ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๕๐
การประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน
ส่วนที่
๑
การประสานงานเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สาธารณะ
ข้อ ๑๑ ในกรณีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
หรือได้รับแจ้งจากองค์กรเอกชนหรือบุคคลใดว่ามีการกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
เป็นเหตุให้เกิดภยันตรายต่อสาธารณชนอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ
ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองเพื่อระงับเหตุแห่งความเสียหายตามอำนาจหน้าที่โดยทันที
เช่น การสั่งปิดหรือพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือการสั่งให้หยุดใช้
หรือทำประโยชน์ด้วยประการใด ๆ เพื่อระงับเหตุแห่งความเสียหายนั้น
และหากมีความจำเป็นจะต้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานและให้แจ้งให้ศูนย์ข้อมูลทราบโดยไม่ชักช้า
กรณีที่องค์กรเอกชนหรือบุคคลใด พบว่าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งจะก่อให้เกิดความ
เสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
ให้แจ้งศูนย์ข้อมูลทราบเพื่อพิจารณาหามาตรการในการระงับเหตุแห่งความเสียหายเพิ่มเติมในกรณีที่ศูนย์ข้อมูลเห็นว่า
มาตรการที่ใช้เพื่อการระงับเหตุแห่งความเสียหายของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่งไม่เพียงพอ
ให้ศูนย์ข้อมูลเสนอมาตรการให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการตามที่ศูนย์ข้อมูลเสนอ
ให้ศูนย์ข้อมูลรายงานให้รัฐมนตรีผู้กำกับดูแลหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
และกป.วล. ทราบโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือภยันตรายต่อสาธารณชน
อันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ ที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษในเขตกรุงเทพมหานคร
ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือ
ผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี
ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีในการสั่งการภายในเขตจังหวัด ตามมาตรา ๙
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕แล้ว
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี
ติดตามดูแลให้บุคคลที่
เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีโดยเคร่งครัดและรายงานให้ศูนย์ข้อมูลทราบโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่เหตุฉุกเฉินหรือภยันตรายดังกล่าวเกิดขึ้นในหลายจังหวัดคาบเกี่ยวกัน ให้
กป.วล.
รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบเพื่อให้พิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไปให้ศูนย์ข้อมูลมีหน้าที่ติดตาม
และรายงานผลการปฏิบัติตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามวรรคหนึ่งให้
กป.วล. ทราบ
ข้อ ๑๓ ในกรณีบุคคลที่เกี่ยวข้องฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีตามข้อ
๑๒ ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประสานงานกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแล้วแต่กรณี
ในเขตจังหวัดอื่น
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานงานกับผู้บังคับการตำรวจภูธรประจำจังหวัด
เพื่อดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งนั้น
และรายงานให้ศูนย์ข้อมูลทราบโดยไม่ชักช้า
และให้ศูนย์ข้อมูลรายงานผลการดำเนินคดีให้ กป.วล. ทราบทุกระยะ
มาตรา
๑๔
เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจขอความร่วมมือจากผู้เสียหาย องค์กรเอกชน
หรือบุคคลใดเพื่อ
(๑) สืบเสาะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
(๒)
ค้นหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอื่นๆ
มาตรา ๑๕
ให้โรงพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
รักษาพยาบาลประชาชนที่ได้รับอันตรายจากภาวะมลพิษที่เกิดขึ้นโดยเร็ว
โดยมีมาตรฐานในการบริการไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
ส่วนที่
๒
การประนอมข้อพิพาท
มาตรา
๑๖
หากคู่กรณีที่เกี่ยวข้องประสงค์จะตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นด้วยวิธีประนอม
ข้อพิพาท ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการประนอมข้อพิพาท
การประสานงานคดี
ส่วนที่
๑
การประสานงานในชั้นสอบสวน
ข้อ ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการติดตามการดำเนินคดีอาญาในชั้นการสอบสวนให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อมีการทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อม ให้ปฏิบัติดังนี้
๑. ในกรณีที่มีการทำผิดกฎหมายแล้วไม่มีผู้กล่าวโทษหรือร้องทุกข์ให้กรมควบคุมมลพิษกล่าวโทษตามกฎหมายโดยเร็ว
๒. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
พนักงานสอบสวนอาจขอคำแนะนำหรือคำปรึกษา ขอทราบข้อมูลข่าวสาร
หรือขอให้ส่งสิ่งอื่นๆที่สามารถใช้เป็นหลักฐานในสำนวนคดีจากหน่วยงานของรัฐ
องค์กรเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุลคลอื่นได้
ในกรณีจำเป็นพนักงานสอบสวนจะขอคำปรึกษาจากพนักงานอัยการเพื่อให้ความเห็นหรือคำแนะนำตามความเหมาะสม
๓. เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษรายงานความจริงให้ศูนย์ข้อมูลทราบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเร็ว
เว้นแต่ความจริงที่ใช้เป็นหลักฐานของคดีในสำนวนที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล
หรือความจริงที่หากเปิดเผยแล้วทำให้
ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายลดลง
ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายลดลง
ในกรณีที่องค์กรเอกชน หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบรายงานให้ศูนย์ข้อมูลทรายเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเร็ว
๔.ให้ศูนย์ข้อมูลติดตามผลการดำเนินคดีอาญาในชั้นสอบสวนอย่างใกล้ชิด
หากพบว่าพนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบไม่ดำเนินการในเวลาที่เหมาะสมให้ส่งข้อมูลรายงานต่อคณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
หรือกป.วล. เพื่อติดตามผลต่อไป
ข้อ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีในกรณีที่ไม่ทราบว่าหน่วยงานใดของรัฐในจังหวัดมีหน้าที่ต้องประสานงานกับพนักงานสอบสวนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและคำวินิจฉัยชี้ขาดนั้นให้เป็นที่สุด
หากการวินิจฉัยชี้ขาดตามวรรค ๑ ไม่สามารถทำได้เพราะ ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ชี้ขาดในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือเพราะเหตุอื่น ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ศูนย์ข้อมูลทราบเพื่อให้ กป.วล. วินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็วและคำวินิจฉัยชี้ขาดนั้นให้เป็นที่สุด
หากการวินิจฉัยชี้ขาดตามวรรค ๑ ไม่สามารถทำได้เพราะ ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ชี้ขาดในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือเพราะเหตุอื่น ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ศูนย์ข้อมูลทราบเพื่อให้ กป.วล. วินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็วและคำวินิจฉัยชี้ขาดนั้นให้เป็นที่สุด
ส่วนที่
๒
การประสานงานคดีอาญาชั้นพนักงานอัยการ
ข้อ ๑๙ ในการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
เมื่อพนักงานอัยการได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนแล้ว ทั้งนี้พนักงานสอบสวนต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับพนักงานอัยการ
เพื่อว่าหากมีคำสั่งให้ดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือการส่งพยานมาให้การซักถาม
พนักงานสอบสวนก็จะต้องดำเนินการดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
ข้อ ๒๐ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดี
ก่อนคดีหมดอายุความ
เมื่อพนักงานอัยการเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ยังเรียกหรือจับตัวตัวไม่ได้
โดยแจ้งพนักงานสอบสวนผ่านทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ข้อ ๒๑ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ดำเนินคดีอย่างเร่งด่วนตามคำสั่งของพนักงานอัยการ
ในกรณีที่มีคำสั่งให้ดำเนินการสอบสวนผู้ต้องหาในข้อหาอื่นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความผิดอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม
ข้อ ๒๒ ให้พนักงานอัยการประสานงาน ให้ความรู้
ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แจงข้อบกพร่อง วิธีป้องกันแก้ไข
ตลอดจนให้บริการด้านกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก่พนักงานสอบสวน หน่วยงานของรัฐ เจ้าพนักงานท้องถิ่น องค์กรเอกชน
และประชาชนในจังหวัด
ข้อ ๒๓ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ประสานกับผู้เสียหายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกแก่พนักงานอัยการ และศาลในกรณีมีการไปสืบพยานนอกสถานที่
ข้อ ๒๔ พนักงานอัยการต้องดำเนินการตามระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุดอย่างเร่งด่วน
ในกรณีที่ผู้เสียหายขอทราบผลการดำเนินคดีในศาลอันถึงที่สุด
หรือคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีพร้อมด้วยเหตุผลของคำสั่งดังกล่าว
ในกรณีที่การดำเนินคดีในศาลยังไม่ถึงที่สุดหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการ
ให้พนักงานอัยการเปิดเผยรายละเอียดหรือข้อมูลเท่าที่เห็นว่าไม่เป็นการเสียหายแก่การดำเนินคดีในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ข้อ ๒๕ ในการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
เมื่อคดีถึงที่สุดให้พนักงานอัยการแจ้งผลคดีแก่ศูนย์ข้อมูลโดยเร็ว
และให้ศูนย์ข้อมูลแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีทราบต่อไป
ส่วนที่
๓
การประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ข้อ ๒๖ ในการดำเนินคดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่คุ้มครอง
ส่งเสริม
อนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายที่ได้รับความเสียหาย
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ข้อมูลข้อเท็จจริง จำนวนผู้เสียหาย พยานหลักฐานต่างๆ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิดความเสียหาย
หากหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหาย
ไม่สามารถดำเนินการได้ภายใน ๓๐ วัน
ให้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
หรือ กป.วล. ผ่านศูนย์ข้อมูลเพื่อขอขยายเวลา ซึ่ง กป.วล. จะขยายเวลาให้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน
ข้อ ๒๗ การรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานดังกล่าวตามข้อ ๒๖
ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหาย
เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมพิสูจน์หาข้อเท็จจริงและรวบรวพยานหลักฐานเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำนวนผู้เสียหาย มูลค่าความเสียหายและพยานหลักฐานอื่น
รวมทั้งประสานงานกับสำนักงานอัยการสูงสุดในการวางรูปคดี
ข้อ ๒๘ การพิสูจน์ความเสียหายตามข้อ ๒๗
ต้องดำเนินการโดยเร็ว
ในกรณีที่ความเสียหายหรือผลกระทบใดไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยแน่ชัด ให้ดำเนินการพิสูจน์โดยอ้างอิงการพิสูจน์ทางวิชาการ
หรือรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๒๙ ในการรวบรวมข้อเท็จจริงตามข้อ ๒๖
หากมีกรณีจำเป็นให้เชิญผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเข้าชี้แจงหรือให้ข้อมูลด้วย
ข้อ ๓๐ ให้หน่วยงานของรัฐตามข้อ ๒๖
แจ้งผลให้ศูนย์ข้อมูลทราบภายใน ๑๐ วันนับแต่วันที่รวบรวมข้อเท็จจริง ค่าเสียหายและพยานหลักฐานแล้วเสร็จ
และให้ศูนย์ข้อมูลติดตามผลการดำเนินคดีอันเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อรายงานต่อ
คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือ
กป.วล. ทุกระยะด้วย
ข้อ ๓๑ กรณีที่การพิสูจน์ค่าเสียหายมีค่าใช้จ่าย
ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของหน่วยงานของรัฐตามข้อ ๒๖
หากเงินงบประมาณไม่เพียงพอ
ให้ใช้เงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือเงินบริจาคจากองค์กรการกุศล
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่มีหน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหายหลายหน่วยงานในเขตท้องที่เดียวกันหรือในหลายท้องที่
ให้ทุกหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายส่งเรื่องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาตามระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุดโดยเร็ว
ในกรณีที่ไม่มีหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดรับเป็นตัวแทนยื่นเรื่องจากทุกหน่วยงานที่ได้รับความเสียหาย ให้ศูนย์ข้อมูลนำเรื่องเสนอ
คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
หรือ กป.วล.
เพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่โดยเร็ว
ข้อ ๓๓ เมื่อหาตัวผู้รับผิดชอบความเสียหายและจำนวนมูลค่าความเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนได้แล้ว
ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายรีบส่งเรื่องไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาโดยเร็ว
ส่วนที่
๔
การดำเนินและการบังคับคดี
ข้อ ๓๔ หากหน่วยงานรัฐที่ได้รับความเสียหาย
จะฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม
นอกเหนือจากค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายที่สามารถเรียกร้องได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว
ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวพิสูจน์ถึงค่าเสียหายดังต่อไปนี้
๑. ค่าเสียหายที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม
๒. ค่าเสียหายที่เกิดจากการใช้งบประมาณของรัฐหรือจากแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อใช้ในการบำบัดฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
๓. ค่าเสียโอกาสในการนำงบประมาณหรือเงินทุนอื่นที่เกิดจากข้อ 2 ไปลงทุนในโครงการอื่นเพื่อสังคมโดยรวม
๔. ค่าเสียหายที่รัฐต้องมีภาระในการดูแลสุขภาพ ร่างกายและอนามัยของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
๕. ค่าเสียหายต่อเนื่องอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
๒. ค่าเสียหายที่เกิดจากการใช้งบประมาณของรัฐหรือจากแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อใช้ในการบำบัดฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
๓. ค่าเสียโอกาสในการนำงบประมาณหรือเงินทุนอื่นที่เกิดจากข้อ 2 ไปลงทุนในโครงการอื่นเพื่อสังคมโดยรวม
๔. ค่าเสียหายที่รัฐต้องมีภาระในการดูแลสุขภาพ ร่างกายและอนามัยของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
๕. ค่าเสียหายต่อเนื่องอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ข้อ ๓๕ ในการดำเนินคดี
หากหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้รับเรื่องพิจารณาเห็นว่ามีเหตุจำเป็นที่จะบรรเทาความเดือดร้อนหรือคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ได้รับความเสียหาย
หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวรีบแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาการใช้วิธีการคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา
หรือบังคับตามคำพิพากษา
ข้อ ๓๖ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
ให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้รับเรื่องรายงานผลคดีไปยังศูนย์ข้อมูลอย่างรวดเร็ว
และเร่งติดตามบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ถึงที่สุด จากนั้นให้รายงานผลการบังคับคดีไปยังคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง
ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงการคลัง และรายงานให้สำนักอัยการสูงสุดทราบเป็นระยะ
แต่หาก หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้รับเรื่องดำเนินการติดตามบังคับคดีล่าช้ามากเกินไป
ให้ศูนย์ข้อมูลรายงานไปยัง “คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม” หรือ “ กป.วล.”
เพื่อพิจารณาต่อไป
ข้อ ๓๗ เพื่อเป็นประโยชน์ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล
สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้รับเรื่องขอความร่วมมือจากผู้อำนวยการหรือหัวหน้าสำนักงานเขตสาขา
ส่วนในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
ให้ขอความร่วมมือจากนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
เพื่อสืบหาทรัพย์สินของผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
แล้วแจ้งพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไป
ตัวอย่างบริษัท
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัท
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
ตัวอย่างบริษัท : บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น