การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)
ความหมายของ EHIA
EHIA มาจากตัวย่อของ EIA และ HIA ซึ่งเป็นการศึกษาถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่ง HIA เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลกระทบใน EIA โดย EIA เป็นตัวย่อมาจาก Environmental Impact Assessment ซึ่งหมายถึง การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง
สำหรับประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 ซึ่งในปีในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกฎหมายสิ่งแวดล้อมออกเป็น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ในส่วนของการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และกฎหมายฉบับดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์แก่ผู้รักษาการ (แต่ยังมิได้ระบุไว้ในมาตราโดยตรง) วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องนำเสนอพร้อมรายงานฯ เพิ่มเติม
โดยที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ระบุไว้ชัดในมาตราที่ 56 โดยมีประเด็นหลักที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชน จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการใด ๆ หากไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อน ดังนั้น จากกฎหมายหลักฉบับนี้ของไทย ทำให้กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว
การทำประชาพิจารณ์
คำว่า ประชาพิจารณ์ ประกอบด้วยคำว่า ประชา หมายถึง ประชาชน กับคำว่า พิจารณ์ ซึ่งหมายถึงพิจารณา ตรวจตรา สอบสวน ให้ความคิดเห็น
ประชาพิจารณ์ หมายถึง รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องที่มีผลกระทบชีวิตของประชาชนทุกคน การทำประชาพิจารณ์ควรจัดให้ได้รับความคิดเห็นจากประชาชนทุกหมู่เหล่า และทำในวงกว้างเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สะท้อนความคิดเห็นจากประชาชนอย่างแท้จริง ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีผลต่อประชาชนจำนวนมาก
การประชาพิจารณ์เป็นกระบวนการที่รัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติที่มีข้อให้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลโดยละเอียด แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลต่อโครงการหรือนโยบายนั้น ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตามรวมทั้งการทำประชาพิจารณ์เป็นการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นทางการ ตามระเบียบสำนักนายกฯ จึงจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์ มีการประกาศเชิญชวนให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมประชาพิจารณ์ มีการลงทะเบียนเพื่อการเข้าร่วมประชาพิจารณ์
วัตถุประสงค์ของการทำประชาพิจารณ์
การประชาพิจารณ์เป็นที่เปิดโอกาสสำหรับบุคคลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐได้แสดงความคิดเห็นในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการดังกล่าว โดยอาจจะใช้การพิจารณาเป็นการประชุมหารืออย่างเป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับผิดชอบต่อการดำเนินโครงการ และกลุ่มผลประโยชน์ หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียจากโครงการดังกล่าว หน่วยงานของรัฐไม่จำเป็นต้องได้รับอำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายในการจัดประชาพิจารณ์ โดยถือเป็นเรื่องที่ปกติและเป็นการเหมาะสมที่รัฐบาลจะปรึกษาประชาชนก่อนการเนินการที่สำคัญ ประชาพิจารณ์ไม่ใช่การดำเนินคดีที่ประกอบไปด้วยโจทย์ และจำเลย แม้ว่าในกระบวนการประชาพิจารณ์ผู้เข้าร่วมอาจได้รับอนุญาตให้ส่งหนังสือหรือเอกสารแก่ส่วนราชการ กระบวนการจะเป็นไปตามที่ส่วนราชการเห็นสมควร และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ตัดสินใจดำเนินการตามดุลยพินิจของตน แม้ว่าบุคคลในกระบวนการประชาพิจารณ์ไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนเท่าใดก็ตาม ประชาพิจารณ์จัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้การตัดสินใจของรัฐสอดคล้องกับประโยชน์
2. เพื่อลดความขัดแย้งจากการตัดสินใจของรัฐ
3. เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอแก่ประชาชน
4. เพื่อเป็นทางเลือกในการมีส่วนรวมของประชาชนต่อการตัดสินใจของรัฐ
5. เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด
หลักการประชาพิจารณ์ (สืบวงค์ กาฬวงค์, 2546) มีดังนี้
1. จะต้องกระทำขึ้นก่อนมีการตัดสินใจของรัฐ
2. จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับผลกระทบแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
3. การดำเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย
4. ข้อสรุปจากการประชาพิจารณ์มีฐานะเป็นเพียงข้อเสนอแนะ
บทบาทของการประชาพิจารณ์ในทางกฎหมาย และการบริหารราชการ
การพิจารณ์ทางนิติบัญญัติ : กระบวนการศึกษาปัญหาด้านนโยบายเบื้องต้น
การประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่างกฎหมายที่จะเสนอเพื่อให้เกิดเป็นโครงการต่าง ๆ นั้น โดยกระบวนการมีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นแรก การกำหนดสภาพของปัญหาและประเด็นที่จะทำการพิจารณา คณะกรรมาธิการแต่ละคณะมีคณะทำงานซึ่งมีประสบการณ์ เฉพาะด้าน และประกอบด้วยนักกฎหมายจำนวนหนึ่ง คณะทำงานจะรวบรวมผลการศึกษา และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา และจัดให้มีการสอบถามอย่างไม่เป็นทางการไปยังผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นประธานคณะกรรมาธิการ และสมาชิกกรรมาธิการในคณะจะพิจารณาว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องใดบ้างที่ต้องเชิญให้เข้าร่วมการพิจารณ์
2. ขั้นที่สอง การคัดเลือกบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ
ประการแรก คือการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำบันทึก บันทึกข้อมูลนี้จะมอบให้กับสมาชิกนิติบัญญัติในขณะพิจารณาร่างกฎหมาย และจะเปิดเผยต่อสาธารณชนโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของประวัติร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณา
ประการที่สอง การคัดเลือกบุคคลผู้ชี้แจง คือ การสร้างแรงสนับสนุนทางการเมืองในการผ่านร่างกฎหมาย วัตถุประสงค์นี้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการทำให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบถึงโครงการ และการได้รับความไว้วางใจของประชาชน เพื่อให้ผู้สังเกตการณ์มองว่าคณะกรรมาธิการดำเนินการอย่างยุติธรรม
3. ขั้นที่ 3 ขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ ประธานคณะกรรมาธิการจะทำหน้าที่ประธาน และกรรมาธิการอื่นซึ่งเป็นสมาชิกนิติบัญญัติจากพรรคการเมืองจะปรากฏตัวหลังแท่นเวที โดยมีคณะทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อให้ความช่วยเหลือในการประชาพิจารณ์ บุคคลที่ได้รับเชิญจะยื่นหนังสือหรือเอกสาร และจะนำเสนอข้อมูลดังกล่าวโดยสรุปด้วยวาจา กรรมธิการจะสอบถามเพื่อความกระจ่างของข้อมูล หรือเพื่อความชัดเจนในประเด็นที่มีความสำคัญ หรือเพื่อโต้แย้งและแสดงความไม่เห็นด้วยกับผู้ได้รับเชิญ โดยคณะทำงานมักเตรียมคำถามให้สมาชิกนิติบัญญัติเป็นการล่วงหน้า ตามปกติบุคคลที่ได้รับผลประโยชน์จะนั่งสังเกตการณ์ในกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุม
4. ขั้นที่ 3 การรวบรวมบันทึก มีการพิมพ์บันทึกการพิจารณ์ซึ่งจะรวมหนังสือหรือเอกสาร ซึ่งบุคคลที่ได้รับเชิญเตรียมไว้ล่วงหน้า บ่อยครั้งที่จะมีคำถามในระหว่างการพิจารณ์แก่บุคคลที่ได้รับเชิญ และต้องให้ตอบเป็นลายลักษณ์อักษรในการบันทึกการพิจารณ์ ซึ่งจะมอบแก่สมาชิกนิติบัญญัติในการพิจารณาร่างกฎหมาย
การประชาพิจารณ์ในขั้นตอนการปฏิบัติตามนโยบาย
แม้ว่าจะมีการศึกษาและถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาใดปัญหาหนึ่งก่อนที่จะมีการตรากฎหมายเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือดำเนินโครงการใด และแม้จะมีการตรากฎหมายแล้ว กฎหมายซึ่งให้อำนาจดำเนินการแก่หน่วยงานดังกล่าวมักไม่กำหนดแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน เช่น กฎหมายกำหนดให้อำนาจการสร้างเขื่อนหรือทางด่วน แต่ก็มิได้กำหนดสถานที่ในการดำเนินการไว้ ดังนั้นในขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมายจึงจำเป็นต้องมีการประชาพิจารณ์
ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากการพิจารณ์ทางนิติบัญญัติที่ได้กล่าวถึงข้างต้น
1. การออกกฎระเบียบอย่างไม่เป็นทางการ : การพิจารณ์ทางการปกครอง
ส่วนราชการมักต้องออกกฎเกณฑ์ทั่วไป เพื่อดำเนินการตามที่กฎหมายแม่บทกำหนด กฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจมีเนื้อหาเป็นการกำหนดระดับของมลพิษทางอุตสาหกรรม หรือกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองของรัฐบาลกำหนด
ขั้นตอนดำเนินงานที่ง่ายสำหรับการออกกฎ โดยขั้นแรกหน่วยงานจะแจ้งต่อสาธารณชน โดยแจ้งจะระบุข้อเสนอเบื้องต้นของหน่วยงาน และเชิญให้บุคคลทั่วไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร จากนั้นหน่วยงานต้องเปิดรับข้อสังเกตตามระยะเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็นระยะเวลาสามสิบหรือหกสิบวัน และหลังจากหน่วยงานพิจารณาข้อสังเกตและได้ร่างกฎระเบียบเรียบร้อยแล้ว หน่วยงานต้องอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาของกฎเกณฑ์ดังกล่าวด้วย
ตัวอย่างเช่นเมื่อสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจะออกกฎกำหนดระดับมลพิษทางน้ำและอากาศของกิจการอุตสาหกรรม สำนักงาน ฯ จะต้องแจ้งต่อสาธารณชนถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินการและระดับของมลพิษที่จะกำหนด หลังจากได้รับข้อสังเกตจากกลุ่มอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมแล้ว สำนักงานฯ จะพิจารณาว่ากฎที่จะกำหนดควรมีลักษณะและเนื้อหาเช่นใด และในการประกาศกฎ สำนักงานฯ จะระบุเหตุผลความจำเป็นในการออกกฎดังกล่าว ซึ่งเป็นการตอบคำถามต่อข้อสังเกตที่สำคัญว่าเหตุใดจึงได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธไปในตัว
ขั้นตอนการออกกฎอย่างไม่เป็นทางการเป็นวิธีการที่ง่าย รวดเร็ว ไม่เสียเงินค่าใช้จ่ายสูง และมีประสิทธิภาพในการเปิดโอกาสให้กลุ่มผลประโยชน์ที่อาจได้รับผลกระทบ แจ้งให้รัฐบาลทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากโครงการของรัฐบาล นอกจากนั้นกลุ่มผลประโยชน์ยังมั่นใจว่าตนมีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นและได้รับคำตอบจากรัฐบาล อย่างไรก็ตามกระบวนการนี้ก็ไม่ถือเป็นการพิจารณ์ทางนิติบัญญัติ เนื่องจากผู้มีอำนาจตัดสินใจมิได้เผชิญหน้ากับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่สามารถเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยวาจาโดยตรง ดังนั้นการออกกฎอย่างไม่เป็นทางการจึงถูกเรียกในบางครั้งว่า “การพิจารณ์ด้วยเอกสาร”กระบวนการนี้ถือเป็นการพิจารณ์อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้แสดงความคิดเห็นสามารถคาดหวังได้ว่าความคิดเห็นของตนจะได้รับการพิจารณา แต่ในขณะเดียวกันกระบวนการนี้ก็ไม่มีความยืดหยุ่นเท่ากับการนำเสนอด้วยวาจา และไม่เป็นที่พึงพอใจเท่ากับการปรากฏตัวและมีส่วนร่วมในกระบวนการในบางครั้ง ส่วนราชการเลือกที่จะเพิ่มกระบวนการพิจารณ์ทางนิติบัญญัติในการพิจารณ์ด้วยเอกสารสำหรับการออกกฎ โดยอาจจัดให้มีการพิจารณ์ขึ้นในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาในการออกกฎหมาย การดำเนินการเช่นนี้เป็นการรวมประโยชน์ของทั้งสองกระบวนการไว้ด้วยกัน
2. การออกกฎอย่างเป็นทางการ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองยังกำหนดขั้นตอนไว้อย่างละเอียด สำหรับการออกกฎซึ่งเรียกว่า การออกกฎอย่างเป็นทางการ อันมีลักษณะเป็นกระบวนการพิจารณาคดีเพื่อการออกกฎโดยมีบุคคลที่ได้ระบุชื่อโดยเฉพาะเจาะจงสองฝ่าย ซึ่งจะส่งเอกสารหลักฐานที่อาจมีการโต้แย้งความถูกต้อง และมีผู้พิพากษาคดีปกครองทำคำตัดสิน ตัวอย่างเช่นครั้งหนึ่งกฎหมายกำหนดให้สำนักงานอาหารและยาจัดให้มีการพิจารณาคดีเพื่อตัดสินปริมาณของถั่วเหลืองและน้ำมันในเนยถั่วเหลืองซึ่งใช้เวลาตัดสินนานกว่าสิบปี การออกกฎอย่างเป็นทางการเป็นกระบวนการที่ล่าช้า และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงไม่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
3. การออกกฎโดยเจรจา ส่วนราชการได้ทำการทดลองกระบวนการใหม่ที่เรียกว่า การออกกฎโดยการเจรจา โดยมีแนวคามคิดในการรวบรวมกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังพิจารณา เพื่อทำการเจรจาเกี่ยวกับโครงการและหาข้อสรุปที่เป็นฉันทานุมัติ สำหรับการพิจารณาของส่วนราชการ โดยส่วนราชการจะคัดเลือกกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจเข้าร่วมและจัดเจ้าหน้าที่เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานในการดำเนินการประชุมและทบทวนข้อสรุป หากข้อสรุปเป็นที่ยอมรับหน่วยงานจะนำเสนอข้อเสนอดังกล่าวต่อสาธารณชนเสมือนเป็นข้อเสนอของหน่วยงานเอง ปัจจุบันยังเป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าการออกกฎโดยการเจรจาได้ประสบความสำเร็จเพราะแม้ว่าจะมีประโยชน์ในแง่การเปิดโอกาสให้กลุ่มผลประโยชน์มีส่วนร่วมในขั้นต้น แต่ข้อเสียของวิธีการดังกล่าวคือหน่วยงานอาจเสียการควบคุมกระบวนการตัดสินใจของตนเอง
การกำหนดรูปแบบการประชาพิจารณ์ในกระบวนการดำเนินการตามนโยบาย (ปัญญา อุดชาชน, 2545 อ้างใน สมพิศ สุขแสน)
วิธีการจัดการประชาพิจารณ์ในสถานการณ์ต่างๆ มีดังนี้
1.เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบในการดำเนินการพิจารณ์ โดยปกติเมื่อหน่วยงานจัดให้มีการพิจารณ์ข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานมักได้รับเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการพิจารณ์ ข้าราชการผู้ทำหน้าที่ประธานในการพิจารณ์มักเป็นนักกฎหมาย เนื่องจากอาจมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการและการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการพิจารณ์ และมักเป็นผู้มีความคุ้นเคยกับประเด็นปัญหาที่จะทำการพิจารณา เนื่องจากการประชาพิจารณ์อาจใช้เวลายาวนาน ข้าราชการผู้เป็นประธานอาจต้องทำหน้าที่เป็นระยะเวลาต่อเนื่องเพื่อดำเนินการพิจารณ์และรวบรวมผล พร้อมทั้งทำข้อเสนอเพื่อให้หัวหน้าหน่วยงานจะดำเนินการพิจารณ์ด้วยตนเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องที่พิจารณา
2. บุคคลผู้เข้าร่วมในการพิจารณ์ การแจ้งการพิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ของทางการต่อสาธารณะ อาจนำมาซึ่งการตอบรับของสาธารณะมากเกินกว่าที่หน่วยงานจะรับพิจารณาได้ บางหน่วยงานได้ประสานกระบวนการทั้งสองในการเชิญบุคคล โดยในขั้นตอนแรกหน่วยงานจะแจ้งให้สาธารณชนทราบถึงการพิจารณ์ด้วยเอกสาร และเมื่อทราบจากข้อสังเกตที่ได้รับว่ามีกลุ่มผลประโยชน์ใดที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญก็จะเชิญกลุ่มผลประโยชน์นั้นเข้าร่วมการประชาพิจารณ์ต่อไป
3. สถานที่จัดการพิจารณ์ รัฐบาลมักจัดการประชาพิจารณ์ในเมืองหลวงของประเทศ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของทั้งหน่วยงานและกลุ่มผลประโยชน์ อย่างไรก็ตามไม่นานมานี้หน่วยงานเริ่มที่จะจัดการประชาพิจารณ์ในเมืองในระดับภูมิภาคที่สำคัญเช่นเดียวกัน แม้ว่าข้อเสนอจะมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศและเมื่อข้อเสนอมีผลกระทบอย่างมากต่อเขตพื้นที่ใด แน่นอนว่าจะมีการจัดประชาพิจารณ์ในเขตพื้นที่นั้น
4. เวลาในการจัดการพิจารณ์ เวลาในการจัดการประชาพิจารณ์ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน หากหน่วยงานต้องการแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนแรกๆ ของกระบวนการก็ควรจัดให้มีการพิจารณาในชั้นแรก แต่หากประสงค์ให้มีการวิจารณ์ข้อเสนอเป็นการเฉพาะก็ควรจัดการพิจารณาขึ้นในช่วงเวลาต่อมา
5. กระบวนการในการพิจารณ์ การพิจารณ์ทางเอกสารเป็นกระบวนการพิจารณ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของหน่วยงานและกลุ่มผลประโยชน์ นอกจากนั้นยังมีความเหมาะสมสำหรับประเด็นปัญหาที่มีลักษณะทางเทคนิคสูง ซึ่งอาจไม่เหมาะกับการใช้การพิจารณ์ทางนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามการพิจารณ์ทางเอกสารอาจมีประโยชน์ไม่มากนักสำหรับประชาชนโดยทั่วไปซึ่งอาจแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
6. ขั้นตอนก่อนการทำประชาพิจารณ์ เมื่อรัฐบาลตัดสินใจที่ให้มีการทำประชาพิจารณ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดในเบื้องต้นคือ การแต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์ ความสำเร็จและการยอมรับของประชาชนขึ้นอยู่กับการทำงานของคณะกรรมการประชาพิจารณ์เป็นสำคัญ ดังนี้
6.1 ขั้นตอนก่อนทำการประชาพิจารณ์ (Pre-hearing stage)
6.2 ขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ (Hearing stage)
6.3 ขั้นตอนควบคุมความประพฤติและการปฏิบัติตามกระบวนการทำประชาพิจารณ์
7. การปฏิบัติตามรายงานของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ คณะกรรมการประชาพิจารณ์ด้วยความช่วยเหลือของคณะกรรมการที่ปรึกษา มีหน้าที่จัดทำผลสรุปการศึกษาการทำประชาพิจารณ์ขั้นสุดท้าย (Final Report) พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อรายงานต่อผู้แต่งตั้ง
8. การปฏิบัติตามรายงานสรุปผลการศึกษา การทำประชาพิจารณ์ โดยปกติแล้ว เอกสารรายงานสรุปผลการศึกษาการทำประชาพิจารณ์เพื่อได้ส่งรายงานให้รัฐบาลแล้ว เอกสารจะได้รับการเผยแพร่ต่อประชาชนทันที แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการตัดสินใจการปฏิบัติตามสรุปผลการศึกษาการทำประชาพิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากต้องรับผิดชอบทางการเมือง และการตรวจสอบโดยสื่อมวลชน
9. งบประมาณ สำหรับการทำประชาพิจารณ์ โดยทั่วไปแล้วรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอตามความเหมาะสมตามกรอบการศึกษาของการทำประชาพิจารณ์ในแต่ละเรื่อง ดังนั้นจำนวนค่าใช้จ่ายจะมีจำนวนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษระและระยะเวลาของการศึกษา
ผลกระทบของการประชาพิจารณ์
ประชาพิจารณ์อาจส่งผลกระทบต่อการพิจารณากฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดินสามประการคือ
ประการแรก กระบวนการสาธารณะทุกอย่างต้องเสียค่าใช้จ่ายและทำให้การตัดสินใจล่าช้า การพิจารณ์ทางนิติบัญญัติที่จัดขึ้นในหลายสถานที่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าการพิจารณาด้วยเอกสาร
ประการที่สอง ในบางครั้งกระบวนการทางสังคมถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหน่วงเหนี่ยวหรือก่อให้เกิดความสับสนกับโครงการของรัฐบาล กลุ่มผลประโยชน์ที่โต้แย้งโครงการใดโครงการหนึ่งมักอ้างต่อศาลว่า ตนไม่ได้รับสิทธิในการเข้าร่วมการพิจารณ์ตามที่กฎหมายกำหนด และร้องขอให้มีการพิจารณาคำตัดสินของหน่วยงานใหม่ ทำให้เห็นว่าประเทศไทยอาจต้องทดลองขั้นตอนการประชาพิจารณ์ซึ่งหน่วยงานมีสิทธิเด็ดขาดในการตัดสินใจดำเนินการโดยไม่ให้สิทธิในการอุทธรณ์ หรืออาจใช้กระบวนการของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ประการที่สาม เป็นประการที่สำคัญที่สุด คือกระบวนการสาธารณะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของหน่วยงานไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะในประเด็นปัญหาทั่วไปที่มีลักษณะทางเทคนิค
การประชาพิจารณ์ในปัจจุบัน ได้ตอบสนองต่อกลุ่มผลประโยชน์ที่มีจำนวนมากขึ้น แนวโน้มในการนำกระบวนการประชาพิจารณ์มาใช้เพื่อให้การดำเนินการของส่วนราชการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนมากขึ้น จึงถือเป็นการคุ้มค่ากับเวลาและค่าใช้จ่ายที่เสียไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น