ซึ่งนอกจากจะมีการปรับปรุงด้านมลภาวะเเล้วก็ยังมีการให้ความรู้กับประชาชนด้วย และมีการเปิด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา เหมืองแม่เมาะ,สวนพฤกษชาติ,อาคารนันทนาการและสนามกอล์ฟ และทุ่งบัวตอง
การดำเนินงานในปัจจุบัน เหมืองแม่เมาะได้ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดและได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไขแนบท้ายประทานบัตรอย่างเคร่งครัดนอกจากนี้ยังได้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เสนอสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นประจำทุก 6 เดือน ในปี 2543 เหมืองแม่เมาะได้นำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล หรือ ISO 14001 มาใช้กับการทำเหมือง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การดูแลสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ จะต้องได้ผลตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และมีการติดตามตรวจสอบอย่างเป็นระบบ เหมืองแม่เมาะได้เริ่มผลิตถ่านลิกไนต์ออกจำหน่ายให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เป็นต้นมาและปัจจุบันได้ผลิตถ่านลิกไนต์เพื่อส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะจำนวน10 หน่วย กำลังผลิตร่วม 2,400 เมกะวัตต์ ผลการดำเนินงานโดยสรุปมีดังนี้
งานเปิดหน้าดิน 1,586.3 ล้าน ลบ.ม.
งานผลิตถ่าน 312.1 ล้าน ตัน
มาตรฐานISO14000 เหมืองแม่เมาะมีความรับผิดชอบในการส่งถ่านลิกไนต์ให้กับลูกค้า คือ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ให้ได้ปริมาณและคุณภาพตามที่โรงไฟฟ้าต้องการ ปัจจุบันเหมืองแม่เมาะส่งถ่านประมาณปีละ 16 ล้านตัน ให้โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4-13 ซึ่งมีกำลังการผลิต 2,400 MW ในกระบวนการผลิตจะต้องเปิดเปลือกดินออกไปทิ้งนอกบ่อเหมืองก่อนที่จะขุดเอาถ่านลิกไนต์ส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำให้เหมืองแม่เมาะมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการขุดบ่อเหมืองประมาณ 37 ตารางกิโลเมตรและใช้พื้นที่ทิ้งดินนอกบ่อเหมืองอีกประมาณ 40 ตารางกิโลเมตร ในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด เหมืองแม่เมาะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญ4 ด้านด้วยกัน คือ 1.ด้านการผลิตและส่งถ่านลิกไนต์ มีกระบวนการวางแผนและการผลิตที่มีคุณภาพ โดยการนำระบบการจัดการคุณภาพตามมาตรฐานสากล ISO 9001 : 2000 มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร จัดการ 2. ด้านการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักร มีกระบวนการในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ โดยการนำระบบการจัดการคุณภาพตามมาตรฐานสากลISO 9001 : 2000 มา ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ 3.ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีระบบบริหารจัดการด้านผลกระทบที่เกิดกับสุขภาพจากการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินจากการทำงาน โดยนำระบบการบริหารความปลอดภัยสมัยใหม่ (Modern Safety Management) มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ 4.ด้านสิ่งแวดล้อม มีระบบบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001 : 2004 มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ เหมืองแม่เมาะจึงนำระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐานสากล ISO 9001 : 2000 มาใช้ในการผลิตและส่งถ่านลิกไนต์ โดยเริ่มนำระบบมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2545 และได้รับการรับรองระบบจากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) ครั้งแรกวันที่ 11 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2549 และครั้งที่ 2 วันที่ 11 เมษายน 2549 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2552 โดยมีหัวใจหลักของระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2000 คือการควบคุมกระบวนการในการทำเหมือง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการรับรองระบบจากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) ครั้งแรกวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 ถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 และครั้งที่ 2 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 ถึงวันที่ 7พฤศจิกายน 2551 การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมตาม EIA กำหนดให้ทางราชการทราบทุก 6 เดือน โดยมีเจ้าหน้าที่ทางราชการเข้ามาตรวจในพื้นที่เป็นระยะๆ การจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองสามารถดำเนินการได้สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมายและ EIAมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามชุมชนบางส่วนก็ยังไม่มั่นใจในการดูแลสิ่งแวดล้อมของเหมืองแม่เมาะ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าระบบการตรวจสอบการจัดการสิ่งแวดล้อมยังเป็นหน่วยราชการและเหมืองแม่เมาะเอง อาจทำให้เกิดความไม่เชื่อใจว่ามีการช่วยเหลือผ่อนปรนหรือไม่ เหมืองแม่เมาะจึงได้ตัดสินใจนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001 มาใช้ตั้งแต่ปี 2543 และผ่านการตรวจติดตามระบบฯ (Surveillance) จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน การรับรองระบบฯ โดย สรอ. จะออกใบรับรองให้คราวละ 3 ปี หลังจากนั้นจะต้องทำการตรวจประเมินระบบใหม่ (Re-assessment) ใบรับรองใบแรกคือ วันที่ 27 เมษายน 2544 ถึงวันที่26 เมษายน 2547 และใบที่ 2 คือวันที่ 27 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 26 เมษายน 2550
ที่มา : http://maemohmine.egat.co.th/ http://www.egat.co.th/
เปรียบเทียบมาตฐานการปฏฺิบัติกด้านสิ่งแวดล้อมกับการปฏิบัติด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นประกอบด้วยรายจ่ายรอการตัดบัญชีด้านเหมืองลิกไนต์และอื่นๆ ร้อยละ 0.57 ของสินทรัพย์รวม รายละเอียดแสดงตามหมายเหตุที่ 6.16 ดังนี้
ซึ่งรายจ่ายรอการตัดบัญชีด้านเหมืองลิกไนต์มีรายละเอียดดังนี้
หนี้สินไม่หมุนเวียนประอบด้วยประมาณการหนี้สินเพื่อการฟื้นฟูสภาพบริเวณเหมือง ร้อยละ 0.36 ของสินทรัพย์รวมทั้งหมด แสดงรายละเอียดตามหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ 6.21 ดังต่อไปนี้
ซึ่งนโยบายการประมาณหนี้สินเพื่อการฟื้นฟูสภาพบริเวณเหมืองเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่3.14 ดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ กฟผ.มีการเปิดเผยรายละเอียดหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ดังต่อไปนี้
ด้านการทำเนินงานเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม จากปัญหาการรั่วไหลของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาเกิดการรวมตัวกันของผู้ได้รับผลกระทบในนามของ เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะผลักดันให้รัฐบาลทำตามข้อเสนอใน 3 ประเด็น คือ
- อพยพโยกย้ายชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบออกจากพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้า
- จัดตั้ง “คลินิกอาชีวเวชศาสตร์” เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะทางที่เป็นโรคปอดอักเสบจากฝุ่น หินจากลิกไนต์ และ
- จัดตั้งกองทุนรักษาผู้ป่วย
ด้านการรายงานผลเปิดเผยผลการดำเนินงานเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะของเหมืองแม่เมาะที่เห็นชัดเจนมีเพียงงานรายงานประมาณการหนี้สินเพื่อการฟื้นฟูสภาพบริเวณเหมืองในงบแสดงฐานะการเงินและรายจ่ายรอการตัดบัญชีด้านเหมืองลิกไนต์และอื่นๆ แสดงอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินเท่านั้น แต่ในรายละเอียดเรื่องอื่นยังคงเป็นการรายงานการดำเนินงานแค่ส่วนหนึ่งและรายงานเพียงแค่ข้อมูลพื้นๆเท่านั้นแล้วจึงนำมารายงานรวมกันในรายงานของ กฟผ.ซึ่งเป็นการรายงานในเชิงบวกต่อตัวองค์การ การเข้าถึงรายละเอียดการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่สามารถทำได้ อาจเกิดจากตัวของเหมืองแม่เมาะเองไม่ได้จัดเก็บรายละเอียดเพียงพอหรือตั้งใจจำกัดการเข้าถึงของบุคคลทั่วไป ดังนั้นเหมืองแม่เมาะจึงควรมีการเปิดเผยรายงานการดำเนินงานที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมดทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพควบคู่กับข้อมูลเชิงปริมาณแยกเป็นของเหมืองอย่างชัดเจนเนื่องจากในกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ของเหมืองแม่เมาะส่งผลกระเป็นวงกว้างทั้งสิ่งแวดล้อมและชุมชน และควรนำข้อมูลในส่วนนี้เผยแพร่ต่อสาธารณะอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แสดงให้เห็นถึงการประกอบการที่มีจริยธรรมและมีความรับผิด ชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น