตรงจากสถานีจ่ายน้ำประปาของการประปานครหลวง มากักเก็บยังสถานีสูบจ่ายน้ำของนิคมฯ แบบหอถังสูง ความจุ1,300 ลบ.ม. จำนวน 2 หอ และถังเก็บน้ำใต้ดินความจุ 1,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 5 ถัง การสูบจ่ายจะจ่ายด้วยแรงส่งจ่ายน้ำ 2.0-3.0 บาร์ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการจ่ายน้ำของกนอ. นอกจากนี้นิคมฯ ยังมีระบบน้ำประปาบาดาล เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองจำนวน 5 บ่อ ซึ่งได้รับอนุญาตให้สูบน้ำบาดาลอัตรา 2,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน/แห่ง รวมปริมาณน้ำสำรองทั้ง 2 แหล่งประมาณ 17,600 ลบ.ม. หรือสามารถสำรองน้ำได้ประมาณ 0.88 วัน (ประมาณ 21 ชั่วโมง คิดจาก 17,600 /19,898 = 0.88 วัน) ซึ่งสอดคล้องเป็นไปตามข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภคสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 ที่กำหนดให้ถังเก็บน้ำต้องมีความจุไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง ของค่าความต้องการใช้น้ำต่อวันสำหรับการส่งจ่ายน้ำประปาจากการประปานครหลวงสาขามีนบุรี จะส่งจ่ายน้ำประปาให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้น้ำของนิคมฯ โดยนิคมฯ มีการประสานกับการประปานครหลวงสาขามีนบุรี ในการแจ้งแผนปริมาณความต้องการใช้น้ำให้ทราบอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้นิคมฯ ได้กำหนดให้โรงงานรายโรงต้องแจ้งปริมาณความต้องใช้น้ำหรือปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นเพื่อประสานไปยังการประปานครหลวงต่อไป โดยที่ผ่านมายังไม่เคยมีปัญหาในการจ่ายน้ำประปาให้กับนิคมฯแต่ประการใด
2. ระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำ
ก.ระบบระบายน้ำ
ระบบระบายน้ำของนิคมฯเป็นระบบที่แยกกับระบบรวบรวมน้ำเสียออกจากกันอย่างชัดเจนโดยระบบระบายน้ำของนิคมฯได้ออกแบบให้มีลักษณะเป็นรางระบายน้ำแบบปิดและแบบเปิดดาดคอนกรีตรูปตัวยูกว้าง
1.5 เมตรลึก 0.70-1 เมตรความยาว 34,000
เมตร (รางระบายน้ำแบบปิดยาว 12,250 เมตรและแบบเปิดยาว 21,750 เมตร) และคลองระบายน้ำที่ขุดขึ้นโดยรอบนิคมฯกว้าง 1.5-12 เมตรความยาว
11,600 เมตรลึก 1-2 เมตรซึ่งสามารถรองรับน้ำฝนได้ประมาณ100,000
ลูกบาศก์เมตร
ข.ระบบป้องกันน้ำท่วม
ระบบป้องกันน้ำท่วมภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังแบ่งออกเป็น
2 ส่วนดังนี้
(1) โครงการระยะที่
1 และ 2 มีเขื่อนดินรอบพื้นที่ความยาว
7 กิโลเมตรและสูงจากระดับน้ำทะเล 2 เมตรมีสถานีสูบน้ำป้องกันน้ำท่วม
4 สถานีจำนวนเครื่องสูบน้ำ 10 เครื่อง
(2) โครงการระยะที่
3 มีเขื่อนดินรอบพื้นที่ความยาว 17.4 กิโลเมตรและสูงจากระดับน้ำทะเล
2.20 เมตรมีสถานีสูบน้ำป้องกันน้ำท่วม 4 สถานีจำนวนเครื่องสูบน้ำ
9 เครื่อง
3.
ระบบไฟฟ้า
จัดตั้งสถานีไฟฟ้าย่อย 2 แห่งได้แก่บริเวณโครงการระยะที่
1-2 และโครงการระยะที่ 3เพื่อรับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงขนาดความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้า
60 เมกะวัตต์และ 180 เมกะวัตต์แรงดันไฟฟ้า
24 กิโลโวลต์และจ่ายให้กับโรงงานต่างๆภายในพื้นที่นิคมฯ
4.
ระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมฯประกอบด้วยระบบบำบัดน้ำเสียจำนวน
2 แห่งได้แก่
(1)
ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางแห่งที่1 มีความสามารถในการรองรับน้ำเสีย10,000ลูกบาศก์เมตร/วัน
(2) ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางแห่งที่
2 มีความสามารถในการรองรับน้ำเสีย 8,600ลูกบาศก์เมตร/วัน
โดยระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพทั้ง 2 แห่งข้างต้นของนิคมฯมีลักษณะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบบ
Extended Aeration ชนิด Activated Sludge สามารถรองรับน้ำเสียได้ประมาณ
18,600 ลูกบาศก์เมตร/วันโดยปัจจุบันมีปริมาณน้ำเสียเข้าระบบเฉลี่ย
15,709 ลบ.ม./วันหรือคิดเป็นร้อยละ
83.03 ของปริมาณน้ำใช้ทั้งหมดประมาณ 18,918 ลูกบาศก์เมตรภายหลังเมื่อมีโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
(SPP) เปิดดำเนินการจะมีปริมาณน้ำเสียเพิ่มขึ้นประมาณ 2,420 ลูกบาศก์เมตร/วันรวมปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดประมาณ
18,129ลบ.ม./วันดังนั้นจะเห็นได้ว่าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมฯยังคงมีศักยภาพในการรองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างเพียงพออย่างไรก็ตามแม้ว่าปริมาณน้ำเสียจะมีปริมาณที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับความสามารถของระบบในเชิงปริมาณ
(Hydrolic Load) แต่เมื่อพิจารณาในเชิงคุณภาพ (OrganicLoad) พบว่ามีค่าภาระบีโอดีในสัดส่วนร้อยละ 50 ของความสามารถของระบบเท่านั้น
(ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของนิคมฯออกแบบให้มีสามารถรองรับค่าบีโอดีไม่เกิน
500 มิลลิกรัม/ลิตรปัจจุบันน้ำเสียมีค่าบีโอดีเข้าระบบฯสูงสุด
240 มิลลิกรัม/ลิตร)สำหรับมาตรการด้านการควบคุมลักษณะสมบัติของน้ำเสียจากโรงงานรายโรงนั้นนิคมฯได้กำหนดให้โรงรายโรงรวมถึงโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
(SPP) ต้องควบคุมคุณภาพน้ำเสียให้มีค่าเป็นไปตามประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่
78/2554 เรื่องหลักเกณฑ์ทั่วไปในการระบายน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรมจึงมั่นใจได้ว่าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมฯยังมีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นให้มีค่าเป็นตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดภายหลังมีโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
(SPP)
5.
การกำจัดของเสีย
กากของเสียที่เกิดขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังสามารถจำแนกได้
3 ประเภทใหญ่ๆคือขยะมูลฝอยขยะทั่วไปและขยะอันตรายโดยขยะมูลฝอยสำนักงานเขตลาดกระบังเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการกำจัดในส่วนขยะทั่วไปและขยะอันตรายจะให้บริษัทเอกชนที่ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบนำไปกำจัด
6.
พื้นที่สีเขียว
นิคมฯได้จัดให้มีพื้นที่สีเขียวและแนวกันชนโดยภาพรวมของนิคมฯระยะที่
1-3 ทั้งสิ้นประมาณ 67.81 ไร่คิดเป็นร้อยละ
2.64 ของพื้นที่นิคมฯทั้งหมด 2,559 ไร่ประกอบด้วยพื้นที่สวนหย่อมเกาะกลางถนนระบบบำบัดน้ำเสียเป็นต้นโดยพันธุ์ไม้ยืนต้นที่โครงเลือกปลูกเช่นต้นพญาสัตบรรณต้นเหลืองปรีดียาธรต้นตะแบกต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ต้นสนเป็นต้นโดยบริเวณพื้นที่แนวกันชนนิคมฯได้ปลูกต้นสนเป็นแนวกันชน
3 แถวสลับฟันปลากว้างประมาณ 3 เมตรตามสันเขื่อนตลอดแนวคลองลำแตงโม
จุดตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบนิคมฯ
เปรียบเทียบการบริหารงานของนิคมฯที่บริหารโดยภาครัฐกับนิคมฯที่บริหารงานโดยเอกชน
บริษัทเอกชนที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมนั้นมีการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐคือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(กนอ.) ซึ่งในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมต้องขอความเห็นชอบและได้รับการอนุมัติโครงการจากกนอ.ก่อนจึงจะจัดตั้งโครงการได้
ยกตัวอย่าง นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน
ภาคเอกชนเป็นผู้ระดมทุน ร่างโครงการ
สร้างแบบผังเมืองและออกแบบระบบสาธารณูปโภคและบริหารงาน โดยมีหน่วยงานของรัฐคือกนอ.ร่วมกำกับดูและและพัฒนาโครงการ
รวมถึงการกำหนดมาตรฐานการจัดตั้ง
ออกใบอนุญาตการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและประสานงานเกี่ยวกับหน่วยงานราชการ
จะเห็นได้ว่านิคมอุตสาหกรรมที่มีการบริหารงานโดยเอกชนก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐคือกนอ.
เรียกได้ว่าเป็นการผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมร่วมกันนั่นเอง
โดยนิคมอุตสาหกรรมที่บริหารงานโดยรัฐเองเลยนั่น แตกต่างกันตรงที่ว่าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ระดมทุนร่างโครงการ สร้างแบบผังเมืองและออกแบบระบบสาธารณูปโภคและบริหารงานเอง
โดยนิคมอุตสาหกรรมที่บริหารงานโดยรัฐเองเลยนั่น แตกต่างกันตรงที่ว่าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ระดมทุนร่างโครงการ สร้างแบบผังเมืองและออกแบบระบบสาธารณูปโภคและบริหารงานเอง
แผนผังนิคมฯโดยรวม
ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
กนอ.ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามตรวจสอบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมและให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การกำกับดูแลตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม
เกิดความเข้าใจและเชื่อมั่นในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของ
กนอ.มากยิ่งขึ้น
โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกากับโรงงานในนิคมฯ
(ธงขาวดาวเขียว)
(ธงขาวดาวเขียว)
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนโดยรอบนิคมฯมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโรงงานในนิคมฯ
และมอบรางวัลธงธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (ธงขาวดาวเขียว) ให้กับ
ผู้ประกอบการที่สามารถรักษามาตรฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
นิคมอุตสาหกรรมบางปู
ปีที่ก่อตั้ง : 2520
ผู้อำนวยการนิคม : นางทักษิณา
พนิชานันท์
โทรศัพท์ : 0-2709-3450-3
โทรสาร : 0-2709-8193
E-mail : BangPoo.1@ieat.go.th
Website : www.ieat.go.th/bangpoo
จำนวนที่ดิน : 5,472-2-68 ไร่
จำนวนผู้ประกอบการ : 350 ราย
ผู้พัฒนานิคม : บริษัท
พัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมประเทศไทย จำกัด
สิ่งอำนวยความสะดวก
ระบบน้ำประปา
-
ใช้น้ำประปาจากการประปานครหลวง โดยการจ่ายน้ำผ่านท่อประธานเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด
800 มิลลิเมตร เข้าสู่ระบบประปาภายในนิคมอุตสาหกรรม
ระบบไฟฟ้า
-
ไฟฟ้าแรงสูงขนาด 24 กิโลโวลต์ ดำเนินการโดย การไฟฟ้านครหลวง
- 40
กิโลโวลต์ – แอมแปร์ / ไร่
สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบเตาเผาขยะ
มีเตาเผาขยะในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป 2 แห่ง
-
ความสามารถการเผา 100 ตัน/วัน สำหรับขยะมูลฝอย และขยะทั่วไปดำเนินการโดย
บริษัทบางปู เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด
-
ความสามารถการเผา 48 ตัน/วัน สำหรับขยะอันตราย ดำเนินการโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบป้องกันน้ำท่วม
-
สถานีสูบน้ำ 15 สถานี เครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง/สถานี
-
ความสามารถของเครื่องสูบน้ำ 0.5 ลูกบาศก์เมตร/วินาที/เครื่อง
แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมมีแนวทางและรูปแบบการดําเนินงานที่หลากหลายเพื่อสามารถนําไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชน
โดยอาจจะใช้หลายแนวทางพร้อมๆกัน เพื่อให้การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมของหน่วยงานมีประสิทธิภาพ
แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมมีดังนี้
การบังคับและควบคุมโดยตรง (Command
and Control)
เป็นรูปแบบการจัดการที่ใช้ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
คือ ภาครัฐจะเน้นการบังคับ ควบคุม โดยใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เช่น
กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมแก้ไขปัญหามลพิษอุตสาหกรรม
จะใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 กําหนดมาตรฐานนํ้าทิ้ง อากาศเสีย
และของเสีย เพื่อใช้บังคับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ส่งผลให้โรงงานต้องสร้างระบบบําบัดนํ้าเสีย อากาศเสีย ที่ได้มาตรฐาน
และจัดการของเสียไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้จ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบโรงงานเพื่อจับผิดและลงโทษตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นๆที่มีบทบาทในการควบคุมแก้ไขปัญหามลพิษอุตสาหกรรม
เช่น กรมควบคุมมลพิษ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีอํานาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
พ.ศ.2535 แต่การใช้อํานาจดังกล่าว ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
เพราะเป็นการบําบัดของเสียที่ปลายทาง (end of pipe)
ภาครัฐบาลขาดระบบการติดตามและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
รวมทั้งการขาดแรงจูงใจทางการตลาดที่จะทําให้
ผู้ประกอบกิจการโรงงานรับผิดชอบต่อมลพิษที่เกิดขึ้น
(สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 :1-3)
การสร้างแรงจูงใจทางการตลาด (market based incentives)
การสร้างแรงจูงใจทางการตลาด
เป็นแนวทางที่รัฐเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้ค่ายต่อสิ่งแวดล้อมจากการดําเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันสังคมเป็นผู้รับภาระ
(social cost) ความเสียหายถูกผลักเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ
(private cost) เครื่องมือที่ใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการสิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งออกเป็น
3 กลุ่มใหญ่ คือ
1)
เครื่องมือทางด้านการเงินการคลัง เช่น การเก็บค่าปล่อยมลพิษ (emission
charge) การเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งแวดล้อม (administration
fee) การเก็บภาษี (tax) เป็นต้น
2) เครื่องมือทางการตลาด เช่น
ระบบมัดจํา – คืนเงิน (deposit – refund system) การสร้างตลาดซื้อ – ขาย ใบอนุญาตปล่อยมลพิษ (tradable
pollution permits) เป็นต้น
3)
เครื่องมือสร้างเสริมแรงจูงใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การให้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยตํ่าเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตลงทุนในด้านเทคโนโลยีที่ปลอดมลพิษ
การลดหย่อนภาษีหรือจ่ายคืนภาษีแก่ผู้ผลิตที่ใช้วิธีการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม
เป็นต้น (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2510:
9)
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Systems)
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
หมายถึง
ระบบการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนมีวิธีการ
กระบวนการและทรัพยากรอย่างเพียงพอในการดําเนินการองค์ประกอบสําคัญของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ได้แก่
- การกําหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
และความมุ่งมั่นในการดําเนินการของผู้บริหารระดับสูง
- การวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อม
กฎหมาย พันธกรณีทางสิ่งแวดล้อม
พร้อมทั้งกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อดําเนินการ
- การจัดทําแผน
วิธีการดําเนินการกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และบรรลุถึงเป้าหมาย
- การตรวจสอบควบคุม
และจัดประเมินผลการดําเนินการตรวจสอบทั้งในแง่ระบบและผลการดําเนินงานและหามาตรการในการปรับปรุงแก้ไข
-
ทบทวนการดําเนินการที่ผ่านมาโดยระบบบริหาร โดยเปรียบเทียบกับนโยบาย
วัตถุประสงค์
ทบทวนเป้าหมายที่วางไว้และปรับปรุงการดําเนินงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มีประเทศอังกฤษเป็นเลขาธิการ
อนุกรมมาตรฐานฉบับบนี้ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ
1) ISO 14001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
: ข้อกําหนดและแนวทางสําหรับการใช้ (environmental
management systems –
requirements with guidance
for use) เป็นข้อกําหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
และแนวทางในการนําข้อกําหนดไปใช้ในองค์กร
2) ISO 14004 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม : หลักเกณฑ์และข้อแนะนํา (Environmental
Management Systems – General guidelines on principles, systems and support
techniques) เป็นแนวทางเกี่ยวกับหลักการของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการประยุกต์ใช้ในองค์กร
มาตรฐานทั้งสองนี้ได้ประกาศใช้ครั้งแรกในปี
2539 ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้ฉบับใหม่เมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน 2547 (สุเทพ
ธีรศาสตร์, 2540 : 6-31
อ้างถึงใน จําลองโพธิ์บุญ, 2549: 2-4)
เทคโนโลยีสะอาด (cleaner technology)
หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
คือ การลดมลพิษที่แหล่งกําเนิดแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง คือการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์
อาจทําได้โดยการออกแบบให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
หรือมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตแบ่งได้เป็น 3
กลุ่ม คือ การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยการเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ
มีความบริสุทธิ์สูง ลดหรือยกเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตรายการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
ทําได้โดยการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติปรับปรุงคุณภาพของอุปกรณ์
และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ สําหรับการปรับปรุงกระบวนการดําเนินงาน
เป็นขั้นตอนที่ทําให้ได้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ที่เสียลดลง
และยังทําให้เกิดของเสียที่จะต้องกําจัดลดลงนอกจากการลดมลพิษที่แหล่งกําเนิดแล้วยัง สามารถใช้หลักการการนํากลับมาใช้ใหม่
โดยแบ่งเป็น 2 แนวงทางย่อย คือ การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน และเทคโนโลยีหมุนเวียน
(สุเทพ ธีรศาสตร์, 2540 : 5-4)
การดูแลด้วยความรับผิดชอบ (Responsible Care)
เป็นโครงการสากลของกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี
เริ่มต้นที่ประเทศแคนาดา เมื่อปี พ.ศ.2529
ที่สมัครใจทําสิ่งที่ถูกต้องเพื่อปรับปรุงภาพพจน์โดยเน้นด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (safety health
and environment: SHE) และการสื่อสาร
เนื่องจากมวลชนมีภาพลบต่ออุตสาหกรรมเคมีจึงทําให้ผู้ผลิตสารเคมีจําเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการด้าน
SHE และภาพพจน์เพื่อปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อมตามความคาดหวังและให้ธุรกิจดําเนินได้ตลอดไปหลักการทั่วไปของการดูแลด้วยความรับผิดชอบ
(บุญจง ขาวสิทธิวงษ์, 2547 : 1-2) มีดังนี้
1) แสวงหาการมีส่วนรู้เห็นของประชาชนต่อผลิตภัณฑ์และการผลิตของบริษัท
2) จัดให้มีสารเคมีที่สามารถผลิต
ขนส่ง ใช้งานและกําจัดอย่างปลอดภัย
3) จะพิจารณาด้าน SHEในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่รวมทั้งผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตในปัจจุบัน
4) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
SHE แก่สาธารณชนและผู้เกี่ยวข้อง
5) ร่วมกับลูกค้า ผู้ขนส่ง
ผู้จัดหา ร้านค้าส่ง และผู้รับเหมาช่วงเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์
การขนส่งและกําจัดอย่างปลอดภัย
6)
กระบวนการผลิตจะต้องได้รับการดําเนินการที่คํานึงถึง SHE
7) ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
ผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของลูกจ้างและลูกค้า
8)
ทํางานร่วมกับผู้อื่นเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับกากของเสียที่กําจัดไม่ถูกต้อง
9) มีส่วนร่วมในการพัฒนากฎหมาย
ระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยของชุมชน
สถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม
10) ช่วยเหลือองค์อื่นให้สามารถทําหลักการ ดูแลด้วยความรับผิดชอบ
ไปปฎิบัติได้ตามหลักการดังกล่าว
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องการกําจัดของเสียอุตสาหกรรม
ของเสียอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ได้ให้นิยามคําว่า ของเสีย
หมายถึง ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล นํ้าเสีย อากาศเสีย มลพิษ หรือวัตถุอันตราย อื่นใด
ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกําเนิดมลพิษรวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น
ทั้งที่อยู่ในสภาวะของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ
พระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. 2535 กําหนดคํานิยามของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.
2548 หมายความว่า สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
รวมถึงของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ
และนํ้าทิ้งที่มีองค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่เป็นอันตราย
แหล่งกําเนิดของเสียอุตสาหกรรม
ของเสียอุตสาหกรรมเกิดจากการประกอบกิจการทางอุตสาหกรรมภายในโรงงาน
โดยไม่รวมถึงสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย
จากสํานักงาน บ้านพักอาศัย และโรงอาหารในบริเวณโรงงาน กากกัมมันตรังสี
มูลฝอยตามพระราชบัญญัติสาธารณสุขและนํ้าเสียที่ส่งไปบําบัดนอกโรงงานทางท่อส่ง
การจัดการของเสียอุตสาหกรรม (กรมโรงงานอุตสาหกรรม, 2551
: website)
การนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (reuse/recycle/recovery)
การนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่สามารถดําเนินการได้หลายวิธี
ดังต่อไปนี้
1) เป็นวัตถุดิบทดแทน (use
as raw material substitution) หมายถึง
วัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเหมาะสมที่ใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนในกระบวนการผลิตของโรงงาน เช่น
การนําเศษริมผ้า หรือเศษด้ายจากโรงงานทอผ้าไปใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนในโรงงานปั่นด้าย
การนําเศษกระดาษไปเป็นวัตถุดิบทดแทนในโรงงานผลิตกระดาษ การนําเศษเหล็กไปหลอมหล่อใหม่ในโรงงานหลอมเหล็ก
การนําเศษพลาสติกไปหลอมใหม่ในโรงงานหลอมเศษพลาสติก การนําเศษแก้วไปหลอมใหม่ในโรงงานผลิตแก้ว หรือการนําเถ้าลอยจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงไปใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนปูนซิเมนต์ในโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ
เป็นต้น
2) ส่งกลับผู้ขายเพื่อกําจัด (return
to original producer for disposal) หมายถึงการส่งกลับผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วให้แก่โรงงานผู้ผลิต เพื่อนําไปบําบัด หรือกําจัด หรือนํากลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น
การส่งยางรถยนต์ใช้แล้วคืนโรงงานผู้ผลิต
ฯลฯ ทั้งนี้ การส่งกลับผู้ขายเพื่อกําจัดนั้น
ผู้ขายที่รับวัสดุที่ไม่ใช้แล้วดังกล่าวกลับคืนไป
จะต้องขออนุญาตเพื่อนําวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไปบําบัด หรือกําจัด
หรือใช้ประโยชน์ใหม่ที่อื่นด้วย
3)
ส่งกลับผู้ขายเพื่อนํากลับไปบรรจุใหม่หรือใช้ซํ้า (reuse container;
to be refilled) หมายถึงการส่งภาชนะบรรจุคืนโรงงานผู้ผลิตเพื่อนํากลับไปบรรจุใหม่หรือใช้ซํ้า
เช่น กรณีการส่งถังบรรจุกรด/ด่างคืนโรงงานผู้ผลิต
หรือโรงงานผลิตหรือแบ่งบรรจุสารเคมีนั้น ๆ
4)
นํากลับมาใช้ซํ้าด้วยวิธีอื่นๆ (other reuse
methods) หมายถึง
การนํากลับไปใช้ซํ้าด้วย วิธีอื่นๆ
ที่ไม่ใช่กรณีเป็นวัตถุดิบทดแทนหรือนํากลับไปบรรจุใหม่ เช่น การนําแกนสายไฟ
หรือด้ายกลับไปใช้ซํ้าในโรงงานผู้ผลิต
5) เป็นเชื้อเพลิงทดแทน (use as
fuel substitution or
burn for energy recovery) หมายถึง
การนําของเสียที่มีค่าความร้อนและมีสภาพเหมาะสมไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในเตาเผาปูนซิเมนต์
6) ทําเชื้อเพลิงผสม (fuel blending)
หมายถึง
การนําเอาวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการปรับคุณภาพ
หรือผสมกันเพื่อให้เป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ซึ่งได้แก่ การขายหรือส่งให้โรงงานลําดับที่
106 นํานํ้ามันหรือตัวทําละลายที่ใช้งานแล้วไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงผสม
7) เผาเพื่อเอาพลังงาน (burn
for energy recovery)
8)
เป็นวัตถุดิบทดแทนในเตาเผาปูนซีเมนต์ (use as
co-material in cement kiln or rotary kiln) ให้ระบุผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ วัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่จะนําไปเป็นวัตถุดิบทดแทนในเตาเผาปูนซิเมนต์
จะต้องมีองค์ประกอบของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซิเมนต์ ได้แก่ แคลเซียม อะลูมินา
เหล็ก หรือซิลิก้า เช่น ทรายขัดผิวที่ใช้แล้ว Scale เหล็กจากกระบวนการรีดร้อน
9) เข้ากระบวนการนําตัวทําละลายกลับมาใหม่
(solvent reclamation /regeneration) หมายถึงการนําวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทตัวทําละลายไปโรงงานลําดับที่ 106
เพื่อกลั่นและนํากลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ โทลูอีน ไซลีน เมธิลีนคลอไรด์
อะซีโตนไตรคลอโร-เอทธิลีน เป็นต้น
10)
เข้ากระบวนการนําโลหะกลับมาใหม่ (reclamation/regeneration of
metaland metal compounds)
หมายถึง
การนําวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบของโลหะมาผ่านกระบวนการสกัดหรือนําโลหะกลับมาใช้ใหม่
เช่นการนํานํ้ายาล้างฟิล์มมาผ่านกระบวนการสกัดเงิน
การนําเถ้าจากการหลอมโลหะมีค่าของโรงงานผลิตเครื่องประดับไปสกัดโลหะมีค่า ฯลฯ
11) เข้ากระบวนการคืนสภาพกรด/ด่าง
(acid/base regeneration)
12)
เข้ากระบวนการคืนสภาพตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst regeneration)
การบําบัด (treatment) สามารถดําเนินการได้หลายวิธี
ดังต่อไปนี้
1) บําบัดด้วยวิธีชีวภาพ (biological
treatment) หมายถึง การบําบัดโดยใช้วิธีระบบตะกอนเร่ง (activated
sludge) ระบบย่อยสลายแบบไร้อากาศ (anaerobic digestion) การหมัก (composting) ระบบบ่อผึ่ง (stabilization
pond) เป็นต้น
2) บําบัดด้วยวิธีทางเคมี (chemical
treatment) หมายถึง การบําบัดโดยใช้วิธี
การปรับค่าความเป็นกรดด่างและทําให้เป็นกลาง (neutralization and
pH adjustment) การทําปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
รีดักชั่น (oxidation / reduction reactions) การแยกด้วยไฟฟ้า
(electrodialysis) การตกตะกอน (precipitation) การทําลายสารประกอบฮาโลเจน(dehalogenation) เป็นต้น
3) บําบัดด้วยวิธีทางกายภาพ (physical
treatment) หมายถึง การบําบัดโดยใช้วิธีการเหวี่ยงแยก(centrifugation)
การกลั่นแยกด้วยไอนํ้า (steam distillation and steam
stripping) การกรองผ่านตัวกรองหลายชั้น(multi-media filtration)
การทําระเหย (evaporation) การแยกด้วยแรงโน้มถ่วง (gravity thickening)
การแยกด้วยเครื่องแยกนํ้าและนํ้ามัน (oil/water separator
or coalescence separator)
4) บําบัดด้วยวิธีทางเคมีกายภาพ
(physico-chemical treatment) หมายถึง
การดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์(activated
carbon adsorption) การแลกเปลี่ยนประจุ (ion exchange)
การกรองรีดนํ้า (filter press, dewatering, vacumm
filtration and belt-press filtration) การสกัดของเหลวด้วยของเหลว (liquid/liquid
extraction) เป็นต้น
5)
บําบัดนํ้าเสียด้วยวิธีทางเคมีกายภาพ (physico-chemical treatment
of wastewater) หมายถึง
การนําเอาวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเหลว (liquid waste or aqueous
waste) หรือนํ้าเสีย (wastewater) ไปบําบัดทางเคมีหรือกายภาพเพื่อทําลายฤทธิ์
ได้แก่ การส่งนํ้าเสียไปบําบัดด้วยวิธีเคมีกายภาพที่โรงงานลําดับที่ 101
ระบบบําบัดนํ้าเสียรวมซึ่งอยู่นอกบริเวณโรงงาน
6) เข้าระบบบําบัดนํ้าเสียรวม (direct discharge
to central wastewater treatment plant)
7) ปรับเสถียรด้วยวิธีทางเคมี (chemical
stabilization)
8)
ปรับเสถียร/ตรึงทางเคมีโดยใช้ซีเมนต์หรือวัสดุ pozzolanic (chemical fixation using
cementitious and/or pozzolanic
material) หมายถึงการบําบัดด้วยวิธีการตรึงด้วย สารเคมี (chemical fixation) การทําให้เป็นก้อนแข็งด้วยสารประสาน (pozzolanic and cement base
solidification)
9) เผาทําลายในเตาเผาขยะทั่วไป (burn
for destruction) เฉพาะสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายเท่านั้น
10)
เผาทําลายในเตาเผาเฉพาะสําหรับของเสียอันตราย (burn for
destruction in hazardous waste incinerator)
11)
เผาทําลายร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์ (co-incineration in
cement kiln) หมายถึง
การนําวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
ซึ่งไม่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเป็นวัตถุดิบทดแทนหรือเป็นเชื้อเพลิงทดแทนสําหรับใช้เผาในเตาเผาปูนซิเมนต์ไปผ่านกระบวนการปรับสภาพเพื่อให้อยู่ในรูปที่สามารถนําไปเผาทําลายในเตาเผาปูนซิเมนต์
ก่อนส่งไปเผาทําลายในเตาเผาปูนซิเมนต์
การกําจัด (disposal) สามารถดําเนินการได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้
1) ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล (sanitary
landfill) เฉพาะสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายเท่านั้น
2) ฝังกลบอย่างปลอดภัย (secure landfill)
หมายถึง
การฝังกลบวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายที่อยู่ในรูปที่คงตัว (เสถียร)
ไปฝังกลบในหลุมฝังกลบแบบ secured landfill โดยไม่ต้องนําไปปรับเสถียรก่อน
3)
ฝังกลบอย่างปลอดภัยเมื่อทําการปรับเสถียรหรือทําให้เป็นก้อนแข็งแล้ว (secured landfill of stabilized and/or solidified wastes) หมายถึง
การนําเอาวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายที่ผ่านการปรับเสถียรเพื่อทําลายฤทธิ์และให้อยู่ในรูปที่คงตัวแล้วไปฝังกลบในหลุมฝังกลบแบบ
secured landfill
การจําแนกประเภทของเสียอุตสาหกรรม
ของเสียอุตสาหกรรม หมายถึง สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
รวมถึงของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1)
ของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย (industrial hazardous
waste) หรือ
ของเสียอันตราย หมายถึง
สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนสารอันตรายหรือมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
เช่นสารไวไฟ สารกัดกร่อน สารพิษ หรือสารที่มี
องค์ประกอบของสิ่งเจือปนที่เป็นสารอันตราย
เกินค่ามาตรฐานที่กําหนดไว้
และหากไม่มีการจัดการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการก็จะสามารถก่อให้เกิดผลกระทบหรือภาวะความเป็นพิษอย่างรุนแรงแก่สิ่งแวดล้อม
หรือก่อให้เกิดความเจ็บป่วยแก่ชีวิตมนุษย์ได้
2)
ของเสียอุตสาหกรรมไม่เป็นอันตราย (industrial non
hazardous waste) หมายถึง
สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่ปนเปื้อนสารอันตราย
หรือของเสียที่มีสภาพเสถียรหรือคงตัว
ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือภาวะความเป็นพิษอย่างรุนแรงแก่สิ่งแวดล้อม
กฎหมาย ระเบียบ
และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรมบางปู
ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่ 25/2547 เรื่องการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในนิคมอุตสาหกรรม
มีสาระสําคัญของประกาศเพื่อการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในนิคมอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยกําหนดให้สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมีความหมายรวมถึงขยะมูลฝอยตามกฎหมายการสาธารณสุขด้วย
นอกเหนือจากของเสียอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
กําหนดให้โรงงานต้องแยกเก็บของเสียแต่ละประเภทออกจากกันอย่างชัดเจน
ต้องมีภาชนะรองรับที่เหมาะสม ต้องดําเนินการยื่นขออนุญาตนําสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงานเป็นรายปีภายในวันที่
30 ธันวาคม ของทุกปี
เมื่อจะนําสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงานต้องจัดทําใบกํากับการขนส่งทุกครั้ง
แล้วต้องรายงานผลการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประจําเดือนให้สํานักงานนิคมอุตสาหกรรมที่โรงงานตั้งอยู่
ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
สําหรับประกาศฉบับนี้จะไม่ครอบคลุมถึงการอนุญาตนําของเสียอุตสาหกรรมออกนอกโรงงาน
แต่จะเน้นเรื่องการควบคุมการจัดการของเสียไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และการจัดส่งรายงานการกําจัดของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่องการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
พ.ศ.2548
มีสาระสําคัญของประกาศเพื่อใช้บังคับกับโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.
2535
ได้ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 6 (พ.ศ.2540)
และ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2541)
กําหนดรหัสและชนิดของประเภทสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว โดยใช้รหัสเลข 6
หลัก
ประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่ไม่เป็นของเสียอันตรายจากสํานักงาน บ้านพักอาศัย
และโรงอาหาร
ที่มีกฎหมายควบคุมเฉพาะได้แก่
กาก 29กัมมันตรังสี
และมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
และนํ้าเสียที่ส่งไปบำบัดนอกบริเวณโรงงานทางท่อส่ง
หน้าที่ของผู้ก่อกําเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว
มีดังนี้
1) ไม่ครอบครองภายในโรงงานเกิน
90 วัน หากเกินระยะเวลานี้ต้องขออนุญาตต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม
2)
ต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษกากอุตสาหกรรม
3)
จัดทําแผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน
4)
ขออนุญาตนําสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานหน้าที่ของผู้ก่อกําเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว
5)
ส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายให้ผู้รวบรวมและขนส่งหรือผู้บําบัดและกําจัด
6)
มีใบกํากับการขนส่งและแจ้งข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
7) ความรับผิด (liability)
ในกรณีสูญหายเกิดอุบัติเหตุ ทิ้งผิดที่ หรือลักลอบทิ้ง
8) ส่งรายงานการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วประจําปี
9)
นําเข้าหรือส่งออกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หน้าที่ของผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย
1)
ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง
ระบบเอกสารกํากับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
2)
ปฏิบัติตามประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเรื่อง การขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2545
3)
ส่งรายงานการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วประจําปี
หน้าที่ของผู้บําบัดและกําจัด
1)
ต้องบําบัดและกําจัดเฉพาะที่ได้รับอนุญาต
2) ใช้ใบกํากับการขนส่ง
แจ้งข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3) รับผิดชอบต่อภาระความผิด (liability) ต่อสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วที่รับบําบัดและกําจัด
4)
มีผลวิเคราะห์ทางเคมีและกายภาพก่อนบําบัดและกําจัด
5)
มีผู้ควบคุมระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษกากอุตสาหกรรม
6) จัดทําแผนป้องกันอุบัติภัย
7)
ส่งรายงานการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วประจําปี
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง
ระบบเอกสารกํากับการขนส่งของเสีย
อันตรายพ.ศ. 2547
มีสาระสําคัญของประกาศโดยเอกสารกํากับการขนส่งของเสียอันตราย
เป็นเอกสารที่ออกให้ผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตราย ผู้ขนส่งของเสียอันตรายและผู้เก็บรวบรวมบําบัดและกําจัดของเสียอันตรายเพื่อเป็นหลักฐานในการมอบหมายให้ขนส่งของเสียอันตรายที่อยู่ในความครอบครองของตนจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง
ผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตรายขนาดใหญ่เก็บของเสียอันตรายไว้ได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
นับแต่วันเริ่มมีไว้ในครอบครอง
ส่วนของเสียอันตรายขนาดกลาง
เก็บไว้ได้ไม่เกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่เริ่มมีไว้ในครอบครอง
หากไม่สามารถดําเนินการตามระยะเวลาที่กําหนดได้
ให้แจ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรมและปฏิบัติตามคําแนะนําของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ในระหว่างมีของเสียอันตรายไว้ในครอบครอง
ให้ผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตรายจัดทําบัญชี ระบุปริมาณ
จํานวนภาชนะตลอดจนการวิเคราะห์ตรวจสอบรวมถึงวิธีบริหารจัดการของเสียอันตราย
ตามรายชื่อของเสียอันตรายที่อยู่ในความครอบครองของตนให้เป็นปัจจุบันทุกสามสิบวัน
และเมื่อจะทําการขนส่งของเสียอันตราย ให้ผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตราย
จัดทําใบกํากับการขนส่งของเสียอันตราย ตามที่กําหนด ให้ผู้ขนส่งของเสียอันตรายตรวจสอบความถูกต้องรายละเอียดในใบกํากับการขนส่งของเสียอันตรายที่ผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตรายจัดทํา
และกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ขนส่งของเสียอันตรายลงในใบกํากับการขนส่งของเสียอันตราย
หากเห็นว่ารายละเอียดดังกล่าวถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ให้ลงนามในใบกํากับการขนส่งของเสียอันตรายทั้งชุด
และให้ขนส่งของเสียอันตรายไปยังสถานที่รับกําจัดของเสียอันตรายตามที่ระบุไว้ในใบกํากับการขนส่งของเสียอันตรายให้เร็วที่สุด
ตามระยะเวลาที่กําหนด ถ้ามีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน หรือของเสียอันตรายรั่วไหล
หรือเกิดการลุกไหม้ระหว่างการขนส่งก่อให้เกิดเหตุการณ์ตามระบุในประกาศกระทรวงฯหากไม่สามารถระงับเหตุได้
ให้ผู้ขนส่งของเสียอันตรายรายงานตามแบบกํากับการขนส่งตามกําหนด ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันเกิดเหตุการณ์
และให้ผู้ขนส่งของเสียอันตรายเก็บสําเนารายงานดังกล่าวไว้อย่างน้อยสามปี
การรับมอบของเสียอันตราย
ให้ผู้เก็บรวบรวมบําบัดและกําจัดของเสียอันตรายดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ภายหลังการขนส่ง
ผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตรายต้องส่งคู่ฉบับตามกําหนดให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันส่งมอบของเสียอันตรายให้แก่ผู้ขนส่งของเสียอันตราย
ให้ผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตรายและผู้เก็บรวบรวมบําบัดและกําจัดของเสียอันตรายจัดทํารายงานประจําปี
เพื่อรายงานสถานะของผู้เก็บรวบรวมบําบัดและกําจัดของเสียอันตราย
ปริมาณและการจัดการของเสียอันตราย ที่รับมากําจัดในแต่ละปีให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบปีละหนึ่งครั้ง
ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของทุกปีตามแบบกํากับการขนส่งตามที่กําหนดไว้
ให้ผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตรายแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบกรณีผู้เก็บรวบรวมบําบัดและกําจัดของเสียอันตรายไม่ส่งคืนคู่ฉบับใบกํากับการขนส่งของเสียอันตรายตามที่กําหนดไว้ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันส่งมอบของเสียอันตรายให้ผู้ขนส่งของเสียอันตราย
มาตรการกํากับควบคุมการจัดการของเสียอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมบางปู
แนวทางการบริหารจัดการและกํากับดูแลของนิคมอุตสาหกรรม
การบริหารจัดการและกํากับดูแลของเสียอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม
มีกฎหมายว่าด้วยโรงงานเป็นกฎหมายหลักในการพิจารณา และกฎหมายอื่น ได้แก่
กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข เป็นกฎหมายประกอบ
ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องมีความรู้โดยศึกษาทั้งกฎหมายหลัก ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง
การกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงาน
โดยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Internet) พ.ศ. 2547 และประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง
ระบบเอกสารกํากับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 2551:1)
โดยสามารถสรุปแนวทาง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการดําเนินงานได้ดังนี้
1)
ตรวจสอบข้อมูลการได้รับอนุญาตและการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
ทาง website กรมโรงงานอุตสาหกรรม (www.diw.go.th) โดยใช้รหัสผ่านที่ได้รับจาก กรมโรงงานอุตสาหกรรม
2)
กรณีโรงงานใดยังไม่ได้ยื่นขออนุญาตพิจารณาทําหนังสือแจ้งให้ขออนุญาตโดยกําหนดระยะเวลาดําเนินการ
รวมทั้งตรวจสอบ ติดตามผล
3) กรณีโรงงานใดที่ได้รับการอนุญาตแล้ว
แต่ไม่มีการแจ้งการขนส่ง
หรือข้อมูลปริมาณการขนส่งที่แจ้งไม่สอดคล้องกับที่ได้รับอนุญาต
ให้พิจารณาเข้าตรวจสอบการจัดเก็บสิ่งปฏิกูลฯ ภายในโรงงาน
หากพบการปฏิบัติไม่ถูกต้องเหมาะสม
สํานักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปู ทําหนังสือแจ้งให้แก้ไขโดยกําหนดระยะเวลา
และติดตามผล
4) สุ่มตรวจสอบรถขนส่งที่เข้า -
ออกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
เพื่อตรวจสอบชนิดและปริมาณสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วกับเอกสารใบกํากับการขนส่ง
(Manifest) รวมถึงการขนส่งของเสียอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง
หรือมีการปะปนกับของเสียไม่อันตราย เป็นต้น
การตรวจสอบการจัดการของเสียอุตสาหกรรมของโรงงาน
การตรวจสอบการจัดการของเสียอุตสาหกรรมของโรงงาน
ครอบคลุมระบบการจัดการของเสียอุตสาหกรรม
ตั้งแต่การเข้าสู่ระบบการจัดการของเสียอันตราย การจัดทํารายละเอียด
ปริมาณการจัดเก็บ บรรจุภัณฑ์ สถานที่จัดเก็บแผนและมาตรการ ป้องกันกรณีเกิดอุบัติภัยหรือเหตุฉุกเฉิน และวิธีการกําจัด
เพื่อการกํากับดูแลเป็นไปตามข้อกฏหมายที่กําหนด
และควบคุมการจัดการกากอุตสาหกรรมไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(กรมโรงงานอุตสาหกรรม ,2551 : 1)
วิธีการตรวจสอบดําเนินการตามประเด็นต่อไปนี้
1)
ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม
ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กําหนดให้โรงงานดังต่อไปนี้
ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมระบบมลพิษอุตสาหกรรม
-
โรงงานที่ใช้สารหรือองค์ประกอบของสารโลหะหนัก เช่น สังกะสี ตะกั่ว ปรอท
และสารประกอบปรอท เป็นต้น
ในกระบวนการผลิตที่มีปริมาณนํ้าเสียตั้งแต่ปริมาณ 50
ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป
-
โรงงานที่ก่อมลพิษสูงได้แก่โรงงานประเภทที่ต้องเข้าข่ายจักทํารายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
( EIA) เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานผลิตปูนซีเมนต์
โรงงานผลิตเยื้อกระดาษเป็นต้น
2)
เลขประจําตัวผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตราย
โรงงานที่มีของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย
ต้องดําเนินการขอมีเลขประจําตัวในฐานะผู้ก่อกําเนิดของเสียอันตราย
เพื่อเข้าสู่ระบบเอกสารกํากับการขนส่งของเสียอันตราย โดยเลขประจําตัวที่ออกให้จะมี 13
หลัก แต่ละหลักจะมีความหมายดังนี้
- หลักที่ 1 - 3 หมายถึง
อักษรย่อที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกําหนดขึ้นในฐานะ
ผู้ให้เลขประจําตัว
- หลักที่ 4 หมายถึง
อักษรย่อแทนประเภทของผู้ดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอันตราย ได้แก่
อักษร “G” (Generator) แทนผู้ก่อกําเนิด ของเสียอักษร “T”(Transporter) แทนผู้ขนส่งของเสียอันตราย และอักษร“D” (Disposer)
แทนผู้เก็บรวบรวมบําบัดและกําจัดของเสียอันตราย
- หลักที่ 5 - 6 หมายถึง
เลขสองหลักสุดท้ายของปีที่ออกเลขประจําตัว
- หลักที่7 - 8 หมายถึง
ตัวเลขระบุจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ดําเนินกิจการ
ของผู้ขอเลขประจําตัวตามตารางแนบท้ายประกาศนี้
- หลักที่ 9 – 10 หมายถึง ลําดับที่ในการออกเลขประจําตัวในแต่ละปี
ให้เริ่มนับใหม่ทุกครั้งที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเลข หลักที่ 5 - 6
- หลักที่ 13 หมายถึง
เลขซึ่งมีไว้เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องทาง คอมพิวเตอร์ (check digit) ตัวอย่าง DIW-G-050200011
3) การขอมีเลขประจําตัว
จะต้องใช้แบบคําขอมีเลขประจําตัวผู้ดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการของเสียอันตราย
(แบบกํากับการขนส่ง 01) ผู้ประกอบการสามารถยนื่
ด้วยตนเองหรือส่งคําขอมาทางไปรษณีย์หลังจากได้รับคําขอแล้ว
จะออกเลขประจําตัวให้ภายใน 7 วัน
4)
ใบอนุญาตนําสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน
เป็นใบอนุญาตที่ให้ผู้ประกอบการเพื่อเป็นหลักฐานในการอนุญาตให้นําสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน
ใบอนุญาตจะกําหนดวันสิ้นสุดของใบอนุญาตไว้
โดยใบอนุญาตจะมีอายุไม่เกินหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และจะแสดงรายละเอียดของของเสีย ประกอบด้วย ชื่อ รหัส ปริมาณ
วิธีการกําจัดและชื่อผู้รับกําจัด
5)
การนําสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายออกนอกบริเวณโรงงานต้องจัดทําใบกํากับการขนส่งทุกครั้ง
6) การขออนุญาตนําสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน
ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบคําขอ สก.2 พร้อมเอกสารประกอบ โดยสามารถยื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์และปัจจุบันสามารถยื่น ขออนุญาตทางอินเตอร์เน็ต (Internet) ผ่านทางเว็บไซด์ของ
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (www.diw.go.th) ได้อีกทางหนึ่ง
7)
ผู้ประกอบการที่สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย ที่มีปริมาณครอบครองรวมกันไม่เกิน 1,000
กิโลกรัม/ต่อเดือน สามารถเก็บไว้ในโรงงานได้ไม่เกิน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่มีไว้ครอบครอง
และผู้ที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายตั้งแต่
1,000 กิโลกรัม/ต่อเดือน ขึ้นไป สามารถเก็บไว้ได้ภายในโรงงานไม่เกิน 90 วัน
นับตั้งแต่วันที่มีไว้ครอบครอง การขอขยายระยะเวลาจัดเก็บจะต้องยื่น แบบ สก.1
ก่อนวันครบกําหนด และต้องได้ความเห็นชอบก่อน
8)
การจัดทําบัญชีการครอบครองของเสียอันตรายผู้ประกอบการต้องจัดทําบัญชีของเสียอันตรายให้เป็นปัจจุบันทุกสามสิบวันโดยมีรายละเอียด
ประกอบด้วย
- ชนิดและปริมาณของเสียอันตราย
- จํานวนภาชนะบรรจุ เช่น บรรจุในถัง 200 ลิตร จํานวน 2 ถัง เป็นต้น
- รายงานผลการวิเคราะห์ตรวจสอบของเสีย (ถ้ามี)
- ระยะเวลาการครอบครองภายในโรงงาน
9) สถานที่เก็บ ภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย
ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีสถานที่จัดเก็บของเสียอันตราย โดยเฉพาะ
มีภาชนะบรรจุของเสียอันตรายที่เหมาะสมและเพียงพอ
พร้อมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันและระงับอุบัติภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- สถานที่จัดเก็บ
อาคารต้องเป็นพื้นคอนกรีตมีหลังคาคลุมและมีการระบายอากาศที่เพียงพอต้องแยกเก็บของเสียอันตรายที่อาจก่อปฏิกิริยาต่อกัน กรณีเก็บไว้นอกอาคารต้องใช้วัสดุปิดคลุมและมีระบบป้องกันการปนเปื้อนลงสู่ดิน
หากเป็นภาชนะบรรจุของเหลวต้องมีฝาปิดมิดชิดคัน(Bund) กั้นโดยรอบ
- ภาชนะบรรจุ
ของเสียอันตรายต้องเก็บในภาชนะบรรจุที่ได้มาตรฐาน และมีคุณลักษณะที่เหมาะสมต่อของเสียนั้นๆ และต้องติดฉลาก โดยรายละเอียดของฉลากต้องประกอบด้วยชื่อของเสียอันตราย รหัสของเสียอันตราย ชื่อผู้ประกอบการ และประเภทของของเสียอันตราย
-
อุปกรณ์ป้องกันและระงับอุบัติภัย
ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน และระงับอุบัติภัย ประกอบด้วยเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่นถุงมือ แว่นตา และอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
เป็นต้น เครื่องดับเพลิงต้องมีปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอ
และอุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหลหรือปนเปื้อนลงสู่ดิน เช่น ทราย วัสดุดูดซับ เป็นต้น
10) แผนการป้องกันภัยและระงับเหตุฉุกเฉิน
องค์ประกอบของแผนได้แก่ แผนป้องกัน
แผนระงับภัยและแผนฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ และอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
- ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ ในการตอบสนองต่ออัคคีภัย การระเบิด
หรือการรั่วไหลของของเสียอันตรายหรือส่วนประกอบของเสียอันตราย
-
การเตรียมการกับหน่วยงานท้องถิ่น
เช่น องค์การบริหารส่วนตําบล สถานีตํารวจสถานีดับเพลิง โรงพยาบาล
และหน่วยกู้ภัย เป็นต้น
เพื่อให้ความช่วยเหลือและประสานงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- รายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
(ที่บ้านและที่ทํางาน)
ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้ประสานงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
และรายชื่อนี้ต้องมีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ หากมีผู้รับผิดชอบหลายคน ให้เรียงชื่อตามลําดับความรับผิดชอบ
โดยให้ผู้มีหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยตรงอยู่อันดับต้น
และให้ผู้มีอํานาจรับผิดชอบแทนอยู่ในลําดับถัดมา
-
รายการแสดงอุปกรณ์ความปลอดภัยและอุปกรณ์ฉุกเฉินที่อยู่ในสถานประกอบการ(เช่น ระบบดับเพลิง
อุปกรณ์ป้องกันการหกหล่น ระบบการ
สื่อสารและแจ้งเตือนภัย
(ทั้งภายนอกและภายใน)
และอุปกรณ์ทําความสะอาดสารปนเปื้อน เป็นต้น)
พร้อมทั้งต้องระบุถึงสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านี้
รายละเอียดวิธีและขั้นตอนการใช้งานของอุปกรณ์เหล่านั้นด้วย
- แผนการหนีภัยสําหรับบุคลลากรของสถานประกอบการ
หากมีความจําเป็นจะต้องหนีภัยในพื้นที่นั้น
แผนหนีภัยนี้ต้องบอกถึงสัญญาณที่จะใช้เพื่อให้เริ่มทําการหนีภัย เส้นทางหนีภัยเส้นทางเลือกเพื่อใช้หนีภัย
(ในกรณีเส้นทางหลักถูกปิดกั้นจากการรั่วไหลของสารหรือไฟไหม้)
ที่มา
ที่มา
คณะผู้จัดทำ
นางสาวกัลยรัตน์ อรรถาเวช 5430110124
นางสาวฑิตฐิตา แซ่ตั้ง 5430110281
นางสาวฑิตฐิตา แซ่ตั้ง 5430110281
นางสาวทิพวัลย์ จรูญพันธ์พูนทวี 5430111031
นางสาวปทุมพร บุญประคอง 5430111074
นางสาวสุชาวดี
พรหมรุ่งสวัสดิ์ 5430111112นางสาวปทุมพร บุญประคอง 5430111074
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น