บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
แนะนำองค์กร
บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีเค” ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่
27 พฤศจิกายน 2515 ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้นำด้านธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและการพัฒนาการลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในประเทศอย่างครบวงจร
สิ่งนี้นับเป็นจุดเด่นของ ช.การช่าง ที่สร้างความแตกต่างโดยมีธุรกิจหลัก 2 ประเภท
คณะกรรมการบริษัทฯ มีบทบาท เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี
คณะกรรมการบริษัทมีการจัดการประชุมเพื่อพิจารณาทบทวนกลยุทธ์เป็นประจำทุก 5 ปี เพื่อพิจารณาทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม
และกลยุทธ์ของบริษัทให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด
วิสัยทัศน์
เป็นผู้นำด้านธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและการพัฒนาการลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในระดับภูมิภาคอย่างมีคุณภาพและครบวงจร
ค่านิยม (Q-C-I-S-T)
Quality of Services คุณภาพงานมีมาตรฐานสูง
Customer Satisfaction ความพึงพอใจของลูกค้า
Integrity ความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณในอาชีพ
Social and Environmental Responsibilities ความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ
Teamwork การทำงานเป็นทีม
พันธกิจ
-
สร้างผลงานอย่างมีคุณภาพสำหรับลูกค้า
มีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ ให้ผลตอบแทนที่ดีสำหรับผู้ถือหุ้น
และดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม
-
บริหารงานอย่างมืออาชีพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
-
มีความรับผิดชอบต่อชุมชน
สังคม และประเทศชาติ
-
พัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
กลยุทธ์
-
เลือกโครงการก่อสร้างที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ
โดยที่มีผลตอบแทนทางธุรกิจอย่างเป็นธรรม
-
บริหารงานโครงการก่อสร้างโดยยึดหลักการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ
ส่งมอบงานตรงเวลา และคุณภาพงานได้มาตรฐาน
-
สร้างพลังร่วมในธุรกิจก่อสร้าง
และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อบริหารความเสี่ยง
และเพิ่มผลตอบแทนระยะยาวต่อผู้ถือหุ้น
-
ขยายตลาดไปสู่ระดับภูมิภาค
โดยเน้นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-
พัฒนาศักยภาพในด้านทรัพยากรมนุษย์
และโครงสร้างการบริหารจัดการขององค์กร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
-
บริหารและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง
รวมถึงองค์ความรู้ให้แข่งขันได้เสมอ
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการบริษัท
คณะที่ปรึกษา
ลักษณะการดำเนินธุรกิจ
ธุรกิจก่อสร้าง
ช.การช่าง
ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นธุรกิจหลัก โดยจะรับงานก่อสร้าง
ทั้งจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
โดยมีทั้งการรับงานในลักษณะที่เป็นผู้รับเหมาโดยตรงและผู้รับเหมาช่วง
1. ผู้รับเหมาโดยตรง (Main Contractor)
ช.การช่าง จะรับงานก่อสร้าง
ด้วยวิธีการประกวดราคาและเจรจาต่อรองเป็นผู้รับเหมาจากเจ้าของโครงการโดยตรง
ซึ่งสามารถเสนองานในนามของบริษัท และเสนองานร่วมกับบริษัทต่างชาติที่มีความชำนาญตามข้อกำหนดของเจ้าของโครงการ
ในกรณีเป็นงานโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้าร่วมมือด้วย
2. ผู้รับเหมาช่วง (Sub-contractor)
ช.การช่าง จะรับงานโดยการรับจ้างจากผู้รับเหมาอื่นที่ได้รับงานโดยตรง
(Main Contractor) จากเจ้าของโครงการ
โดยส่วนใหญ่จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่และมีความสลับซับซ้อน
ซึ่งมักจะดำเนินงานโดยบริษัทต่างประเทศ โดยจะพิจารณารับเหมาช่วงเฉพาะจากบริษัทที่มีชื่อเสียงและฐานะการเงินมั่นคงทำให้
ช.การช่าง มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านวิศวกรรม กระบวนการผลิตต่างๆ
และการบริหารงานตลอดจนได้พันธมิตรทางการค้าที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินงานโครงการที่มีขนาดใหญ่
และต้องการเทคโนโลยีชั้นสูงยิ่งขึ้น ต่อไปในอนาคตได้
ธุรกิจสัมปทาน
ช.การช่าง จะเข้าร่วมประมูลโครงการเพื่อดำเนินงานในลักษณะของสัมปทานจากหน่วยงานภาครัฐ
ซึ่งจะเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศ
โดยรูปแบบการดำเนินการจะเป็นในลักษณะดังนี้
1. BOT (Build Operate and Transfer)
เอกชนได้รับสิทธิตามสัญญาสัมปทานจากรัฐบาลในการลงทุนก่อสร้างและดำเนินงาน
เพื่อหาผลตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งในระหว่างการดำเนินงานดังกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นจะเป็นของภาคเอกชน
แต่หลังจากการสิ้นสุดอายุสัมปทาน
กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่ลงทุนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาลเพื่อเป็นการตอบแทน เช่น บริษัท
เซาท์อีสท์ เอเชียเอนเนอร์จี จำกัด มีอายุสัมปทาน 25 ปี และบริษัท ไซยะบุรี
พาวเวอร์ จำกัด มีอายุสัมปทาน 29 ปี
2. BTO (Build Transfer and Operate)
เอกชนออกแบบ ลงทุน
และก่อสร้างสินทรัพย์
แล้วโอนกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ให้แก่รัฐบาลทันทีหลังจากการก่อสร้าง แล้วเสร็จ โดยเอกชนจะมีสิทธิ์ในการใช้ทรัพย์สินที่ตนเองลงทุนตามสัญญาสัมปทานในการดำเนินงานเพื่อหาผลตอบ
แทนภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยในช่วงเวลาที่บริษัทยังมีสิทธิ์ในการใช้สินทรัพย์ดังกล่าวตามระยะเวลาสัญญา
สัมปทาน มีการบันทึกสินทรัพย์ในรูปของสิทธิในการใช้และมีการตัดค่าเสื่อมตามอายุสัมปทาน
เช่น บริษัท ทางด่วน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีอายุสัมปทาน 30 ปี
3. BOO (Build Own and Operate)
เอกชนสร้างสิ่งก่อสร้างและบริหาร
โดยเป็นการลงทุนด้วยตัวเอง โดยเอกชนจะมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่ลงทุนแต่จะมีสัญญากับรัฐบาลในการรับรองรายได้ระยะยาว
โดยหน่วยงานรัฐจะเป็นผู้รับซื้อสินค้าตามช่วงเวลาในสัญญา และ
เมื่อหมดอายุสัมปทานที่ได้รับสินทรัพย์ดังกล่าวก็จะยังคงเป็นของบริษัทผู้ลงทุน
เช่น บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) มีอายุสัมปทาน 30 ปี
4. AOT (Acquire Operate and Transfer)
สัมปทานในลักษณะนี้ เอกชนจะได้รับสิทธิ์สัมปทานจากรัฐบาล
โดยภาคเอกชนจะมีการซื้อทรัพย์สินเข้ามาเป็นของบริษัท เช่น
รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล แล้วเอกชนจะมีการดำเนินงานเพื่อหาผลตอบแทนในระยะเวลาที่ได้ตกลงไว้กับภาครัฐบาล
หลังจากที่หมดสัญญาสัมปทานที่ได้ตกลงกันไว้ กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เอกชนลงทุนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาล
เช่น บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีอายุสัมปทาน 25 ปี
มาตรฐานการดำเนินงาน และรางวัล
การดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Operations that are environmentally friendly)
ในฐานะผู้รับเหมาก่อสร้างชั้นนำ และในฐานะผู้ลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศอย่างครบวงจร
ช.การช่าง มุ่งมั่นในการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ภายใต้การดำเนินงานที่เรียกว่า “GREEN
CONSTRUCTION” หรือ การก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการก่อสร้างของ
ช.การช่าง
ปี 2543 รางวัลดีเด่นในด้านลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มอบให้แก่สถานีลุมพินี กิจการร่วมค้า BCKT
ปี 2543 รางวัลชมเชยในด้านลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มอบให้แก่สถานีสุขุมวิท กิจการร่วมค้า BCKT
ปี 2544 รางวัลดีเด่นในด้านลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มอบให้แก่สถานีสามย่าน กิจการร่วมค้า BCKT
ปี 2546 บรรลุเป้าหมายด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้างสูงสุด
โดยมีชั่วโมงการทำงาน 5,000,000 ชั่วโมง
โดยไม่เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน ในโครงการประปานครปฐม – สมุทรสาคร
กิจการร่วมค้า TWCK
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(Corporate Rating)
อันดับเครดิตองค์กร
"BBB+"
บริษัท ทริสเรทติ้ง จัดอันดับองค์กรของ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
ที่ระดับ "BBB+" สะท้อนถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย
ผลงานโครงการก่อสร้างภาครัฐที่เป็นที่ยอมรับ
และรายได้ที่สม่ำเสมอจากการลงทุนในกิจการสัมปทาน
แนวโน้มอันดับเครดิต แนวโน้มอันดับเครดิต "Positive" หรือ "บวก"
ซึ่งสะท้อนถึงสัดส่วนภาระหนี้และความยืดหยุ่นทางการเงินของบริษัทที่ปรับตัวดีขึ้น
หลังการปรับโครงสร้างทางธุรกิจอันมีผลทำให้บริษัทสามารถรับรู้มูลค่าตลาดของหุ้นของ
บมจ.น้ำประปาไทย (TTW) ตลอดจนช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่หุ้นที่บริษัทถืออยู่ใน
บมจ.ซีเค พาวเวอร์ (CKP) และหมดความกังวลเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างต่อเนื่องแก่
บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(BMCL)
ระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality
Management System)
จากการบริหารงานโดยยึดนโยบายระบบคุณภาพและพัฒนางานตามมาตรฐานสากล
ทำให้บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9001 : 2008 ในธุรกิจออกแบบก่อสร้างและบริหารงานก่อสร้างด้าน
ถนน อาคาร สะพาน ภูมิสถาปัตย์ โครงสร้างใต้ดินและอุโมงค์ ทางพิเศษ
ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ สถานีไฟฟ้าย่อยและสายส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูง
การระเบิดหินและโรงโม่หิน การก่อสร้างงานท่อ ท่อน้ำมันรวมทั้งคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
การบินและระบบความคุม จากบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ถึง วันที่ 9
กุมภาพันธ์ 2560 และบริษัทยังคงยึดแนวทางการบริหารจัดการตามนโยบายคุณภาพอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อรักษามาตรฐานระดับสูงนี้ไว้สืบไป
รางวัลเขื่อนดีเด่นโลก (International
Milestone Concrete Dam Project)
โครงการเขื่อนน้ำงึม 2 ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2554 ได้รับรางวัล International Milestone Rockfill Dam Project หรือเขื่อนดีเด่นโลก ประเภทเขื่อนหินถมดาดคอนกรีต (Concrete Face Rockfill Dam - CFRD) ณ เมืองคุณหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถือเป็นโครงการที่ได้รับการคัดเลือกตามจากการใช้นวัตกรรม ทั้งในการก่อสร้างและการดำเนินงานที่ดีรวมทั้งบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีเลิศ
นโยบายด้านความปลอดภัย การดำเนินการเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเป็นปัจจัยของการบริหารงานก่อสร้าง
ที่ต้องทำควบคู่กับผลงานคุณภาพ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
ถือเป็นนโยบายที่ต้องการให้เป็นมาตรฐานสูงสุด
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและควบคุมการสูญเสียจากอุบัติเหตุให้มีประสิทธิภาพโดย
1.
มีความรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
2.
ให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องของโครงการถือว่าความปลอดภัยเป็นหน้าที่ของทุกคน
3.
ทุกกิจกรรมมีเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอยู่ในแผนงาน
4.
มีการประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน
5.
ส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยมีการฝึกอบรมให้ความรู้ที่เหมาะสม
6.
มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้เกิดความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
บริษัท
ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ตั้งใจที่จะดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้
โดยตั้งมั่นจะมีการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัย
ภายใต้กฎหมายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการบรรจุรายละเอียดไว้ในแผนการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยด้วย
พนักงานทุกคนตระหนักถึงการเอาใจใส่เรื่องดูแลรักษาสุขภาพและความปลอดภัยของตนและผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
นอกจากนั้น บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
ยังส่งเสริมให้ผู้บริหารมีความสนใจในเรื่องความปลอดภัยและชีวอนามัยด้วย
แนวคิด การดำเนินการ
การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากความห่วงใยต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้หลายองค์กรมีการกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ
เพื่อใช้ในการควบคุมการดำเนินงาน
ด้วยความตระหนักถึงการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ช.การช่าง
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าและมีความยั่งยืนในฐานะผู้รับเหมาก่อสร้างชั้นนำ
และในฐานะผู้ลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศอย่างครบวงจร
ช.การช่าง มุ่งมั่น ในการดำเนิน งานที่มีความรับผิดชอบและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ควบคู่ไปกับการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องด้วยหนึ่งในธุรกิจหลัก คือ
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้าง
ทั้งในเรื่องของ คุณภาพอากาศ ระดับเสียง การคมนาคม และ การจัดการขยะมูลฝอย
ภายใต้การดำเนินงานที่เรียกว่า “Green
Construction” หรือ การก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการก่อสร้างทุกโครงการของ ช.การช่าง
มีการจัดการวัสดุหลักที่ใช้ในการก่อสร้าง
โดยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีคุณค่าแต่ในขณะเดียวกันยังคงรักษามาตรฐานและคุณภาพในการก่อสร้างให้สูงที่สุด
1. วัสดุหลักที่ใช้ในการก่อสร้างและปริมาณการใช้
ช.การช่าง ได้ทำการจัดเก็บข้อมูลวัสดุหลักที่ใช้ในการดำเนินงานของบริษัท อาทิ
เหล็ก ปูน และน้ำมัน
เพื่อตรวจสอบถึงปริมาณการใช้งานและประเมินถึงความต้องการในปีต่อ ๆไป ซึ่ง
ช.การช่าง จะพยายามคัดเลือกวัสดุหลักที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดด้วยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีคุณค่าและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษามาตรฐานและคุณภาพในการก่อสร้างให้สูงที่สุดเช่นกัน
2. วัสดุหลักที่ใช้ในอาคารสำนักงานและปริมาณการใช้สำหรับสำนักงานใหญ่
วัสดุที่สำคัญในการดำเนินงาน คือ กระดาษซึ่งใน ปี 2556
ช.การช่าง มีการสั่งซื้อกระดาษ A4 เป็นน้ำหนักรวม12.9 ตัน ดังนั้น
จึงมีนโยบายในการใช้กระดาษให้ครบทั้งสองหน้าหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse)
และได้เข้าร่วมโครงการ Shred2Share กับ บริษัท
อินโฟเซฟ จำกัด ในเครือ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG มาตั้งแต่ในปี 2552 บริษัท อินโฟเซฟ
มีกระบวนการในการนำเอกสารที่ไม่ใช้แล้วมาย่อยทำลายตามมาตรฐานสากล แล้วนำไปรีไซเคิล
เพื่อนำไปผลิตเป็นกล่องกระดาษ โดยทุกๆ 1 ตัน
ของปริมาณกระดาษที่เก็บได้ อินโฟเซฟ จะสมทบทุนจำนวน 2,000
บาท เพื่อนำไปเป็นทุนการศึกษา และจัดซื้ออุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา
มอบให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
โครงการประหยัดพลังงานเพื่อลดการใช้พลังงาน
และการบริหารการจัดการน้ำ ทั้งน้ำประปาและน้ำบาดาล
ในปัจจุบัน พลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
ด้วยวิถีชีวิตในปัจจุบันทำให้มีความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในการบริหารการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งในการจัดทำรายงานในปี 2556 นี้รายงานถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าและปริมาณการใช้น้ำของสำนักงานใหญ่และศูนย์เครื่องจักรกล
โดยมีการดำเนินงานในเรื่องการบริหารจัดการพลังงาน ดังนี้
1.
โครงการประหยัดพลังงานของ
ช.การช่าง
2. ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
การใช้ไฟฟ้าของสำนักงานใหญ่
และศูนย์จักรกล ระหว่างเดือน มกราคม – ธันวาคม 2556 หน่วย: กิโลจูล
3.การบริหารจัดการน้ำ
- ปริมาณการใช้น้ำประปาของสำนักงานใหญ่
ระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม 2556
หมายเหตุ: เดือน พฤศจิกายน และ เดือน ธันวาคมเป็นค่าประมาณการ
-
ปริมาณการใช้น้ำประปาและน้ำบาดาลของศูนย์เครื่องจักรกลระหว่างเดือนมกราคม -
ธันวาคม 2556หมายเหตุ: ปริมาณการใช้น้ำประปาชองศูนย์จักรกล เริ่มเก็บในปี 2556 เป็นปีแรก
การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการก่อสร้าง
โดยมีมาตรการลดผลกระทบด้านฝุ่นละออง เสียง น้ำผิวดิน ขยะ
และมีการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานโครงการก่อสร้าง
ช.การช่างได้ถือปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอย่างเคร่งครัด
เพื่อควบคุมและบรรเทาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ที่เป็นสาเหตุจากการดำเนินงานก่อสร้าง
โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเทคนิคที่ทันสมัยมีมาตรฐานในระดับสูง
พร้อมทั้งการยึดถือปฏิบัติตามระบบบริหารงานคุณภาพตามระบบมาตรฐานสากล
ซึ่งว่าด้วยเรื่องของระบบการบริหารงานที่จะช่วยสร้างความพึงพอใจของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร
หรือ ISO9001/2008 และข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้องและเป็นข้อพึงปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล
ตลอดจนการกำหนดให้ฝ่ายบริหารโครงการของทุกโครงการ
จัดทำระบบการจัดการและแผนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยในการทำงาน
รวมถึงแผนการดูแลเพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยให้พนักงานทุกระดับได้ผ่านกระบวนการการอบรมความรู้
และมีระบบตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และจริงจัง
เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับพนักงาน ประชาชน และชุมชนใกล้เคียง โดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
ด้วยมาตรการและแผนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
1. การบรรเทาผลกระทบและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
ที่เป็นสาเหตุจากการดำเนินงานก่อสร้าง
โครงการก่อสร้างของ ช.การช่าง
ต้องมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด ทั้งพื้นที่ก่อสร้าง สำนักงานโครงการ
ที่เก็บวัสดุก่อสร้าง โดยแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาการศึกษาสิ่งแวดล้อมต่างกันขึ้นอยู่กับโครงการ
เช่น มีการศึกษาทุกเดือน มีการศึกษาทุกไตรมาส เป็นต้น
โดยมีตัวอย่างมาตรการในด้านต่างๆดังต่อไปนี้
มาตรการลดผลกระทบด้านฝุ่นละออง
1) จัดให้มีสิ่งรองรับวัสดุ
ซึ่งอาจจะตกหล่นจากการก่อสร้างที่ระดับเหนือพื้นดิน เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของวัสดุดังกล่าว
2) จัดให้มีการล้างล้อรถบรรทุกก่อนออกนอกพื้นที่ก่อสร้าง
3) กำหนดให้รถบรรทุกต้องมีการคลุมผ้าใบให้มิดชิดก่อนออกนอกพื้นที่ก่อสร้าง
4) กิจกรรมก่อสร้าง ได้แก่ การเปิดหน้าดิน
การรื้อถอนอาคาร การกองวัสดุ การขุดเจาะ
และการผสมคอนกรีตจะต้องกระทำภายในพื้นที่ที่มีรั้วทึบสูงอย่างน้อย 2 เมตร กั้นโดยรอบ
5) ต้องทำความสะอาดเศษดิน ทราย ที่ตกหล่นอยู่ภายนอกรั้ว
และฉีดล้างถนนที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้างโดยสม่ำเสมอ
6) สำหรับพื้นที่ก่อสร้างที่มีการเปิดผิวดิน
จะมีการฉีดพรมน้ำเป็นประจำเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่น
มาตรการลดผลกระทบด้านเสียง
1) ดำเนินกิจกรรมก่อสร้างที่ก่อให้เกิดเสียงดังในช่วงเวลา
6.00-22.00 น. และหากต้องดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องหลังเวลา 22.00 น.จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนใกล้เคียงทราบล่วงหน้า
2) กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบด้านเสียง เช่น
การติดตั้งกำแพงกันเสียงชั่วคราวรอบพื้นที่ก่อสร้าง
3) บริเวณที่ทำการเปิดหน้าดิน รื้อถอน
ทำลายสิ่งปลูกสร้าง กองวัสดุ อุปกรณ์ขุดเจาะ ผสมคอนกรีต
ต้องทำรั้วทึบรอบสถานที่ก่อสร้าง ความสูงจากพื้นดินต้องไม่น้อยกว่า 2.0 เมตรมาตรการลดผลกระทบด้านน้ำผิวดิน
มาตรการลดผลกระทบด้านน้ำผิวดิน
1) ติดตั้งบ่อพักหรือรางดักตะกอน เพื่อลดผลกระทบจากตะกอนแขวนลอย
ก่อนที่จะปล่อยออกสู่แหล่งน้ำ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า
2) จัดกิจกรรมก่อสร้างหนักในช่วงฤดูแล้ง เช่น
การปรับสภาพพื้นที่และการขุดดิน เป็นต้น
3) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วมบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง
และบ้านพักคนงาน พร้อมทั้งได้มีการติดตั้งระบบน้ำเสียสำเร็จรูป
เพื่อรองรับน้ำทิ้งจากคนงาน
4) จัดให้มีถังขยะประจำจุดต่างๆภายในพื้นที่ก่อสร้าง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่ก่อสร้าง
และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นประจำป้องกันการทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ
5) จัดการรวบรวมวัตถุอันตราย รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว และภาชนะปนเปื้อน โดยมีการควบคุมด้วยวิธีที่เหมาะสม
และนำไปกำจัดโดยวิธีที่ถูกสุขาภิบาล
2. การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ช.การช่าง
ได้มีการว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่าง
ๆ เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและศึกษาถึงผลกระทบต่าง ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงของการดำเนินงานก่อสร้าง โดยเน้นเฉพาะโครงการที่มีขนาดใหญ่
มีมูลค่างานสูง
ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาจะเป็นผู้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่งให้กับ ช.การช่าง และเจ้าของโครงการ
นอกจากนี้ จะมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมซึ่งมีทั้งหมด 4 คณะ ประกอบไปด้วย คณะกรรมการจากเจ้าของงานฝ่ายสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการจากบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม
และฝ่ายจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของ ช.การช่าง มาติดตามตรวจสอบทุกๆเดือน
อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
ว่าโครงการก่อสร้างแต่ละโครงการมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบหรือไม่
หากเพิกเฉย ไม่พยายามที่จะทำการแก้ไขปรับปรุงหลังจากได้มีการแจ้งเตือนแล้ว 3 ครั้ง ทางคณะกรรมการฯจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนและค่อนข้างรุนแรง เช่น
การเปลี่ยนผู้บริหารที่รับผิดชอบ
หรือให้ระงับการก่อสร้างไว้ก่อนจนกว่าปัญหาดังกล่าวจะได้รับปรับปรุง ซึ่งในปี 2556 ยังไม่พบโครงการก่อสร้างของ ช.การช่าง
ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
โดยมาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบผลการ
ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
จะอ้างอิงตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ดังนี้
1. คุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป
- ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
(พ.ศ.2538) เรื่อง
กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป
ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม112 ตอน 42 ง ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2538
- ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24
(พ.ศ.2547) เรื่อง
กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป
ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม121 ตอนพิเศษ 104 ง ลงวันที่ 22 กันยายน 2547
2. ระดับเสียงโดยทั่วไป
- ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15
(พ.ศ.2540) ลงวันที่ 12
มีนาคม 2540 เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 27 ง ลงวันที่ 3 เมษายน 2540
3. คุณภาพน้ำผิวดิน
- ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2537 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนพิเศษ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537
ข้อพิพาททางกฎหมาย
สำนักข่าวไทย 24 มิ.ย.-ศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องคดี ที่เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง
8 จังหวัด ฟ้อง กฟผ. และ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนไซยะบุรี
ใน สปป.ลาว ขณะที่ กฟผ.ระบุ พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ข้อเรียกร้องของประชาชน มี 3 ข้อ คือขอให้พิจารณาว่า การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งในและระหว่างประเทศ กฟผ.และหน่วยงานของรัฐกระทำการโดยมิชอบ และไม่แจ้งข้อมูลไม่เปิดรับฟังความคิดเห็น และไม่ศึกษาผลกระทบทางสังคม สุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่ศาลรับฟ้องคดีเฉพาะข้อหาที่ 3 จึงให้ทั้ง 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย กฟผ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และคณะรัฐมนตรี ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยให้เปิดรับฟังความเห็นของประชาชน ซึ่งนายสุนชัย คำนูญเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ.พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครอง ระบุที่ผ่านมาการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมการก่อสร้างเป็นหน้าที่ของ สปป.ลาว ยืนยันโครงการนี้ส่งผลดีกับทั้ง 2 ประเทศ ทั้งระบบเศรษฐกิจ ทำให้ค่าไฟฟ้าต่ำลง และช่วยเสริมความมั่นคงพลังงานของไทย.-สำนักข่าวไทย
การประเมินผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
วันที่ 24 มิ.ย.57 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งแก้คำสั่งศาลปกครองชั้นต้นในคดีที่กลุ่ม"เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง " รวมทั้งผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คน ขอให้ยกเลิกสัญญาที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กับพวกรวม 5 รายทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี สปป.ลาว รวมถึงให้ทำ EHIA ก่อน
บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ (26 มิ.ย.) ว่า บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ยืนยันลุยก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีตามปกติ แม้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้จัดทำใบอนุญาตสภาพแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ก่อนทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี โดย CK ยืนยันว่า ขณะนี้การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรียังคงดำเนินการไปตามปกติ ปัจจุบันคืบหน้าไปกว่า 30% แล้ว ซึ่งในส่วนของการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ก่อนหน้านี้ CK ก็ได้ดำเนินการเพิ่มเติมแล้ว อาทิ การรักษาทรัพยากรปลาโดยสร้างช่องทางให้ปลาผ่าน การก่อสร้าง Spillway เพื่อสามารถระบายตะกอนซึ่งเป็นอาหารสัตว์น้ำ เป็นต้น ฝ่ายวิจัยฯ ได้มีการสอบถามบริษัทโดยตรงพบว่าการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรียังดำเนินการต่อคู่ขนานไปกับการจัดทำ EHIA เพิ่ม แม้จะได้รับผลกระทบให้งานล่าช้าบ้างแต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อย และทางบริษัทเชื่อว่าจะแล้วเสร็จทันก่อนที่จะมีการเริ่มขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ.ซึ่งตามสัญญาคือ ต.ค.62
ทางทีมกลยุทธ์ ฝ่ายวิจัยฯเห็นว่า การก่อสร้างโครงการใหญ่มักจะมีปัญหาอยู่แล้วเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะเขื่อนไซยะบุรีที่ไปเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยแม่น้ำโขงในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต
อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองสูงสุดให้รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คนเฉพาะข้อหาที่ 3 ในส่วนที่ผู้ฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 5 ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และมติของรัฐบาล รวมทั้งการแจ้งข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลอย่างเหมาะสม การรับฟังความคิดเห็นอย่างเพียงพอและจริงจัง การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม (EHIA) ไว้พิจารณา อนึ่ง ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้รับคำฟ้องกรณียกเลิกการซื้อไฟฟ้า
รัฐบาลลาว ไทย กัมพูชา วางแผนสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลักตอนล่างทั้งสิ้น 12 โครงการ เขื่อนไซยะบุรีเป็นเขื่อนแรกที่ดำเนินการก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ซึ่งตัวเขื่อนอยู่ในแขวงไซยะบุรี ประเทศลาว ห่างจากเมืองหลวงพระบางไปทางใต้ประมาณ 80 กม. และอยู่เหนือ อ. เชียงคาน จ. เลย เพียง 200 กม. เขื่อนมีกำลังการผลิต 1,285เมกะวัตต์ และ 95% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขายให้ กฟผ.
บริษัทที่ลงทุนก่อสร้างเขื่อนนี้ได้แก่ ช.การช่างที่ ถือหุ้น 30% บริษัท นที ซินเนอร์จี้(บริษัทลูกของปตท.)ถือหุ้น 25% บริษัท EDL ถือหุ้น 20%, บริษัทเอกโก้( EGCO)ถือหุ้น 12.5%, บริษัท BECL ถือหุ้น 7.5%, รวมทั้ง PT Construction and Irrigation Co. Ltd. ถือหุ้น 5 %
ผลประกอบการในไตรมาสแรกของปี 2557 ของโครงการไซยะบุรี ขาดทุนสุทธิ 343 ล้านบาท
ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการไซยะบุรี มี 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทิสโก้ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า(EXIM)
ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด(มหาชน) ให้ความเห็นในกรณีนี้ว่า การฟ้องร้องนี้ เป็นการฟ้องร้องระหว่างประชาชนกับกฟผ. ไม่ได้ฟ้องร้อง CK โดยตรง ศาลรับคำร้องเฉพาะในส่วนที่ให้ผู้ถูกฟ้อง (กฟผ. และหน่วยงาน 5 ราย) ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) ของโครงการ ส่วนเรื่องการซื้อขายไฟฟ้า ศาลไม่มีคำสั่งให้ยกเลิกแต่อย่างใด
การรับคำร้อง หมายถึง ศาลจะพิจารณาไต่สวนอีกครั้งในเรื่องประเด็นการทำ EHIA ซึ่งจะเป็นการพิจารณารายละเอียดข้อมูลของทั้งสองฝ่าย (ประชาชน VS กฟผ.) ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกระยะ ซึ่งเราไม่ทราบถึงระยะเวลาการพิจารณา
ผลกระทบต่อ ช.การช่าง(CK)
หากตั้งสมมติฐานแบบ Worse case ว่า CK จำเป็นต้องหยุดการก่อสร้างระหว่างที่มีการพิจารณาของศาลเพราะมีประเด็นเรื่องการทำ EHIA ก็จะเป็นไปตามสมมติฐานWorse case ที่เราได้รายงานไปก่อนหน้า ดังนี้
1. กรณีต้องหยุดก่อสร้างระหว่างรอศาลพิจารณา ซึ่งจะทำให้ต้องหยุดรับรู้รายได้ก่อสร้างโครงการไซยะบุรีที่เราคาดว่าจะรับรู้ประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาทต่อปี จะส่งผลให้
2. รายได้ก่อสร้างของบริษัทปี 2014 จะลด 16% (รับรู้ไซยะบุรีเฉพาะ 1H14) และปี 2015 จะลด 32% จากคาดการณ์เดิม
3. กำไรปกติปี 2014-15 จะลดลง 25% และ 42% จากเดิมเป็น 658 ล้านบาท (-28.4% Y-Y) และ 542 ล้านบาท (-17.7% Y-Y)
4. ราคาเป้าหมายปี 2014 จะลดเป็น 23.50 บาท (จาก 24.50 บาท) และราคาเป้าหมายปี 2015 จะอยู่ที่ 22.75 บาท (จาก 25.60 บาท) ซึ่งราคาเป้าหมายที่ลดลงนั้นใกล้เคียงกับราคาปัจจุบัน จึงยังถือได้
ผลกระทบของกลุ่มธนาคาร
ปัจจุบันโครงการได้ก่อสร้างไปแล้วราว 30% จากเงินลงทุนทั้งหมดราว 7 หมื่นลบ. หรืออาจคิดเป็นสินเชื่อที่ธนาคารปล่อยไปแล้วราว 2 หมื่นลบ. คิดเป็น 0.2% ของสินเชื่อรวม
ในกรณีที่สินเชื่อดังกล่าวถูกจัดชั้นเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) และต้องตั้งสำรองหนี้สูญครบทั้งจำนวน ทั้งนี้บนสมมติฐานส่วนแบ่งการปล่อยสินเชื่อของทั้ง 6 ธนาคารในอัตราเท่ากัน (ยกเว้น TISCO ซึ่งปล่อยได้สูงสุด 6 พันลบ.) เราคาดว่าจะกระทบต่อประมาณการ TISCO มากที่สุด รองลงมาตามลำดับคือ ธนาคารกรุงไทย(KTB),ธนาคารกรุงเทพ(BBL),ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) และธนาคารไทยพาณิชย์(SCB)
ผลกระทบของ PTT
ผลกระทบแทบไม่มีนัยสำคัญ เพราะผลประกอบการของโครงการไซยะบุรีคิดเป็นเพียง 0.3% ของผลประกอบการของ PTT
ผลกระทบการสร้างเขื่อนไซยะบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น