พระราชบัญญัติ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 (รวมฉบับที่แก้ไขแล้ว)
หมวดที่ 1 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ส่วนที่ 1 การจัดตั้ง
มาตรา 6 ให้จัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมขึ้น เรียกว่า
"การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย" เรียกย่อว่า "กนอ."
และให้เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. การจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรม
หรือเพื่อดำเนินธุรกิจอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับ กนอ.
2. การปรับปรุงที่ดินตามข้อ 1 เพื่อให้บริการ
ตลอดจนจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ประกอบพาณิชยกรรม
เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้าและประปา
3. การให้เช่า ให้เช่าซื้อ และขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ในนิคมอุตสาหกรรม
หรือเพื่อประโยชน์แก่กิจการของนิคมอุตสาหกรรมโดยตรง
4. การดำเนินธุรกิจอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการตามวัตถุประสงค์ กนอ.
5. การร่วมดำเนินงานกับบุคคลอื่นตามข้อ 1 2 และ 3 รวมทั้งเป็นหุ้นส่วน
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์กับกิจการอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของ กนอ.
6. การส่งเสริมและควบคุมนิคมอุตสาหกรรมของเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ
มาตรา 7 และ 8 เกี่ยวกับเรื่องของทุนของ
กนอ.
มาตรา 9 เกี่ยวกับการตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครและสำนักงานสาขาในจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมด้วยก็ได้
มาตรา 10 ให้ กนอ. มีอำนาจกระทำกิจการภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา
6 รวมถึง
1. การสำรวจ
วางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบพาณิชยกรรม
และผู้ประกอบกิจการอื่นที่ต่อเนื่องกัน
2.
การกำหนดประเภทและขนาดของกิจการอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม
ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
3.
การตรวจความเป็นอยู่ของคนงานในนิคมอุตสาหกรรม
4.
การควบคุมการดำเนินงานของผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบพาณิชยกรรม
ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย
รวมทั้งการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสาธารณสุขและที่กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5. การลงทุน
6. การกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในกิจการของ
กอน.
7. การออกพันธบัตร
หรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน
มาตรา 11
เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองชนิด และปริมาณของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ เครื่องจักร
สำหรับกรณีนำเข้าหรือนำออกจากนิคมอุตสาหกรรม
จะเรียกเก็บค่าบริการตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา 12 การกำหนค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์
และค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวก และค่าบริการในนิคมอุตสาหกรรมในอัตราที่เหมาะสมเพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
หนี้สินที่ต้องชำระ และเงินสำรอง
มาตรา 15 รายได้ที่ กนอ. ได้รับจากการดำเนินงานกิจการในปีหนึ่งๆ
ให้ตกเป็นของ กนอ. และเมื่อหักค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจการ
และค่าภาระต่างๆที่เหมาะสม เหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ
แต่ถ้ารายได้มีไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายและโบนัส รัฐพึงจ่ายให้แก่
กนอ.เท่าจำนวนที่ขาด
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการและผู้ว่าการ
มาตรา 18 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า
"คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย" ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบคน
รวมทั้งผู้ว่าการซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
มาตรา 19 และ 20
เกี่ยวกับคุณสมบัติของประธานกรรมการและกรรมการ รวมถึงลักษณะต้องห้ามที่ไม่พึงมี
มาตรา 21
ให้ประธานหรือกรรมการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี เมื่อครบแล้วและยังไม่ได้มีการแต่งตั้งใหม่
ก็ให้รักษาการจนกว่าชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา 23 ให้คณะกรรมการมีอำนาจวางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไป
และออกระเบียบข้อบังคับในเรื่องต่างๆ
มาตรา 24 เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดของ
กนอ. และกำหนดค่าตอบแทนอนุกรรมการได้
มาตรา 25 ถึง 31 เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ว่าการ การกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการ
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม การพ้นจากตำแหน่ง หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ
อำนาจที่ได้รับ และการรักษาการตำแหน่ง
มาตรา
32 ประโยชน์ตอบแทนและโบนัสของประธานกรรมการและกรรมการ
ส่วนที่ 3 พนักงานและลูกจ้าง
มาตรา 33 ถึง 35 ให้พนักงานและลูกจ้างมีสิทธิอุทธรณ์และร้องทุกข์ได้ตามระเบียบข้อบังคับ
จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์และสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัวกรณีพ้นจากตำแหน่งโดยอันควรแก่การสงเคราะห์
และการได้รับโบนัสตามระเบียบที่กำหนด
หมวดที่ 2 นิคมอุตสาหกรรม
ส่วนที่ 1 การจัดตั้ง
มาตรา 36 นิคมอุตสาหกรรมมีสองประเภท คือ เขตอุตสาหกรรมทั่วไป
และเขตประกอบการค้าเสรี มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การจัดตั้ง การเปลี่ยนแปลงเขต
และการยุบนิคมอุตสาหกรรม
ส่วนที่ 2 การประกอบกิจการ
ประโยชน์ และข้อห้าม
ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าการ
โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนด
ในกรณีที่ปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือปลูกสร้างผิดจากแบบที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ให้ กนอ. มีอำนาจระงับการก่อสร้าง แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนในระยะเวลาอันสมควร
โดยแจ้งระยะเวลาให้ผู้ปลูกสร้าง เจ้าของ หรือผู้ครอบครองทราบ
หากพ้นจากระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
และผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ กนอ.
จัดการตามสมควรโดยคิดค่าใช้จ่ายจากผู้เกี่ยวข้อง
มาตรา 45 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวซึ่งเป็น
ช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ
และคู่สมรสหรือบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะเข้ามาได้ตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา 46 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว
ได้รับอนุญาตทำงานเฉพาะตำแหน่ง หน้าที่ที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
มาตรา 47 ผู้ประกอบการซึ่งมีภูมิลำเนานอกราชอาณาจักรจะได้รับอนุญาตให้นำหรือส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้
มาตรา 48 ให้ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรเช่นเดียวกับของที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
กรณีเป็นของที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน สุขภาพอนามัยของประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของดังกล่าวมิให้ได้รับการยกเว้น
มาตรา 53 การนำของเข้ามาในหรือนำออกไปจากเขตประกอบการเสรี การเก็บรักษา และการควบคุมการขนย้าย ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำของเข้า
การส่งของออก และการเก็บของในคลังสินค้า
ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมาบังคับใช้โดยอนุโลม และต้องปฏิบัติตามระเบียบและพิธีการที่กรมศุลกากรกำหนด
หมวด 3 พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 57 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบพาณิชย กรรม
หรือของผู้ประกอบกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์ในระหว่างเวลาทำการเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง
หรือเพื่อตรวจสอบเอกสารหรือสิ่งของใดๆ
ที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการจากบุคคลซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นได้ตามความจำเป็น
และต้องให้ความสะดวกตามสมควร
มาตรา 58 พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือเจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจตรวจค้นโรงงาน อาคาร ยานพาหนะ และบุคคล
รวมตลอดถึงของใดๆ ในเขตประกอบการค้าเสรี
มาตรา 59 ถ้าพบผู้ใดกำลังกระทำความผิด พยายามหรือใช้ หรือช่วย หรือยุยง
ให้ผู้อื่นกระทำความผิด
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับผู้นั้นได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ
แล้วนำส่งพนักงานสอบสวนพร้อมของกลางเพื่อดำเนินการต่อไป
หมวด 4 การควบคุม
มาตรา 62 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ กนอ. เพื่อการนี้จะสั่งให้ กนอ. ชี้แจงข้อเท็จจริง
แสดงความเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี
ตลอดจนมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี
และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของ กนอ. ได้
มาตรา 64 การดำเนินกิจการของ กนอ. ให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน
หมวด
5 บทกำหนดโทษ
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตราใดๆ
ผู้นั้นจะต้องได้รับโทษตามที่มาตรานั้นๆกำหนด
ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค
สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในนิคมอุตสาหกรรม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
23 (1)
แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
และความในข้อ 2 และข้อ 3
ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 ออกตามความในพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอานวยความสะดวกและบริการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555”
ข้อ 2
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิก
(1) ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค
สิ่งอานวยความสะดวกและบริการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548
(2)
ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค
สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ข้อ 4
ให้ผู้จัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรมเสนอแผนผังและแบบก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่จำเป็น
รวมทั้งแผนผังการจัดพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2 และข้อ 3 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมพ.ศ. 2548 ต่อ กนอ. ตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ผู้จัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีบริษัทวิศวกร ที่ปรึกษา
วิศวกรผู้ออกแบบ วิศวกรควบคุมงานเป็นผู้รับรองแผนผังและแบบก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่จาเป็นตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมและมาตรฐานระบบสาธารณูปโภคตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
ตลอดจนเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมงานก่อสร้าง แล้วแต่กรณี ด้วย
สำหรับกรณีเขตพื้นที่ใดที่บุคคลใดได้จัดสรรที่ดินเพื่อให้เป็นเขตอุตสาหกรรม
หรือสวนอุตสาหกรรมหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งได้ดาเนินการอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
และมีความประสงค์จัดตั้งให้ เขตพื้นที่นั้นเป็นนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โดยได้ดาเนินการพัฒนาก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค สิ่งอานวยความสะดวกและบริการที่จำเป็นต้องจัดให้มีสำหรับนิคมอุตสาหกรรมเสร็จแล้ว
หากปรากฏว่าระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
ให้ผู้ว่าการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อทำการสำรวจ ตรวจสอบว่าระบบสาธารณูปโภค สิ่งอานวยความสะดวกและบริการนั้นอยู่ในวิสัยที่จะทำการปรับปรุง
แก้ไขให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ได้หรือไม่ หากคณะทำงานเห็นว่าไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการได้
แต่ได้ดำเนินการถูกต้องตามมาตรฐานวิชาการและสามารถรองรับการดำเนินงานของผู้ประกอบกิจการได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
การควบคุมดูแล และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยตามลักษณะของกลุ่มกิจกรรมในเขตพื้นที่นั้น
ให้ กนอ. ดำเนินการให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นนิคมอุตสาหกรรมต่อไป และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีนี้โดยอนุโลม
ข้อ 5 ให้ผู้ว่าการรักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศ เพื่อกำหนดรายละเอียดในการออกแบบระบบสาธารณูปโภค
สิ่งอานวยความสะดวกและบริการในนิคมอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานวิชาการเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้
หมวด 1
ระบบถนนภายในหรือทางเชื่อมต่อกับถนนหรือทางภายนอกนิคมอุตสาหกรรม
ข้อ 6 การออกแบบระบบถนนภายในหรือทางเชื่อมต่อกับถนนหรือทางภายนอกนิคมอุตสาหกรรมต้องเป็นไปตามมาตรฐานหลักวิชาวิศวกรรมการทางและจราจร
มาตรฐานกรมทางหลวง และมาตรฐานความปลอดภัยด้านการจราจรกำหนด โดยให้มีแบบถนน ตลอดจนขนาดของเขตทางและผิวจราจรเป็นสัดส่วนกับขนาดของนิคมอุตสาหกรรม
ดังนี้
(1) นิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่เกินกว่า
1,000 ไร่ขึ้นไป ให้ออกแบบถนนสายประธาน เป็นแบบถนน 4 ช่องทาง มีเขตทางไม่น้อยกว่า 30.00 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า
14.00 เมตร โดยมีเกาะกลางถนนและทางเท้าไม่น้อยกว่า 2.00 เมตรต่อข้าง
(2) นิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ตั้งแต่
500 ไร่ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,000 ไร่ ให้มีถนน สายประธานเป็นแบบถนน
2 ช่องทาง มีเขตทางไม่น้อยกว่า 20.00 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า
7.00 เมตร และให้มีทางเท้าไม่น้อยกว่า 2.00 เมตรต่อข้าง
อีกทั้งจะต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอสาหรับให้รถจอดในกรณีฉุกเฉินได้
(3) นิคมอุตสาหกรรมที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ไร่ขึ้นไป แต่ไม่เกิน
500 ไร่ ให้มีถนน สายประธานเป็นแบบถนน 2 ช่องทาง
มีเขตทางไม่น้อยกว่า 16.00 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า
7.00 เมตร และให้มีทางเท้าไม่น้อยกว่า 2.00 เมตรต่อข้าง
อีกทั้งจะต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอสำหรับให้รถจอดในกรณีฉุกเฉินได้ ทั้งนี้
ตามที่ กนอ. เห็นชอบ
(4) นิคมอุตสาหกรรมที่มีขนาดไม่เกิน 100 ไร่ ให้มีถนนสายประธานเป็นแบบถนน 2 ช่องทาง มีเขตทางไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 7.00 เมตร โดยมีไหล่ทางและทางเท้ารวมกันไม่น้อยกว่า 2.50 เมตรต่อข้าง ทั้งนี้ ตามที่ กนอ. เห็นชอบ
(4) นิคมอุตสาหกรรมที่มีขนาดไม่เกิน 100 ไร่ ให้มีถนนสายประธานเป็นแบบถนน 2 ช่องทาง มีเขตทางไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 7.00 เมตร โดยมีไหล่ทางและทางเท้ารวมกันไม่น้อยกว่า 2.50 เมตรต่อข้าง ทั้งนี้ ตามที่ กนอ. เห็นชอบ
ข้อ 7 ความลาดชันของผิวจราจรในนิคมอุตสาหกรรม ให้ดำเนินการก่อสร้างตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ความลาดชันของผิวจราจรที่เป็นทางเนินต้องไม่เกินร้อยละสี่ต่อทางราบ
100 ส่วนและให้มีระดับราบรองรับ (BRAKE GRADE)
(2) ความลาดชันของผิวจราจรที่เป็นทางราบต้องไม่เกินร้อยละสองต่อทางราบ
100 ส่วน
ข้อ 8 ผิวจราจรต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
แอสฟัลต์ตึกคอนกรีต คอนกรีตเสริมเหล็กลาดด้วยแอสฟัลต์หรือปูทับด้วยวัสดุอื่น หรือลาดยางแอสฟัลต์รองด้วยชิ้นวัสดุพื้นทางที่มีความหนาและบดอัดแน่นตามมาตรฐานวิชาการกำหนด
ดังนี้
(1) ผิวจราจรที่เป็นประเภทคอนกรีต ต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 0.21 เมตร เมื่อชั้นดินเดิม C.B.R. ไม่น้อยกว่าร้อยละสามหรือเมื่อชั้นดินทรุดตัวสม่ำเสมอแล้ว
C.B.R. ต้องไม่มากกว่าร้อยละสาม
(2) ผิวจราจรที่เป็นประเภทแอสฟัลต์ตึกคอนกรีต ต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 0.05 เมตร เมื่อพื้นดินอ่อนจนถึงพื้นดินแข็ง C.B.R. ตั้งแต่ร้อยละหนึ่งขึ้นไป
ข้อ 9 ถนนที่ตัดผ่านคลองหรือลารางสาธารณประโยชน์ซึ่งมีความจาเป็นจะต้องสร้างเป็นสะพาน
สะพานท่อ หรือท่อลอด แล้วแต่กรณี ให้ดาเนินการออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐานวิชาการกำหนด
ข้อ 10 ถนนที่เป็นทางเข้าออกของนิคมอุตสาหกรรมที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหรือ
ทางสาธารณประโยชน์ต้องมีความกว้างของเขตทางให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ
6
ข้อ 11 ระดับความสูงของถนนต้องสอดคล้องกับระบบระบายน้ำในนิคมอุตสาหกรรม
อีกทั้งต้องได้ระดับและมาตรฐานกับทางสาธารณะด้วย
ข้อ 12 ให้ปลูกหญ้าหรือปลูกต้นไม้บนเนิน (Slope) ตลอดแนวสองข้างถนน หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อป้องกันการทรุดตัวของไหล่ทางลาดเอียง
(Slope Protection)
ข้อ 13 ให้ติดตั้งสัญญาณไฟจราจร ป้ายสัญญาณจราจร
หรืออุปกรณ์สะท้อนแสงไฟบริเวณเกาะกลางถนน วงเวียน ทางแยก ทางโค้ง ร่อง หรือสันนูนของถนนทุกแห่งโดยแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน
ตลอดจนการจัดให้มีระบบไฟฟ้าที่มีแสงสว่างอย่างเพียงพอในบริเวณถนนตามกฎเกณฑ์ความปลอดภัย
ที่กรมทางหลวงกำหนด
ข้อ 14 การออกแบบและก่อสร้างระบบถนนภายในหรือทางเชื่อมต่อกับถนนหรือทางภายนอกนิคมอุตสาหกรรม
นอกจากที่ได้กำหนดไว้ในหมวดนี้แล้ว ให้ดาเนินการตามมาตรฐานวิชาการกำหนดด้วย
หมวด 2
ระบบระบายน้ำฝนและระบบป้องกันน้ำท่วม
ข้อ 15 ในหมวดนี้
“อัตราน้ำฝนไหลนอง”
(Stromwater Runoff Rate) หมายความว่า อัตราที่น้าไหลเข้าท่อหรือรางระบายน้ามีค่าเท่ากับส่วนของฝนที่ตกลงมาบนพื้นดิน
และไหลนองไปตามพื้นในช่วงระหว่าง ที่ฝนกาลังตก รวมถึงภายหลังจากที่ฝนได้หยุดตก
“พื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัย”
หมายความว่า บริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุประสบอุทกภัย หรือบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย
เช่น บริเวณลุ่มน้าเจ้าพระยา ลุ่มน้าท่าจีน เป็นต้น
ข้อ 16 การคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลนอง จะกำหนดให้บริเวณน้าไหลนองมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้าฝนโดยตรง
โดยให้มีสัดส่วนน้าฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่ซึ่งเรียกว่า “วิธีเรชั่นแนล” (Rational Method) ตามสูตรการคิดคำนวณดังนี้ Q = 0.278 CIA
Q = อัตราน้าฝนไหลนองสูงสุดในท่อ
หรือรางระบายน้า ณ จุดที่พิจารณาหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
C = สัมประสิทธิ์การไหลนอง เป็นค่าคงที่ไม่มีหน่วย
ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่ของบริเวณนั้น
I = ความเข้มเฉลี่ยของฝนที่ตกเป็นมิลลิเมตรต่อชั่วโมง
A = พื้นที่ที่จะระบายน้ำออกเป็นตารางกิโลเมตร
ข้อ 17 ระบบระบายน้ำฝนให้ใช้แบบรางเปิดหรือแบบท่อปิด (Closed Conduits) พร้อมบ่อพักก็ได้ โดยให้เป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
สำหรับเขตที่พักอาศัยและเขตพาณิชยกรรมให้ใช้เป็นแบบรางเปิดหรือแบบท่อปิด (Closed Conduits) พร้อมบ่อพักก็ได้ โดยให้เป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่และให้การไหลของน้ำมีความเร็วไม่น้อยกว่า
0.60 เมตรต่อวินาที เพื่อป้องกันการตกตะกอน
ข้อ 18 อัตราการไหลของน้ำในคลองระบาย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ดังนี้
(1) กรณีรางระบายน้ำ
ค.ส.ล. ให้มีความเร็วการไหลของน้ำตั้งแต่
0.60 เมตร แต่ไม่เกิน 3.00 เมตรต่อวินาที
(2) กรณีคลองดิน
ให้มีความเร็วการไหลของน้ำตั้งแต่ 0.40 เมตร แต่ไม่เกิน 1.00 เมตรต่อวินาที
การกำหนดความเร็วการไหลของน้ำตาม (1) และ (2)
ต้องคำนึงถึงการตกตะกอนและ การกัดเซาะดินด้วย
ข้อ 19 กรณีการออกแบบระบบระบายน้ำฝนสำหรับนิคมอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัย
ให้พิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้ด้วย
(1)
ความสามารถของแหล่งรับน้ำภายนอกเพื่อรองรับน้ำจากนิคมอุตสาหกรรม
(2) ทิศทางการไหลของน้ำรอบบริเวณพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัย
ทั้งในภาวะปกติและกรณีเมื่อเกิดเหตุอุทกภัย
ให้ผู้จัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรมประสานกับผู้ดูแลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งรับน้ำ
เพื่อบำรุงรักษาแหล่งรับน้ำให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพในการรับน้ำตามที่ได้ออกแบบไว้เป็นประจำทุกปี
ข้อ 20 นิคมอุตสาหกรรมที่มีความจาเป็นต้องระบายน้ำออกนอกพื้นที่
ให้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่เดินด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นระบบหลัก และเครื่องสูบน้ำซึ่งเดินด้วยเครื่องยนต์เป็นระบบสำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
ณ บริเวณบ่อรับน้ำ (Retention Pond) เพื่อทำการสูบน้ำจากบ่อรับน้ำดังกล่าวและระบายลงสู่ระบบระบายน้ำฝนต่อไป
กรณีการระบายน้ำออกนอกพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง
หากเป็นนิคมอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัยต้องระบายน้ำให้ได้ร้อยละหนึ่งร้อยของปริมาณน้ำที่คำนวณได้ภายในเวลาไม่เกินสองชั่วโมง
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะด้วยเครื่องสูบน้ำที่เดินด้วยพลังงานไฟฟ้าหรือเครื่องสูบน้ำสำรองซึ่งเดินด้วยเครื่องยนต์ก็ตาม
บ่อรับน้ำ (Retention Pond) ตามวรรคหนึ่ง ต้องสร้างถนนให้มีความเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์และสะดวกในการบำรุงรักษา
โดยมีผิวจราจรกว้างไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร หนาไม่น้อยกว่า 20.00 เซนติเมตร และมีความพร้อมสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
ข้อ 21 กรณีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเป็นที่ลุ่มและมีน้าท่วมขังต้องก่อสร้างคันกั้นน้าล้อมรอบพื้นที่โครงการ
เพื่อป้องกันน้ำท่วมและป้องกันน้ำจากบริเวณรอบนอกไหลเข้าสู่พื้นที่ภายใน นิคมอุตสาหกรรม
ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) คันกั้นน้ำต้องออกแบบให้มีลักษณะเป็นเขื่อน
และมีโครงสร้างที่มีความแข็งแรงเพียงพอ ในการต้านทานแรงดันน้ำจากภายนอกโครงการ โดยให้คำนึงถึงสภาพน้ำไหลหรือน้ำซึมผ่านฐานเขื่อน
และใต้เขื่อนด้วย
(2) คันกั้นน้ำต้องมีความสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบสิบปี
แต่ต้องไม่น้อยกว่า 50.00 เซนติเมตร
(3) การก่อสร้างคันกั้นน้าต้องไม่ขวางทางน้ำลากเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาน้ำท่วมบริเวณพื้นที่โดยรอบ
แต่หากมีเหตุจำเป็นจะต้องก่อสร้างคันกั้นน้ำขวางทางน้ำหลาก ให้จัดทำร่องน้ำเพื่อระบายน้ำ
ที่จะท่วมขังให้ไหลออกสู่ทางน้ำสาธารณะได้โดยสะดวก
(4) สันเขื่อนต้องออกแบบให้มีทางสำหรับการซ่อมบำรุง
(Service Road) ด้วย โดยมีผิวจราจรกว้างไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร หนาไม่น้อยกว่า 20.00 เซนติเมตร และต้องจัดให้มีทางขึ้น
- ลงทุกระยะ 800.00 เมตรสาหรับการบำรุงรักษาปกติทั่วไปและในภาวะฉุกเฉิน
หรือเสนอรูปแบบทางสำหรับ การซ่อมบำรุง (Service Road) และทางขึ้น
- ลงที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่
(5) ในกรณีที่มีความจำเป็น
กนอ. อาจพิจารณาให้ดำเนินการถมพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมด เพื่อป้องกันเหตุอุทกภัยก็ได้
โดยให้ถมดินสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดแต่ต้องไม่น้อยกว่า 50.00
เซนติเมตร ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดินกำหนด
ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อ 22 นิคมอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัย
ต้องดาเนินการก่อสร้างคันกั้นน้าล้อมรอบพื้นที่โครงการเพื่อป้องกันน้ำท่วมและป้องกันน้ำจากบริเวณรอบนอกไหลเข้าสู่พื้นที่ภายใน
นิคมอุตสาหกรรม ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) คันกั้นน้ำต้องออกแบบให้มีลักษณะเป็นเขื่อน
และมีโครงสร้างที่มีความแข็งแรงเพียงพอ ในการต้านทานแรงดันน้ำจากภายนอกโครงการ โดยใช้เกณฑ์ระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบเจ็ดสิบปีเป็นฐานในการคำนวณ
และต้องคำนึงถึงสภาพน้ำไหลหรือน้ำซึมผ่านฐานเขื่อนและใต้เขื่อนด้วย
(2) คันกั้นน้ำต้องมีความสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบเจ็ดสิบปี
โดยกำหนดระยะส่วนเผื่อความสูง (Free Board) ไว้ไม่น้อยกว่า 50.00 เซนติเมตร
(3) การก่อสร้างคันกั้นน้ำต้องไม่ขวางทางน้ำหลากเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาน้ำท่วมบริเวณพื้นที่โดยรอบ
แต่หากมีเหตุจำเป็นจะต้องก่อสร้างคันกั้นน้ำขวางทางน้ำหลาก ให้จัดทำร่องน้ำเพื่อระบายน้ำ
ที่จะท่วมขังให้ไหลออกสู่ทางน้าสาธารณะได้โดยสะดวก
(4) สันเขื่อนต้องออกแบบให้มีทางสาหรับการซ่อมบำรุง
(Service Road) ด้วย โดยมีผิวจราจรกว้างไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร และหนาไม่น้อยกว่า 20.00 เซนติเมตร ตลอดจนต้องจัดให้มีทางขึ้น
- ลง ทุกระยะ 800.00 เมตรสำหรับการบำรุงรักษาปกติทั่วไปและในภาวะฉุกเฉิน
หรือเสนอรูปแบบ ทางสำหรับการซ่อมบำรุง (Service Road) และทางขึ้น
- ลงที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่
(5) การก่อสร้างคันกั้นน้ำจะต้องประสานกับหน่วยงานของรัฐ
หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดระบบการระบายน้ำรอบนิคมอุตสาหกรรมเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนลดผลกระทบทั้งกรณีปริมาณของน้ำและทิศทางการไหลของน้ำที่ไหลเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรม
(6) ต้องจัดให้มีระบบการติดตามสถานการณ์น้ำ
การเฝ้าระวังระดับน้ำภายนอก และการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า รวมถึงเสนอแผนป้องกันและมาตรการภาวะฉุกเฉินกรณีเมื่อเกิดเหตุอุทกภัย
ตลอดจนการตรวจสอบสภาพของระบบระบายน้ำฝนและระบบป้องกันน้ำท่วมเป็นประจำ พร้อมทั้งให้รายงาน
การตรวจสอบดังกล่าวต่อ กนอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกปี
(7) ต้องจัดให้มีวิศวกรระดับสามัญวิศวกรเป็นผู้ลงนามรับรองการคำนวณและออกแบบระบบระบายน้ำฝนและระบบป้องกันน้ำท่วมสำหรับพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัยด้วย
ในกรณีที่มีความจำเป็น กนอ. อาจพิจารณาให้ดาเนินการถมพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมด เพื่อป้องกันเหตุอุทกภัยก็ได้
โดยให้ถมดินสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบเจ็ดสิบปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 50.00 เซนติเมตร ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดินกำหนด
ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อ 23 หลักเกณฑ์การออกแบบระบบระบายน้ำฝนและระบบป้องกันน้ำท่วมนอกจากที่กำหนดไว้ในหมวดนี้แล้ว
ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรมหรือมาตรฐานวิชาการกำหนดด้วย
หมวด 3 ระบบน้ำประปา
ข้อ 24 คุณภาพของน้ำประปาที่ใช้ในเขตนิคมอุตสาหกรรมต้องได้ค่ามาตรฐานของการประปานครหลวงหรือการประปาส่วนภูมิภาค
แล้วแต่กรณี หรือเหมาะสมกับคุณภาพน้ำใช้สาหรับประเภทของกิจการ แต่ละประเภทของนิคมอุตสาหกรรมนั้น
ๆ
ข้อ 25 นิคมอุตสาหกรรมใดประสงค์จะใช้ระบบประปาโดยการผลิตจากแหล่งน้ำผิวดิน (ระบบน้ำดิบ) ต้องดำเนินการเพื่อให้ได้น้าดิบที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อ
24 และมีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้น้ำในนิคมอุตสาหกรรมนั้นตลอดทั้งปี
ข้อ 26 นิคมอุตสาหกรรมใดประสงค์จะใช้น้ำประปาจากระบบการผลิตน้ำประปาขึ้นเอง
ต้องออกแบบระบบประปาให้มีความสามารถในการผลิตที่เพียงพอต่อการใช้น้ำในนิคมอุตสาหกรรม
และให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อ 24 รวมถึงกรณีที่ใช้น้ำประปาจากภายนอกโครงการด้วย
ข้อ 27 การคิดคำนวณปริมาณความต้องการน้ำใช้ต่อพื้นที่การใช้สอยในนิคมอุตสาหกรรม
ให้ประมาณการจากการใช้น้ำต่อหน่วยการผลิต รวมถึงโอกาสที่จะผลิตอย่างเต็มกำลังของแต่ละ
นิคมอุตสาหกรรม โดยให้คำนึงถึงปัจจัยประเภทอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมของพื้นที่ ตลอดจน
การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอนาคตด้วย
ข้อ 28 ระบบการจ่ายน้ำประปา ให้ดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์
ดังนี้
(1) การออกแบบติดตั้งท่อประปาต้องมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
และได้มาตรฐาน ตามหลักวิชาวิศวกรรม
(2) จ่ายน้ำประปาโดยวิธีแบบอัดแรงดันในเส้นท่อ
หรือระบบหอถังสูงซึ่งมีแรงดันน้าในท่อ ไม่น้อยกว่า 1.50 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
แต่ไม่เกิน 6.00 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
(3) ถังสำหรับเก็บน้ำประปาต้องมีความจุอย่างน้อยแปดชั่วโมงของค่าความต้องการใช้น้ำสูงสุดต่อวัน
โดยรวมถึงปริมาณน้าสารองสาหรับการดับเพลิงด้วย
ข้อ 29 กรณีระบบประปาซึ่งจัดให้มีในพื้นที่ที่พัฒนาแล้วในนิคมอุตสาหกรรมใด
ได้ผลิตน้ำใช้ในพื้นที่ดังกล่าวในปริมาณและคุณภาพตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ และน้ำที่ผลิตเพื่อใช้ในพื้นที่นั้น
ยังคงเหลือและเพียงพอสาหรับการให้บริการแก่พื้นที่ที่พัฒนาเพิ่มเติมจากที่ได้รับอนุญาตจาก
กนอ. ให้พื้นที่ที่พัฒนาเพิ่มเติมนั้นใช้ระบบประปาของพื้นที่ที่พัฒนาแล้วต่อไปโดยไม่ต้องก่อสร้างระบบประปาขึ้นใหม่
แต่ทั้งนี้ต้องดาเนินการให้สอดคล้องและเป็นไปตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรฐานด้านวิศวกรรมและวิชาการกำหนด
ภายใต้บังคับตามวรรคหนึ่ง
หากได้มีการใช้น้าปริมาณเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบของความสามารถในการผลิตจากระบบประปาที่มีอยู่เดิม
ให้ดาเนินการเพื่อก่อสร้างระบบประปาแห่งใหม่ทันที
หมวด 4 ระบบบำบัดน้ำเสีย
ข้อ 30 การออกแบบระบบบาบัดน้ำเสีย (Wastewater Treatment Plant) ให้ดำเนินการ ดังนี้
(1) การคำนวณปริมาณน้ำเสีย
(Designed Flow) เพื่อการออกแบบ ให้คิดคำนวณโดยใช้ค่าร้อยละแปดสิบของปริมาณน้ำใช้และปริมาณน้ำรั่วซึมเข้าเส้นท่อ
หรือในกรณีที่มีข้อมูลปริมาณน้ำเสีย ที่เกิดขึ้นจริงก็สามารถคำนวณจากข้อมูลดังกล่าวตามความเหมาะสมกับประเภทของกิจการในนิคมอุตสาหกรรมนั้นได้
(2) ต้องมีความเหมาะสมตามลักษณะสมบัติของน้ำเสียของแต่ละนิคมอุตสาหกรรม
และ การบำบัดน้ำเสียต้องเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด โดยให้มีบ่อเก็บน้ำทิ้งหลังการบำบัด
(Holding Pond) ด้วย
(3) การบำบัดและกำจัดสลัดจ์
(Sludge Treatment and Disposal) ที่ออกจากระบบบำบัดน้ำเสียต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
หรืออาจส่งสลัดจ์ให้แก่ผู้รับบริการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการถูกต้องตามกฎหมายรับไปดำเนินการบำบัดและกำจัดก็ได้
ข้อ 31 ระบบระบายน้ำเสีย (Sewerage System) ต้องดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ระบบระบายน้ำเสียต้องแยกออกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด
(2) น้ำเสียที่เกิดขึ้นจากเขตอุตสาหกรรม
เขตพาณิชยกรรม และเขตที่พักอาศัยให้ระบายลงสู่ระบบระบายน้ำเสีย
(3) ท่อระบายน้ำเสียต้องเป็นระบบท่อปิด
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อไม่น้อยกว่า 0.20 เมตร และมีความลึกของท้องท่อสูงสุดต้องไม่เกิน
4.00 เมตร
(4) ระยะห่างระหว่างบ่อพักน้ำเสีย
(Manhole) ต้องไม่เกิน 40.00 เมตร
ข้อ 32 กรณีระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งจัดให้มีในพื้นที่ที่พัฒนาแล้วในนิคมอุตสาหกรรมใดได้บำบัดน้ำเสียในพื้นที่ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวดนี้
และระบบบำบัดน้ำเสียนั้นยังคงมีขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอสำหรับการให้บริการแก่พื้นที่ที่พัฒนาเพิ่มเติมจากที่ได้รับอนุญาตจาก
กนอ. ให้พื้นที่ที่พัฒนาเพิ่มเติมนั้นใช้ระบบบำบัดน้ำเสียของพื้นที่ที่พัฒนาแล้วต่อไปได้โดยไม่ต้องก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นใหม่
แต่ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้สอดคล้องและเป็นไปตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรฐานด้านวิศวกรรมและวิชาการกำหนด
ภายใต้บังคับตามวรรคหนึ่ง
หากได้มีการบำบัดน้ำเสียเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบของความสามารถ ในการบำบัดน้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่เดิม
ให้ดาเนินการเพื่อก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย แห่งใหม่ทันที
หมวด 5 ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ข้อ 33 ให้ผู้จัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีระบบสื่อสารโทรคมนาคมภายใน
นิคมอุตสาหกรรมเพื่ออานวยความสะดวกในการดาเนินงานของผู้ประกอบกิจการหรือผู้ใช้ที่ดินใน
นิคมอุตสาหกรรมได้อย่างทั่วถึง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และต้องจัดให้มีตู้โทรศัพท์สาธารณะเพื่อให้บริการโดยทั่วไปด้วย
หมวด 6 ระบบไฟฟ้า
ข้อ 34 การออกแบบระบบไฟฟ้าต้องจัดทำตามแบบแปลน
แผนผังตามแบบมาตรฐานของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้านครหลวงกำหนด แล้วแต่กรณี
ข้อ 35 สายไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าทุกชนิดที่ใช้กับระบบไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติ
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้า
นครหลวงกำหนด แล้วแต่กรณี
ข้อ 36 ค่ามาตรฐานความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมให้ถือเกณฑ์
50 KVA ต่อพื้นที่ 1 ไร่
สำหรับนิคมอุตสาหกรรมใดที่มีพื้นที่มากกว่า
1,000 ไร่ ต้องจัดเตรียมพื้นที่ให้เพียงพอ และเหมาะสมเพื่อจัดตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยขึ้น
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือ การไฟฟ้านครหลวงกำหนด แล้วแต่กรณี
หมวด 7
ระบบดับเพลิงและระบบป้องกันอุบัติภัย
ข้อ 37 การออกแบบระบบท่อน้ำดับเพลิง ตลอดจนอุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้สำหรับการดับเพลิงต้องมีความเหมาะสมตามลักษณะ
ประเภทและขนาดของกิจการโรงงานหรือกิจการการบริการใน นิคมอุตสาหกรรมและต้องได้มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยหรือมาตรฐานทางราชการกำหนด
ข้อ 38 หัวดับเพลิง (Hydrant) ที่ใช้ในระบบดับเพลิงต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นแบบเปียก
(Wet Barrel)
(2) หัวดับเพลิงต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า
100.00 มิลิเมตร โดยมีขนาดของท่อต่อทางน้ำเข้าหัวดับเพลิงกับระบบท่อน้ำไม่น้อยกว่า
150.00 มิลลิเมตร และหัวน้ำออกขนาด 65.00
มิลลิเมตร พร้อมประตูน้ำจำนวน 2 ทาง
(3)
หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงต้องเป็นหัวต่อแบบสวมเร็วชนิดตัวเมีย พร้อมฝาครอบและโซ่
(4) ระยะห่างระหว่างท่อดับเพลิงแต่ละหัวต้องไม่เกิน
150.00 เมตร
ข้อ 39 ระบบส่งน้ำดับเพลิงต้องมีความเหมาะสมและมีแรงดันน้าปลายท่อดับเพลิงที่จุดไกลสุดไม่น้อยกว่า
1.50 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร โดยใช้ระบบเครื่องสูบน้ำเพิ่มแรงดันน้ำด้วยก็ได้
ข้อ 40 ให้จัดรถดับเพลิงที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน NFPA 1901 Standard for Automotive Fire Apparatus และสอดคล้องตามลักษณะ
ประเภท และขนาดของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
หากนิคมอุตสาหกรรมใดตั้งอยู่ในท้องที่ที่มีหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ให้บริการเกี่ยวกับ
การดับเพลิงและบรรเทาสาธารณภัย ให้นิคมอุตสาหกรรมนั้นใช้บริการจากหน่วยงานดังกล่าวได้
ข้อ 41 ให้มีมาตรการป้องกันอุบัติภัยและแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
อุบัติเหตุหรือ เหตุฉุกเฉินอื่น โดยให้เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนบุคลากรอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมตามมาตรการดังกล่าวเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
หมวด 8 ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม มูลฝอย
และสิ่งปฏิกูล
ข้อ 42 ในหมวดนี้
“กากอุตสาหกรรม” หมายความว่า ขยะหรือของเสียที่เกิดจากการประกอบกิจการในโรงงานโดยแบ่งออกเป็นสองประเภท
คือ กากอุตสาหกรรมไม่อันตรายซึ่งหมายความถึงขยะหรือของเสีย ที่ไม่ปนเปื้อน ผสม หรือปะปนกับสารอันตรายตามที่กฎหมายกำหนด
และกากอุตสาหกรรมอันตราย ซึ่งหมายความถึงขยะหรือของเสียที่ปนเปื้อน ผสม หรือปะปนกับสารอันตรายหรือมีคุณสมบัติ
ที่เป็นอันตรายตามที่กฎหมายกำหนด
“มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล”
หมายความว่า ขยะหรือของเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานที่หรือบริเวณใด
ๆ ในนิคมอุตสาหกรรม เช่น อาคารสานักงาน อาคารพาณิชย์ สถานบริการ ที่พักอาศัย เป็นต้น
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกากอุตสาหกรรม
ข้อ 43 การคำนวณปริมาณกากอุตสาหกรรม มูลฝอย
และสิ่งปฏิกูลในนิคมอุตสาหกรรม ให้ใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ให้คิดคำนวณอัตราการเกิดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในเขตพาณิชยกรรม
และที่พักอาศัยจานวนอัตรา 0.80 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน อัตราความหนาแน่นของมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเท่ากับ
0.30 กิโลกรัม ต่อลิตร
(2) ให้คิดคำนวณอัตราการเกิดกากอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมจานวน
18.00 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน อัตราความหนาแน่นของกากอุตสาหกรรมเท่ากับ
0.15 กิโลกรัมต่อลิตร
ให้คิดคำนวณการเกิดกากอุตสาหกรรมอันตรายเป็นร้อยละห้าของปริมาณกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในเขตอุตสาหกรรม
ในกรณีที่มีข้อมูลปริมาณกากอุตสาหกรรม มูลฝอย
และสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นจริงสามารถคำนวณจากข้อมูลดังกล่าวให้เหมาะสมกับประเภทของกิจการในนิคมอุตสาหกรรมนั้นได้
ข้อ 44 ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในนิคมอุตสาหกรรม
ให้ดาเนินการ ดังนี้
(1) ให้ใช้บริการการจัดการกากอุตสาหกรรม
มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลจากผู้รับบริการกำจัดที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการได้
(2) กรณีนิคมอุตสาหกรรมใดมีความประสงค์จะสร้างระบบกาจัดกากอุตสาหกรรม
มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขึ้นเอง ต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเภทของกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 45 ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอื่นใด
นอกจากที่กำหนดไว้แล้วในหมวดนี้ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาการหรือหน่วยงานราชการกำหนดด้วย
หมวด 9
ระบบติดตามตรวจสอบมลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ข้อ 46 ให้ดำเนินการติดตามตรวจสอบมลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรม
ดังนี้
(1) ติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการนิคมอุตสาหกรรมที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการของสานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยการว่าจ้างบุคคลที่สามหรือหน่วยงานกลาง (Third Party) ที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
เป็นผู้ดาเนินการติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) ให้จัดทารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมตาม
(1) ทุก ๆ หกเดือน หรือสองครั้งต่อปี ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด
(3) ติดตามตรวจสอบมลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามกฎหมายหรือมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด 10 ระบบรักษาความปลอดภัย
ข้อ 47 การจัดระบบรักษาความปลอดภัยของนิคมอุตสาหกรรม
ต้องจัดให้มีสิ่งแสดงแนวเขตหรือขอบเขตของนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อตรวจตราและดูแลรักษาความปลอดภัยภายในเขตนิคมอุตสาหกรรม
ณ บริเวณที่มีความจาเป็น และทางเข้า – ออกของนิคมอุตสาหกรรมเป็นประจำตลอดเวลา
ข้อ 48 เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประกอบกิจการ
หรือผู้ใช้ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมที่จัดตั้งขึ้นในพื้นที่ที่เสี่ยงภัย นอกจากจะต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ใน
ข้อ 47 อย่างเคร่งครัดแล้ว ต้องจัดให้มีการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นและก่อความเสียหายต่อนิคมอุตสาหกรรม
โดยอาจพิจารณาเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหรืออุปกรณ์สาหรับ การป้องกันภัยหรือระวังภัย
หรือมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอื่นใด หรือขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็นและเหมาะสม
หมวด 11
การจัดสรรพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม
ข้อ 49 การจัดสรรพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีเขตพื้นที่ระบบสาธารณูปโภค
สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่สีเขียว และพื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone) ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) นิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่เกินกว่า
1,000 ไร่ ให้มีพื้นที่ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่สีเขียว
และพื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone) ไม่น้อยกว่า 250 ไร่ ทั้งนี้
ต้องมีพื้นที่ สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของพื้นที่ดังกล่าว โดยมีแนวกันชน
(Buffer Zone) รอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมกว้างไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร
(2) นิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่เกินกว่า
500 ไร่ แต่ไม่เกิน 1,000 ไร่ ให้มีพื้นที่ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก
พื้นที่สีเขียว และพื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone) ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนพื้นที่ทั้งหมด
โดยมีแนวกันชน (Buffer Zone) รอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมกว้างไม่น้อยกว่า
5.00 เมตร
(3) นิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ไม่เกิน
500 ไร่ ให้มีพื้นที่ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวย ความสะดวก พื้นที่สีเขียว และพื้นที่แนวกันชน
(Buffer Zone) ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนพื้นที่ทั้งหมด โดยมีแนวกันชน
(Buffer Zone) รอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมกว้างไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร
หมวด 12 ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอื่นเพิ่มเติม
ข้อ 50 นิคมอุตสาหกรรมที่มีความประสงค์จะให้มีระบบสาธารณูปโภค
สิ่งอานวยความสะดวก หรือบริการอื่นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้แล้วในหมวด 1 ถึงหมวด 11
เช่น ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์กลางการติดต่อสื่อสาร สถานพยาบาล หรือบริการรถรับส่ง เป็นต้น
ให้ดาเนินการได้ตามความเหมาะสม
หมวด 13 การตรวจสอบการออกแบบ และก่อสร้าง
ข้อ 51 ในกรณีที่ กนอ. ตรวจพบว่าการออกแบบของบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาและการก่อสร้างไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิศวกรรมและตามมาตรฐานระบบสาธารณูปโภค
สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอื่นที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงานหรือผู้ก่อสร้าง
แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดชอบแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ กนอ.
กำหนด
บทเฉพาะกาล
ข้อ 52 บรรดาแบบแปลน แผนผังของระบบสาธารณูปโภค
สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการอื่นที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ กนอ. ในวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขออนุมัติตามข้อบังคับนี้โดยอนุโลม
ในกรณีที่คาขออนุมัติดังกล่าวมีข้อแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ให้ กนอ.
มีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความจาเป็น หรือผู้จัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรมจะขอแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ก็ได้
ประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 001/2555 เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียในนิคม อุตสาหกรรมอมตะนคร
ข้อ 2 ค่าบริการบำบัดน้ำเสียที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ที่ดินหรือผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการให้คิดคำนวณตามสูตรการคำนวณและอัตราที่กำหนด
สูตรการคำนวณค่าบริการบำบัดน้ำเสีย
TC = 1,000 + 7.00Vi +
9.41ViSi/1,000 + Cp
ข้อ 3 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการ บำบัดน้ำเสียตามประกาศนี้ได้ โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
ข้อ 4 การชำระค่าบริการบำบัดน้ำเสียให้ชำระเป็นรายเดือน
หรือตามกำหนดเวลาที่ผู้ร่วมดำเนินงานจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมได้ตกลงกับผู้ใช้ที่ดิน
หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอมตะนคร
ข้อ 5 หากผู้ที่ใช้ที่ดินชำระเงินค่าบริการบำบัดน้ำเสียล่าช้ากว่ากำหนด
ผู้ร่วมดำเนินงานจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจะเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5
ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ค้างชำระ โดยมีอัตราเงินเพิ่มขั้นต่ำ 20
บาท
ประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 001/2555 เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียในนิคม อุตสาหกรรมอมตะซิตี้
ข้อ 2 ค่าบริการบำบัดน้ำเสียที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ที่ดินหรือผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการให้คิดคำนวณตามสูตรการคำนวณและอัตราที่กำหนด
สูตรการคำนวณค่าบริการบำบัดน้ำเสีย
TC = 1,000 + 7.00Vi +
9.41ViSi/1,000 + Cp
ข้อ 3 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการ บำบัดน้ำเสียตามประกาศนี้ได้ โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
ข้อ 4 การชำระค่าบริการบำบัดน้ำเสียให้ชำระเป็นรายเดือน
หรือตามกำหนดเวลาที่ผู้ร่วมดำเนินงานจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมได้ตกลงกับผู้ใช้ที่ดิน
หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบพาณิชยกรรมในนิคมอมตะซิตี้
ข้อ 5 หากผู้ที่ใช้ที่ดินชำระเงินค่าบริการบำบัดน้ำเสียล่าช้ากว่ากำหนด
ผู้ร่วมดำเนินงานจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจะเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5
ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ค้างชำระ โดยมีอัตราเงินเพิ่มขั้นต่ำ 20
บาท
กฎกระทรวงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2539
ออกตามความในพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
- ให้ผู้ที่ประสงค์จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจัดทำโครงการ
ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ซึ่งรวมถึงขีดความสามารถของสิ่งแวดล้อมในการรับรองมลพิษจากโครงการ
ประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 38/2554 เรื่องหลักเกณฑ์ทั่วไปในการระบายน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม
- ระบบระบายน้ำเสีย ต้องเป็นระบบท่อปิด
- ระบบระบายน้ำเสีย
จะต้องแยกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด
เพื่อป้องกันมิให้น้ำฝนไหลลงท่อระบายน้ำเสียส่วนกลาง
และต้องป้องกันไม่ให้น้ำเสียไหลเข้าสู่ระบบระบายน้ำฝนของนิคมอุตสาหกรรมโดยเด็ดขาด
- ต้องจัดให้มีบ่อตรวจคุณภาพน้ำอย่างน้อย 1 บ่อ ภายในสถานประกอบกิจการก่อนที่จะปล่อยน้ำเสียลงท่อระบายน้ำเสียส่วนกลาง
เพื่อประโยชน์สำหรับเก็บตัวอย่างน้ำเสียมาวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย
- ต้องมีบ่อเก็บกักขนาดเหมาะสมพอที่จะปรับคุณลักษณะของน้ำเสียให้คงที่ในกรณีที่น้ำเสียมีคุณลักษณะเปลี่ยนแปลงมากในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายเข้าสู่ท่อระบายน้ำเสียส่วนกลาง
- จะต้องมีประตูน้ำปิด – เปิด
ก่อนที่จะระบายน้ำเสียลงท่อระบายน้ำเสียส่วนกลาง
- การเชื่อมต่อท่อน้ำเสียเข้ากับท่อระบายน้ำเสียส่วนกลาง
จะต้องต่อท่อจากบ่อตรวจคุณภาพน้ำของสถานประกอบการ เชื่อมกับบ่อพักน้ำเสียที่กนอ. ได้จัดเตรียมไว้ให้โดยต้องเชื่อมรอยต่อให้สนิทเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้า –
ออก
- ห้ามผู้ประกอบกิจการระบายสารที่มีผลต่อการระบายและการบำบัดน้ำเสียเข้าสู่ท่อระบายน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม
เช่น สารที่มีความหนืดสูง
- เกณฑ์คุณภาพน้ำเสียที่จะระบายลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศนี้
เว้นแต่ในกรณีในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมาความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดไว้แตกต่างกับประกาศนี้
ประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 58/2544 เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในนิคมอุตสาหกรรม
- แยกเก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นขยะมูลฝอย ขยะทั่วไป และขยะอันตราย แยกจากกันเป็นสัดส่วน
จัดเก็บไว้ในที่รับรองที่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญก่อนนำไปกำจัด
- ผู้ประกอบการต้องควบคุมให้มีการดำเนินการนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไปยังสถานที่กำจัดที่แจ้งไว้โดยเร็ว
และต้องรับผิดชอบต่อเหตุใดๆที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความเสียหายต่อชีวิต
ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมทุกประการ
- ผู้ประกอบการต้องแสดงหลักฐาน สัญญา
หรือหนังสือยินยอมการรับกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของผู้จำกัดแต่ละรายประกอบการขออนุญาตทุกครั้ง
ประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 46/2541 เรื่องการกำหนดอัตราการปล่อยมลสารทางอากาศจากปล่องของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
- ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่ดำเนินการที่ก่อให้เกิดมลสารทางอากาศจะต้องดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่อง
- ผู้ประกอบการจะต้องจัดส่งผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศแก่ผู้จัดการนิคมอุตสาหกรรม
ทุก 6 เดือน
ประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 39/2549 เรื่องการกำหนดอัตราการปล่อยมลสารทางอากาศจากปล่องของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
(แก้ไขเพิ่มเติม)
- อัตราการระบายมลสารทางอากาศจากปล่องของโรงงานที่อนุญาตให้ระบายออกจากปล่องของโรงงานอุตสาหกรรมในแต่ละนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานซึ่งกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแต่ละนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
หรือสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
- ต้องไม่ครอบครองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วไว้ภายในโรงงานเกินระยะเวลา
60 วัน หากเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้
ต้องขออนุญาตต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้เฉพาะด้าน
ตามประกาศ
- กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดโรงงาน
กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแล
สำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2545 และต้องจัดฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
- ต้องจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน
ในกรณีเกิดเหตุรั่วไหล อัคคีภัย
การระเบิดของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือเหตุที่คาดไม่ถึง และต้องมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์รองรับเหตุฉุกเฉินภายในบริเวณโรงงานและมีเส้นทางหนีภัยไปยังที่ปลอดภัย
- ห้ามมิให้นำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ต้องส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายให้กับผู้รวบรวมและขนส่ง
หรือผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเท่านั้น
ในกรณีที่จะใช้บริการของผู้อื่นในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ต้องมีใบกำกับการขนส่ง
เมื่อมีการนำของเสียอันตรายออกนอกบริเวณโรงงานทุกครั้งและให้แจ้งข้อมูลการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทุกชนิดตามประกาศฉบับนี้ต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมโดยการแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- ต้องทำการตรวจสอบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
และต้องรับผิดชอบต่อภาระความรับผิด (liability) ในกรณีสูญหาย
เกิดอุบัติเหตุ การทิ้งผิดที่ หรือการลักลอบทิ้ง และการรับคืน เนื่องจากข้อขัดแย้งที่ไม่เป็นไปตามสัญญาการให้บริการระหว่างผู้ก่อกำเนิดและผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
จนกว่าผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจะรับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วนั้นไว้ในครอบครอง
- การนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เข้ามาหรือออกนอกราชอาณาจักร
ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
คณะผู้จัดทำ
คณะผู้จัดทำ
นางสาวนภาภรณ์
แซ่โหงว 5430160458
นางสาวลักษณารีย์
ศรีสุขใส 5430160679
นายวิฑิต
อรรจน์ชวลิต
5430160717
นางสาวสมิตา
เกียรติสารสกุล 5430160750
นางสาวสุชาดา ระวิวรรณ 5430160822
ความกว้างของถนนสายประธาน กับ แนวกันชน ไม่เท่ากับhttp://www.amatawater.com/upload/lawfile/Regulation%20of%20the%20Board%20of%20Directors%20of%20IEAT.pdf ไม่ทราบของใคร ถูกครับ ถนนกว้าง 25.00 ม. แนวกันชน 10.00 ม.ครับ
ตอบลบ