ตัวอย่างการนำเสนอรายงานขององค์กรที่ได้จัดทำบัญชีสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ
แนวคิด การดำเนินการ และรายงาน
บริษัทดําเนินธุรกิจหลักในอุตสาหกรรมไวนิลซึ่งประกอบไปด้วยการผลิต
และจําหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทโพลิไวนิลคลอไรด์ (“พีวีซี”) และ
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับพีวีซี มีฐานการผลิตหลักอยู่ใน
3 ประเทศ คือ ประเทศไทย
ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
และประเทศอินโดนีเซียโดยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ผลิตพีวีซีที่มีคุณภาพสูง
พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าจากพีวีซี ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ที่ดี
ในภูมิภาค อาเซียน เราพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตด้วยมาตรฐานระดับสากล
พร้อมส่งต่อคุณภาพที่ดีเยี่ยม
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราสามารถตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์พีวีซีได้อย่างต่อเนื่อง
TPC ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมพีวีซีเป็นธุรกิจหลัก
โดยมีการลงทุนบางส่วนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้พีวีซีเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น พีวีซีคอมเปาน์ด
ท่อ และข้อต่อพีวีซี สินค้าสำเร็จรูปพีวีซีต่างๆ
เป็นต้น โดยการลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พีวีซี
เป็นช่องทางในการพัฒนาสินค้าพีวีซีใหม่ๆ ออกสู่ตลาด
เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้พีวีซีให้สูงขึ้น
นโยบายสิ่งแวดล้อม
TPC
มีนโยบายในการบริหารสิ่งแวดล้อมให้มีมาตรฐานเทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานสากล
โดยปี 2553 TPC เน้นการดำเนินโครงการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกด้าน
เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ที่ดีของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข TPC ได้ดำเนินการจัดการรายงานการศึกษาและประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(Environment
Impact Assessment) หรือ EIA ควบคู่ไปกับการจัดทำรายงานการศึกษาและประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ(Health
Impact Assessment) หรือ HIA ในโครงการขยายกำลังการผลิตไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์(VCM)
ของโรงงานที่ 1 และ 2 คาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2554
รวมถึงโครงการขยายกำลังการผลิตผงพลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์(PVC) ของสายการผลิตที่ 8 และ 9 ซึ่งแม้จะได้รับใบอนุญาตแล้ว
แต่เพื่อเน้นย้ำถึงความเอาใจใส่ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เราจึงสมัครใจดำเนินการต่อ
โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน
การดำเนินการ
TPC ตระหนักถึงการดำเนินการอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ พร้อมทั้งเน้นการมีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง
โดยจัดทำโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม(ธงขาวดาวเขียว)
เป็นโครงการที่ตอกย้ำการเป็นองค์กรที่ยึดหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ. ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และชุมชนรอบนิคมฯ
โดยมีการเปิดเผยข้อมูลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงาน
พร้อมทั้งส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ
อันเป็นกลไกหลักในการสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างผู้ปกครองกับชุมชน อาทิ
การเปิดโรงงานให้ประชาชนสามารถเยี่ยมชมกระบวนการผลิตและระบบจัดการปัญหามลพิษได้
โดยมีคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานตามแผนการลดและขจัดมลพิษ รวมทั้งมีการติดตาม
ประเมินผลเป็นประจำทุกไตรมาส โดยมีหลักเกณฑ์การมอบธงขาวดาวเขียว
ซึ่งมีสัญลักษณ์รูปดาวสีเขียว
สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่สามารถรักษาระดับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นมาตรฐานสากล
อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ และบริษัท
TPC ของเราเข้าร่วมโครงการนี้
และได้รับรางวัลธงขาว-ดาวเขียวจากการตรวจโรงงานของชุมชน ผู้สื่อข่าวและ
การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นปีที่ 4 ติดต่อกันแล้ว นับว่าเป็นผลงานของพวกเราชาว TPC ทุกๆคนที่ ช่วยกันคิดช่วยกันทำจนโรงงานของเรามีคุณภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดี
ลดภาวะของเสีย ลดการใช้น้ำ คุณภาพอากาศดี โรงงานสีเขียวขจีตลอดปี
จำนวนต้นไม้เรามีถึง 20%ของพื้นที่ และเราได้ตั้งเป้าหมายให้ได้ 30 % ในปีหน้านี้
ส่วนพื้นที่ชุมชนเราก็มีกิจกรรมของเราอย่างต่อเนื่อง ทั้งปลูกกล้วย
พัฒนาหาดสนกระซิบ แปรรูปกล้วย ก๊าซชีวภาพชุมชน
จัดแพทย์ตรวจร่วมกับเทศบาลเมืองมาบตาพุดเพื่อตรวจและดูแลรักษาชุมชนพร้อมทั้งการเยี่ยมเยียนชุมชนอย่างต่อเนื่อง
แบบครบวงจรเลยทีเดียว โครงการธงขาวดาวเขียว นี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551
โดยชุมชนมาบตาพุดได้ร่วมกับกนอ.มาบตาพุด
เพื่อเป็นวิธีการที่ให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้าตรวจและเยี่ยมโรงงานด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบของชุมชนว่ามีอะไรบ้างและชุมชนก็จะได้แนะนำโรงงานว่าชุมชนต้องการอย่างไร
โรงงานควรทำอย่างไร คือมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยกันทั้งสองฝ่าย
ลักษณะและการเปิดเผยข้อมูลบัญชีสิ่งแวดล้อมนำเสนอต่อสาธารณชน
โดยผ่านรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม
และผ่านเว็บไซต์ของบริษัท
1.
การลดมลภาวะทางอากาศ
TPC ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ความมุ่งมั่นสู่การปลดปล่อยมลภาวะเป็น
ศูนย์ (Zero Emission) โดยนอกเหนือจากการควบคุมการปลดปล่อยมลพิษในช่วงที่มีการดำเนินการผลิตตามปกติ
(Normal Operation) ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมาโดยตลอดแล้ว
TPC ยังตระหนักถึงกิจกรรมในช่วงงานซ่อมบำรุงประจำปี และวางแผนป้องกัน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่อระบบความปลอดภัยของโรงงาน ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานเชิงรุกที่ดี
โดยมีโครงการต่างๆ ดังนี้
-
ป้องกันการปลดปล่อยก๊าซเสียในช่วงหยุดซ่อมบำรุงประจำปี
โดยการปรับปรุง
ให้เป็นระบบปิดทั้งหมด
เพื่อบำบัดให้สารปนเปื้อนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ
-
ติดตั้งระบบรวบรวม และถังกักเก็บก๊าซปนเปื้อนกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินให้เป็นระบบปิด
(Emergency Vent Close System)เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถกักเก็บก๊าซปนเปื้อนและป้องกันการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้ในทุกสถานการณ์
-
ปรับปรุงกระบวนการควบคุมการผลิตในโรงโพลิเมอร์ไรเซชั่น
รวมถึงมีการตรวจติดตามปริมาณการปลดปล่อยไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ (VCM) อย่างต่อเนื่อง และสามารถควบคุมปริมาณการปลดปล่อยให้เป็นไปตามมาตรฐานของประเทศไทยและยุโรป
(ECVM) มาโดยตลอด ศึกษาและติดตั้งเตาเผา (Incinerator) เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเตาเผา ด้วยงบประมาณลงทุนประมาณ
170 ล้านบาท โดย คาดว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในปี
2554
นอกจากโครงการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว TPC ยังคำนึงถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในโรงงาน ซึ่งนอกจากจะเป็น
Buffer Zone แล้ว ยังช่วยเพิ่ม ทัศนียภาพให้สวยงามด้วยโดยในปี
2553 โรงงานระยองมีพื้นที่สีเขียว 20% และมีโครงการที่จะเพิ่มเป็น
30% ในปี 2555
2.
การลดมลภาวะทางน้ำ
แนวทางของการปลดปล่อยน้ำทิ้งเป็นศูนย์ (Zero
Liquid Discharge) ถูกนำมาประยุกต์กับโรงงานผลิตเพื่อให้การใช้ทรัพยากรน้ำเกิดประโยชน์สูงสุด
ประกอบไปด้วยโครงการต่างๆ ดังนี้
- โครงการลดปริมาณการใช้น้ำโดยน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตมาผ่านการบำบัดด้วยระบบรีเวอร์ส
ออสโมสซิส สามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ คิดเป็น 15%ของน้ำใช้ทั้งหมด
- เพื่อเป็นการเฝ้าระวังค่ามวลสารทางน้ำอย่างใกล้ชิด
TPC ได้ติดตั้งระบบตรวจ
วัดค่าซีโอดี (COD
Online) และส่งผลการตรวจวัดแบบต่อเนื่อง (Real Time) เชื่อมต่อไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ยังมีแผนจะเชื่อมต่อข้อมูลไปยังศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาบตาพุด
เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการจัดการคุณภาพ น้ำทิ้งด้วยความสมัครใจ
ภายในปี 2554
3.
การลดกากของเสีย
การฝังกลบของเสียเป็นศูนย์ (Zero
Landfill) เป็นอีกหนึ่งมาตรการในการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้
TPC ได้ดำเนินการส่งของเสียไปกำจัดตามหลักวิชาการและผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานราชการ
โดยสามารถลดการฝังกลบได้แล้วกว่า 80% และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
โดยศึกษาทางเลือกของการจัดการฉนวนกันความร้อน (Insulation) เพื่อลดการฝังกลบ
เป็นลำดับถัดไป
นอกจากนี้ TPC ได้ตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศ และความเป็นอยู่ของสังคม และชุมชนเป็นสำคัญ จึงได้มีการพิจารณาขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอนให้กับผงพีวีซี
(พีวีซี Resin) เพื่อให้เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงเจตจำนงอันดี
ต่อความมุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนในทุกด้านเสมอมา ฉลากลดคาร์บอน(Carbon
Reduction Label) เป็นเครื่องหมายที่จะติดกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคทราบว่าสินค้านั้นมาจากกระบวนการผลิตที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก
หรือมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกซื้อสินค้าที่จะช่วยลดโลกร้อน
โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนให้ “ฉลากลดคาร์บอน” นั้น จะเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าระหว่างปี
พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปีฐาน กับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปีล่าสุด
สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับฉลากคาร์บอนจาก “องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก”
(อบก.) จะต้องเป็นสินค้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตอย่างน้อย“ร้อยละ 10” ขึ้นไป โดย TPC ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน
2554 ด้วยความตระหนักต่อการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Change) TPC ยังมีความมุ่งมั่นที่จะจัดทำโครงการคาร์บอนฟุตพริ๊นท์
(Carbon Footprint) เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับค้นหาโอกาสเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Greenhouse
Gases) อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพต่อไป
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม TPC ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ
และประโยชน์ของการอนุรักษ์พลังงาน จึงมีโครงการต่างๆ ดังนี้
- โรงงานวีซีเอ็ม ได้ทำการพ่นสารเคลือบผนังเตาเผา
(EDC Cracker) เพื่อลดการใช้พลังงานในการแตกตัวของเอทธิลีนไดคลอไรด์(EDC)
ให้เป็นไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์(VCM) ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานจาก
ก๊าซธรรมชาติลงได้ 1.3%
- ปรับปรุงด้านพลังงานไฟฟ้าในโรงโพลิเมอร์
ไรเซชั่น โดยติดตั้งตัวปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ (VSD) ให้สัมพันธ์ตามปริมาณการไหลที่ต้องการ
เพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปั๊มน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้
309 GJ/Yr.
-
ปรับปรุงด้านพลังงานความร้อนในโรงโพลิเมอร์ไรเซชั่น ทำให้สามารถปรับลด
อัตราการใช้ไอน้ำลงได้และลดปริมาณการใช้ไอน้ำลง 1,969
GJ/Yr.
-
ในปี 2554 ทางบริษัทฯ
มีแผนงานที่นำระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO 50001 Standard for Energy
Management) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานด้านพลังงานของบริษัทฯ
เป็นไปตามมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับหลักการการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development)
4.
การจัดการสิ่งแวดล้อม
TPC ตระหนักถึงความสำคัญ
และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมากในการคำนึงผลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเสมอมา
มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อให้อุตสาหกรรมดำเนินงานภายใต้ชื่อ “อุตสาหกรรมสะอาด”
TPC ยังมีเป้าหมายที่จะลดการปลดปล่อยของเสียจากกระบวนการผลิตให้น้อยลง
หรือไม่ปลดปล่อยของเสียจากกระบวนการผลิตเลยในอนาคต
การลดการปลดปล่อยของเสียจากกระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero Emission) นับเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจด้วย
เทคโนโลยีที่เราเลือกใช้ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ
ใช้วัตถุดิบในการผลิตคลอรีน เเละโซดาไฟที่ลดกากของเสีย
เกลือสินเธาว์ที่มีความบริสุทธิ์สุง ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคลอรีน เเละโซดาไฟ
ทำให้ไม่ต้องผ่านกระบวนการตกตะกอนเพื่อเเยกสิ่งเจอปน สามารถลดกากของเสียได้ 100%
เอทธิลีนที่เหลือจากโรงวีซีเอ็ม 1 สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง
โดยส่งต่อไปยิงโรงวีซีเอ็ม 2 ช่วยลดปริมาณการใช้เอทธิลีน
เเละสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูบรรยากาศ
เครื่องเเลกเปลี่ยนความร้อนที่ได้รับการพัฒนาเเละติดตั้งไว้ภายในโรงวีซีเอ็ม
ทำหน้าที่นำพลังงานความร้อนที่ได้จากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
ลดการใช้พลังงานไอน้ำได้ถึง 8,000 ตันต่อปี
เปลี่ยนระบบหัวเผาเป็นเเบบ
Low NOx เพิ่มประสิทธิภาพในการเผา ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ควบคุมอากาศให้ได้มาตรฐานก่อนปล่อยสู่บรรยากาศ
ฝุ่นผงพีวีซีจากขั้นตอนการทำเเห้ง จะถูกเเยก ออกจากอากาศด้วยเเรงเหวี่ยง
ทำให้ตกมารวมกันด้านล่าง สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์
ฝุ่นผงพีวีซีขนาดเล็กที่หลุดจากกระบวนการ
เเยกฝุ่นผงด้วยเเรงเหวี่ยง
จะถูกสกัดด้วยระบบดักจับฝุ่นผงด้วยน้ำภายในโรงพีวีซีไม่ให้หลุดลอยไปในอากาศ ยังสามารถนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์พีวีซีทีมีคุณภาพรองลงมาอีกด้วย
ผงพีวีซีที่อบเเห้งจะถูกขนถ่ายผ่านท่อไปที่โซโลเพื่อบรรจุลงถุง
อากาศที่ระบายออกจากโซโลจะผ่านเครื่องดักจับฝุ่นด้วยระบบถุงกรอง
ซึ่งถูกติดไว้บริเวณส่วนปลายของถังเก็บผลิตภัณฑ์ ทำหน้าที่ดักจับผงพีวีซี
ไมให้กระจายออกไปสู่บรรยากาศ
ผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต
การวิเคราะห์การนำเสนอข้อมูลด้านบัญชีสิ่งแวดล้อม
บริษัทมีการมุ่งสร้างสรรค์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต
อีกทั้งยังมีการประมาณการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมของเสีย
เช่น การจัดการของเสีย บำบัด ตลอดจนค่าฟื้นฟูสภาพ
และค่าชดเชยกรณีทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย
อีกทั้งบริษัทยังมีต้นทุนในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และความสัมพันธ์ต่อสาธารณชน
โดยบริษัทผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังสามารถขยายกำลังการผลิต
ซึ่งการรักษาสิ่งแวดล้อมจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นสิ่งที่ TPC
ให้ความสำคัญ
รายงานประจำปีของบริษัทที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและข้อกำหนดรายงานความยั่งยืนของ
กลต.
เปรียบเทียบกับข้อกาหนดรายงาน CSR ตามแบบ 56-1
ตามที่สานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการกาหนดหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลตามแบบ 56-1 ได้มีการปรับปรุงใหม่
โดยกาหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เพิ่มเติม ซึ่งจะมีผลใช้บังคับกับแบบ 56-1 ที่ต้องส่งต่อสานักงาน ก.ล.ต. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป
การดำเนินงานด้านธุรกิจ กล่าวถึง
•
|
วิสัยทัศน์
|
•
|
กลยุทธ์ของธุรกิจที่สะท้อนหลักการและแนวทางปฏิบัติตามหลักการ
CSR
|
•
|
โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
|
•
|
ผลการดำเนินงาน
|
การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย กล่าวถึง
•
|
นโยบายการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
|
•
|
กระบวนการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูธรรมชาติ
|
•
|
กระบวนการจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต
|
•
|
ลักษณะของผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นประโยชน์
มีคุณค่าต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม
|
การดำเนินงานด้านสังคม กล่าวถึง
•
|
นโยบายการจัดการด้านแรงงานและพนักงาน
|
•
|
สวัสดิภาพในการทำงานของพนักงาน
|
•
|
การพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน
|
•
|
การส่งเสริมและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรอบพื้นที่ตั้งของธุรกิจ
|
การดำเนินงานตามรายงานความยั่งยืนของ บริษัท
ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
การดำเนินงานด้านธุรกิจ
วิสัยทัศน์
“World
Class Manufacturing และเป็นผู้นำในการผลิต PVC ในอาเซียน”
บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
มีการดำเนินนโยบายด้านการดูแลสังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างอัตราการเติบโตของบริษัท
ซึ่งประกอบธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมพีวีซีเป็นธุรกิจหลัก
เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้พีวีซีเป็นวัตถุดิบในการผลิต พีวีซี และเป็นช่องทางในการพัฒนาสินค้าพีวีซีใหม่ๆ
ออกสู่ตลาด เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้พีวีซีให้สูงขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะรักษา “ความเป็นผู้นำ” ในธุรกิจพีวีซีของภูมิภาคอาเซียน
ด้วยการขยายการลงทุนในภูมิภาค
พร้อมยังมุ่งการสร้างผลตอบแทนจากการดำเนินงานอย่างเหมาะสมให้ความสำคัญกับการจัดการดูแล
“รักษาสภาพแวดล้อม” อย่างเคร่งครัด
การวิจัยพัฒนาที่ต่อเนื่อง การพัฒนาบุคลากรกิจกรรมช่วยเหลือสังคม
และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้มีธุรกิจที่เข้มแข็ง
มีศักยภาพพร้อมจะแข่งขันในตลาดโลกและมีอัตราการเติบโตอย่างยั่งยืน
ผลกาดำเนินงานการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุดยังคงเป็นนโยบายหลักที่ TPC
มุ่งเน้นเสมอมานอกจากนี้
เพื่อให้ก้าวสู่ผู้ผลิตพีวีซีที่ได้มาตรฐานระดับสากล(World Class
Manufacturing) TPC จึงได้ดำเนินกิจกรรม TPM(Total Productive
Maintenance) อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2553 นั้น TPC ได้รับรางวัลในระดับ Award for TPM Consistent ซึ่งเป็นรางวัลที่ยืนยันการพัฒนากระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ในไตรมาส 4 TPC ได้รับใบอนุญาตให้สามารถขยายกำลังการผลิตของสายการผลิตที่
8 และสายการผลิตที่ 9 ทำให้บริษัทฯ สามารถผลิตพีวีซีเพิ่มขึ้น
และวางแผนที่จะเดินเต็มกำลังการผลิตในปี 2554TPC ยังได้ดำเนินการปรับปรุงสูตรแลกระบวนการผลิตพีวีซี
รองรับนโยบายเพิ่มปริมาณการผลิตพีวีซีเกรดพิเศษ
โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงด้านคุณภาพให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้านำไปผลิตเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าสำหรับโครงการขยายกำลังการผลิตวีซีเอ็มนั้น
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสุขภาพ(Health
Impact Assessment:HIA)ตามกฎหมายใหม่ ซึ่ง TPC คาดว่าจะได้รับใบอนุญาตในไตรมาส 4 ของปี 2554ทางด้านการผลิตในต่างประเทศ TPC
VINA Plastic and Chemical Corp., Ltd. ประเทศเวียดนาม
เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์โรงงานผลิตพีวีซี สายการผลิตที่ 2 ซึ่งมีกำลังการผลิต 90,000
ตันต่อปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี2553
เป็นบริษัทที่มีกำลังการผลิตพีวีซีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศเวียดนามในขณะที่ PT.
TPC Indo Plastic and Chemicals ประเทศอินโดนีเซีย
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐาน
OHSAS 18001 โดยคาดว่าจะได้การรับรองระบบดังกล่าวภายในปี
2554
การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยให้ยึดถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการดำ
เนินธุรกิจ จึงได้กำหนดนโยบายต่างๆ ให้พนักงานทุกคน ทุกระดับ รวมถึงผู้รับเหมา
ให้มีแนวทางปฏิบัติดังนี้พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง
ให้สอดคล้องกับความต้องการและสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าปรับปรุงกระบวนการผลิต
ด้วยการดำ เนินกิจกรรม TPM ทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
Zero Accident, Zero Defect และ Zero Breakdown การพัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญที่ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด
ในปี 2553ได้ดำ เนินการว่าจ้าง บริษัท DuPont ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการบริหารความปลอดภัยในต่างประเทศ และที่เป็นยอมรับในระดับสากล
มาทำ การตรวจประเมินและให้คำ
ปรึกษาในการพัฒนาระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสิ่งแวดล้อมของบริษัทให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งได้ดำ
เนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552
โดยได้จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยระหว่างพนักงานและผู้รับเหมาอย่างต่อเนื่อง
อาทิ กิจกรรมการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย(Safety Observation
tour) การจัดตั้งคณะทำงานด้านความปลอดภัยต่างๆ ขึ้น
เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในบริษัทฯ มีการจัดทำ
ระบบฐานข้อมูลในการเผยแพร่บทเรียนจากอุบัติเหตุในอดีตที่ผ่านมา และนำ
ระบบการจัดการความเปลี่ยนแปลงมาปรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ เป็นต้นและจากการที่ได้ดำ
เนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ทำ
ให้ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นระดับประเทศด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำ
งาน ประจำ ปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ 4
ติดต่อกันนอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้นด้านความปลอดภัย (Good
Practice Award) จำ นวน 2 รางวัลในปี 2553ทางบริษีทยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วม
เพื่อสร้างจิตสำ นึกที่ดีต่อสังคมและสภาพแวดล้อม โดยร่วมกันทำ กิจกรรมต่างๆ อาทิ
การรณรงค์กิจกรรม Safety Plus เป็นประจำ
ทุกเดือนเพื่อเป็นการปลูกจิตสำ นึกให้กับพนักงานทุกคน
การดำเนินงานด้านสังคม
บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
ได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาสังคม ดังนี้
1. โครงการเสียภาษีท้องถิ่นตามที่จังหวัดระยองได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากผู้ที่อยู่อาศัยในจังหวัดระยองเสียภาษีให้จังหวัดนั้น
เบื้องต้นบริษัทฯ มีการรณรงค์ให้พนักงานโอนย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในระยอง
และการโอนย้ายทะเบียนรถทุกชนิดมาเป็นทะเบียนระยองเพื่อให้การเสียภาษีล้อเลื่อนตามกฎหมายมาบริหารในจังหวัดระยองต่อไปซึ่งโครงการนี้ได้ดำ
เนินการแล้วและประสพความสำเร็จด้วยดี
2. โครงการปลูกป่าชายเลน บริษัทได้ร่วมทำ
โครงการปลูกป่าชายเลนกับบริษัทในเครือมาโดยตลอด ปัจจุบันได้ทำ
โครงการนี้ที่หาดตากวน-อ่าวประดู่ร่วมกับกลุ่มประมงเรื่องเล็ก มีการปลูกป่าและเฝ้า
ดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้นไม้ที่ปลูก ได้แก่ ต้นโกงกาง ต้นฝาดดำ ต้นฝาดแดง
ฝาดขาว ลำ พู ลำ แพน และไม้ชายเลนอีกหลายชนิด
ซึ่งขณะนี้พื้นที่บริเวณก้นอ่าวอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ทะเลต่างๆจำนวนมาก
3. โครงการธงขาวดาวเขียว
บริษัทได้เข้าร่วมกับโครงการนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา
ซึ่งเป็นโครงการที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกับชุมชนเมืองมาบตาพุด
ร่วมกันมาตรวจเยี่ยมโรงงานปีละ 4 ครั้ง
โดยการเข้าตรวจทางด้านสิ่งแวดล้อมทางด้านอากาศ น้ำกลิ่น และเสียง
ตลอดจนกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำ ให้กับสังคม
ซึ่งที่ผ่านมาผลการตรวจและการให้คะแนนของคณะกรรมการดังกล่าว จะได้คะแนนดีเยี่ยมจนได้รับรางวัลธงขาว-ดาวเขียวมาตลอด
3 ปีติดต่อกัน นอกจากการตรวจโรงงานตามปกติของโครงการแล้ว
ทุกครั้งที่มีการตรวจโรงงานทางบริษัทฯ
ได้มีการเชิญคณะกรรมการร่วมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับบริษัทฯ ด้วย
4. โครงการสานสายใยมาบตาพุด
เป็นโครงการที่พนักงานที่มีภูมิลำ เนาอยู่ที่มาบตาพุดได้มีโอกาสนำ
ความรู้ของตนเองที่มาปฏิบัติงานในโรงงานได้ไปเผยแผ่ให้กับชุมชนของตัวเอง
นอกจากความรู้ที่เผยแผ่ให้กับชุมชนตนเองแล้ว
พนักงานดังกล่าวยังสามารถที่จะจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับชุมชนบ้านเกิด เช่น
การร่วมกันพัฒนาชายหาดโดยร่วมมือกันทำ
ความสะอาดชายหาดและเชิญชวนเพื่อนพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม
ตัวอย่างรายงาน
EN7 – ความริเริ่มในการลดบริโภคพลังงานทางอ้อมและการลดลงที่ทำได้
-
โรงงานวีซีเอ็ม
ได้ทำการพ่นสารเคลือบผนังเตาเผา(EDC Cracker) เพื่อลดการใช้พลังงานในการแตกตัวของเอทธิลีนไดคลอไรด์(EDC)
ให้เป็นไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์(VCM) ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานจาก
ก๊าซธรรมชาติลงได้ 1.3%
- ปรับปรุงด้านพลังงานไฟฟ้าในโรงโพลิเมอร์
ไรเซชั่น โดยติดตั้งตัวปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ (VSD) ให้สัมพันธ์ตามปริมาณการไหลที่ต้องการ
เพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปั๊มน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้
309 GJ/Yr.
EN10 - ร้อยละปริมาณน้ำที่ถูกนำไปรีไซเคิล
และนำกลับไปใช้ใหม่
-
โครงการลดปริมาณการใช้น้ำโดยน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตมาผ่านการบำบัดด้วยระบบรีเวอร์สออสโมสซิส
สามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ คิดเป็น 15%ของน้ำใช้ทั้งหมด
EN16 - จำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทั้งหมดทั้งโดยตรงและโดยอ้อมแบ่งตามน้ำหนัก
- โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนให้
“ฉลากลดคาร์บอน” นั้น
จะเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าระหว่างปีพ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปีฐาน กับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปีล่าสุด
สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับฉลากคาร์บอนจาก “องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก”
(อบก.)
จะต้องเป็นสินค้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตอย่างน้อย “ร้อยละ 10” ขึ้นไป
EN22 - จำนวนปริมาณขยะทั้งหมดแบ่งตามชนิดและวีธีการกำจัด
- การฝังกลบของเสียเป็นศูนย์
(Zero
Landf ill) เป็นอีกหนึ่งมาตรการในการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
วิเคราะห์ ต่อองค์การ
และระบบบัญชีบัญชีสิ่งแวดล้อมขององค์การ
บริษัท
ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(กลต.) กำหนด โดยบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
ได้ดำเนินกิจกรรมทางสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปพร้อมกับการเติบโตของบริษัท มีการกำหนด
นโยบายต่างๆ โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
และลดการใช้ทรัพยากรส่วนเกินลงอย่างต่อเนื่อง
โดยนำแนวทางการบริหารองค์กรแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้อย่างเหมาะสมและสมดุล
ได้ริเริ่มแนวทางการดำเนินงานขององค์กรอย่างสร้างสรรค์
โดยใช้หลักการบริหารอย่างสมดุลคือผลประกอบการเป็นที่พึงพอใจ ให้ความสำคัญต่อสังคม เนื่องจากสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญที่ทำ
ให้ธุรกิจสามารถดำ เนินได้อย่างยั่งยืน
โดยบริษัทฯได้เลือกใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งบริหารจัดการทุกกระบวนการผลิตทั้งภายในและภายนอกโรงงาน
เป้าหมายให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ มิติเป็นศูนย์หรือลดผลกระทบด้านสุขภาพ
สิ่งแวดล้อมและสังคม จากการดำ เนินงานน้อยที่สุด เพื่อให้ชุมชนรอบข้าง
ซึ่งบริษัทได้มีการอบรมพนักงานเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและได้จัดโครงการต่างๆเพื่อให้พนักงานอยู่อย่างมีความไว้วางใจกันและกัน
พนักงานมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมและมุ่งมั่นต่อการพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในการบริหารงานส่วนองค์การได้มีงานด้านบัญชี ซึ่งการรักษาสิ่งแวดล้อมของโรงงานมีความสัมพันธ์กับระบบบัญชี
โดยการปรังปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อม การจัดการมลภาวะ ทางน้ำ ทางอากาศ
ที่โรงงานได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้น
มีค่าใช้จ่ายที่ใช้ดำเนินกิจกรรมตามโครงการต่างๆ ที่ถือเป็นต้นทุนของกิจการ
โดยมีการเปิดเผยข้อมูลตามกำหนดรายงานความยั่งยืน ซึ่งบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์
จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการในทุกๆปี ต่อเนื่องกันมา
และจะมีการพัฒนาต่อไปเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเพื่อเป็นผู้นำในการผลิต PVC
รางวัล และเกียรติคุณ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
องค์ประกอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม, 20 สิงหาคม
2557, http://stcenvironment.igetweb.com/articles/423500/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A.html
แนวทางการบริหารอย่างยั่งยืน,
21 สิงหาคม 2557, http://www.thaiplastic.co.th/TPC/Sustain/Management.aspx
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม,
21 สิงหาคม 2557, http://www.thaiplastic.co.th/TPC/Sustain/Environment.aspx
สถิติเพื่อคุณภาพชีวิต,
23 สิงหาคม 2557, http://www.thaiplastic.co.th/TPC/Sustain/Statistics.aspx
รายงาน
เรื่อง พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535
บริษัท
ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
จัดทำโดย
นางสาว
จิรารัตน์ ไม้ไหว รหัสนิสิต 5430160121
นางสาว
ชนาพร คงอ้วน รหัสนิสิต 5430160148
นางสาว
ชิดชนก มีรัตน์ รหัสนิสิต 5430160199
นางสาว
ศุทธินี มีปัดชา รหัสนิสิต 5430160733
นางสาว
สุมิตตา โชติชนะ รหัสนิสิต 5430160857
นำเสนอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พัชนิจ เนาวพันธ์
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Environmental Management Accounting
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น