โครงการด้านเหมืองแร่และการพัฒนาปิโตรเลียม



1. เหมืองแร่ถ่านหิน
2. เหมืองแร่โพแทช
3. เหมืองแร่เกลือหิน
4. เหมืองแรหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซิเมนต์
5. เหมืองแร่โลหะทุกชนิด
6. โครงการเหมืองแร่ใต้ดิน
7. โครงการเหมืองแร่ทุกชนิดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ดังต่อไปนี้
- พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1 ตามมติคณะรัฐมนตรี
- ทะเล
- ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี
- พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
- พื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แหล่งมรดกโลกที่ขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศในระยะทาง 2 กิโลเมตร
8. โครงการเหมืองแร่ที่มีการใช้วัตถุระเบิด

ขนาดเหมืองแร่ที่ต้องจัดทำ EIA
เหมืองแร่
ขนาดโครงการ
1.             เหมืองแร่ใต้ดิน  เฉพาะที่ออกแบบให้โครงสร้างมีการยุบตัวภายหลังการทำเหมืองโดยไม่มีค้ำยัน และไม่มีการใส่คืนวัสดุทดแทน เพื่อป้องกันการยุบตัว

ทุกขนาด
2.             เหมืองแร่ตะกั่ว  / เหมืองแร่สังกะสี  / เหมืองแร่โลหะอื่นที่ใช้ไซยาไนด์หรือปรอทหรือตะกั่วไนเตรต ในกระบวนการผลิตหรือเหมืองแร่โลหะอื่นที่มีอาร์เซโนไพไรต์ เป็นแร่ประกอบ

ทุกขนาด

3.             เหมืองแร่ถ่านหิน เฉพาะที่มีการลำเลียงแร่ถ่านหินออกนอกพื้นที่โครงการด้วยรถยนต์
ทุกขนาด

4.             เหมืองแร่ในทะเล
ทุกขนาด


อุตสาหกรรมถลุงแร่ / หลอมโลหะ
ขนาดโครงการ
5. อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก
ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน/วันขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป
6. อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ที่มีการผลิตถ่าน coke/มีกระบวนการ sintering
ทุกขนาด

7.  อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี
ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน /วันขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน/วันขึ้นไป
8.  อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว
ทุกขนาด
9.  อุตสาหกรรมหลอมโลหะ(ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม)
ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
10. อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว
ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 10 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการผลิต รวมกันตั้งแต่10 ตัน/วัน ขึ้นไป


การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1. ด้านคุณภาพอากาศ เสียง และแรงสั่นสะเทือน
1.1 ผลกระทบในภาพรวมด้านคุณภาพอากาศ เสียง และแรงสั่นสะเทือนของกลุ่มหมู่เหมืองและโรงโม่หิน
1.2 คุณภาพอากาศ ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านคุณภาพอากาศจะต้องมีความชัดเจน และพิจารณาเพิ่มเติมการตรวจวัดคุณภาพอากาศในสภาพปัจจุบัน
1.3 พิจารณาและระบุลักษณะของกิจกรรมโครงการและรูปแบบการใช้พื้นที่โดยรอบพื้นที่โครงการ
1.4 กรณีผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณโรงแต่งแร่/โรงโม่หินในปัจจุบันมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนด ดังนั้นจะต้องเสนอแผนการปรับปรุงโรงแต่งแร่/โรงโม่หินให้มีประสิทธิภาพ
2. ด้านอุทกวิทยาและคุณภาพน้ำ
2.1 การประเมินประสิทธิภาพและความเพียงพอของบ่อดักตะกอน  จะต้องกำหนดมาตรการจัดการน้ำที่เหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายหรือลดผลกระทบโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโลหะหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานและมีพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ และแหล่งน้ำบาดาลอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
2.2 การนำเสนอรายละเอียดการจัดการและการระบายน้ำบริเวณพื้นที่โครงการพร้อมทั้งเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านระบายน้ำจะต้องมีความชัดเจน สามารถปฏิบัติได้
2.3 พิจารณาและทบทวนความเหมาะสมของจุดเก็บตัวอย่างคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2.4 กระบวนการเกิดแร่ของโครงการมีน้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดินเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแร่ ไม่ได้เกิดจากการแปรสภาพของหินบะซอลต์ในพื้นที่โครงการ
2.5 กำหนดมาตรการให้ชัดเจน หากอนุญาตให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์จากสระกักเก็บน้ำที่จะพัฒนาจากพื้นที่ขุมเหมืองภายในพื้นที่โครงการ ภายหลังสิ้นสุดการทำเหมือง
2.6 ให้พิจารณาการกำหนดจุดติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำบาดาลโดยพิจารณาจากทิศทางการไหลของน้ำบาดาลประกอบด้วย
3. ด้านทรัพยากรดินและธรณีวิทยา
3.1 เสนอมาตรการจัดการดินภายในพื้นที่โครงการ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารโลหะหนักออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกพื้นที่โครงการให้ชัดเจน
3.2 ด้านธรณีวิทยา เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ดินในหินคลุกที่จำหน่ายแก่ผู้ซื้อ
4. ด้านการใช้ที่ดินและเกษตรกรรม
4.1 ประเมินผลกระทบโดยเปรียบเทียบการดำเนินกิจกรรมของโครงการกับการเกษตรกรรม
4.2 มาตรการในการชดเชยค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำ เหมืองเป็นมาตรการป้องกันผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณใกล้เคียงพื้นที่โครงการ โดยการเช่าที่ดินตามที่ได้ตกลงกับราษฎรเป็นรายๆ ไป เพื่อเป็นค่าเสียโอกาสในส่วนของพืชผลทางการเกษตรที่ลดต่ำลงซึ่งอาจเกิดจากกิจกรรมของโครงการ ในขณะเดียวกันราษฎรยังคงสามารถเก็บพืชผลทางการเกษตรจากที่ดินดังกล่าวได้ตามปกติ
5. ด้านสังคมและการมีส่วนร่วม
5.1 การประเมินผลกระทบทางสังคม ทบทวนการนำเสนอข้อมูลรายงานใหม่เนื่องจากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนมีความเห็นว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ในรายงานระบุว่าอาจทำให้เกิดผลกระทบ โดยสร้างความแตกแยกของชุมชนระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนโครงการ กับกลุ่มผู้คัดค้านโครงการ
5.2 ให้แสดงตำแหน่งบ้านราษฎร ที่ระบุว่า ลงในแผนที่ให้ชัดเจน พร้อมทั้งประเมินผลกระทบต่อกลุ่มบ้านดังกล่าว
5.3 มาตรการในการจัดการกรณีที่ราษฎรต้องการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงที่มีอยู่เดิม ควรมีการประสานงานผ่านผู้นำชุมชนด้วย
5.4 การประชาสัมพันธ์โครงการ ทั้งมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
5.5 การประชาสัมพันธ์โครงการ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการขอประทานบัตรของโครงการจำนวนน้อย จึงให้พิจารณาทบทวนแผนการประชาสัมพันธ์โครงการว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
6. ด้านสาธารณูปโภค
6.1 แสดงเส้นทางการขนส่งของโครงการให้เป็นไปตามสภาพที่จะดำเนินการจริงตามที่โครงการได้ชี้แจงในที่ประชุม พร้อมทั้งประเมินผลกระทบจากการใช้เส้นทางดังกล่าว
6.2 ประเมินผลกระทบจากการดำ เนินโครงการ ทั้งในระยะก่อสร้างและดำเนินการต่อแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่พาดผ่านพื้นที่โครงการและเสาไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่โครงการโดยใช้ความเห็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่โครงการชี้แจงว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบประกอบไว้ในรายงานสำหรับเป็นข้อมูลประกอบการประเมินให้ชัดเจน
6.3 แสดงรายละเอียดความสามารถในการรองรับของถนนคอนกรีต ต่อกิจกรรมการขนส่งของโครงการ ตามที่รายงานระบุว่าถนนมีความหนาเป็นพิเศษ สามารถรองรับน้ำหนักของรถบรรทุกได้
6.4 การจราจร ให้ประเมินผลกระทบด้านการจราจรบริเวณถนนทางเข้า-ออกโครงการ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้ร่วมกับราษฎรเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม พร้อมทั้งทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อถนนดังกล่าว
7. ด้านสุขภาพ
7.1 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย ให้เพิ่มเติมหัวข้อการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย
7.2 รายละเอียดการประเมินผลกระทบ พร้อมทั้งมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสุขภาพและกองทุนเฝ้าระวังภาวะสุขภาพอนามัย
7.3 การประเมินผลกระทบในภาพรวมของพื้นที่หมู่เหมืองและพื้นที่โครงการ และกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนสอดคล้องกับการประเมินดังกล่าวเพื่อยืนยันว่ากิจกรรมของโครงการไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในลักษณะสะสมหรือเพิ่มเติมโดยรวมต่อพื้นที่อ่อนไหวที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง
7.4 เสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากฝุ่นละอองจากการทำเหมืองเป็นการเฉพาะ เนื่องจาก โครงการฯ ประเมินว่าประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงมีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองในระดับที่รุนแรง รวมทั้งเสนอมาตรการติดตามตรวจสอบและกำหนดในการขนส่งแร่ของโครงการในมาตรการฯ ให้ชัดเจน เพื่อยืนยันว่าการดำเนินโครงการไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพต่อราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง
7.5 มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้พิจารณาการบริหารงบประมาณด้านสุขภาพ โดยให้กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่มีหน้าที่โดยตรงในพื้นที่โครงการ และให้เผยแพร่ผลการติดตามตรวจสอบให้กับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ (สาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล)
รายละเอียดโครงการ
1) ที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศ
อธิบายลักษณะและสภาพของพื้นที่ทั่วไป
*   ที่ตั้ง
- ระบุหมายเลขคำขอประทานบัตร ชื่อผู้ขอประทานบัตร
- ระบุพิกัดของพื้นที่ประทานบัตร โดยแสดงในแผนที่ มาตราส่วน 1:50,000
อธิบายลักษณะภูมิประเทศ โดยรอบของพื้นที่โครงการ
*   อธิบายรายละเอียดที่พบ เช่น ลักษณะพื้นที่ป่า เทือกเขา ความสูงจากอาณาเขตโดยรอบ
อธิบายการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น กิจกรรมทำเหมืองเก่าที่มีแนวถนน หรือขุมเหมืองเก่า
*   ระบุเส้นทางน้ำที่ไหลผ่านโครงการหรือใกล้เคียงในรัศมีที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ
*   อธิบายภาพประกอบลักษณะชุมชนและสภาพพื้นที่โดยรอบ ในรัศมีที่ศึกษาของพื้นที่โครงการ
2) การคมนาคมและเส้นทางขนส่งแร่
*   อธิบายเส้นทางการขนส่งแร่โดยเริ่มจากอำเภอหรือสถานที่สำคัญที่เป็นที่ตั้งของโครงการไปจนถึงพื้นที่โครงการ
*   ระบุชุมชนที่อยู่ใกล้พื้นที่โครงการระยะห่างของชุมชนกับเส้นทางขนส่งแร่ เช่น หมู่บ้าน A ห่างจากระยะทางขนส่งแร่ 0.5 กม.
3) ลักษณะธรณีวิทยา
*   ลักษณะธรณีวิทยาโดยทั่วไป ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดหิน ชั้นหิน อายุหิน ลำดับชั้นหิน และธรณีวิทยาโครงสร้าง พร้อมแผนที่ธรณีวิทยาทั่วไป มาตราส่วน 1:50,000 หรือละเอียดกว่า
*   ระบุลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ชนิดแร่ ชนิดของแหล่งแร่(Type of Deposit) และการกำเนิดแร่ (Genesis) ความสัมพันธ์กับลักษณะธรณีวิทยา หรือธรณีวิทยาโครงสร้างรูปร่างของแหล่งแร่ (Shape of Body) ขอบเขตและขนาดการแผ่กระจายของแหล่งแร่ ความกว้าง ยาว หนาความลึกของสายแร่หรือชั้นที่ให้แร่มุมเทและแนวระดับ (Dip and Strike) ของสายแร่หรือชั้นที่ให้แร่ ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) เช่น ระนาบชั้นหิน (Bedding) แนวรอยเลื่อน (Fault) ชั้นหินคดโค้ง (Fold)รอยแยกและกลุ่มของรอยแยก (Joint Set) รอยแตก (Fracture) ชนิดของแร่ที่จะทำเหมืองและการเกิดร่วมกันของแร่พลอยได้ชนิดอื่น คุณภาพหรือคุณสมบัติของเคมีและฟิสิกส์ของแร่ ระบุความสำคัญ คุณสมบัติพิเศษหรือคุณค่าทางเศรษฐกิจของแหล่งแร่ ความสมบูรณ์หรือเกรดของแร่ แสดงรายละเอียดวิธีการคำนวณปริมาณแร่สำรองและมูลค่าของแร่ทุกชนิดที่จะทำเหมือง พร้อมแผนที่แสดงลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่มาตราส่วน 1:50,000 หรือละเอียดกว่า ภาพขอบเขตและภาพตัดขวางทางธรณีวิทยา (Geological CrossSection) หรือรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อประกอบการบรรยายลักษณะต่างๆ ทางธรณีวิทยาแหล่งแร่
*   รูปธรณีควรเป็นรูปสีและให้ใช้สีและสัญลักษณ์ตามมาตรฐานของสมาคมธรณีวิทยาระหว่างประเทศ
*   การอธิบายอายุหินให้อธิบายหินแก่ที่สุดไปอ่อนที่สุด แต่ในแผนที่ธรณีวิทยาจะต้องเรียงจากหินอ่อนที่สุดไปแก่ที่สุด
*   กรณีชนิดแร่หินอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ต้องทดสอบคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของหินตามมาตรฐานการก่อสร้างของทางราชการ
4) ปริมาณสำรองทางธรณีวิทยา
อธิบายการประเมินปริมาณสำรองแหล่งแร่ภายในพื้นที่โครงการและปริมาณสำรองแร่ที่
สามารถทำเหมืองได้ (Mine able Reserve) อัตราการผลิตแร่ รวมถึงปริมาณเปลือกดินและเศษหินที่เกิดจาก
การทำเหมือง มูลค่าแหล่งแร่
5) การวางแผนและการออกแบบการทำเหมือง
*   ประมาณการใช้ประโยชน์พื้นที่โครงการ
*   ระบุเทคนิคและวิธีการทำเหมืองโดยพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่โครงการ
*   อธิบายการประเมินปริมาณของแหล่งแร่ และแสดงตารางปริมาณแร่สำรองที่สามารถ
ทำเหมืองได้บริเวณพื้นที่โครงการ
6) วิธีการทำเหมือง (Mine Operation)
*   แผนการทำเหมือง ต้องระบุแผนงานการพัฒนาหน้าเหมือง การเปิดเปลือกดินและหิน
การผลิตแร่ โดยระบุเป็นช่วงจนสิ้นสุดโครงการ พร้อมแผนที่มาตราส่วน 1:5,000 หรือใหญ่กว่าและภาพตัดขวาง
*   กรณีที่มีการใช้วัตถุระเบิด ให้ระบุรายละเอียดการใช้และเก็บวัตถุระเบิด ได้แก่ การออกแบบ
การเจาะรูระเบิด เช่น ขนาดรูเจาะระเบิด ระยะระหว่างรู (Spacing) ระยะระหว่างแถว (Burden) ความลึก
รูเจาะ (Hole Depth) ชนิดของวัตถุระเบิด วิธีการจุดระเบิดปริมาณการใช้ต่อรูเจาะระเบิดและต่อจังหวะถ่วง
เป็นต้น สำหรับการเก็บวัตถุระเบิด ให้ระบุ การออกแบบอาคารเก็บวัตถุระเบิด การรักษาความปลอดภัยใน
การใช้และเก็บวัตถุระเบิด เป็นต้น กรณีที่มีอาคารเก็บวัตถุระเบิดอยู่แล้ว ให้แสดงที่ตั้งพร้อมภาพถ่ายประกอบ
*   การจัดการเปลือกดิน เศษหิน และมูลดินทราย ต้องระบุการเก็บกองและการดูแลรักษาที่
สามารถป้องกันการชะล้างพังทลาย
*   กรณีที่มีการใช้น้ำในการทำเหมือง ต้องระบุแหล่งที่มาของน้ำปริมาณการใช้น้ำสำหรับ
กิจกรรมต่างๆ และการป้องกันและรักษาคุณภาพน้ำในพื้นที่โครงการ เช่น การระบายน้ำ ทิศทางการไหลของน้ำ
การกักเก็บน้ำ การปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนการระบายออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เป็นต้น
*   เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเหมือง ต้องระบุขนาดและจำนวนของเครื่องจักร
แต่ละชนิดรวมทั้งจำนวนคนงานที่สัมพันธ์กับอัตราการผลิตแร่และแผนการทำเหมือง
7) การแต่งแร่
*   กรรมวิธีในการแต่งแร่ ต้องระบุวิธีการต่างๆ แต่ละขั้นตอนในกระบวนการแต่งแร่ พร้อม
แผนผังการแต่งแร่ รวมทั้งการจัดการฝุ่นในแต่ละขั้นตอนตามประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
เรื่อง ให้โรงโม่ บดหรือย่อยหินมีระบบป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม
*   รายการเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการแต่งแร่ต้องระบุขนาดและจำนวนของเครื่องจักรแต่
ละชนิด
*   การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณโรงโม่หิน (กรณีที่มีโรงโม่หินอยู่แล้ว)
8) การปฏิบัติตามมาตรการสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา
กรณีที่ผู้ประกอบการมีการดำเนินกิจกรรมการทำเหมืองอยู่บริเวณติดกับโครงการหรือร่วม
แผนผังกับโครงการที่กำลังดำเนินการขออนุญาตประทานบัตรจะต้องเสนอผลการปฏิบัติตามมาตรการด้าน
สิ่งแวดล้อมที่ผ่านมาตามเงื่อนไขที่ได้รับ
9) ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของแหล่งแร่
หัวข้อนี้นำเสนอสำหรับโครงการที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น 1 และชั้น 2 แต่กรณีลุ่มน้ำชั้น 2 ซึ่งได้รับ
การรับรองแหล่งแร่จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดไม่จำเป็นต้องมีหัวข้อนี้
*   เหตุผล ความจำเป็น และความเหมาะสมด้านแหล่งแร่
กรณีมีโครงการ
กรณีโครงการที่มีการนำ เอาแร่มาใช้ประโยชน์ เช่น แร่หินปูนอาจจะก่อให้เกิด
ผลกระทบด้านบวกทั้งในด้านเศรษฐกิจ ทั้งระดับจุลภาคและมหภาค ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อส่วนรวม
ตลอดจนความคุ้มค่าในการนำทรัพยากรแร่ออกมาใช้ โดยการทำเหมืองแร่ของโครงการต่อไปในอนาคต คาด
ว่าจะก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือผลดีต่อภาคส่วนต่างๆ
- โครงการจะได้สนับสนุนงบประมาณค่าปลูกป่าชดเชยแก่ภาครัฐตามระเบียบของทาง
ราชการ
- กรณีพื้นที่โครงการอยู่ใกล้กับพื้นที่ป่าไม้ จะสามารถช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแล ป้องกัน พร้อมทั้งดับไฟป่าได้อย่างรวดเร็ว
- ลดการใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ..2484
กรณีพื้นที่โครงการเป็นพื้นที่เหมืองแร่เดิมที่ผ่านการทำเหมืองมาแล้ว โดยบริเวณพื้นที่โครงการมีความเหมาะสม
มีทรัพยากรแร่ปริมาณที่มาก และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นการทำเหมืองของ
โครงการจึงเป็นการใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าตามศักยภาพแร่ ไม่ต้องมีการใช้พื้นที่ป่าใหม่บริเวณอื่นๆ
ด้านสังคม
- การทำเหมืองของโครงการจะทำให้ชุมชนในบริเวณใกล้เคียงได้รับการจัดสรร
ค่าภาคหลวงแร่ งบประมาณดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญมากขึ้น
- ทำให้ประชาชนภายในชุมชนใกล้เคียงโครงการไม่ต้องย้ายถิ่นฐานไปหางานทำ
และทำงานในจังหวัดอื่น
- ทำให้ชุมชนในบริเวณใกล้เคียงโครงการได้รับการช่วยเหลือกิจกรรมในด้านต่างๆ
เช่น การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เยาวชน การส่งเสริมและปฏิสังขรณ์วัด และการปรับปรุงถนน เป็นต้น
ด้านเศรษฐกิจ
*   ผลกระทบทางตรง
ภาษี การทำเหมืองของโครงการจะต้องมีการจ่ายภาษีรูปแบบต่างๆ
ค่าภาคหลวงแร่ การทำเหมืองโครงการมีการจ่ายค่าภาคหลวงแร่ และท้องถิ่น
จะได้รับค่าภาคหลวงแร่จากการทำเหมืองของโครงการ ร้อยละ 60 ของค่าภาคหลวงแร่
การสร้างงานภายในชุมชน เนื่องจากโครงการมีความต้องการแรงงานในส่วน
ปฏิบัติการเหมือง พนักงานส่วนซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลเหมือง พนักงานโรงโม่ และตำแหน่งบุคลากรอื่นๆ
โดยมีพนักงานประจำ ถือเป็นการสร้างงานได้เป็นอย่างดี
*   ผลกระทบทางอ้อม
- การทำเหมืองของโครงการอาจก่อให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ภายในชุมชน เช่น ร้านขายสินค้า ร้านอาหาร เพื่อรองรับความต้องการซื้อสินค้าของพนักงานในเหมือง ร้านปะยางรถบรรทุกเป็นต้น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนเพิ่มขึ้น
- ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองของโครงการ
- โครงการจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนหน่วยงานสาธารณสุขในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่โครงการ เพื่อเป็นตัวกลางในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนในบริเวณใกล้เคียงโครงการโดยการจัดตั้งกองทุนเฝ้าระวังภาวะสุขภาพอนามัย จัดสรรให้กับหน่วยงานสาธารณสุขใกล้เคียงโครงการ
กรณีไม่มีโครงการ
หากไม่มีกิจกรรมการทำเหมืองแร่ของโครงการจะทำให้บริเวณพื้นที่โครงการยังคงสภาพป่าไม้ (หากมี) ไม่มีการตัดไม้บริเวณที่เหลืออยู่ส่งผลให้สัตว์ป่ามีแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย รวมถึงเป็นการช่วยรักษาสภาพพื้นที่ป่าไว้ เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน
*   การวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์
ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการใช้ข้อสมมติฐานระดับราคาคงที่โดยปรับลดด้วยอัตราปรับลดที่แท้จริง (Real discount rate) แบ่งการประเมินผลตอบแทนการลงทุน 3 กรณี
-                   ผลตอบแทนการลงทุน (ไม่คำนึงถึงมูลค่าการสูญเสียสิ่งแวดล้อม)
-                   ผลตอบแทนการลงทุนเอกชน รวมมูลค่าการสูญเสียสิ่งแวดล้อม
-                   ผลตอบแทนการลงทุนต่อสังคม




บริษัทที่นำมาเป็นกรณีศึกษา โครงการเหมืองแร่ คือ
บริษัท ตะกั่ว คอนเซนเตรทส์(ประเทศไทย) จำกัด
ประวัติความเป็นมา
                แร่ตะกั่วในประเทศไทยผลิตได้ 2 ชนิด คือ สารประกอบของตะกั่วในรูปของตะกั่วคาร์บอเนตและตะกั่วซัลไฟด์แหล่งแร่ตะกั่วสามารถพบในจังหวัดกาญจนบุรี ยะลา เพชรบุรี เลย ราชบุรี ลำปาง เพชรบูรณ์ และแพร่ ส่วนใหญ่เป็นแหล่งแร่ที่เกิดเป็นสายแร่เล็กๆ แทรกในหิน ส่วนแหล่งแร่ใหญ่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีการผลิตแร่ออกจำหน่ายจะอยู่ในอำเภอ ทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งแร่ตะกั่วซัลไฟด์เป็นส่วนใหญ่ การผลิตแร่ตะกั่วในประเทศไทยเป็นการผลิตเพื่อส่งออกขายต่างประเทศ การผลิตแร่       ตะกั่วซัลไฟด์จะใช้กระบวนการทำเหมืองโดยการขุดเจาะอุโมงค์ (ดำเนินการโดยบริษัท เค็มโก้ จำกัด) ซึ่งจะได้แร่ตะกั่วร้อยละ8.8 หลังผ่านกรรมวิธีล้างแร่ แต่งแร่ ลอยแร่ โดยใช้น้ำยาเคมี จะได้หัวแร่ตะกั่วซัลไฟด์ร้อยละ 65 ซึ่งส่งออกต่างประเทศทั้งหมด เนื่องจากไม่มีโรงถลุงแร่ตะกั่วซัลไฟด์ในประเทศ  ส่วนหางของแร่จะตกตะกอนช้าๆ ในน้ำทิ้ง สำหรับการผลิตตะกั่วคาร์บอเนต จะเป็นการทำเหมืองโดยวิธีเหมืองหาบ โดยมีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะผลิตหัวแร่ตะกั่วส่งโรงงานถลุงแร่ตะกั่วที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ปัญหาการปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้เกิดจากโรงแต่งแร่ตะกั่วของเหมืองแร่บ่องาม ซึ่งเป็นแร่ตะกั่วคาร์บอเนตที่ดำเนินการโดย บริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด
                ลำห้วยคลิตี้ เป็นห้วยขนาดใหญ่ไหลจากทิศเหนือไปทิศใต้ เกิดจากการรวมตัวกันของห้วยคลิตี้ย่อย 2 สาย คือ สายตะวันตกและสายเหนือ  ห้วยคลิตี้สายเหนือจะไหลผ่านเหมืองบ่องาม ซึ่งเป็นเหมืองที่ผลิตแร่ตะกั่วคาร์บอเนตที่สำคัญ  ส่วนห้วยคลิตี้สายตะวันตก เกิดจากการรวมตัวของห้วยผึ้งและห้วย  ดีกะ ซึ่งไหลผ่านหินปูนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ตะกั่ว   ห้วยคลิตี้จะไหลผ่านหมู่บ้านคลิตี้บน โรงลอยแร่คลิตี้   น้ำตกธิดาดอย หมู่บ้านคลิตี้ล่าง น้ำตกคลิตี้  แล้วไปบรรจบกับคลองลำงู และไหลไปลงเขื่อนศรีนครินทร์



เหตุการณ์ที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
                กรมควบคุมมลพิษได้รับการร้องขอให้ตรวจสอบมลพิษทางน้ำจากเหมืองแร่คลิตี้ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และหนังสือพิมพ์ลงข่าวการปล่อยน้ำเสียจากเหมืองแร่คลิตี้ลงลำห้วยคลิตี้เช่นกัน  ทำให้ชาวหมู่บ้านคลิตี้ล่างที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อนจากการใช้ประโยชน์จากน้ำในลำห้วยไม่ได้รวมทั้งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์มรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร
                หมู่บ้านคลิตี้ล่าง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี การคมนาคมยังไม่สะดวก ไม่มี   ไฟฟ้า ไม่มีโรงเรียน มีประปาภูเขาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประชากรอาศัยรวม 207 คน อยู่อาศัยประจำ 150 คน เนื่องจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจะไปเรียนและพักค้างคืนที่หมู่บ้านอื่น ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยกระเหรี่ยง นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ พืชไร่ที่ปลูกส่วนใหญ่คือ ข้าวโพด พริก ฯลฯ มีการตั้งครัวเรือนกระจัดกระจายโดยทั่วไป
                กรมควบคุมมลพิษ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2541 พบว่าโรงแต่งแร่ดังกล่าวเป็นของบริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด    ตั้งอยู่ที่ ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบกิจการแต่งแร่ตะกั่ว รับแร่ดิบจากเหมืองบ่องามที่อยู่ในเครือบริษัทเดียวกัน
                ปัญหาการร้องเรียนเกิดจากฝนตกหนักน้ำไหลบ่า ทำให้ทำนบบ่อเก็บกักน้ำหางแร่และน้ำตะกอนขุ่นข้น (Tailing pond) ที่รองรับหางแร่จากกระบวนการแต่งแร่ตะกั่วได้ขาดชำรุดแล้วไหลลงสู่ห้วยคลิตี้ ทำให้ชาวบ้านใช้น้ำไม่ได้ โดยก่อนหน้านั้นเจ้าหน้าที่จากที่ทำการทรัพยากรธรณีประจำท้องที่(จังหวัดกาญจนบุรี) ได้เข้าตรวจสอบวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2541 ได้สั่งการให้โรงแต่งแร่ดังกล่าวหยุดดำเนินการและทำการเปรียบเทียบปรับฐานกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 ในอัตราสูงสุดพร้อมทั้งสั่งให้ปรับปรุงบ่อเก็บกักน้ำหางแร่และน้ำตะกอนขุ่นข้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                จากปัญหาข้างต้นกรมควบคุมมลพิษได้ติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนตะกั่วในแหล่งน้ำที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบคือ ลำห้วยคลิตี้ จำนวน 4 ครั้ง โดยเก็บตัวอย่างน้ำ ตัวอย่างดินตะกอนและตัวอย่างสัตว์น้ำมาตรวจวัดเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร


ผลการตรวจวัดปริมาณตะกั่วทั้งหมดในตัวอย่างน้ำ
จุดเก็บตัวอย่างน้ำ
ครั้งที่ 1
(29 เม.. 41)
ครั้งที่ 2
(26 .. 41)
ครั้งที่ 3
(28 มิ.. 41)
ครั้งที่ 4
(2 .. 41)
ลำห้วยคลิตี้




1. ก่อนโรงแต่งแร่ (KC1)
0.006
0.007
0.006
0.005
2. ใต้โรงแต่งแร่ (KC2)
0.11
0.1
0.07
0.03
3. ห้วยคลิตี้ 3 กม. (KC3)
0.5
0.33
0.41
0.07
4. บ้านคลิตี้ล่าง (KC4)
0.55
0.4
0.09
0.13
5. หน่วยรักษาอุทยานฯ (KC5)
0.17
0.17
0.14
0.14
6. น้ำตกคลิตี้ล่าง (KC6)
-
-
-
0.11
อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์




1. ปากคลองงู (SI1)
-
0.008
0.011
0.007
2. กลางอ่างเก็บน้ำ (SI2)
-
0.005
0.003
0.004
3. สันเขื่อน (SI3)
-
0.003
0.004
0.003
มาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (ตะกั่วละลาย)                            0.05 มก./.

ผลการตรวจวัดปริมาณตะกั่วทั้งหมดในตัวอย่างดินตะกอนท้องน้ำ
จุดเก็บตัวอย่างน้ำ
ครั้งที่ 1
(29 เม.. 41)
ครั้งที่ 2
(26 .. 41)
ครั้งที่ 3
(28 มิ.. 41)
ครั้งที่ 4
(2 .. 41)
ลำห้วยคลิตี้




1. ก่อนโรงแต่งแร่ (KC1)
402
581
-
665
2. ใต้โรงแต่งแร่ (KC2)
65,771
52,348
-
29,970
3. ห้วยคลิตี้ 3 กม. (KC3)
41,663
38,900
-
36,896
4. บ้านคลิตี้ล่าง (KC4)
33,491
31,101
-
11,329
5. หน่วยรักษาอุทยานฯ (KC5)
5,870
15,267
-
8,676
6. น้ำตกคลิตี้ล่าง (KC6)
-
-
-
23,991
อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์




1. ปากคลองงู (SI1)
-
-
-
-
2. กลางอ่างเก็บน้ำ (SI2)
-
774
-
432
3. สันเขื่อน (SI3)
-
-
-
-
                กรมอนามัย โดยสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กองอาชีวอนามัยและศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 4 ราชบุรี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี สำนักพัฒนาวิชาการกรมการแพทย์และกองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการออกหน่วยเคลื่อนที่ตรวจสุขภาพและศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้านคลิตี้ล่างที่เกิดจากสารตะกั่วปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เพื่อสำรวจสภาวะทางสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคพิษตะกั่ว เป็นการคัดกรองเบื้องต้นและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับตะกั่วในเลือดกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม พบว่าชาวบ้านคลิตี้ล่างมีปริมาณตะกั่วในเลือดสูงกว่าปกติทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็ก 0-6 ปี แต่ยังไม่พบอาการของโรคพิษตะกั่วอย่างชัดเจน จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังทางสุขภาพต่อไป จากการตรวจสอบสัตว์น้ำประเภท กุ้ง หอย ปู ปลา ในห้วย คลิตี้ทุกบริเวณมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมต่อการบริโภคของประชาชนและพบว่าน้ำในลำห้วยมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ หากยังไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่ใช้น้ำจากลำห้วยเพิ่มมากขึ้นได้





จากกรณีดังกล่าว ทำให้เกิดคดีความ “คดีการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้” ละเมิด พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฟ้องวันที่ 30 มกราคม 2546)ผลการพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง(นายกำธร  ศรีสุวรรณมาลา โจทก์ บริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด จำเลย) ชดใช้เงินแก่โจทก์ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 29,551,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

การทำแบบประเมินเพื่อศึกษาลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มีผลทางการบัญชีดังนี้
1. กรณีการทำ EHIA ในโครงการที่เหมืองแร่ที่สามารถผลการพิจารณาให้เกิดโครงการ จึงจะใช้วิธีบันทึกเป็นสินทรัพย์ และใช้วิธีตัดจำหน่าย ในการรีบรู้เป็นค่าใช้จ่าย
2. กรณีการทำ EHIA แล้วนั้นโครงการไม่ผ่านการพิจารณาต่อคณะกรรมการ และชุมชน จะทำการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันที่ เป็นผลภาระของกิจการ
                                ซึ่งแนวทางในการปฏิบัติดังกล่าว อ้างอิงวิธีการดำเนินงานมาจาก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 (ปรับปรุงปี 2550) ว่าด้วยเรื่อง สัญญาเช่า ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เรื่อง สัมปทาน  ในมาตรฐานดังกล่าว ได้กล่าวถึงแนวทางการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ กรณีการทำเหมืองแร่ตะกั่ว
                แผ่นเก็บประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถยนต์ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือตะกั่ว ร้อยละ 90 ของ โลหะตะกั่วที่ผลิตได้ในประเทศถูกใช้ไปเพื่อการดังกล่าว ในแต่ละปีประเทศไทยนำเข้าโลหะตะกั่วจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 70 ถึงแม้ว่าเราจะสามารถผลิตโลหะตะกั่วได้เอง ทั้งจากการรีไซเคิลแบตเตอรี่เก่า และจากการถลุงสินแร่ตะกั่ว สาเหตุหนึ่งที่คือ การผลิตโลหะตะกั่วในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ใช้ คือ ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
                กอปรด้วยที่ผ่านมาการทำเหมืองแร่ตะกั่วและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ปัญหาการปนเปื้อนและแพร่กระจายของตะกอนห่างแร่ตะกั่วในลำห้วยธรรมชาติ และผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น จนก่อให้เกิดกระแสต่อต้านการดำเนินกิจกรรมเหมืองแร่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2541
        จากกระแสความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความต้องการใช้ทรัพยากรแร่ตะกั่วเป็นฐานรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI : Thailand Development Research Institute Foundation) ดำเนินโครงการจัดทำแผนแม่บททางด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูพื้นที่ทำเหมือง เพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรณีในเขตเศรษฐกิจแร่ตะกั่ว จังหวัดกาญจนบุรี ในปีงบประมาณ 2545
        วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินโครงการ คือ เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการทำเหมืองแร่ตะกั่ว ในพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยการประเมินมูลค่า สิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจกรรมเหมืองแร่และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบกับมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ได้จากการพัฒนากิจกรรมเหมืองแร่ตะกั่ว
มุมมองของการทำเหมืองตะกั่ว จาก กรีนพีซ
ตลอดนับสิบปีที่ผ่านมา เหมืองตะกั่วคลิตี้ได้สร้างบทเรียนที่สำคัญให้กับสังคมไทยถึงภัยจากการทำเหมืองตะกั่วและความหละหลวมในมาตรการการควบคุมมลพิษ และการต้องสูญเสียทรัพยากรส่วนรวมไปให้กับกลุ่มทุนโดยที่สังคมส่วนรวมแทบไม่ได้อะไรกลับมา
ปัจจุบัน ปัญหาการปนเปื้อนสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงจากการทำเหมืองตะกั่วคลิตี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยทั้งความล่าช้าในการดำเนินการแก้ไขของหน่วยงานที่รับผิดชอบผู้ก่อมลพิษทิ้งความรับผิดชอบ สถานการณ์การแพร่กระจายการปนเปื้อนของสารตะกั่วไม่สามารถควบคุมได้  ทั้งนี้ การฟื้นฟูห้วยคลิตี้ยังมีความยากลำบากในเชิงปฏิบัติ เช่น การแพร่กระจายของสารตะกั่วในพื้นที่ที่เข้าถึงลำบาก การสะสมของสารตะกั่ว ระดับการปนเปื้อนที่รุนแรง เทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างจำกัด และงบประมาณมหาศาลที่ต้องใช้ในการฟื้นฟูไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท
การทำเหมืองตะกั่วอย่างไม่รับผิดชอบ ต้องแลกไปกับการสูญเสียถาวรของแหล่งต้นน้ำชั้นดี แหล่งอาหาร วิถีชีวิตและสุขภาพของชุมชน ซึ่งไม่สามารถประมาณค่าได้ และนี่คือ ต้นทุนที่แท้จริงของการทำเหมืองตะกั่ว  อย่างไรก็ตาม ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่นำสิ่งนี้มาเป็นบทเรียน ยังคงสมคบคิดกับกลุ่มทุนและนักวิชาการบางกลุ่มในการที่จะพยายามผลักดันให้มีการทำเหมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอันดับต้นของประเทศ ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่ป่าชั้นดี แหล่งต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ แหล่งอาหาร และแหล่งชุมชนชาติพันธุ์ ซึ่งจะเป็นต้นทุนหรือทรัพยาส่วนรวมที่จะสูญเสียไปหากมีการอนุญาติให้ทำเหมืองตะกั่ว
 
ข้ออ้างในการทำเหมืองล้วนถูกปั้นโดยนักวิชาการและหน่วยงานรัฐที่มีมุมมองคับแคบ สร้างมายาคติที่ผิดๆ เช่นดังต่อไปนี้
มายาคติ
ข้อเท็จจริง
การทำเหมืองตะกั่วจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

·      ตะกั่วมีความเป็นอันตรายตลอดวงจรชีวิต ตั้งแต่การผลิตตะกั่ว การนำตะกั่วมาใช้ในผลิตภัณฑ์ การใช้ และการกำจัดทำลาย ปัจจุบันหลายประเทศจึงล้วนออกกฏหมายควบคุมการใช้ตะกั่วในผลิตภัณฑ์ รวมถึงการนำเข้า  หลายผู้ผลิตในหลายอุตสาหกรรม เช่น น้ำมัน เคมี สี อิเล็คทรอนิกส์ และอื่นๆ ล้วน เลิกใช้สารตะกั่ว และหันมาใช้สารทดแทนอื่นๆ แทนที่มีความปลอดภัย  ซึ่งยังคงมีเพียงแบตเตอรี่ที่ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตะกั่ว แต่เทคโนโลยีก็เริ่มพัฒนาไปมาก ดังนั้น ในอนาคตตะกั่วอาจไม่มีความจำเป็น ความต้องการของตะกั่วทั่วโลกจึงมีแนวโน้มลดลง
·      ประเทศไทย ความต้องการใช้ตะกั่วก็ลดลง แม้แต่หม้อก๋วยเตี๋ยวก็ไม่ต้องการตะกั่ว 
·      ราคาของตะกั่วลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากขึ้นสูกสุดในปี 2007[1]  ปัจจุบันมีประเทศผู้ผลิตตะกั่วรายใหญ่มีอยู่ไม่กี่ประเทศ โดยจีนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุด ตามด้วยออสเตรเลีย อเมริกา และเปรู[2]
สร้างรายได้ให้กับชุมชนจากการจ้างงาน ภาษีท้องถิ่นและประเทศ

·      การจ้างงานในเหมืองตะกั่วอาจจะมีพอสมควร แต่เป็นการจ้างงานแรงงาน ไม่ก่อให้เกิดทักษะ และความสามารถในการพึ่งตัวเองได้ จึงไม่มีความยั่งยืน
·      กลุ่มได้ประโยชน์กระจุกตัวอยู่เพียงนายทุน และแนวโน้มการรับสินบนโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐผู้อนุมัติสัมปทาน และนักวิชาการสนับสนุน 
·      กำไรของการทำเหมืองตะกั่วในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทย มาจากการเอาเปรียบสองเรื่องใหญ่ๆ ที่เป็นการลดต้นทุน และสามารถทำกำไรได้มาก
·      ราคาสัมปทานและภาษีอยู่ในระดับต่ำมากโดยแทบจะถือว่ารัฐและประชาชนไม่ได้อะไรกลับมาจากความเสี่ยงด้านผลกระทบและทรัพยากรที่สูญเสีย
·      การผลิตที่ไม่รับผิดชอบ ผลักภาระด้านสิ่งแวดล้อมมาให้กับส่วนรวมไม่มีการลงทุนระบบป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีพอ ดังนั้นจึงมีต้นทุนต่ำ
·      ใช้พื้นที่ที่ห่างใกล เช่น ป่าไม้ ภูเขา จึงมีต้นทุนต่ำ
การควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

·      ทั่วโลกล้วนประสบปัญหาผลกระทบจากการทำเหมืองตะกั่ว  ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย อเมริกา เม็กซิโก สก็อตแลนด์ และประเทศกำลังพัฒนาในเอเซีย
·      การทำเหมืองตะกั่วและกระบวนการสกัดสารตะกั่วแบบอุตสาหกรรมนั้น มีการใช้สารเคมีและน้ำปริมาณมหาศาล จึงก่อให้เกิดปริมาณน้ำทิ้งที่ปนเปื้อนตะกั่วและเคมีมากตามมาและยังมีของเสียที่เป็นกากอันตราย ดังนั้น การปกป้องไม่ให้สารพิษเล็ดลอดออกสู่สิ่งแวดล้อมนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้ แม้จะมีมาตรการหรือกระบวนการบำบัดที่ดีเพียงใดก็ตาม
·      เนื่องด้วยผลกำไรของการผลิตตะกั่วจะได้มาจากการลดต้นทุน หรือผลักภาระต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม เหมืองตะกั่วส่วนใหญ่ เช่นเหมืองคลิตี้ที่เคยมีในประเทศไทย ล้วนละเลยและไม่ให้ความสำคัญต่อการลงทุนระบบป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพราะหากมีการลงทุนสูง ธุรกิจทำเหมืองแบบรับผิดชอบก็จะไม่มีกำไร หรือไม่คุ้มทุน
·      หากเกิดปัญหาผิดพลาด หรือการปนเปื้อน ส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมรับในข้อผิดพลาด จนกระทั่งจำนนต่อหลักฐาน ก็จะใช้วิธีปิดบริษัทหนี และผลักความรับผิดชอบให้กับภาครัฐในการจัดการ ทั้งด้านการชดเชยและฟื้นฟู ซึ่งคือผลักภาระมาให้กับประชาชน หรือรัฐที่ใช้ภาษีประชาชนมาใช้จัดการ
ผลกระทบของการทำเหมืองตะกั่ว
·      ผลกระทบด้านกายภาพที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การทำลายป่าไม้ การระเบิดหรือขุดเจาะภูเขาแล้วนั้น  ผลกระทบที่สำคัญและเป็นปัญหาที่สุดในการทำเหมืองตะกั่วคือ การใช้สารเคมีในกระบวนการสกัด โดยมีน้ำเป็นตัวทำละลาย การทำตะกั่วจึงเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบทางน้ำมาก และส่งผลต่อเนื่องอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศและชุมชน
·      สารตะกั่ว เป็นโลหะหนักที่มีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต และไม่ย่อยสลาย มีความคงทนในสิ่งแวดล้อม และสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ทั้งพืชและสัตว์ ดังนั้นหากมีการกระจายปนเปื้อนแล้ว จะมีความยากลำบากในการขจัดให้หมดไป หรือฟื้นฟูให้เหมือนเดิม และหากเกิดการปนเปื้อนในแหล่งชุมชน หรือแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค และแหล่งต้นน้ำ จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงและประมาณค่าไม่ได้
·      โดยสรุป การทำเหมืองตะกั่วในปัจจุบันให้ได้กำไร คือการนำต้นทุนสาธารณะไปใช้ เช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำ วิถีชีวิตและสุขภาพ
·      ในกรณีคลิตี้ ความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูน่าจะไม่ต่ำกว่า 800 ล้านบาท รายได้ที่ประชาชนและภาครัฐได้จากการเปิดเหมืองคลิตี้ตลอดหลายสิบปีนั้นน้อยจนแทบจะเทียบกันไม่ได้
สารตะกั่วมีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ  เป็นทรัพยากรใต้ดินที่ต้องนำมาใช้ประโยชน์ และการปนเปื้อนสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมที่พบนั้น มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
·      ใต้พื้นภิภพและตามธรรมชาติทั่วไปล้วนมีอยู่ซึ่งทรัพยากรแร่อันมีค่า แต่การที่จะนำออกมาใช้นั้นควรพิจารณาให้รอบด้านถึงต้นทุนต่างๆ โดยเฉพาะต้นทุนสาธารณะ  หรือความคุ้มค่าที่จะทำหรือคุ้มค่าที่จะเสีย
·      แร่ตะกั่วที่มีตามธรรมชาติมักไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหากไม่มีการไปรบกวน  เนื่องจากอาจอยู่ลึกใต้ดิน หรือมักไม่มีการพบอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติหรือตะกอนต้นน้ำ รวมถึงในพืชและสัตว์
·      การทำเหมืองตะกั่วแบบอุตสาหกรรมจะมีการใช้สารเคมีที่จะเป็นตัวเร่งให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งทำให้เกิดการแยกตัวของสารตะกั่วออกจากดินหรือหินและอยู่ในรูปที่พร้อมจะกระจายตัวและปนเปื้อน และเมื่อสารเคมีถูกปล่อยทิ้งปนเปื้อนไปกับน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตออกสู่สิ่งแวดล้อม สารเคมีเหล่านี้ก็จะไปทำปฏิกิริยากับดิน หิน ตะกอนดิน ในสิ่งแวดล้อมที่จะไปทำให้เกิดการกระจายตัวของสารตะกั่ว รวมถึงการแยกตัวของสารตะกั่วที่มีอยู่ตามสิ่งแวดล้อมทั่วไป ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนอย่างรุนแรงและกระจายจนควบคุมไม่ได้ ดังที่เกิดขึ้นในกรณีของเหมืองคลิตี้ 

“ภาคประชาสังคมตั้งคำถามต่อภาครัฐและเหมืองที่จะมาเปิดใหม่ ดังนี้”
1.       การปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และโดยเฉพาะแหล่งต้นน้ำเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ คุณจะจัดการอย่างไรกับน้ำเสียและกากของเสีย และคุณจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ
2.       ภาระในการตรวจสอบติดตามผลกระทบ รวมถึงการตรวจสอบระดับสารตะกั่วในดิน ตะกอนดิน แหล่งน้ำ และน้ำใต้ดิน ทั้งก่อนและระหว่างการทำเหมือง เป็นภาระหน้าที่ใคร?
3.       หากเกิดการปนเปื้อนสารตะกั่ว คุณจะอ้างอีกหรือไม่ว่า สารตะกั่วมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ดังนั้นการทำเหมืองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ต้องรับผิดชอบ
4.       เมื่อเกิดการปนเปื้อนสารตะกั่ว ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ?  และมีวิธีใดที่จะทำให้แหล่งน้ำกลับมาเหมือนเดิม? ประชาชนจะมีอะไรเป็นหลักประกัน?
5.       บริษัทที่จะมาทำเหมืองตะกั่วเป็นบริษัทใด? เคยทำเหมืองอย่างรับผิดชอบหรือไม่? ใช้เทคโนโลยีใด? มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไร? มีประสบการทำงานมาอย่างไร?
 


การพัฒนาปิโตรเลียม ปิโตเคมี
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)


บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ ไออาร์พีซี” (“บริษัทฯ”) เดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรม        ปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี พ.ศ. 2521                       โดยกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2537 และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2538 บริษัทฯ เริ่มผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อจำหน่ายในปี 2525 และได้ขยายสายการผลิตผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งขยายโรงงานและสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร ต่อมาบริษัทฯ ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน หลังจากการลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 บริษัทฯ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเมื่อปี 2543 และประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549
ปัจจุบันบริษัทฯ และบริษัทในเครือไออาร์พีซี เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีโรงงานอยู่ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมภายใต้การจัดการของบริษัทฯ พร้อมสาธารณูปโภคที่สนับสนุนการดำเนินอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีครบวงจร เช่น ท่าเรือน้ำลึก คลังน้ำมัน โรงไฟฟ้า
แนวคิด
                บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และบริษัทฯ ในเครือไออาร์พีซี ถือเป็นนโยบายหลักในการให้ความสำคัญต่อการจัดการระบบคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ด้วยแนวความคิดที่จะให้เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้บริหารและพนักงานของทุกหน่วยงาน ต้องรับผิดชอบการดำเนินงานภายใต้นโยบายร่วมปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1.ดำเนินการภายใต้กฎหมาย ข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง
2.มุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างสูงสุด โดยการนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ และผ่านกระบวนการส่งมอบตามกำหนดที่ลูกค้าต้องการ
3.กำหนดมาตรการตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ อันจะนำไปสู่ความปลอดภัยต่อสุขภาพ                   สิ่งแวดล้อมและชุมชน
4.ให้มีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และการควบคุมความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อนำไปสู่ การรักษาระบบงานคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคนิคทางด้านวิศวกรรม กิจกรรมการเพิ่มผลผลิตและการจัดการอื่นๆ ที่เหมาะสม และกำหนดให้เป็นแผนดำเนินการซึ่งจะมีการทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายการจัดการทุกปี
5.ให้การสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ และส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคคลากร เพื่อให้พนักงานทุกระดับมีจิตสำนึกร่วมในการปฏิบัติงานของตนให้ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพ
การดำเนินงาน
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม (Economy, Social and Ecology) ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล                                   โดยยึดหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ดังเช่น
หลักนิติธรรม (Rule of Law) เป็นการยึดถือการปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมาย ด้าน QSHE เป็นมาตรฐานเบื้องต้น
1.มีการรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุก 6 เดือน
2.มีการรายงานตามแบบแจ้งรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกปี
3.มีการตรวจวัดสุขศาสตร์อุตสาหกรรมหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงาน

หลักคุณธรรม (Ethics) เน้นการยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม มีการคืนประโยชน์ให้กับสังคม และมีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจต่อพนักงานตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน
1.การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายชุมชน ไออาร์พีซี
2.โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อตรวจสุขภาพประจำปีให้กับชุมชน
3.การตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน
4.พนักงานได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ด้านการจ้างงาน การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน ความก้าวหน้าในอาชีพ
5.โครงการคลินิกปันน้ำใจ (คลินิกเวชกรรม) เพื่อตรวจและรักษาให้กับชุมชนโดยรอบ
6.การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ชุมชนในพื้นที่
7.โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มชุมชน
8.โครงการจิตอาสาต่างๆ                                                  
หลักความโปร่งใส (Transparency) มีการตรวจสอบความถูกต้อง และเปิดเผยข้อมูลได้
1.ติดตั้งป้ายแสดงข้อมูลหรือ Display Board เพื่อสื่อสารผลการตรวจสอบคุณภาพอากาศและข้อมูลต่างๆ ให้ชุมชนรับทราบ
2.โครงการเปิดบ้านสานสัมพันธ์ หรือ Open House โดยมีชุมชนและหน่วยงานราชการเข้าเยี่ยมชมโรงงานเป็นระยะๆ
หลักการมีส่วนร่วม (Participation) เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภาคประชาชนและพนักงานมีส่วนร่วมในการรับรู้และเสนอความเห็นประกอบการตัดสินใจและหามาตรการป้องกันและแนวทางแก้ไขร่วมกัน
1.การจัดเวทีนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย
2.การจัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคี เพื่อมีส่วนร่วมเสนอแนะ วางแผน และเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกันระหว่างองค์กร ชุมชนและหน่วยงานราชการ
3.การสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี และมีการรับฟังข้อคิดเห็นของพนักงาน
หลักสำนึกรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะและการกระตือรือร้น ในการแก้ปัญหาตลอดจนความเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลดี และเสียจากการกระทำของตนเอง
1.มีขั้นตอนในการรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบสาเหตุ มีการนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแก้ไข โดยเร็วหากเกิดจากกิจกรรมของบริษัทฯ
2.การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตประกอบการฯ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองสร้างความเชื่อมั่นต่อชุมชนเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม
หลักความยั่งยืน (Sustainability) หมายถึงการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยให้องค์กรมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
1.มีการรณรงค์เกี่ยวกับการประหยัดทรัพยากรเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับพนักงาน
2.โครงการอนุรักษ์พลังงาน
3.โครงการอนุรักษ์น้ำ บริหารจัดการน้ำ
4.โครงการอนุรักษ์ลุ่มน้ำชุมชนและอนุรักษ์ป่าชายเลน
5.การจัดการด้านคุณภาพตามมาตรฐานระบบการจัดการได้แก่ ISO 9001, ISO14001, TIS/BS OHSAS 18001, ISO/IEC17025, ISO 50001 เป็นต้น
กลุ่มธุรกิจ IRPC
"ไออาร์พีซี" เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโรงกลั่นน้ำมัน และโรงงานปิโตรเคมีตั้งอยู่ย่านชายฝั่งทะเล ภาคตะวันออก ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมภายใต้การจัดการของบริษัทฯ พร้อมธุรกิจบริหารและจัดการทรัพย์สิน ส่วนที่เป็นที่ดินเปล่าในจังหวัดระยอง และจังหวัดอื่นๆ กว่า 10,000 ไร่ ประกอบด้วยสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจทั้งท่าเรือน้ำลึก คลังน้ำมัน และโรงไฟฟ้า
โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ มีกำลังการกลั่น 215,000 บาร์เรลต่อวัน จัดอยู่ในอันดับ 3 ของกำลังการกลั่นน้ำมันภายในประเทศ สามารถผลิตผลตภัณฑ์น้ำมันที่หลากหลาย ประกอบไปด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ยางมะตอย และผลิตภัณฑ์พลอยได้ต่างๆ นอกจากนี้ แนฟทาซึ่งได้จากกระบวนการกลั่น ยังนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ ซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย และจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตพลาสติกสำเร็จรูปต่างๆ
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โรงกลั่นน้ำมันและโรงงานปิโตรเคมีของบริษัทฯ ตั้งอยู่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมภายใต้การจัดการของบริษัทฯ พร้อมสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจทั้ง ท่าเรือน้ำลึก คลังน้ำมัน และโรงไฟฟ้า ธุรกิจหลักของบริษัทฯ แบ่งได้เป็นดังนี้



วิสัยทัศน์และเป้าหมาย
เราจะเป็น บริษัทปิโตรเคมีชั้นนำของเอเซีย ที่มีการผลิตแบบครบวงจร ภายในปี 2557 และเป็นผู้นำธุรกิจปิโตรเคมี และการกลั่นครบวงจร ในอาเซียน  (Top Quartile Integrated Petrochemical Complex in Asia by 2014)
สู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรด้วยความมุ่งมั่นและเข้มแข็ง

1.ธุรกิจปิโตรเลียม 
ไอ อาร์ พี ซี ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยอัตราการกลั่นน้ำมัน  215,000 บาร์เรลต่อวัน  จัดอยู่ในอันดับ  3  ของกำลังการกลั่นน้ำมันภายในประเทศ  โดยมีสายการผลิตเชื่อมโยงกับโรงงานปิโตรเคมี  ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำพร้อมสาธารณูปโภคพื้นฐานครบครันที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจทั้งท่าเรือน้ำลึกคลังน้ำมันและโรงไฟฟ้า  ด้วยศักยภาพของสินทรัพย์และแผนกลยุทธ์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งขององค์กร  พร้อมกับความมุ่งมั่นและทุ่มเทของพนักงานไออาร์พีซี " เราพร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจปิโตรเคมีของเอเชียภายในปี 2557 "
กิจกรรมเพื่อสังคม
ถือว่าชุมชนรอบโรงงานเป็นเสมือนเพื่อนบ้านที่ต้องเสริมสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนซึ่งกันและกัน นอกจากการปฏิบัติงานที่จะต้องยึดถือเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักแล้ว ไออาร์พีซียังถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและพนักงานทุกคนที่จะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีชองชุมชน โดยเน้นกระบวนการทำงานร่วมกันกับชุมชนที่เป็นมิตรเกื้อกูลกันและ สอดคล้องกับประโยชน์ สังคมส่วนรวม พึ่งพาอาศัยและอยู่ร่วมกัน เราจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของทุกชีวิตในครอบครัวร่วมกันดูแลบ้านหลังนี้ของเราให้น่าอยู่ตลอดไป
 

จากฐานแนวคิดดังกล่าว  ก็ได้เปลี่ยนเป็นกิจกรรมอันมีคุณค่า  โดยไออาร์พีซีได้ริเริ่มโครงการและกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา สุขภาพอนามัยและศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสิ่งแวดล้อม บริเวณรอบโรงงาน และละแวกใกล้เคียง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับสังคมโดยรวม 


2. ธุรกิจปิโตรเลียม   



บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ "IRPC" ได้ก้าวเข้าสู่การแข่งขันในธุรกิจปิโตรเคมีตั้งแต่ ปี 2525 โดยมีการขยายกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ และปรับปรุงกระบวนการการผลิตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ IRPC ไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาส่วนผสมผลิตภัณฑ์หรือปรับปรุงสูตรการผลิต รวมถึงสรรสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าปลายทางในอุตสาหกรรมต่างๆ จนได้รับคำกล่าวขานว่า “IRPC เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีที่มีความครบวงจรรายแรกแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากวันนั้นถึงวันนี้ IRPC ไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การลงทุนในโครงการต่างๆ เช่น การขยายกำลังการผลิตเพื่อสนองต่ออุปสงค์ในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงานด้านการขายและการตลาด การดำเนินธุรกิจร่วมกับลูกค้าและคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก ผ่านเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยเพื่อเพิ่มความรวดเร็ว อีกทั้งยังเสริมสร้างให้เกิดศักยภาพทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
  
3.            ธุรกิจท่าเรือ

ท่าเรือ ไออาร์พีซี ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เดียวกันกับโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ จังหวัดระยอง โดยให้บริการเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้บริการลูกค้าในการเทียบท่า เช่น เรือลากจูง บริการนำร่อง เรือบริการ เครื่องชั่ง ลานตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ โกดังเก็บสินค้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการขนถ่ายสินค้า เป็นต้น
ท่าเรือหลักประกอบด้วย
ท่าเรือปิโตรเคมี และปิโตรเลียมเหลว (Liquid & Chemical Terminal) หรือท่าเรือ LCT เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ 2521 เพื่อใช้เป็นท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าประเภทของเหลวและก๊าซ ความยาวประมาณ 1,623 เมตร ประกอบด้วยท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ 6 ท่า สามารถรับเรือได้ตั้งแต่ขนาด 1,000250,000 ตัน
ท่าเรือ LCT ให้บริการเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าด้วยอุปกรณ์ขนถ่ายที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย นอกจากทางท่าเรือ จะให้บริการสินค้าของบริษัทฯ เองแล้ว ยังเปิดให้บริการแก่บริษัทฯ ทั่วไปจากภายนอกเข้ามาใช้บริการเทียบเรือและขนถ่ายสินค้าได้ด้วย ท่าเรือ LCT มีปริมาณสินค้าผ่านท่า 15 ล้านตันต่อปี และรองรับเรือมากกว่า 2,000 ลำต่อปี
 
ท่าเรือคอนเทนเนอร์ และสินค้าทั่วไป (Bulk & Container Terminal) หรือท่าเรือ BCT มีลักษณะเป็นแขนยื่นลงไปในทะเล เทียบท่าได้ 2 ด้านตัวท่ามีความยาว 900 เมตร และความกว้าง 44 เมตร ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือ 6 ท่า สามารถรับเรือลำเลียงได้ตั้งแต่ขนาด 800 ตันจนถึงขนาด 150,000 ตัน ท่าเรือคอนเทนเนอร์และสินค้าทั่วไป ให้บริการขนถ่ายสินค้าทั่วไป เช่น เหล็ก กะลาปาล์ม ถ่านหิน สินแร่ เป็นต้น โดยปัจจุบันมีปริมาณสินค้าผ่านท่า 1.4 ล้านตันต่อปี


คดีพิพาทของ  IRPC
ผู้ว่าระยองสั่งไออาร์พีซีหยุด 90 วัน หลังเกิดเหตุระเบิดและไฟไหม

 
เมื่อเวลา 10.00น.วันที่ 10 มิถุนายน ที่อาคาร 10 ปี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน)มีการแถลงข่าวกรณีการเกิดเหตุระเบิดมีไฟลุกไหม้ที่หน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเตา(หน่วย VGOHT :Vacuum Gas Oil Hydro Treating) เพื่อป้อนหน่วยแครกเกอร์เพื่อผลิตเป็นสารโพรไพลีน ภายในบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) ต.เชิงเนิน อ.เมืองระยองเมื่อเวลา 18.00น.วันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา
                โดยมีนายโพธิวัฒน์ เผ่าพงศ์ช่วง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) พร้อมด้วยนายศักดา พันธ์กล้า รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมและคณะโดยเป็นการแถลงผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เร้นส์จากศูนย์เอเนอร์ยี่คอมแพล็กซ์ อาคารบี ชั้น 6 ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯซึ่งมีนายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด  เป็นผู้แถลงพร้อมกล่าวแสดงความเสียใจต่อเหตการณ์ที่เกิดขึ้น ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าสาเหตเกิดจากการรั่วไหลของสารไฮโดรคาร์บอนด์เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ หลังเกิดดเหตุได้ตัดแยกระบบของหน่วยผลิตที่เกิดเพลิงไหม้ออกจากโรงงานอื่นๆของบริษัทฯ สามารถควบคุมเพลิงให้อยู่ในวงจำกัดตั้งแต่เวลา 19.00น.วันเดียวกัน และได้ดับเพลิงได้ทั้งหมดเมื่อเวลา 20.20น.วันเดียวกันและไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากเขม่าควันไฟ บริษัทนได้ส่งรถเคลื่อนที่ออกไปตรวจวัดสภาพอากาศโดยรอบโรงงานทันทีที่เกิดเหตุ เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นพบว่ามีผลกระทบเล็กน้อยต่อสภาพอากาศ  ซึ่งทางบริษัทฯจะเฝ้าระวังผลกระทบต่อชุมชนอย่างใกล้ชิด พร้อมส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปตรวจเยี่ยมประชาชน พร้อมรับฟังปัญหาเพื่อสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัย
                นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ  กล่าวว่าขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบความเสียหายจากการเกิดเพลิงไหม้ สำหรับโรงกลั่นและโรงงานปิโตรเคมีโดยส่วนใหญ่ยังสามารถดำเนินการผลิตได้ มีเพียงหน่วยที่เกิดเพลิงไหม้และหน่วยผลิตใกล้เคียงจะต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว  บริษัทฯประเมินว่ามีผลกระทบต่อการผลิตโดยรวมไม่มากนัก มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการตรวจสอบร่วมกับบริษัทประกันภัย ดดยบริษัทฯมีวงเงินประกัน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
                ด้านนายศักดา พันธ์กล้า รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่าได้รับคำสั่งจากอธิบดีฯให้ลงมาตรวจสอบข้อเท็จจริงสาเหตุการเกิดระเบิดและมีไฟไหม้ จะเข้าไปตรวจสอบจุดเกิดเหตุในวันนี้ พร้อมผู้สื่อข่าวแต่เนื่องจากบริษัทฯมีข้อกฏหมายในเรื่องของการประกัน และรับรองความปลอดภัย บริษัทฯไม่สามารถควบคุมได้ จึงไม่มีอำนาจที่จะพาผู้สื่อข่าวเข้าไปจุดเกิดเหตุได้  แต่ความคืบหน้าในขณะนี้กรมโรงงานมีคำสั่งให้หยุดและให้ผู้บริหารไออาร์พีซี เซ็นรับทราบคำสั่ง ขณะเดียวกันได้รับแจ้งว่านายธานี สามารถกิจ ผวจ.ระยอง ลงนามคำสั่งให้หยุดเป็นเวลา 90 วัน ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่สำนักการมีส่วนร่วมกรมโรงงานลงพื้นที่ว่ามีผลกระทบต่อประชาชนรอบโรงงานอย่างไรและให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องกฏหมาย การฟ้องร้องจากผลกระทบที่เกิดขึ้น


คดีตัวอย่าง-ศาลสั่ง มาบตาพุด เขตควบคุมมลพิษ (ข่าวสด)
คดี ตัวอย่าง-ศาลสั่ง มาบตาพุด เขตควบคุมมลพิษ 27 โจทก์ชาวบ้าน-เฮลั่น ศาลปกครองชี้นิคมอุตฯ แก้มลพิษภายใน60วัน! ฝ่ายรง.ดันรัฐยื่นอุทธรณ์
 

                ศาลปกครองระยอง พิพากษาให้ มาบตาพุดและอีกหลายตำบลของระยอง เป็นเขตควบคุมมลพิษ ทางการต้องควบคุม-ขจัดมลพิษภายใน 60 วัน ระบุพบหลักฐานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก่อมลพิษทั้งทางอากาศ ทางน้ำ จนมีผลกระทบต่อสุข ภาพประชาชนอย่างรุนแรง ป่วยเป็นมะเร็งมากกว่าคนในอำเภออื่น 3-5 เท่า สมควรประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษได้แล้ว ฝ่ายโจทก์ที่เป็นชาวบ้านในพื้นที่รวม 27 คนเฮลั่น บางคนถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความดีใจ วอนคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่ายื่นอุทธรณ์ ทางด้านเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ในพื้นที่ จี้รัฐบาลอุทธรณ์ ชี้ผลของคำตัดสินจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของระยอง
                เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 3 มีนาคม ศาลปกครองระยอง โดยนางสายสุดา เศรษฐบุตร อธิบดีศาลปกครองระยอง ตุลาการเจ้าของสำนวน พร้อมด้วย นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ รองอธิบดีศาลปกครองระยอง และนายสรศักดิ์ มไหศิริโยดม ตุลาการศาลปกครองระยอง องค์คณะได้อ่านคำพิพากษาคดีที่ นายเจริญ เดชคุ้ม โจทก์ผู้ยื่นฟ้องที่ 1 พร้อมด้วย พวกรวม 27 คน ที่ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ เมื่อเดือนตุลาคม 2550
                คำฟ้องสรุปว่า การดำเนินการของการนิคมอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุดอย่าง รุนแรง ทั้งมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และกากของเสียอันตราย จนทำให้ประชาชนในพื้นที่เจ็บป่วยจำนวนมาก แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กลับละเลยมิได้ประกาศกำหนดให้พื้นที่ที่มีปัญหา ทั้งเขตตำบลมาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียงที่มีปัญหาจากมลพิษ เป็นเขตควบคุมมลพิษ ตามที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 บัญญัติไว้
                ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ปรากฏตามรายงานของกรมควบคุมมลพิษ ในการประชุมของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 11/2548 เกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด พบว่ามีสารอินทรีย์ระเหยมากกว่า 40 ชนิด เป็นสารก่อมะเร็ง 20 ชนิด โดยพบสารอินทรีย์ระเหยก่อมะเร็งที่มีค่าก่อมะเร็งเกินระดับเฝ้าระวังคุณภาพ ทางอากาศในบรรยากาศ 19 ชนิด จึงสรุปว่าหากระบายออกมาเต็มที่ ก็จะมีค่าเกินมาตรฐานตามค่าที่ได้รับอนุญาต ซึ่งก็ตรงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติที่ได้นำเสนอข้อมูลจากโครงการศึกษาระบาด วิทยาของโรคมะเร็งในประเทศไทยของ จ.ระยอง ปีพ.ศ.2540-2544 รายงานว่าสถิติการเกิดมะเร็งทุกชนิด และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวของ อ.เมืองระยอง สูงกว่าอำเภออื่นๆ ของจังหวัด 3 เท่าถึง 5 เท่า นอกจากนี้ แหล่งน้ำจืด แม่น้ำ คลอง รวมถึงทะเลและน้ำบาดาลในพื้นที่ ส่วนใหญ่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน พบการปนเปื้อนโลหะหนักเกินมาตรฐาน คือ สังกะสี แมงกานีส สารหนู และพบสารอินทรีย์ระเหยง่ายเกินมาตรฐาน
                ศาลรับฟังว่า เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นพื้นที่ซึ่งมีปัญหามลพิษ ซึ่งมีแนวโน้มที่ร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงสมควรที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ ซึ่งเท่าที่ผ่านมา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ก็ได้ประกาศเขตควบคุมมลพิษไปแล้ว 17 พื้นที่ ใน 12 จังหวัด โดยไม่ปรากฏว่าจะต้องมีการตรวจวัดหาค่าต่างๆ เช่นเดียวกับในพื้นที่มาบตาพุด และยังไม่ได้ประกาศการควบคุมมลพิษในพื้นที่ที่ถูกฟ้อง
                ศาลจึงมีคำพิพากษา ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี ประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดทั้งหมด รวมทั้ง ต.มาบตาพุด ต.ห้วยโป่ง ต.เนินพระ ต.ทับมา และต.มาบข่า อ.เมืองระยอง ตลอดจนท้องที่ ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ทั้งตำบลเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 60 วัน นับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษา
                หลังฟังคำตัดสิน ชาวบ้านที่มารอฟังคำพิพากษาชูมือแสดงความดีใจ บางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ นายเจริญ เดชคุ้ม ผู้ฟ้องร้อง กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ศาลได้เห็นถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ต้องต่อสู้มายาวนาน นับ 10 ปี จนมาถึงวันนี้ ก็ต้องขอบคุณศาล ขอวิงวอนผ่านไปยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติว่าอย่าได้อุทธรณ์ต่ออีกเลย เพราะชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน จนบางคนต้องป่วยจนเสียชีวิตไปแล้วหลายรายจากมลพิษที่เกิดขึ้น ซึ่งหากจะอุทธรณ์ ทางชาวบ้านก็จะลุกขึ้นสู้ต่อไป และจะทวีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น เพราะถือว่าเป็นการฆ่าประชาชนทางอ้อม
                ทางด้านน.ส.สุรีรัตน์ ชูวาพิทักษ์ ตัวแทนจากกรมควบคุมมลพิษ กล่าวเพียงว่า จะนำผลการตัดสินส่งต่อให้กับทางผู้ใหญ่เป็นผู้พิจารณาต่อไป มาในวันนี้ก็มีหน้าที่เพียงตัวแทนที่เข้ามารับฟังคำพิพากษา จึงไม่สามารถให้คำตอบใดๆ ได้
                ส่วนนายสุรชัย โตงาม ผู้ประสานงานด้านกฎหมายภาคประชาชน กล่าวว่า คดีนี้ถือเป็นคดีตัวอย่าง ชาวบ้านลุกขึ้นมาเรียกสิทธิของตัวเองที่เกิดผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครองจนได้รับชัยชนะ แต่ก็ยังคงเป็นเพียงก้าวแรก เพราะหากมีการอุทธรณ์ ผลบังคับของคำพิพากษาที่ต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันก็ถือเป็นสิ้นสุด จึงต้องรอว่าทางคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่วันนี้ส่งเพียงตัวแทนเข้า มารับฟัง จะอุทธรณ์ต่อไปหรือไม่
                นายสุทธิ อัชฌาสัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก แกนนำที่ต่อสู้เรื่องนี้ กล่าวว่า อยากฝากไปยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ไม่ใช่ชุดเก่า เป็นคณะกรรมการชุดใหม่ที่เพิ่งได้รับเลือกเข้ามา ว่าไม่ควรจะอุทธรณ์ต่ออีก เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนัก และเตรียมนำเรื่องเสนอต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยประสานไปทางคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้อุทธรณ์ ซึ่งหากไม่มีการอุทธรณ์ ตนเองก็จะมีการประชุมร่วมกับชาวบ้านทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ เพื่อหาข้อสรุปว่าจะหามาตรการที่ดีในการติดตามประเมินผลการทำงานในการควบคุม มลพิษต่อไป
                หลังจากนี้เครือข่ายจะเดินหน้าต่อเรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับแผนลดและขจัด มลพิษ รวมทั้งการเตรียมขยายปิโตรเคมีเฟส 3 ซึ่งชาวบ้านต้องการให้ทบทวนโครงการด้วย นอกจากนี้ กำลังปรึกษากับนักกฎหมายว่าจะสามารถฟ้องอาญาและแพ่งกับบอร์ดชุดนี้เกี่ยวกับ ความรับผิดชอบด้วยนายสุทธิกล่าว
                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การยื่นฟ้องของชาวบ้านครั้งนี้ สืบเนื่องจากรัฐบาลมีโครงการขยายปิโตรเคมี ระยะที่ 3 แต่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบมาบตาพุด ประสบปัญหาความเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งและระบบทางเดินหายใจมานานกว่า 20 ปี จากการมีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีผลการยืนยันจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติว่าคนระยองเป็นมะเร็งมากขึ้น รวมทั้งหลักฐานชัดเจนจาก ดร.เรณู เวชรัตน์พิมล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด นักวิชาการด้านพลังงาน เป็นต้น แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กลับชะลอการประกาศเขตควบคุมมลพิษตาม มาตรา 59 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
                ทางด้านนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือถึงคำตัดสินของศาล ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียด คงต้องพิจารณาดูว่าคำตัดสินดังกล่าวจะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างไรบ้าง ซึ่งเห็นว่าปัญหาทุกอย่างมีทางออก และทุกเรื่องสามารถเจรจากันได้
                นาย พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้บริหาร บริษัท สยามยูไนเต็ดสตีล (1995) จำกัด ที่ตั้งอยู่ในต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง กล่าวว่า ไม่รู้สึกกังวลว่าคำสั่งศาลฯ ในครั้งนี้ จะมีปัญหาต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทใหญ่ๆ ในเขตมาบตาพุด และจ.ระยอง ทำตามมาตรฐานมลพิษอย่างเข้มงวด แต่การประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ อาจส่งผลต่อความรู้สึกทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อจ.ระยอง และจะทำให้ภาพพจน์ของจ.ระยองเสียไป อาจกระทบต่อการท่องเที่ยว และพืชผักผลไม้จากพื้นที่ดังกล่าว เพราะคนอาจกลัวที่จะมาเที่ยว หรือซื้อผลไม้ใน จ.ระยอง
                นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า การลงทุนในเขตจ.ระยองเข้มงวดมานานแล้ว ส่วนการลงทุนใหม่ๆ ดำเนินตามแผนควบคุมมลพิษทุกโครงการ ซึ่งการมาประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ อาจกระทบต่อการลงทุนที่ยังไม่เริ่มต้นที่อาจทำให้ชะลอการลงทุนออกไปก่อน ส่วนการลงทุนต่อเนื่องจากโครงการเดิมคงต้องพิจารณากันใหม่ เพราะการลงทุนหลังจากนี้ไป ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาที่มากขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการลงทุน เพราะในเขตมาบตาพุดถือเป็นหัวใจหลักในการลงทุนของประเทศ หวังว่าผู้ที่เป็นจำเลย คือคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จะยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินของศาล
                นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานกลุ่มอุตสาหกรรม โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผู้บริหารบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ในต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง กล่าวว่า กำลังศึกษาคำตัดสินของศาลฯ ที่ออกมาว่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างไรบ้าง และต้องดูในเรื่องของกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตาม ก่อนหน้านี้การลงทุนใหม่ๆ ในเขตมาบตาพุดต้องลดมลพิษในเขตดังกล่าวให้ได้ก่อนจึงจะลงทุนได้ หากลดมลพิษได้ 100% จะสามารถลงทุนได้เพียง 80% โครงการที่จะลงทุนต้องผ่านแผนการรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)
                นาย ชายน้อย กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน และกลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ได้ลงทุนปรับลดมลพิษที่มาบตาพุดไปมากแล้ว และดำเนินตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด ก็คงต้องติดตามว่าหลังประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษแล้ว จะมีกฎระเบียบใหม่ๆ อะไรที่ต้องปฏิบัติตามเพิ่มอีก ขณะ นี้ฝ่ายเอกชนกำลังเตรียมข้อมูลให้พร้อม หากภาครัฐจะเรียกไปหารือถึงเรื่องดังกล่าว ส่วนเรื่องของการอุทธรณ์คงเป็นหน้าที่ของภาครัฐในการพิจารณา
                นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เมื่อศาลตัดสินออกมาคงต้องว่ากันไปตามนั้น เอกชนพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำตัดสิน โครงการใหญ่คงไม่มีปัญหาเพราะดูแลในเรื่องการควบคุมมลพิษให้เป็นไปตาม มาตรฐานอยู่แล้ว แต่เป็นห่วงว่าคำตัดสินของศาลจะกระทบต่อการท่องเที่ยว เพราะนอกจากในเรื่องอุตสาหกรรมแล้ว จ.ระยองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง
                นายศุภชัย กล่าวว่า ต้องขอดูก่อนว่าจะมีกฎระเบียบอะไรออกมาให้ต้องปฏิบัติตามเพิ่มเติมหรือไม่ ในส่วนตัวคิดว่าผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องนี้ควรอุทธรณ์ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนอื่นๆ อาทิ ฝ่ายราชการ เอกชน และผู้กำกับดูแล ได้ชี้แจงข้อมูล แต่การอุทธรณ์คงไม่ใช่หน้าที่ของเอกชน ซึ่งเอกชนยินดีที่จะทำตามคำสั่งศาล คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาในการปฏิบัติ เพราะที่ผ่านมาอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ลงทุนในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากันพอสมควร เพราะโครงการลงทุนใหญ่ๆ ระดับหมื่นล้านคงไม่กล้าเสี่ยงที่จะถูกปิดจากปัญหามลพิษ
                นายศุภชัย กล่าวว่า การประกาศเขตควบคุมจะกระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของต่างชาติ ขณะนี้เองประเทศเพื่อนบ้านของไทย พยายามดึงอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปลงทุนยังประเทศของตน อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่อาจจะต้องชะลอออกไป หรือย้ายฐานไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแทน
ชาวมาบตาพุดฟังคำพิพากษาคดีฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
วันที่ 3 มีนาคม 2552 เวลา 11.00 น. ที่ศาลปกครองระยอง
แถลงข่าวที่โรงแรมโกลเดนท์ซิตี้ เวลา 15.00 น.
                ชาวบ้านมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง จะฟังคำพิพากษาคดีฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฐานละเลยต่อหน้าที่ไม่ประกาศพื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อควบคุมลดและขจัดมลพิษ และขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ  วันที่ 3 มีนาคม 2552 เวลา 11.00 น. ที่ศาลปกครองระยอง  จากนั้น 15.00 น. ชาวบ้านมาบตาพุด นำโดย นายเจริญ เดชคุ้ม พร้อมด้วยนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก นายสุรชัย ตรงงาม ทนายความ และทีมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม นำโดย นายศุภกิจ นันทะวรการ จะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ที่ห้องสร้อยเพชร โรงแรมโกลเดนท์ซิตี้ อ.เมือง จ.ระยอง
-----------------------------------------
                การนัดฟังคำพิพากษาของศาลปกครองระยอง วันที่ 3 มีนาคม 2552 เวลา 11.00 น. สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง จาก 11 ชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมมาตาพุด ซึ่งเผชิญกับปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมหนักในนิคมอุตสาหกรรมมาเป็นเวลานาน ได้มอบอำนาจให้โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม โดยนายสุรชัย ตรงงาม นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นางสาวมนทนา ดวงประภา และนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ   ฐานละเลยต่อหน้าที่ไม่ประกาศพื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ  เพื่อควบคุม ลดและขจัดมลพิษ และขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ โดยมีนายเจริญ เดชคุ้ม กับพวกรวม 27 คน เป็นโจทก์ ในคดีหมายเลขดำที่ 192/2550
                ต่อมา 23 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 10.30 น. ศาลปกครองระยองนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก  เพื่อให้คู่กรณีแถลงด้วยวาจาต่อหน้าศาล ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำแถลงการณ์ และผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำชี้แจงต่อศาล และไม่มีการแถลงด้วยวาจา ส่วนตุลาการผู้แถลงคดีได้ชี้แจงด้วยวาจาต่อองค์คณะประกอบคำแถลงการณ์เป็นหนังสือ มีประเด็นสำคัญ โดยสรุป คือ         
                ประเด็นที่ 1 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ประกาศเขตควบคุมมลพิษ เป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ ตุลาการผู้แถลงเห็นว่า ตามมาตรา 56 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และมาตรา 67 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550 ได้รับรองสิทธิในดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน รวมถึง มาตรา 59 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535       ซึ่งได้บัญญัติว่า    ในกรณีที่ปรากฏว่าท้องที่ใดมีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาด เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดำเนินการ ควบคุม ลด และขจัดมลพิษได้
                ประเด็นที่ 2 คำขอท้ายคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติปฏิบัติ หน้าที่ตามมาตรา 59 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยประกาศให้พื้นที่มาบตาพุด และเทศบาลมาบตาพุด ตลอดจนพื้นที่ข้างเคียงที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด
                ตามข้อเท็จจริงในสำนวนคดีที่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นเอกสารของนักวิชาการที่ได้มีการ ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อศาล ชี้ให้เห็นว่าโรงงานอุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุดและใกล้เคียงก่อให้เกิดมลพิษ ผลการ ศึกษาต่างๆ สรุปได้สอดคล้องกันว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย นิคมเหมราชตะวันออก เป็นพื้นที่มีปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ ขยะพิษ และมีแนวโน้มก่อให้เกิดความเสียหาย
                เอกสารดังกล่าวเป็นที่น่าเชื่อถือ และข้อมูลที่เป็นประจักษ์คือมีการรั่วไหลของสารเคมี มีผู้ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ และโรคมะเร็งสูง รวมถึงเหตุการณ์ที่โรงเรียนในมาบตาพุด ต้องย้ายโรงเรียนจากเดิมซึ่งอยู่ในพื้นที่กันชน เห็นได้ว่ามีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ และมลพิษมีแนวโน้มสูงขึ้นและมีการสะสมเป็นเวลานาน มีโรงงานเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก
                ตุลาการผู้แถลงคดี ได้สรุปความคิดเห็นให้ผู้ถูกฟ้องประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง มาบข่า เนินพระ และทับมา ภายใน 45 วันนับแต่ศาลมีคำพิพากษา โดยความเห็นดังกล่าวเป็นของตุลาการผู้แถลงคดี ไม่ผูกพันองค์คณะตุลาการผู้รับผิดชอบคดี ดังนั้น คำพิพากษาอาจมีแนวเดียวกับตุลาการผู้แถลงคดีหรือไม่แตกต่างไปก็ได้

ผลที่บริษัทได้รับ
                คดีฟ้องร้องต่างๆมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดหนี้สินที่ต้องประมาณการขี้นจากการถูกฟ้องร้องจากศาล  ในระหว่างที่กำลังดำเนินการนั้นจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน  ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในบริษัท  ตัวอย่างคดีล่าสุด  เมื่อเวลาประมาณ 18.31 น.  วันที่ 9 มิถุนายน 2557 เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงาน IRPC อ.เมือง จ.ระยองโดยเพลิงได้ลุกลามอย่างหนัก และมีเสียงระเบิดดังขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกประมาณ 3 ครั้ง เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองได้สั่งปิดโรงงานเป็นเวลา 90 วัน ส่งผลให้ต้องหยุดการผลิต  รวมถึงต้องรับผิดชอบกับมลพิษที่เกิดขึ้นและสุขภาพของประชาชนในระแวกใกล้เคียง


การพัฒนาปิโตรเลียม       
                ปิโตรเลียมหรือ น้ำมันดิบเป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล
การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียมหลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด

ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่นกำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม

การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม

การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม เป็นการหาพื้นที่ซึ่งอาจมีชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมอยู่ โดยสามารถแบ่งขั้นตอนได้เป็นดังนี้

ขั้นตอนการสำรวจหาข้อมูล (Exploration)

ในการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม นักธรณีวิทยาจะใช้วิธีการสำรวจอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

การขุดเจาะหลุมเพื่อเก็บตัวอย่างหิน (Core Drilling) เป็นวิธีการที่อาศัยการขุดเจาะและเก็บตัวอย่างหินในหลุมเจาะขึ้นมาจากหลุมเจาะหลายๆ หลุมในบริเวณที่ทำการศึกษา และอาศัยการศึกษาตัวอย่างของหินจากหลุมเจาะ รวมทั้งระดับที่แน่นอนของตัวอย่างหิน ก็จะสามารถเปรียบเทียบชนิดของชั้นหิน และโครงสร้างของชั้นหินในบริเวณที่ศึกษาได้

การสำรวจโดยคลื่นสั่นสะเทือน (Seismic Prospecting) เป็นวิธีการที่อาศัยความรู้และหลักการของคลื่นไหวสะเทือนโดยอาศัยวัตถุระเบิด สำรวจโดยการขุดเจาะหลุมตื้นประมาณ 50 เมตร เพื่อใช้เป็นจุดระเบิด เมื่อจุดระเบิดขึ้น จะก่อให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนวิ่งผ่านลงไปในชั้นหินและเกิดการสะท้อนกลับขึ้นมาสู่ผิวดิน และคำนวณหาความลึกที่คลื่นไหวสะเทือนนี้เดินทางได้ จากนั้นก็จะสามารถทราบโครงสร้างทางธรณีข้างล่างได้

การสำรวจโดยความโน้มถ่วง (Gravity Prospecting) เป็นวิธีการที่อาศัยความแตกต่างกันของค่าความถ่วงจำเพาะของหินชนิดต่างๆ ภายใต้เปลือกโลก ถ้าชั้นหินวางตัวอยู่ในแนวระนาบ จะสามารถวัดค่าความโน้มถ่วงที่คงที่ได้ แต่หากชั้นหินการเอียงเท ค่าของความโน้มถ่วงที่วัดได้จะแปรผันไปกับการวางตัวหรือโครงสร้างของชั้นหินนั้น ซึ่งก็จะทำให้ทราบลักษณะการวางตัวและโครงสร้างของชั้นหินนั้นได้จากการแปลผลข้อมูลที่ได้มา

ทั้งนี้ วิธีการทั้ง 3 วิธีการดังกล่าวข้างต้นนี้ ทำให้ทราบได้ว่าโครงสร้างที่พบนั้นมีความเหมาะสมแก่การเป็นแหล่งกักเก็บน้ำมันมากน้อยเพียงใด แต่ไม่ได้บ่งชี้ชัดเจนว่าชั้นหินนั้นจะเป็นชั้นหินกักเก็บน้ำมันหรือไม่ โดยการสำรวจมีวิธีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กัลลักษณะภูมิประเทศ หลังจากได้ข้อมูลการสำรวจแล้วจะกำหนดแผนการเจาะเพื่อพอสูจน์การมีการสะสมของปิโตรเลียมต่อไป

ขั้นตอนการขุดเจาะ (Drilling)

เป็นการขุดเจาะหลุมเพื่อการผลิต โดยหลังจากที่ทำการสำรวจทางธรณีวิทยา จนทราบว่าน่าจะมีปิโตรเลียมอยู่ในบริเวณใดบ้าง ก็จะต้องทำการเจาะหลุมสำรวจ (Exploration Well) โดยใช้วิธีสุ่มเจาะ เพื่อสำรวจหาปิโตรเลียมในบริเวณที่ยังไม่เคยมีการเจาะพิสูจน์มาก่อน จากนั้นก็จะมีการประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจและหาขอบเขตของแหล่งกักเก็บนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าแหล่งกักเก็บนี้มีปริมาณมากพอในเชิงพาณิชย์ จึงจะทำการเจาะหลุมเจาะเพื่อนำปิโตรเลียมที่สะสมตัวอยู่นั้นขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไป

หลังจากที่สำรวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ด้วยการวัดคลื่นความไหวสะเทือน (Seismic Survey) และแปลความหมายเพื่อหาแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมอยู่ตรงส่วนใดบ้างใต้พื้นดินและกำหนดจุดเพื่อทำการเจาะสำรวจ คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายขุดเจาะที่ต้องทำการเจาะ "หลุมสำรวจ" (Exploration Well) โดยใช้วิธีเจาะสุ่มซึ่งเราจะเรียกหลุมชนิดนี้ว่า หลุมแรกสำรวจ’ (Wildcat Well) เพื่อสำรวจหาปิโตรเลียมในบริเวณที่ยังไม่เคยมีการเจาะพิสูจน์เลย จากนั้นเมื่อถึงขั้นตอนของการประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจและหาขอบเขตของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม เราจะเจาะหลุมที่เรียกว่า "หลุมประเมินผล" (Delineation Well) และหลังจากที่เราแน่ใจแล้วว่ามีแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมในปริมาณที่มากพอในเชิงพาณิชย์ เราจึงเจาะ "หลุมเพื่อการผลิตปิโตรเลียม" (Development Well) เพื่อนำปิโตรเลียมที่สะสมตัวอยู่ใต้พื้นดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไป

การขุดเจาะหลุมเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้นเป็นงานที่ท้าทายและมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเราต้องขุดไปที่ความลึกประมาณ 3-4 กิโลเมตรใต้พื้นทะเล ในสมัยก่อนการขุดเจาะหลุม 1 หลุมนั้นต้องใช้เวลากว่า 60 วัน โดยใช้งบประมาณกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อหลุม[ต้องการอ้างอิง]ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงมาก เพราะหากเราขุดไปแล้วพบปริมาณน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติที่ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ การลงทุนนั้นก็สูญเปล่า แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาและทันสมัยมากยิ่งขึ้น ระยะเวลาในการขุดเจาะลดลงเหลือเพียง 4-5 วันต่อ 1 หลุม และใช้งบประมาณน้อยลงกว่าเดิม

ขั้นตอนการผลิต (Production)

หลังจากที่มีการขุดเจาะเอาปิโตรเลียมขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมที่ได้ก็จะผ่านเข้าสู่กระบวนการต่างๆ บนแท่นเพื่อแยกเอา น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และสารปนเปื้อนอื่นๆ ออกจากน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาตินั้น เพื่อนำเอาน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติไปใช้ในการผลิต

ขั้นตอนการสละหลุม (Abandonment)

ในกรณีที่ของหลุมที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว จะมีการอัดซีเมนต์ลงไปตามท่อผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้ของไหลที่มีอยู่ในชั้นหินไหลไปสู่ชั้นหินอื่น ซึ่งอาจไปทำลายชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมใกล้เคียง หรือเข้าไปปนเปื้อนกับชั้นน้ำใต้ดินได้
การผลิตปิโตรเลียม
                เมื่อแยกเอา น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และสารปนเปื้อนอื่นๆ ออกจากน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบจะถูกส่งผ่านไปยังสถานีแยกปิโตรเลียมเพื่อแปรสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
การแยก (Separation)
                โดยส่วนใหญ่จะแยกโดยวิธีการกลั่นลำดับส่วน (Fractional Distillation) โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือดของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแต่ละชนิดที่รวมอยู่ในน้ำมันดิบ โดยนำน้ำมันมาให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 368-385 องศาเซลเซียส แล้วผ่านเข้าไปในหอกลั่น น้ำมันที่ร้อนจะกลายเป็นไอลอยขึ้นไปยอด และควบแน่นเป็นของเหลวตกลงบนถาดรองรับในแต่ละช่วงของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ จากนั้นของไหลในถาดก็จะไหลออกมาตามท่อเพื่อน้ำไปเก็บแยกตามประเภท และนำไปใช้ต่อไป

การเปลี่ยนโครงสร้าง (Conversion)
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจมีคุณภาพที่ไม่ดีพอ จึงต้องใช้วิธีทางเคมีเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของน้ำมัน ให้น้ำมันที่ได้มีคุณภาพที่ดี เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
การปรับคุณภาพ (Treating)
                เป็นการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำมันน้ำมันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแล้ว ซึ่งสิ่งแปลกปลอมที่สำคัญจะเป็นสารจำพวกกำมะถัน ซึ่งจะใช้วิธีการฟอกด้วยไฮโดรเจน หรือฟอกด้วยโซดาไฟเพื่อเป็นการกำจัดสารนั้นออก
การผสม (Blending)
                คือการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาเติมหรือผสมสารที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตามที่ต้องการ เช่น การผสมน้ำมันเบนซินเพื่อเพิ่มเลขออกเทน หรือผสมน้ำมันเตาเพื่อให้ได้ความหนืดตามที่ต้องการ

การสํารวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
การสำรวจแหล่งปิโตรเลียม
                การสํารวจหาปิโตรเลียมเริ่มต้นด้วยการสํารวจทางธรณีวิทยาโดยอาศัย ภาพถ่ายทางอากาศ หรือภาพถ่ายจากดาวเทียม ช่วยให้คาดคะเนโครงสร้างของชั้นหินใต้พื้นดินได้ อย่างคร่าวจากนั้นจึงทําการสํารวจในขั้นรายละเอียด โดยนักธรณีวิทยาจะออกสํารวจดูหิน ที่โผล่พ้นพื้นดิน ตามหน้าผา หรือริมแม่น้ำลําธาร เพื่อให้เข้าใจลักษณะทางธรณีวิทยาของ ชั้นหินที่อยู่ลึกลงไปหลายกิโลเมตรข้อมูลจากการสํารวจทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในแผนที่ทางธรณีวิทยาแต่ทั้งหมดนี้ จะต้องได้รับการยืนยันให้แน่นอนโดยการสํารวจทางธรณีฟิสิกส์อีกชั้นหนึ่ง
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ มีหลายวิธี ที่นิยมกันมากมี 2 วิธี คือ
1.การวัดค่าความไหวสะเทือน (Seismic Survey)
                ทําได้โดยการจุดระเบิดใต้พื้นดิน ให้เกิดคลื่นความไหวสะเทือนวิ่งลงไปกระทบชั้นหิน ใต้พื้นดินแล้วสะท้อนกลับขึ้นมาเข้าเครื่องรับสัญญาณ ระยะเวลาของคลื่นที่สะท้อนกลับขึ้นมา จากชั้นหินต่าง ๆ จะถูกนํามาคํานวณหาความหนาและตำแหน่งของชั้นหินที่เป็นตัวสะท้อน คลื่นได้ สําหรับในบางพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่ายอาจใช้รถสํารวจทางธรณีฟิสิกส์ซึ่งมีแป้นตรงกลาง ใต้ท้องรถทําหน้าที่กระแทกพื้นดินเป็นจังหวะ ๆ ให้เกิดคลื่นความสั่นสะเทือนและมี เครื่องรับสัญญาณคลื่นสะท้อนกลับจากพื้นดิน เพื่อนําไปแปลผลต่อไป
1.            การวัดค่าความไหวสะเทือน 2 มิติ (2D Seismic Survey)
2.            การวัดค่าความไหวสะเทือน 3 มิติ (3D Seismic Survey)
2.การวัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็ก (Electromagnetic Survey)
                ใช้หลักการว่าหินต่างชนิดกันจะมีความสามารถในการดูดซึมแม่เหล็กต่างกัน การเจาะสํารวจ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสํารวจหาปิโตรเลียม เพื่อให้แน่ใจว่ามี ปิโตรเลียมสะสมตัวอยู่หรือไม่
                1. แท่นเจาะ (Drilling Rig)
                ความยากง่ายของกระบวนการเจาะจะเป็นตัวกําหนดระดับของความซับซ้อนในองค์ประกอบของแท่นเจาะเอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแท่นเจาะจะมีอยู่มากมายหลากหลายประเภท แต่ส่วนประกอบพื้นฐานของแท่นเจาะทั้งหลายนั้นก็คล้ายคลึงกัน
แท่นเจาะโดยทั่วไปจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
-บนบก (Onshore)
-ในทะเล (Offshore) ได้แก่ Barge, Jack-up, Fix Platform, Semi-Submersible, Drill Ship
แท่นเจาะบนบกโดยรวมแล้วจะไม่ต่างกัน แต่สําหรับแท่นเจาะในทะเลนั้น จะแตกต่างกันตามความเหมาะสมในการใช้งานกับสภาพแวดล้อมทาง ทะเลที่ต่างกันไป            
                2. เครื่องขุดเจาะ (Drill String)
                เพื่อการสํารวจปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเลนั้นคล้ายคลึงกัน คือมีลักษณะ ที่เป็นสว่านหมุน โดยมีส่วนประกอบที่สําคัญ ได้แก่
- หัวเจาะ ทําด้วยโลหะแข็ง มีฟันคม ซึ่งเมื่อถูกหมุนด้วยแรงหมุน และแรงกดที่มากมหาศาลฟันคมของมันจะตัดหินและดินที่ขวางหน้าให้ขาดสะบั้นเป็น เศษเล็กเศษน้อย ทําให้ก้านเจาะสามารถทะลวงลงใต้ดินให้ลึกยิ่ง ๆ ขึ้น
- ก้านเจาะ เป็นท่อนตรงกลางซึ่งยาวท่อนละประมาณ 10 เมตร และเพื่อจะเจาะให้ได้ลึกตามต้องการจึงจะต้องนําก้านเจาะแต่ละท่อนมาขันเกลียวต่อกัน ให้ยาวขึ้น
                3. น้ำโคลน (Drilling Mud)
ประกอบด้วย น้ำธรรมดา สารเคมี และแร่บางชนิดซึ่งผสมกันจนมีน้ำหนัก และความหนืดข้นตามต้องการ เมือน้ำโคลนถูกส่งลงไปในหลุมผ่านช่องว่างในก้านเจาะ ความหนืดข้นของน้ำโคลนจะยึดเหนี่ยวเศษดินหินให้ลอยแขวนอยู่ได้ ก่อนที่จะถูกดันขึ้นมา พร้อมกันยังปากหลุมอีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านช่องว่างระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุม น้ำโคลนนอกจากใช้ลําเลียงเศษดินหินขึ้นมาแล้ว ยังทําหน้าที่เป็นวัสดุหล่อลื่นให้แก่หัวเจาะ และความหนักของมันยังช่วยต้านแรงดันจากชั้นหินในหลุมได้ด้วย
                4. การหยั่งธรณีหลุมเจาะ (Well Logging)
                คือการทดสอบว่าชั้นหินต่าง ๆ ที่เราเจาะผ่านไปนั้นมีปิโตรเลียมแทรกเก็บอยู่หรือไม่ ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การใช้เครื่องมือหยั่งธรณีหย่อนลงไปในหลุม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือไฟฟ้า เครื่องรับส่งกัมมันตภาพรังสี และคลื่นเสียง เพื่อวัดค่าคุณสมบัติของชั้นหิน และสิ่งที่อยู่ภายใน ช่องว่างของชั้นหิน
                อีกวิธีหนึ่งคือการเก็บตัวอย่างจากหลุมเจาะมาพิสูจน์ปิโตรเลียมหรือสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะตัวคือติดไฟได้
                5. การป้องกันหลุมเจาะพัง (Casing)
                เครื่องมือสําคัญที่ใช้ป้องกันอุบัติเหตุจากแรงดันใต้หลุมประกอบด้วยวาล์ว และท่อ หลายตอน ซึ่งจะปิดปากหลุมอย่างหนาแน่นเพื่อต้านแรงดันที่อาจพุ่งขึ้นมา ทําให้เกิดการระเบิด (Blow-out) และไฟลุกไหม้เป็นอันตรายได้ เมื่อเจาะหลุมลึกพอสมควรแล้ว ยังต้องมีมาตรการ ป้องกันหลุมถล่ม ซึ่งทําได้โดยการส่งท่อกรุลงไปตามความลึกของหลุมแล้วลงซีเมนต์ยึดท่อ กรุเหล็กติดกับผนังหลุมอีกทีหนึ่ง

การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
                จากผลการเจาะสุ่ม ถ้าพบร่องรอยปิโตรเลียมที่หลุมใดก็จะเจาะหลุมเพิ่มเติมในบริเวณนั้นอีกจํานวนหนึ่ง เพื่อหา ขอบเขตความกว้างยาวของแหล่ง และปริมาณปิโตรเลียมที่น่าจะกักเก็บอยู่ในแหล่งนั้น ก่อนที่จะเจาะหลุมทดลองผลิตต่อไป
                การเจาะหลุมทดลองผลิตก็เพื่อคํานวณหาปริมาณน้ำมันที่คาดว่าจะผลิตได้ในแต่ละวัน และปริมาณน้ำมันสํารองว่าจะมีมากพอในเชิงพาณิชย์หรือไม่ กล่าวคือ จะได้ผลคุ้มกับ การลงทุนผลิตหรือไม่
                ตามปกติปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่สะสมตัวลึกลงไปใต้ผิวโลกจะมีค่าความดันสูงกว่าบรรยากาศอยู่แล้ว การนําน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติจากพื้นดินขึ้นมา จึงอาศัยแรงดันธรรมชาติดังกล่าว โดยให้มีการควบคุมการไหลที่เหมาะสม
                จากปากหลุมปิโตรเลียมจะไหลผ่านท่อไปยังเครื่องแยกและตอนนี้เองน้ำและเม็ดหินดินทรายที่เจือปนจะถูกแยกออกไปก่อนจากนั้นปิโตรเลียมจะถูกส่งผ่านท่อรวมไปยัง สถานี ใหญ่เพื่อแยกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติออกจากกันในการแยกขั้นสุดท้ายจะมีก๊าซ เจือปนส่วนน้อยที่ต้องเผาทิ้งเพราะคุณสมบัติของมันไม่ตรงกับก๊าซส่วนใหญ่ที่จะทําการ ซื้อขาย


ผลกระทบต่อการจัดการบัญชีปิโตรเลียม
                กฎหมายสำหรับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม  ประกาศกรมทรัพยากรธรณี  เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีเสนองบบัญชีค่าใช้จ่าย ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม  โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเสนองบบัญชีค่าใช้จ่าย ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเสนองบบัญชีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ตามประกาศลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ข้อ 2 ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานและผู้ร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมทุกรายต้องจัดทำและเสนองบบัญชีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจาการปิโตรเลียมตามแบบ ชธ/ป9 ท้ายประกาศนี้ ให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทราบทุกปี ปีละ 4 ครั้ง โดยให้จัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายเป็นรอบระยะเวลาสามเดือนประดิทิน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม ตามลำดับ
                ในกรณีที่เป็นการเสนองบบัญชีค่าใช้จ่ายเป็นครั้งแรก ให้ผู้รับสัมปทานจัดทำและเสนองบบัญชีค่าใช้จ่าย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ได้รับสัมปทานจนถึงวันครบรอบระยะเวลาสามเดือน ตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
ข้อ 3 ให้นำส่งงบบัญชีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการปิโตรเลียมที่สำนักกำกับและบริหารสัมปทานปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ภายในกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาสามเดือน ดังนี้
          (1) ผู้ดำเนินงาน (Operator) ตามสัมปทาน เป็นผู้จัดทำและเสนองบบัญชีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการปิโตรเลียมร่วม (Joint Ventures Expense) เป็นรายแปลงสำรวจ และ
          (2) ผู้รับสัมปทานและผู้ร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมทุกราย เป็นผู้จัดทำและเสนองบบัญชีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัท (Coporate Expense) ที่นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่ผุ้ดำเนินงานได้จัดส่งแล้วตาม (1) เป็นรายแปลงสำรวจ ทั้งนี้เว้นแต่ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 ให้ผู้รับสัมปทานจัดทำและเสนองบบัญชีค่าใช้จ่ายเป็นรายบริษัท
ข้อ 4 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานถือสัมปทานที่มีแปลงสำรวจหลายแปลง หรือถือสัมปทานหลายสัมปทานแล้วแต่กรณี ไม่สามารถแบ่งแยกรายได้หรือรายจ่ายตามแปลงสำรวจหรือสัมปทานได้อย่างชัดเจน ให้นำหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงฉบับที่20 (พ.ศ. 2536) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
        ไกรฤทธิ์ นิลคูหา
อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น