กรณีศึกษาตัวอย่าง บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน)


ตัวอย่างการนำเสนอรายงานขององค์กรที่ได้จัดทำบัญชีสิ่งแวดล้อม
>>>ข้อมูลของบริษัท
บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) เริ่มประกอบ ธุรกิจผลิตและ จำหน่ายกระดาษคราฟท์ สำหรับผลิต เป็นบรรจุภัณฑ์ กล่องลูกฟูก เมื่อปี 2530 มีโรงงานแห่งแรก (โรงงานที่ 1) ที่อำเภอ ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี กำลังการผลิต 100,000 ตัน/ปี และขยายกำลังการผลิตโรงงานที่ 2 ที่อำเภอกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ในปี 2539 กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี ทำให้ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 300,000 ตัน/ปี ซึ่งทำให้บริษัทก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์รายใหญ่รายหนึ่งของเมืองไทย
โดยโรงงานที่ 2 ปราจีนบุรี ได้เลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตกระดาษ คราฟท์4 ชั้น จาก Metso ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ประกอบกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ควบคุมคุณภาพอัตโนมัติตลอดการผลิต (Quality Control System) ทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2000 จาก SGS (Thailand) และ United Registrar System ที่โรงงานกาญจนบุรี และปราจีนบุรี ตามลำดับ
นอกจากนี้ บริษัทฯได้ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการผลิตกระดาษคราฟท์ โดยเลือกใช้ระบบบำบัดน้ำที่ใช้แล้ว แบบชีวภาพในระบบ Activated Sludge ของ Ahlstrom Aquaflow ประเทศฟินแลนด์ หนึ่งในเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพสูงสุด ตามมาตรฐานก่อนปล่อยกลับแม่น้ำตามเดิม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จาก United Registrar System ที่โรงงานปราจีนบุรี
หลักทรัพย์ของบริษัท ได้รับการจดทะเบียนภูมิภาค ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2539 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 บริษัทมี ทุนจดทะเบียน 3,583,887,210 บาท เป็นหุ้นสามัญ 358,388,721 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เรียกชำระแล้ว 3,582,537,210 บาท กำลังการผลิตกระดาษคราฟท์ สำหรับบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก 300,000 ตัน/ปี ใช้เทคโนโลยีการผลิตกระดาษคราฟท์ 4 ชั้นที่ทัน สมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียจาก Metso ประเทศฟินแลนด์ ระบบควบคุมคุณภาพอัตโนมัติตลอดการผลิต



วิสัยทัศน์
เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกระดาษบรรจุภัณฑ์ ที่มีนวัตกรรมที่ลูกค้าเลือกสรร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า



ภารกิจ
 

-   เป็นผู้นำและผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์คุณภาพที่มีนวัตกรรมที่ลูกค้าเลือกสรร
-                       -   ให้บริการแก่ลูกค้าด้วยมาตรฐานคุณภาพสูงสุด

-  สร้างคุณค่าและการเจริญเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กับผู้ถือหุ้นพรอ้มทั้งเป็นบริษัทที่ได้รับความชื่นชมจากผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้อง               
-   พัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง 
-                       -   ดำเนินการอย่างจริงจังกับการจัดการด้าน ความปลอดภัยและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ป   ประวัติความเป็นมา  
บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) เริ่มประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระดาษคราฟท์สำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องลูกฟูก เมื่อปี 2530 โดยมีโรงงานแห่งแรก (โรงงานที่ 1) ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี หลักทรัพย์ของบริษัทได้รับการจดทะเบียนภูมิภาคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2539 โดยในปี 2539 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อขยายธุรกิจโดยเพิ่ม เครื่องจักรผลิตกระดาษอีก 1 ระบบ (โรงงานที่ 2) ที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี  ซึ่งเครื่องจักรใหม่นี้มีกำลังการผลิตสูงสุด 175,000 ตันต่อปี   และโรงงานที่ 2  ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2540  ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ 1204/2540 โดยมีสิทธิ ประโยชน์ด้านการยกเว้นและลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบและวัสดุจำเป็น และการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล  
ในปี 2540 กองทุนต่างประเทศ คือ Asia Pacific Growth Fund II, L.P. ซึ่งเป็นกองทุน สัญชาติอเมริกันเข้าถือหุ้นในบริษัทในสัดส่วนร้อยละ 40  และได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็นร้อยละ 56 ในปี 2542  จึงทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัท (คือ กลุ่มตระกูลเกียรติมงคลเลิศ)  เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมร้อยละ 20.13 เป็นร้อยละ 7.46 ในปี 2545 



ในปี 2546 บริษัทได้จัดสรรและจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 100,000,000 หุ้น ในราคา หุ้นละ 10 บาท  รวมเป็นจำนวนเงิน 1,000,000,000 บาท ให้แก่บริษัทเยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน)) เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ สถาบันการเงินตามที่ตกลงกันในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เป็นผล ให้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2546 บริษัท เยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน))  เข้าถือหุ้นในบริษัทในสัดส่วนร้อยละ 40  และได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น เป็นร้อยละ 49.99 ณ สิ้นปี 2546 
ในปี 2547 บริษัทได้จัดสรรและจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 100,000,000 หุ้น ในราคา หุ้นละ 11.75 บาท  รวมเป็นจำนวนเงิน 1,175,000,000 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนหุ้นที่ถือ และให้ สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมทุกรายซื้อหุ้นนอกจากสิทธิได้ในกรณีที่มีหุ้นเหลือ โดยการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนในส่วนที่ เหลือจะเป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ได้มีการแสดงความจำนงซื้อนอกเหนือสิทธิที่ได้รับการจัดสรร ตามส่วน  วัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุนครั้งนี้เพื่อนชำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนไปจัดซื้ออุปกรณ์ในโครงการ โรงงานผลิตไอน้ำและกระแสไฟฟ้า (The Co-Generation Plant Project) สำหรับโรงงานผลิตกระดาษ คราฟท์ของบริษัทที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นผลให้สัดส่วนการถือหุ้นบริษัทเยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัทเอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน))  เพิ่มเป็นร้อยละ 56.58 ณ สิ้นปี 2547 
ในปี 2548 โครงการโรงงานผลิตไอน้ำและกระแสไฟฟ้า (The Co-Generation Plant Project) ที่จังหวัดปราจีนบุรีได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 22 กันยายน2548 ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ 1881(2)/2548 โดยได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามาและภาษีเงินได้นิติบุคคล  นอกจากนี้ บริษัทเยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน))   มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทเพิ่มเป็นร้อยละ 64.85 ณ สิ้นปี 2548     
ในปี 2549 โรงงานผลิตไอน้ำและกระแสไฟฟ้า (The Co-Generation Plant) ที่จังหวัด ปราจีนบุรี สามารถเดินเครื่องใช้งานได้จริง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549  และบริษัท เยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน)  (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัทเอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน))  มีสัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัทเพิ่มเป็นร้อยละ 70.74 ณ สิ้นปี 2549  
ในปี 2556 โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่จังหวัดปราจีนบุรีได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2556  ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ 9015(2)/2556 โดยได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามา และให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม รวมกันไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าเงินลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้านสิ่งแวดล้อม โดยไม่ รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนมีกำหนดเวลาแปดปี นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังจากได้รับการส่งเสริม 

ณ สิ้นปี 2556 บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทเพิ่ม เป็นร้อยละ 86.31

ประกาศนียบัตร

ด้วยการเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยจาก Metso ประเทศฟินแลนด์ และใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมคุณภาพแบบอัตโนมัติ Quality Control System(QCS) ทำให้มั่นใจ ได้ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัท ไทยเคน เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) มีคุณภาพสูงและเป็นสม่ำเสมอ โดยบริษัทฯ ได้รับการรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (มอก.) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2535 ทั้งประเภทกระดาษผิวกล่อง (มอก.๑๗๐-๒๕๒๙) คุณภาพชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 (มอก.๓๒๑-๒๕๓๐)รวมทั้งกระดาษทำลอนลูกฟูก นอกจากนี้บริษัทฯ ยังตระหนักถึงการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานฉลากเขียวทั้งประเภทกระดาษผิวกล่อง และกระดาษทำลอนลูกฟูก ในปี 2551




Quality Control System
-         ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2000 จาก SGS Thailand ในโรงงานที่ 1 และ ISO 9001: 2000 จาก United Registrar System ในโรงงานที่ 2
-         โรงงาน 1 กาญจนบุรี ได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และ TIS18001 จาก SGS Thailand
-         โรงงาน 2 ปราจีนบุรี ได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จาก United Registrar System


แผนการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ไทยเคนเปเปอร์ดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของเอสซีจีและเอสซีจี เปเปอร์และจากการประเมินผลการดำเนินงานพบว่าแผนงานส่วนใหญ่ที่ถึงแม้จะตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปัจจุบันได้เพียงพอ ความต่อเนื่องของโครงการที่จะต้องก้าวต่อไปเพื่อรักษาความเป็นองค์กรต้นแบบยังต้องการความเป็นผู้นำในกระบวนการผลิตที่ดีที่สุด (Enrich to be best in class) และการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Enlarge to supply chain) โดยยึดถือปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอน 4 Stages of SCGSD Pathway และประสานร่วมในการวางแผนกิจกรรมกับกลุ่มเอสซีจี เปเปอร์ มาโดยตลอด


4 ขั้นตอนสำคัญที่นำไปสู่การรักษาความเป็นองค์กรต้นแบบด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (4 Stages of SCGSD Pathway)
(1) ดำเนินงานกระบวนการผลิตด้วยมาตรฐานระดับโลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (World class operation , Green manufacturing)                  
(2) สร้างความเข้มแข็งให้กับคู่ค้าและคู่ธุรกิจให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD upstream     supply chain)                    
(3) สร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างยั่งยืน (SD downstream supply chain)                   
(4) ส่งเสริมเผยแพร่แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนแม้ไม่มีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์โดยตรงเพื่อร่วมสร้างสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration)

แนวทางความยั่งยืน
การดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีส่วนสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และเป็นสุข รวมทั้งสามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้น และสถาบันการลงทุนว่า ธุรกิจนั้นสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

>>> ลักษณะและข้อมูลที่นำเสนอ
ด้านสิ่งแวดล้อม  บริษัทมุ่งมั่นที่จะดูแลรักษาสภาพแวดล้อมตามแนวทาง 3Rs  ( Reuse , Reduce/Recycle , Replenish)โดยบริษัทได้ยึดถือเป็นแนวทางดำเนินงานนับตั้งแต่การออกแบบโรงงานการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบริหารจัดการอย่างเป็นระบบทั้งในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการตลอดจนฟื้นฟูและปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติเสริมสร้างความรู้ ปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมให้พนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ด้านสังคมและชุมชน  บริษัทสนับสนุนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพของสังคมด้านต่างๆอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับท้องถิ่นที่บริษัทตั้งโรงงานอยู่ เช่น การสนับสนุนด้านการศึกษาและการบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่องรวมทั้งการบรรเทาสาธารณภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤตอุทกภัยในเขตจังหวัดปราจีนบุรีในปี2556

>>> วิธีการนำเสนอ
พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง      ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องต้องดำเนินธุรกิจโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงานแม้ว่าการดำเนินธุรกิจจะไม่ได้รับการควบคุมให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพิธีสารเกียวโต แต่เพื่อลด หลีกเลี่ยงความเสี่ยงและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศไทยเคนเปเปอร์จึงกำหนดกลยุทย์และดำเนินโครงการต่างๆดังนี้        (1) กำหนดดัชนีชี้วัดและเป้าหมายการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแผนงานประจำปี
(2) กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อยร้อยละ 5ภายในปี 2563 จากปีฐานหรือปี 2550  
(3) กำหนดแผนจัดทำบัญชีและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางการรายงานของWBCSD ให้แล้วเสร็จภายในปี 2557
(4) วิจัยและพัฒนาสินค้า บริการทั่วไปให้เป็นสินค้าบริการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(5) กำหนดแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกและลดการใช้พลังงานด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลติปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการใช้เชื้อเพลิงทดแทนและสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคให้มีส่วนร่วมในการใช้สินค้า บริการดังกล่าว
ไทยเคนเปเปอร์ได้วิเคราะห์แหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่าก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ประมาณร้อยละ95 เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต และร้อยละ5 เกิดจากการซื้อพลังงานภายนอกเข้ามาใช้ในกระบวนผลิต ดังนั้นไทยเคนเปเปอร์จึงได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีเพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดการใช้พลังงานแล้วยังจะช่วยให้การใช้พลังงานโดยรวมของไทยเคนเปเปอร์ลดลงด้วยไทยเคนเปเปอร์มีการดำเนินงานเพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจก 

การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
การจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไทยเคนเปเปอร์มีการจัดทำนโยบายการจัดซื้อผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี2547และได้นำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยพิจารณาครอบคลมุตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มจากกลุ่มวัสดุสนับสนุนการผลิตจนปัจจุบันได้มีการขยายการจัดซื้อไปยังวัสดุที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตทั้งวัตถุดิบวัสดุสนับสนุนการผลิตและวัสดุอะไหล่รวม60ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังได้ขยายผลเพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของคู่ค้าผ่านโครงการGreening the Supply Chain เพื่อยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมของคู่ค้าไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่การปฏิบัติตามกฎหมาย การใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าการควบคุมกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการของเสียตลอดจนพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่กำหนดในปี2556
                สภาวะการเปลี่ยนแปลงต่างๆของโลกในปัจจุบัน มีหลายปัจจัยที่ไทยเคนเปเปอร์ต้องเผชิโดยเฉพาะ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ไทยเคนเปเปอร์ จึงตระหนักถึงการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดลดผลกระทบตั้งแต่ต้นทางด้วยการนำแนวคิดการประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์มาประยุกต์ใช้นอกจากจะเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตแล้วยังแสดงถึงค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าและบริการอีกด้วย นอกจากนี้ไทยเคนเปเปอร์ มีคณะทำงานGreen Procurement และคณะทำงานจัดซื้อที่ช่วยสนับสนุนการคัดเลือกตั้งแต่วัตถุดิบ วัสดุสนับสนุนการผลิต อะไหล่และวัสดุทั่วไปที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในปี2556 ไทยเคนเปเปอร์ทั้งโรงงานกาญจนบุรีและโรงงานปราจีนบุรีสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ไทยเคนเปเปอร์ได้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องโดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ อาทิเยื่อและเศษกระดาษ       FSC (Forest Stewardship Council) เพื่อนำไปสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์กระดาษที่มีคุณภาพซึ่งได้จากสวนป่าและโรงอัดเศษกระดาษที่มีระบบการจัดการที่ให้ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง


การจัดการน้ำ      
ไทยเคนเปเปอร์ให้ความสำคัญกับการควบคุมดูแลและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำจากกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คุณภาพน้ำเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่าง เคร่งครัดและไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ ของชุมชนโดยมีการเฝ้าระวังผ่านอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพ น้ำอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแหล่งน้ำใช้ผิวดินมีการติดตามสถานการณ์ของแหล่งน้ำตลอดเวลาและเตรียมความพร้อมรับวิกฤตภัยแล้งและอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการบริหาร จัดการความเสี่ยงโดยเพิ่มบ่อสำรองน้ำดิบและติดตั้งเครื่อง สูบน้ำเพื่อเก็บกักน้ำผิวดินในฤดูน้ำหลากไว้ใช้งานในฤดูแล้งถึงแม้ไทยเคนเปเปอร์จะนำน้ำจากแหล่งต่างๆมาใช้เฉลี่ยทั้ง ปีน้อยกว่าร้อยละ5 ของปริมาณน้ำในแหล่งนั้นๆและไม่มี แหล่งน้ำหรือชุมชนใดได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำอย่างมีนัยสำคัญก็ตามแต่ไทยเคนเปเปอร์ยังคงจัดทำโครงการเพื่อ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำทั้งใน ภาวะน้ำขาด น้ำเกิน น้ำเสีย ร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย โดยรอบโรงงานเพื่อคืนความสมดุลให้กับระบบนิเวศสร้าง คุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างความสุขสู่สังคมอย่างยั่งยืนอาทิ โครงการรักษ์น้ำเพื่ออนาคตของชุมชนชุกโดน จ.กาญจนบุรีแก้ปัญหาน้ำเสียแม่น้ำแม่กลอง โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วมใน จ.ปราจีนบุรีและทำโครงการร่วมกับ เครือข่ายรักษ์พระปรงช่วยฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่ง น้ำและจากการดำเนินโครงการต่างๆที่ผ่านมา   พบว่าแหล่ง น้ำมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ชุมชนมีแหล่งน้ำใช้อุปโภคบริโภคและมีความเป็นอยู่ดีขึ้นเนื่องจากมีรายได้จากการทำเกษตรกรรมและอาชีพเสริมอื่นๆจากการดำเนินงานอย่าง เป็นระบบข้างต้นจึงมั่นใจได้ว่าไทยเคนเปเปอร์จะไม่ได้รับ ผลกระทบจากความเสี่ยงเรื่องการบริหารจัดการน้ำและยัง สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนโดยไม่สร้าง ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ไทยเคนเปเปอร์ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกกระบวนการทำงานโดยครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำรวมทั้งมีแผนงานและโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการ 3Rs ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยรอบลดภาวการณ์ขาดแคลนน้ำสำหรับกระบวนการผลิต ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ ในแต่ละปีไทยเคนเปเปอร์ได้นำน้ำจากแหล่งน้ำบนดินมาใช้ใน กระบวนการผลติมากกว่า 4 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปี 2556 มีสัดส่วนการนำไปใช้น้ำในกระบวนการผลิตกระดาษร้อยละ 78 ของปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด และได้ดำเนินโครงการเพื่อ ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต อาทิ
1. ติดตั้งเครื่องจักรสำหรับกรองน้ำในกระบวนการผลิต หรือ White Water Filtration เพื่อนำน้ำกลับไปใช้ใหม่ ในโรงงานปราจีนบุรีซึ่งช่วยลดการใช้น้ำได้ถึง 0.9 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี


2. นำน้ำจากระบบบำบัดขั้นต้น (Effluent Pre-Treatment Plant) ไปใช้ในระบบทำความสะอาดชุดเดินแผ่นในกระบวนการผลิตกระดาษของโรงงานกาญจนบุรี ซึ่งช่วยลดการใช้น้ำได้ 0.1 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

การจัดการคุณภาพอากาศ
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นโรงงานสะอาดที่อยู่ร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุขไทยเคนเปเปอร์จึงได้กำหนดเป้าหมายต่างๆที่ เข้มงวดเทียบเท่ากับบริษัทระดับสากล (World Class) โดยนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมนอกจาก การติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตให้อยู่ในระดับที่เทียบเท่ากับหรือดีกว่ามาตรฐานที่กำหนดแล้ว          ยังมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ทั้งที่ระบายออกจากปล่อง โรงงานคุณภาพอากาศในบริเวณชุมชนรอบโรงงานและคุณภาพอากาศในสถานที่ทำงานพร้อมทั้งติดตั้งระบบตรวจสอบ คุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ(Continuous Emission Monitoring Systems CEMS) เพื่อเฝ้าระวังการดำเนินงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ออกไซด์ของไนโตรเจน
การบำรุงรักษาทวีผล (TPM) เป็นระบบที่ไทยเคนเปเปอร์ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพของกระบวนการ ผลิตควบคู่ไปกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม โดยเฉพาะการวางแผน การผลิต การบำรุงรักษาและการออกแบบเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเผาไหม้ให้คงที่สม่ำเสมอ และอยู่ในช่วงที่ไม่ เสริมให้เกิดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงมาก หรือเมื่อมีการเผาไหม้สมบูรณ์ภายใต้ สภาวะที่มีก๊าซออกซิเจนปริมาณมาก ซึ่งช่วยลดการปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจนลงได้ถึงร้อยละ3

ออกไซด์ของซัลเฟอร์
ไทยเคนเปเปอร์ควบคุมการเกิดออกไซด์ของซัลเฟอร์ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดซื้อ โดยควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ในเชื้อเพลิงที่จะ นำมาใช้ในกระบวนการผลิตพลังงาน โดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) ควบคู่ไปกับการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ อาทิ ได้ติดตั้งเครื่องจักรที่ดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วยการป้อนปูนขาว และเข้าสู้ห้องเผาไหม้เพื่อดักจับก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ก่อนปล่อยไอเสียสู่บรรยากาศ
ฝุ่น
ไทยเคนเปเปอร์ลดการปล่อยฝุ่นที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ อาทิ            
การกองเก็บวัตถุดิบและเชื้อเพลิงเพื่อลดการเกิดฝุ่นด้วยการสร้างยุ้งเก็บวัตถุดิบและระบบลำเลียงวัตถุดิบแบบปิด เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นสำหรับการกองเก็บถ่านหินมีระบบการรดน้ำตั้งแต่จุดรับถ่านหิน การโปรยกอง และบริเวณเส้นทางลำเลียงอย่างสม่ำเสมอนอกจากนี้ยังได้ศึกษาทิศทางความเร็วลม ลักษณะที่ตั้งของชุมชนโดยรอบเพื่อปลูกต้นไม้รอบพื้นที่เพื่อเป็นแนวกันชน(Buffer Zone)ซึ่งเป็นการปรับทัศนียภาพให้สวยงามด้วย         
การติดตั้งเครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) และเครื่องดักฝุ่นแบบถุงกรอ
(Bag Filter)ในทุกจุดของกระบวนการผลิตไอน้ำและไฟฟ้าและยังมีแผนการบำรุงรักษาแบบป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อให้เครื่องดังกล่าวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา           
มีรถดูดฝุ่นในพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายสู่ชุมชนโดยรอบโรงงาน
สารทำลายชั้นโอโซน
นับตั้งแต่ปี 2532 ที่ประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ไทยเคนเปเปอร์จึงได้ยกเลิกการใช้สารทำลาย ชั้นโอโซนในการผลิตสินค้าใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2552 และได้สำรวจอุปกรณ์เครื่องจักรเดิมที่มีการใช้สารทำลายชั้นโอโซน เพื่อทยอยเปลี่ยนอุปกรณ์ไปเป็นแบบที่ไม่ใช้สารประกอบฮาลอนและคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2560

การจัดการของเสียอุตสาหกรรม
นับจากปี  2549 เอสซีจีได้กำหนดนโยบาย Zero Waste to Landfill หรือการไม่นำของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตไป ฝังกลบภายในปี 2555 เพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการดูแลผลกระทบต่อระบบ นิเวศระยะยาวสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดการบริหารจักการอย่างยั่งยืนไทยเคนเปเปอร์ได้พยายามดำเนินการด้วยการจัดทำแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวโดยนำหลัก 3R มาใช้เป็นพื้นฐานในการจัดการของเสียอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบมีการวางแผนและปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เหลือของเสียที่ต้องส่งไปกำจัดในขั้นตอนสุดท้ายน้อยที่สุดทำให้ในปีที่ผ่านมาไทยเคนเปเปอร์บรรลุ เป้าหมายดังกล่าวไม่มีของเสียที่ต้องส่งกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบเลย
จากความมุ่งมั่นทำให้ไทยเคนเปเปอร์ ได้รับรางวัลการจัดการของเสียภายในโรงงานที่ดีตามหลัก 3R ในปี 2555 จาก กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่เราได้ทุ่มเทในการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรม ตัวอย่างการนำของเสียมาใช้ประโยชน์ อาทิ   
การนำเศษพลาสติกใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในหม้อไอน้ำช่วยลดปริมาณการใช้ถ่านหิน              
การนำเถ้าถ่านหินจากหม้อไอน้ำเป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนซิเมนต์ และนำมาใช้ผลิตอิฐบล๊อค
การนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำทิ้งมาหมักและเติมธาตุอาหารจนกลายเป็นสารปรับปรุงดิน
ทั้งนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องของสภาพแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อาทิ ในฤดูฝนกระบวนการหมักจะไม่สามารถใช้งานได้จึงมีโครงการติดตั้งเครื่องบีบและเครื่องอบแห้งกากตะกอนเพิ่มเติมเพื่อให้นำกากตะกอนส่วนที่เหลือไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อไอน้ำโดยโครงการนี้จะติดตั้งแล้วเสร็จในเดือน มีนาคม 2557

การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
การพัฒนาชุมชนและสังคม
ไทยเคนเปเปอร์ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายและถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมตามอุดมการณ์ในการดำเนินงานของเอสซีจีที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจากรุ่นสู่รุ่นโดยมุ่งสร้างสรรค์ความเจริญอย่างยั่งยืนในทุกชุมชนที่เข้าไปดำเนินงานรวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรอื่นๆ  
ตลอดระยะเวลา 26 ปีที่ผ่านมา ไทยเคนเปเปอร์ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของสังคม เริ่มจากการบริจาคการกุศลพัฒนาสู่การเข้าไปมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็นของชุมชน สังคม เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง เช่นโครงการปันโอกาสวาดอนาคตและกิจกรรมจิตอาสาของพนักงาน รวมถึงการผนวกความรู้ความเชี่ยวชาญขององค์กรเข้ากับศักยภาพของชุมชนเพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอด การจัดกิจกรรมต่างๆซึ่งช่วยสนับสนุนให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างเข้มแข็ง สามารถยืนหยัดและพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน อันได้แก่ โครงการเอสซีจีรักษ์น้ำเพื่ออนาคต   นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หลากหลายช่วยกันพัฒนาศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อื่น รวมทั้งร่วมดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ต่อไปดั่งโครงการต่างๆมากมาย ดังต่อไปนี้
โครงการชุมชนท่าน้ำชุกโดนเป็นโครงการที่ไทยเคนเปเปอร์ร่วมกับชาวชุมชนท่าน้ำชุกโดนอ.เมือง จ.กาญจนบุรี เข้าไปดำเนินการโดยพนักงานและสมาชิกชุมชน ได้ร่วมกันพัฒนายกระดับชุมชนมาอย่างต่อเนื่องจากเดิมเป็นชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอาศัยอยู่กับน้ำเสียไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยจนมาถึงในปัจจุบันไม่มีน้ำเสียปล่อยลงสู่แม่น้ำ แต่กลับกลายเป็นมีหาดทรายที่สวยงามมีน้ำที่ใสสะอาดชุมชนสามารถเพิ่มรายได้และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนมาจนปัจจุบัน การดำเนินงานโครงการของชุมชนท่าน้ำชุกโดนปี 2550-2556 การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
โครงการบำบัดน้ำเสียชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำแม่กลองปี2550ได้ทำโครงการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำแม่กลอง  โดยได้งบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิSCG 100,000 บาท เพื่อแก้สภาพปัญหาชุมชนทิ้งเศษอาหารลงแม่น้ำแก้ไขโดยการทำถังดักไขมันกรองน้ำเสียและเศษอาหารวิธีการเดิมน้ำทิ้งจาก ครัวเรือนชาวบ้านทิ้งผ่านร่องน้ำดินลงสู่แม่น้ำแม่กลองโดยตรง ไม่มีการกรองปรับปรุงใหม่โดยน้ำทิ้งจากครัวเรือนจะต้องกรองผ่านถังดักไขมันแบบครัวเรือนและผ่านบ่อดักไขมันรวมก่อนที่จะปล่อยลงสู่แม่น้ำเป็นผลสำเร็จทำให้ได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด
โครงการแก๊สชีวภาพพลังงานทดแทนปี 2551 ได้ทำโครงการพลังงานทดแทนแก๊สชีวภาพโดยได้งบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิSCG 100,000บาท   ต่อเนื่องมาจาก ปี 2550 เพราะว่าปี2550เราได้คัดแยกขยะเปียกโดยเฉพาะเศษอาหาร ซึ่งเดิมชุมชนไม่ได้ทำการคัดแยกทิ้งลงแม่น้ำโดยตรงทำให้มีเศษอาหารเป็นจำนวนมากจึงนำมาหมักเป็นแก๊สชีวภาพและยังได้ทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำไปบำบัดน้ำเสียในบ่อดักไขมันนำเศษอาหารจากครัวเรือนที่ได้คัดแยกจากถังดักไขมันซึ่งเดิมทิ้งลงแม่น้ำมาหมักเป็นแก๊สชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือนเป็นผลสำเร็จทำให้ได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นระดับประเทศ
โครงการแปลงผักลอยน้ำปี 2552 ทำโครงการแปลงผักลอยน้ำ โดยได้งบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิSCG 35,000บาท เนื่องด้วยชุมชนท่าน้ำชุกโดนเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมน้ำมีวัชพืชเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะผักตบชวาและขยะประมาณ5ไร่ ทำให้ไม่สามารถใช้น้ำอุปโภคและบริโภคได้ เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียเราจึงใช้แนวคิดโครงการพระราชดำริมาแก้ไขปัญหาทำเป็นแปลงผักลอยน้ำสามารถแก้ปัญหาได้หมดและยังได้ผักที่ปลูกบนแปลงผักลอยน้ำไว้ปรุงอาหารในครัวเรือนอีกด้วยเป็นผลสำเร็จทำให้ได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นโครงการรักแม่ รักษ์แม่น้ำ
โครงการขุดคลองไส้ไก่ปี 2553 ได้ทำโครงการขุดคลองไส้ไก่ชะลอน้ำเสียโดยได้งบสนับสนุนจากมูลนิธิSCG 50,000บาท เนื่องด้วยดร.เกษม จันท์แก้ว ได้มาเยี่ยมชมโครงการที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดนและท่านให้แนวคิดทำคลองไส้ไก่เพื่อเติมอากาศและชะลอน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพน้ำที่บำบัดแล้วยังไม่สะอาดเพียงพอเป็นผลสำเร็จทำให้ได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นโครงการพระราชดำริ
โครงการบำบัดน้ำเสียบึงประดิษฐ์ปี 2554 ได้ทำโครงการบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์โดยได้งบสนับสนุนจากสถาบันน้ำโครงการพระราชดำริ 1,300,000 บาท เนื่องจากสภาพปัญหาบำบัดน้ำเสียได้ไม่ทุกครัวเรือนซึ่งได้ทำการถมที่ดินวางท่อรวบรวมน้ำเสียจากทุกครัวเรือนและได้ทำบ่อบำบัดโดยใช้พืชบำบัดเดิมเราบำบัดน้ำเสียได้80ครัวเรือน     ณ ปัจจุบันเพิ่มเป็น130ครัวเรือนผลสำเร็จทำให้ได้รับรางวัล CSR O.E. Award ระดับแพลตินัมของSCG
โครงการถนนคอนกรีตเถ้าถ่านหินปี2555 ได้ทำโครงการถนนคอนกรีตจากเถ้าถ่านหินโดยได้งบสนับสนุนจากมูลนิธิSCG    100,000 บาท เนื่องจากสภาพปัญหามีการรุกล้ำพื้นที่ที่ชุมชนถมดินไว้เพื่อทำโครงการบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ โดยทำถนนคอนกรีตจากเถ้าถ่านหินป้องกัน การรุกล้ำผลสำเร็จทำให้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหาดทรายทะเลน้ำจืดและเป็นสถานที่เรียนรู้ศึกษาดูงานให้กับสถาบันการศึกษาองค์กรและหน่วยงานต่างๆมาจนปัจจุบัน
โครงการเลิกการใช้โฟมบริเวณหาดทรายชุกโดนปี2556 ได้ทำโครงการโดยได้งบสนับสนุนจากมูลนิธิSCG 100,000บาท เนื่องด้วยจากการที่มีผู้มาพักผ่อนท่องเที่ยวที่หาดทรายชุกโดนเป็นจำนวนมากทำให้มีขยะเปียกและขยะจากการใช้ภาชนะที่ทำด้วยโฟมเป็นจำนวนมาก เราได้ให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการแยกขยะเปียกและยกเลิกภาชนะที่ทำจากโฟมที่หาดทรายชุกโดนโดยเปลี่ยนเป็นภาชนะทำจากกระเบื้องเคลือบที่สามารถชำระล้างแล้วนำกลับมาใช้ได้ใหม่

>>> ข้อวิเคราะห์การนำเสน
กระบวนการผลิตกระดาษคราฟท์ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  และบริษัทไม่เคย มีประวัติการกระทำความผลิตเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในทางตรงกันข้าม บริษัทมีความมุ่งมั่นในการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงรักษาและสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีภายในองค์กร ชุมชนและสังคม  ตามมาตรฐานระบบการรักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นไรตามกฎหมาย   มุ่งปรับปรุง และลดปริมาณของเสียและมลพิษ เพื่อร้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  บริษัทมีการกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการพัฒนานโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ


รายงานประจำปีของบริษัทที่เกี่ยวกับสิ่งแวดและข้อกำหนดรายงานความยั่งยืนของกลต

>>>เปรียบเทียบกับข้อกำหนดรายงานความยั่งยืนของ กลต.
รายงานความยั่งยืน (sustainability report) ตามรูปแบบที่สากลยอมรับและควรครอบคลุมเนื้อหาในหัวข้อดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
การดำเนินงานด้านธุรกิจ กล่าวถึง
วิสัยทัศน์
กลยุทธ์ของธุรกิจที่สะท้อนหลักการและแนวทางปฏิบัติตามหลักการ CSR
โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ผลการดำเนินงาน
การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย กล่าวถึง
นโยบายการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
กระบวนการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูธรรมชาติ
กระบวนการจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต
ลักษณะของผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานด้านสังคม กล่าวถึง
นโยบายการจัดการด้านแรงงานและพนักงาน
สวัสดิภาพในการทำงานของพนักงาน
การพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน
การส่งเสริมและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรอบพื้นที่ตั้งของธุรกิจ

ตารางเปรียบเทียบการดำเนินงานตามโครงการในด้านต่างๆของบริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน)
















































>>>ตัวอย่างรายงาน








































































































(ที่มา :รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมปี 2556 บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัดหน้า33-35)

>>>วิเคราะห์ ต่อองค์การ และระบบบัญชีบัญชีสิ่งแวดล้อมขององค์การ
                บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดรายงานความยั่งยืนของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) โดยบริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการมุ่งเน้นการบริหารงานภายใต้หลักบรรษัทภิบาลและความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่เน้นการสรรค์สร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าบริการที่เป็นเลิศปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้นนักลงทุนลูกค้าพนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่องไทยเคนได้นำแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นในการสร้างความเข้มแข็งให้สังคมและระบบนิเวศน์ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทมีนโยบายชัดเจนในการดูแลรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมรวมถึงชุมชนรอบโรงงานด้วยการบริหารจัดการกระบวนการผลิตให้มุ่งไปสู่มาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัดสร้างจิตสำนึกในการรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่พนักงานทุกระดับอีกทั้งยังให้การสนับสนุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบโรงงานเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอาทิการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ำพระปรงสมาชิกโครงการไตรภาคีร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมโรงงานและชุมชนริมคลองพระปรงจัดทำโครงการเปิดบ้าน (Open House) เป็นประจำทุกปีโดยให้ชุมชนรอบโรงงานอาทิเช่นโรงเรียนหน่วยงานราชการผู้สื่อข่าวและตัวแทนโรงงานอุตสาหกรรมใกล้เคียงเข้าเยี่ยมชมโรงงานกระบวนการผลิตและการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงานการมอบทุนการศึกษาโครงการสาธารณกุศลและการฝึกอาชีพให้ชุมชนรอบโรงงานเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.  2556.  วิธีจัดทำ รายงานแห่งความยั่งยืน.  ค้นเมื่อ สิงหาคม 24 ,2557, จาก http://www.csri.or.th.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.  2535.  พระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535.  ค้นเมื่อ สิงหาคม 20 ,2557,  จาก  http://www.acfs.go.th/km/download/act_factory_2535.pdf

บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน). จาก http://www.thaicane.com/

รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) จาก http://www.thaicane.com/test/index.php?option=com_content&task=view&id=237&Itemid=99999999



รายงาน
วิชา  Environmental Management Accounting (03760433)

เสนอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์  พัชนิจ  เนาวพันธ์

จัดทำโดย
1.             นางสาวจุฑามาศ            ใสสด                                 รหัสนิสิต  5430160130
2.             นางสาวดวงกมล            แสงทินกร                         รหัสนิสิต  5430160288
3.             นางสาวธนัชชา              เพ็ญสันต์                          รหัสนิสิต  5430160351
4.             นายธีรัตม์                        วิริยะกมลพันธ์                 รหัสนิสิต  5430160431
5.             นางสาวหทัยรัตน์           เหล่าสำราญ                     รหัสนิสิต  5430160881
หมู่เรียน 850

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อม
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น