โครงการด้านพัฒนาชุมชนและที่พักอาศัย



ลักษณะของโครงการด้านพัฒนาชุมชนและที่พักอาศัย
ตามประกาศกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดให้โครงการในด้านพัฒนาชุมชนและที่พักอาศัยที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม






ชื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ : บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ : ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยวและอาคารชุด
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ : 979/83 อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ชั้น27 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
ที่ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป รั้ว และเสา : 54/1 หมู่4  ถนนลำลูกกา ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
เลขทะเบียนบริษัท : ทะเบียนเลขที่ บมจ. 0107548000307
Home Page : http:// www.pruksa.com
โทรศัพท์ : 0-2298-0101  โทรสาร : 0-2298-0102
หุ้นสามัญและทุนจดทะเบียน (หุ้น, บาท) : 2,250,812,000
หุ้นสามัญและทุนจดทะเบียนชำระแล้ว (หุ้น, บาท) : 2,213,222,000
วัตถุประสงค์การใช้เงิน : ใช้ลงทุนเพื่อดำเนินการพัฒนาโครงการ
กิจกรรม CSR : บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ควบคู่ไปกับการมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นสนับสนุนใน 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษาและพัฒนาสังคม ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้สังคมไทย อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเติบโตอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัยสำคัญในการวางฐานรากความเป็นอยู่ทางสังคม ด้วยเป็นลักษณะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการดำรงชีวิต     อันได้แก่               ที่อยู่อาศัยซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สะท้อนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม  ดังนั้น พฤกษาในฐานะเป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีและพัฒนาเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืนแต่ในอีกมิติหนึ่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ต้องมีการใช้ทรัพยากรในกิจกรรมแต่ละขั้นตอนค่อนข้างมาก ทั้งวัสดุก่อสร้าง การใช้ทรัพยากรน้ำการใช้ที่ดิน รวมไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งระหว่างการก่อสร้างและหลังการก่อสร้าง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับพื้นที่โดยรอบโครงการทั้งชุมชนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลรักษาและลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม โดยในการพัฒนาโครงการแต่ละครั้ง จะมีการประเมินผลกระทบต่างๆ มีมาตรการและการตรวจติดตาม รวมถึงการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ จึงได้มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ทั่วทั้งองค์กรอย่างชัดเจน รวมไปถึงแนวการบริหารจัดการ การติดตามวัดผลเพื่อตรวจประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่น่าพอใจต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม
นโยบายและแนวการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
การประหยัดพลังงานและลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างจะมุ่งเน้นวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เช่น การยกเลิกการใช้วัสดุมุงหลังคาที่ทำมาจากใยหิน การเลือกใช้วัสดุสสำเร็จรูปที่ประกอบมาจากโรงงาน และนำมาติดตั้งที่หน่วยงานก่อสร้างทันทีเพื่อประหยัดพลังงานและลดกระบวนการต่างๆ ที่จะทำให้เกิดมลภาวะในสถานที่ก่อสร้าง


การบริหารจัดการคุณภาพน้ำ
               ในโครงการที่อยู่อาศัยของบริษัทฯ ทุกโครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสีย บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐานก่อนระบายน้ำลงสู่คูคลองสาธารณะ
ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน
               การผลิตของโรงงานพฤกษาพรีคาสต์ซึ่งใช้เครื่องจักรอัตโนมัติที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มมาตรฐานและคุณภาพที่มากขึ้น มีการดำเนินมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนรอบข้าง และสุขอนามัยของ คนงาน
การดำเนินงานป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานพฤกษา พรีคาสต์บริษัทฯ ได้ลงทุนพัฒนาระบบป้องกันและจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงงานพฤกษา พรีคาสต์ (Pruksa Precast Factory : PCF) ทั้งใน PCF1 และ PCF5 โดยได้ลงทุนจัดหาระบบการจัดการหรือเครื่องจักรต่างๆ เพื่อควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอาชีวอนามัยของพนักงานผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน และสิ่งแวดล้อมภายนอก
-                   ระบบป้องกันและกำจัดฝุ่น

บริษัทฯ มีการติดตั้งเครื่องดักฝุ่น (Dust Collector), เครื่องทำความสะอาดแบบข้างพร้อมระบบดูดฝุ่น (Shuttering cleaner with dust collect) เครื่องทำความสะอาด pallet พร้อมระบบดูดฝุ่น (Cleaning pallet with dust collector) เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นผงคอนกรีตที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมหน้ากาก
อนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นขณะปฏิบัติงานทุกครั้ง



-                   การบริหารจัดการของเสียที่เหลือจากกระบวนการผลิต
บริษัทฯ คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากของเสียที่เหลือจากกระบวนการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กรูป เช่น เศษน้ำมันที่เหลือจากโต๊ะหล่อแบบ เป็นต้น จึงได้นำระบบหรือเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อลดปริมาณของเสียที่อาจเกิดขึ้น ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการนำเศษน้ำมัน หรือของเสียอื่นๆ ไปทำลายหรือทิ้งภายนอก รวมทั้งดำเนินการจัดการของเสีย ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานราชการ
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย
บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยของบริษัทฯ มีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของ  ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ที่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) เพื่อวิเคราะห์ ประเมินผลกระทบ และกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบโครงการ ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการที่อยู่อาศัยโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ก่อนก่อสร้างโครงการ
บริษัทฯ มีการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบโครงการทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ อาทิ ฝุ่นละออง มลพิษทางอากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน การพังทลายของดิน การบำบัดน้ำเสีย การระบายน้ำ การจัดการขยะมูลฝอย ไฟฟ้า น้ำเสีย การจราจร เป็นต้น ซึ่งมีการตรวจวัด ประเมินผลกระทบ กำหนดแผนการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม


ระหว่างการก่อสร้างโครงการ
ตลอดระยะเวลาของการก่อสร้างโครงการ บริษัทฯ ได้ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพ เปรียบเทียบผลการ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และมีการสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและข้อเสนอแนะส่งให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันพิจารณา และมีการวัดผลกระทบต่อคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และต่อคุณค่าคุณภาพชีวิต
ช่วงดำเนินโครงการ
บริษัทฯ ดำเนินการตรวจวัดและประเมินผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางชีวภาพ ผลกระทบต่อคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และผลกระทบต่อคุณค่าคุณภาพชีวิตทั้งนี้ในปี 2556 มีโครงการที่อยู่อาศัยของบริษัทฯ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการบ้านพฤกษา 80 ชลบุรี และคอนโดมิเนียม The Tree Bang Po Station ที่มีการดำเนินงานการก่อสร้างโครงการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ

7. คดีของบริษัท
            กิจการมีข้อพิพาทกับชุมชนซอยสวนพล 6 และซอยสวนพลู 8 ในโครงการ   เดอะ ซี๊ด มิงเกิล อาจส่งผลกระทบกับกิจการและอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาต EIA ได้  โดยทางชุมชนซอยสวนพลู 6 และซอยสวนพลู 8 ได้มีการร้องเรียนการดำเนินงานของกิจการ ดังนี้
การจัดทำแบบสอบถามของโครงการ เดอะ ซี๊ด มิงเกิล บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) ในเชิงที่เอื้อประโยชน์แก่โครงการฯ โดยไม่บอกผู้อยู่อาศัยโดยรอบโครงการฯ ว่าจะนำผลของคำถามเหล่านี้ไป ขอใบอนุญาตแล้วนำผลการสอบถามไปขอประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อยื่นต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผ่าน อีไอเอ ปรากฏว่าทั้งก่อนและหลังจากที่ได้รับใบอนุญาต ได้ดำเนินการก่อสร้างที่ผิดกฎหมาย และผิดจากรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือใบอนุญาต EIA เกือบทุกข้อ เริ่มตั้งแต่
๑. การทำลายทรัพย์รื้อรั้ว
 ๒. ไม่นำวัสดุมาปิดกั้นรั้วเดิมเพื่อป้องกันภัยอันตราย ๓ วัน
๓. ไม่ติดตั้งส้วมสำรองส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งไปทั่วนานกว่า ๓ เดือน
๔. เสียงดังมาก บางครั้งต้องตะโกน
๕. แรงสั่นสะเทือนในการขุด เจาะราวกับแผ่นดินไหว
๖. ไม่ใช้วัสดุปกคลุม ฝุ่นฟุ้งมาก
๗. วัสดุก่อสร้างล่วงหล่นเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินเกิน ๑๐ ครั้ง
๘. การแตกร้าวของเสา ฝาผนัง พื้นและรั้ว
๙. ดำเนินการก่อสร้างในยามวิกาล
๑๐. ด้านชีวิตความเป็นอยู่ ต้องปิดบ้าน ๓ ด้าน เปิดใช้ไฟส่องสว่าง พัดลม เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า บ้านและซักผ้าเพิ่มขึ้น
๑๑. ด้านสุขภาพกาย ภูมิแพ้ที่ผิวหนัง โพรงจมูกอักเสบ ไอเรื้อรัง
๑๒. ด้านสุขภาพจิต เกิดภาวะเครียด นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องและเจ็บหน้าอก
๑๓. สร้างอาคารบดบังสัญญาณโทรทัศน์
๑๔. สร้างอาคารปิดบังทิศทางลมและแสงแดดที่เคยได้รับเป็นปกติ จนทำให้ชุมชนซอยสวนพลู๖ และซอยสวนพลู๘ ได้ทำการร้องเรียนไปยังหน่วยราชที่เกี่ยวข้อง สำนักงานเขตสาทร ๕ ครั้ง กองควบคุมอาคาร ๒ ครั้ง ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ๑๐ ครั้ง สถานีตำรวจทุ่งมหาเมฆ ๓๗ ครั้ง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒ ครั้ง ประธานคณะกรรมการการโยธาและผังเมือง ๑ ครั้ง เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ๑ ครั้ง คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒ ครั้ง แต่ไร้ผล ชุมชนฯ รวม ๑๓ หลังคาเรือน จึงได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง มีสำนักงานเขตสาทรและกรุงเพมหานคร เป็นผู้ถูกฟ้องคดีและโครงการเดอะ ซี๊ด มิงเกิล บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ร้องสอด คดีหมายเลขดำที่ ๓๑๑๕/๒๕๕๕ โดย
๑.ขอให้มีคำสั่งให้หยุดทำการก่อสร้างไว้ชั่วคราว...
๒.หากยังคงฝ่าฝืนขอให้ศาลมีคำสั่งลงโทษปรับ...
๓.ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครทำการรังวัดสอบเขตทางว่าตรงกับการขออนุญาต...
๔.หากพบว่าการขอใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารสูงไม่ถูกต้องหรือเกิดจากการกระทำมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าด้วยกรณีใด...ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตที่ได้อนุญาตให้ปลูกสร้างต่อไปด้วย ได้ขอบรรเทาทุกข์แล้วแต่มีการกระทำผิดฝ่าฝืนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหลายกรณีอีก ขณะนี้อยู่ในชั้นไต่สวน ศาลปกครองรับฟ้องแล้ว และรอหมายกำหนดการรังวัดสอบแนวเขตทางสาธารณะซอยสวนพลู๘ ว่ามีความกว้างตลอดแนวเกิน ๑๐.๐๐ เมตรหรือไม่ จาก สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร
จากการกระทำดังกล่าว
๑. เป็นการจัดทำขอใบอนุญาต อีไอเอ อย่างถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่
๒. ผู้บริหารของบริษัทฯและโครงการฯมีธรรมาภิบาลหรือไม่
๓. หากเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร กองควบคุมอาคารและสำนักงานเขตสาทรปฏิบัติตามหน้าที่ของตนจะมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหรือไม่
โดยทางชุมชนซอยสวนพลู 6 และชุมชนซอยสวนพลู 8 ได้นำหนังสือคำร้องบางส่วนมาเปิดเผย ดังนี้
ตามหนังสือคำร้อง ฝ่ายตรวจสอบเรื่องราว รับที่ รท๗๕๑/๕๕ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ สผว. กทม. ๑๖.๓๕ น.เรื่อง ขอให้ทำการรังวัดสอบแนวเขตทางสาธารณะ (ซอยสวนพลู๘) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารขนาดใหญ่พิเศษโครงการ เดอะ ซี้ด มิงเกิล ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่กำลังก่อสร้างอยู่
เรียน ท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อ้างถึง    ๑. หนังสือ ร๑๗๔๕ รับที่ รท๗๕๑/๕๕ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ สผว.กทม.
๒. หนังสือ งานบริหารทั่วไป เลขที่ ๘๓๘๒ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ ผว.กทม.
๓. หนังสือ ร๒๐๐๓ รับที่ รท๗๕๑/๕๕ วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ สผว.กทม.
สิ่งที่ส่งมาด้วย
๑. สำเนาเรื่อง ที่สาธารณะประโยชน์ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย วันที่พิมพ์ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕
๒. สำเนาหนังสือ ที่ กท ๖๘๐๓/๓๘๗๔ สำนักงานเขตสาทร วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ พร้อมกับเอกสารที่ สำนักงานเขตสาทร แนบมาด้วย
- สำเนาเอกสารหมายเลข ๑ รายงานผลการสอบถาม ข้อมูลโฉนด เลขที่ดิน๖สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร วันที่พิมพ์ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
- สำเนาหลักฐานเอกสารที่ดิน เลขที่ดิน ๖(๒๔๙) แบ่งหักที่สาธารณะ ราย นางแช่ม เหล่าสุนทร มาตราส่วน๑ต่อ๒๐๐๐ รังวัดวันที่ ๖-๗-๘ มกราคม ๒๔๙๗
- สำเนาเอกสารหมายเลข ๒ โฉนดที่ดิน เลขที่ดิน ๑๓ หน้าสำรวจ ๘๕๒ ไม่มีการรับรองสำเนาของ    เจ้าพนักงานที่ดิน
- สำเนาแบ่งให้เป็นถนนสาธารณะประโยชน์ เลขที่ดิน ๑๓(๘๕๒) มาตราส่วน ๑ต่อ๕๐๐ ไม่มีการรับรองสำเนาของเจ้าพนักงานที่ดิน
๓. สำเนาเรื่อง การรังวัด แบ่งแยก รวม สอบเขตที่ดิน กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย วันที่พิมพ์           ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕

ตามที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตสาทรได้รายงานว่าได้ตรวจสอบแล้ว ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒ เป็น
การตรวจสอบเท่านั้น เนื่องจาก
๑.ไม่มีสำเนาหลักฐานเอกสารคำขอรังวัดสอบเขตของที่ดินเลขที่ที่เกี่ยวข้องที่ประชาชนใช้เป็นทางสาธารณะประโยชน์ซอยสวนพลู๘
๒.ไม่มีสำเนาหลักฐานใบนัดวันทำการรังวัด ไม่มีการกำหนดตัวช่างรังวัด
๓.ไม่มีสำเนารับเอกสารหนังสือแจ้งข้างเคียง
๔.ไม่มีสำเนาหลักฐานเอกสารการเรียกเจ้าของที่ดินข้างเคียงมาระวังชี้แนวเขตทั้งสองข้างของทางสาธารณะประโยชน์ซอยสวนพลู๘
๕.ไม่มีสำเนาคำนวณเนื้อที่และสำเนารูปแผนที่ในโฉนดที่ดินที่ผนวกรวมกันเป็นทางสาธารณะประโยชน์ซอยสวนพลู๘ที่ประชาชนใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
๖.ไม่มีประชาชนและชุมชนฯที่ร้องเรียนขอมีส่วนร่วมในการรังวัดสอบแนวเขตทางสาธารณะประโยชน์ซอยสวนพลู๘ได้เข้ามีส่วนร่วมเลย ตามขั้นตอนการรังวัด แบ่งแยก รวม สอบเขตที่ดินตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของกรุงเทพมหานคร ยังมิได้ดำเนินการขอให้ทำการรังวัดสอบเขตทางฯตามเรื่องที่ได้ร้องเรียนไปแล้วถึง ๓ ครั้ง
นอกจากนั้นแล้ว สำนักงานเขตสาทรได้แจ้งว่า ส่วนที่แคบที่สุดบริเวณหน้าปากซอยสวนพลู๘ กว้าง ๑๐.๓๐ เมตร โดยวัดจากผนังข้างอาคาร (เซเว่นอีเลฟเว่น) หลังเสาไฟฟ้าฝั่งตรงข้าม (ร้านทอง) ใน ข้อ ๑. ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒ ขัดแย้งกันเองกับ ที่แจ้งว่า ทางสาธารณะซอยสวนพลู๘ประกอบด้วยการยกให้เป็นทางสาธารณะทั้งแปลง เมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๔๙๘ (ตามเอกสารหมายเลข ๑) และอีกหนึ่งส่วนแบ่งให้เป็นทางสาธารณะโดยการแบ่งหัก (ตามเอกสารหมายเลข ๒) ตรงที่ เมื่อนำหลักฐานเอกสารที่ดิน เลขที่ดิน ๖(๒๔๙) แบ่งหักที่สาธารณะ ราย นางแช่ม เหล่าสุนทร มาตราส่วน๑ต่อ๒๐๐๐ มาผนวกกับส่วนแบ่งให้เป็นถนนสาธารณะประโยชน์ เลขที่ดิน ๑๓(๘๕๒) มาตราส่วน ๑ต่อ๕๐๐มีหลักเขตที่ดิน ย๓๘๘๗๒๗ ร่วมกัน(ด้านติดถนนสวนพลูหรือหน้าปากซอยสวนพลู๘) ณ จุดนี้ เมื่อวัดตามสำเนาหลักฐานเอกสารที่ดินที่สำนักงานเขตสาทรแนบมาด้วยทั้งหมด
เลขที่ดิน ๖(๒๔๙) มีความกว้างประมาณ ๔.๐ มม. มาตราส่วน ๑ต่อ๒๐๐๐ เท่ากับประมาณ ๘.๐๐ เมตร
เลขที่ดิน ๑๓(๘๕๒) มีความกว้างประมาณ ๙.๕ มม. มาตราส่วน ๑ต่อ๕๐๐ เท่ากับประมาณ ๔.๗๕ เมตร
รวมความกว้างหน้าปากซอยสวนพลู๘กว้างประมาณ ๑๒.๗๕ เมตร และมีหลักเขตที่ดิน น๖๐๕๐๘ร่วมกัน
(ด้านอาคารพาณิชย์คูหาเลขที่ ๔๕๕/๑ ซอยสวนพลู๘ถึงฝั่งตรงข้าม) ณ จุดนี้ เมื่อวัดตามหลักฐานเอกสารที่ดิน
เลขที่ดิน ๖(๒๔๙) มีความกว้างประมาณ ๔.๐ มม. มาตราส่วน ๑ต่อ๒๐๐๐ เท่ากับประมาณ ๘.๐๐ เมตร
เลขที่ดิน ๑๓(๘๕๒) มีความกว้างประมาณ ๒.๘ มม. มาตราส่วน ๑ต่อ๕๐๐ เท่ากับประมาณ ๑.๔๐ เมตร
รวมความกว้างซอยสวนพลู๘กว้างประมาณ ๙.๔๐เมตร จึงขัดแย้งกับการรายงานและผลการตรวจสอบของสำนักงานเขตสาธรอย่างชัดเจนในข้อ ๔ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒ นอกจากไม่สอดคล้องแล้ว กลับขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงที่มีความกว้างจากบริเวณด้านปากซอยสวนพลู๘ มากแล้วลดความกว้างลงไปเรื่อยจนถึงบริเวณหน้าร้านค้าผลไม้ทั้งสองฝั่งซอยฯคล้ายคอขวด จึงขัดแย้งกับการรายงานและผลการตรวจสอบของสำนักงานเขตสาธรอีกในข้อ ๓. ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒ หากตามความเป็นจริง แนวเขตทางสาธารณะ(ซอยสวนพลู๘)ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารขนาดใหญ่พิเศษโครงการ เดอะ  ซี้ด มิงเกิล ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่กำลังก่อสร้างอยู่ มีเขตทางกว้างน้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตรยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะ    ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร การกระทำของบริษัทฯดังกล่าว ย่อมขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓     (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงกรณีความกว้างของเขตทางสาธารณะซอยสวนพลู๘ที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อดำรงรักษาไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ขอให้กรุงเทพมหานครมีหนังสือขอให้กรมที่ดินทำการรังวัดตรวจสอบทางสาธารณะแนวซอยสวนพลู๘ จากริมถนนสวนพลู จนถึงหน้าที่ตั้งของโครงการฯ โดยให้กรมที่ดินนำหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของที่ดินที่เกี่ยวข้องแต่ละแปลงทั้งสองข้างทางตลอดแนวซอยสวนพลู๘ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาของที่ดินแต่ละแปลง รวมทั้งหลักฐานการรังวัดตั้งแต่การออกโฉนด (เชนรังวัด) ตามลำดับ มาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการดำเนินการรังวัดตรวจสอบที่สาธารณะซอยสวนพลู๘(การปูโฉนดที่ดิน) โดยให้เจ้าของที่ดินทั้งสองข้างทางมาร่วมชี้แนวเขตด้วย เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเนื้อที่และทำรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินที่ผนวกรวมกันเป็นทางสาธารณะซอยสวนพลู๘ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยให้ประชาชนและชุมชนสวนพลู๖และสวนพลู๘ มีส่วนร่วมในการรังวัดสอบเขตฯ ด้วย
ชุมชนฯ หวังว่าคงจะได้รับกำหนดการทำการรังวัดสอบแนวเขตทางสาธารณะ (ซอยสวนพลู๘) ล่วงหน้าตามระเบียบของทางราชการและความอนุเคราะห์จากท่าน และขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วย
8. ผลกระทบที่บริษัทจะได้รับ
            จากโครงการ เดอะซี๊ดมิงเกิล ที่บริษัทได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นในเชิงที่เอื้อประโยชน์แก่โครงการฯ โดยไม่บอกผู้อยู่อาศัยโดยรอบโครงการฯ จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบตามที่ได้ กล่าวไว้ในหัวข้อ ข้อพิพาทด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท จนเกิดเป็นเหตุให้บริษัทต้องถูกชาวบ้านชุมชนสวนพลูยื่นฟ้องต่อศาล ซึ่งการที่บริษัทมีข้อพิพาทในชั้นศาลในเรื่องการกระทำผิด ฝ่าฝืนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม อาจส่งผลไม่ดีต่อชื่อเสียงของบริษัทเอง บริษัทอาจถูกลดความน่าเชื่อถือในการทำธุรกิจกับคู่ค้าได้ หากเป็นเช่นนั้นแล้วจะส่งผลต่อต่อการดำเนินงานของกิจการที่ไม่ดีเท่าที่ควร


9. ผลกระทบต่อการจัดการบัญชี
            จากการที่บริษัทถูกชาวบ้านฟ้องร้องต่อศาลในเรื่องการกระทำความผิดฝ่าฝืนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น กิจการไม่ถือเป็นรายการที่มีสาระสำคัญต่อการดำเนินงาน จึงไม่มีการระบุถึงรายละเอียดของคดีในรายงานทางการเงิน โดยบริษัทเพียงแสดงไว้ในหมายเหตุประกอบ   งบการเงินดังนี้
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น