บริษัท
พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน)
ประวัติบริษัท
บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน2536 โดยนายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ เพื่อประกอบธุรกิจพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ประเภท บ้านทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว และอาคารชุด
ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 50 ล้านบาท ทั้งนี้นายทองมา
วิจิตรพงศ์พันธุ์ ได้นำความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจ รับเหมาก่อสร้างให้แก่ทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับการมีทีมผู้บริหารมืออาชีพ และการว่าจ้างที่ปรึกษา
จากบริษัทชั้นนำของประเทศในการพัฒนาระบบสนับสนุนต่าง ๆ รวมถึงการปรับกลยุทธ์
อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้บริษัทฯ มีผลการ ดำเนินงานที่มีกำไรตลอด
แม้ในช่วงที่เกิดวิกฤต หรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทฯ
ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยพัฒนาโครงการ ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ในต่างจังหวัดที่มีศักยภาพ และการเจริญเติบโตสูงและในต่างประเทศ
วิสัยทัศน์
พฤกษา
“พฤกษา มุ่งมั่นที่จะเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจลูกค้า ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย และก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 10 แบรนด์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของทวีปเอเชีย ด้วยการสรรค์สร้างที่อยู่อาศัย ที่มีคุณค่า เพื่อทุกครอบครัวได้สัมผัสความสุข ความอบอุ่น และชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆวัน”
“พฤกษา มุ่งมั่นที่จะเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจลูกค้า ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย และก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 10 แบรนด์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของทวีปเอเชีย ด้วยการสรรค์สร้างที่อยู่อาศัย ที่มีคุณค่า เพื่อทุกครอบครัวได้สัมผัสความสุข ความอบอุ่น และชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆวัน”
พันธกิจ
พฤกษา
เรามุ่งมั่นช่วยเหลือลูกค้าทุกราย เติมเต็มทุกความฝันได้เป็นเจ้าของบ้านที่มีคุณค่า เพื่อชีวิตเปี่ยมสุขทุกครอบครัว
เรามุ่งมั่นช่วยเหลือลูกค้าทุกราย เติมเต็มทุกความฝันได้เป็นเจ้าของบ้านที่มีคุณค่า เพื่อชีวิตเปี่ยมสุขทุกครอบครัว
รางวัลแห่งความภูมิใจ
บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท มุ่งมั่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ฝัน
อยากจะมีบ้าน เป็นของตนเอง ด้วยปณิธานนี้ บริษัทฯ ได้รับการยอมรับจากกลุ่มลูกค้า
นักลงทุน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ มากมาย
และด้วยผลงานอันเป็นประจักษ์ ต่อสาธารณชน ทำให้ บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท ได้รับรางวัลอันเป็นเกียรติยศแห่งความสำเร็จ
และความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจเพื่อสร้าง ความเจริญก้าวหน้าให้กับสังคมและประเทศชาติ
ตัวอย่างรางวัลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและความรับผิดชอบต่อสังคมที่ได้รับในปี
2013
|
|
เป็นรางวัลดีเด่น ที่มอบให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯที่โดดเด่นในด้านการดำเนิน
ธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม จากงาน SET AWARD 2013 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยพิจารณามอบให้ เพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับภาคธุรกิจอื่นๆ
|
รางวัล "CSRI
Recognition" จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม
(CSRI) เพื่อประกาศเกียรติคุณให้กับบริษัทฯ ที่สามารถเป็นแบบอย่างดีแก่บริษัทจดทะเบียน
หน่วยงาน อื่นๆ และสาธารณชนทั่วไป โดยบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลประเภททั่วไป
ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของ บริษัท
พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัยสำคัญในการวางรากฐานความเป็นอยู่ทางสังคม ด้วยเป็นลักษณะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการดำรงชีวิต
อันได้แก่ ที่อยู่อาศัย
ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สะท้อนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม ดังนั้น
พฤกษา
ในฐานะเป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีและพัฒนาเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืน
แต่ในอีกมิติหนึ่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ต้องมีการใช้ทรัพยากรในกิจกรรมแต่ละขั้นตอนค่อนข้างมาก
ทั้งวัสดุก่อสร้าง การใช้ทรัพยากรน้ำ การใช้ที่ดิน รวมไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งระหว่างการก่อสร้างและหลังการก่อสร้าง
และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับพื้นที่โดยรอบโครงการทั้งชุมชนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น
ในการดำเนิน ธุรกิจ ของบริษัทฯ
จึงได้ตระหนัก ถึง ความสำคัญในการดูแลรักษาและลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม โดยในการพัฒนาโครงการแต่ละครั้ง
จะมีการประเมินผลกระทบต่างๆ มีมาตรการและการตรวจติดตามรวมถึง การนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ จึงได้มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ทั่วทั้งองค์กรอย่างชัดเจน
รวมไปถึงแนวการบริหารจัดการ การติดตามวัดผลเพื่อตรวจประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
เพื่อผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่น่าพอใจต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม
นโยบายและแนวการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
นโยบายและแนวการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
การประหยัดพลังงานและลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างจะมุ่งเน้นวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
เช่น การยกเลิกการใช้วัสดุมุงหลังคาที่ทำมาจากใยหิน การเลือกใช้วัสดุสำเร็จรูปที่ประกอบมาจากโรงงานและนำมาติดตั้งที่หน่วยงานก่อสร้างทันทีเพื่อประหยัดพลังงานและลดกระบวนการต่างๆ
ที่จะทำให้เกิดมลภาวะในสถานที่ก่อสร้าง
นอกจากนี้ การที่บริษัทฯ ลงทุนในด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัย
โดยในปี 2556 บริษัทฯ มีแผนลงทุนสร้างโรงงานพฤกษาพรีคาสต์ใหม่
ใช้งบลงทุนประมาณ 2,100 ล้านบาท เพื่อผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในการก่อสร้าง
ส่งผลดีอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณเมืองและพื้นที่ก่อสร้างเพราะทำให้ไม่มีการผสมคอนกรีตที่หน่วยงานก่อสร้าง
ช่วยลดเวลาในการก่อสร้างทำให้ผลกระทบของมลภาวะทางอากาศลดลง เนื่องจากมีปริมาณฝุ่นละอองและไอเสียจากรถบรรทุกและเครื่องจักรลดลง
ขณะเดียวกันมลภาวะทางเสียงต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ข้างเคียงลดลงด้วย
การบริหารจัดการคุณภาพน้ำ
ในโครงการที่อยู่อาศัยของบริษัทฯ ทุกโครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสีย บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐานก่อนระบายน้ำลงสู่คูคลองสาธารณะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนการผลิตของโรงงานพฤกษาพรีคาสต์ซึ่งใช้เครื่องจักรอัตโนมัติที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มมาตรฐานและคุณภาพที่มากขึ้น มีการดำเนินมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนรอบข้าง และสุขอนามัยของคนงาน
การป้องกันและลดผลกระทบด้านเสียงในโรงงาน
บริษัทฯ คำนึงถึงระดับความดังของเสียงในขณะปฏิบัติงาน จึงได้ติดตั้งผนังกันเสียง (Noise Barrier) และเครื่องเขย่าคอนกรีตแบบลดมลภาวะทางเสียง
(Compacting Concrete) เพื่อช่วยควบคุมและลดระดับความดังของเสียงที่อาจส่งผลกระทบต่ออาชีวอนามัยของพนักงานปฏิบัติงานและชุมชนใกล้เคียง
การบริหารจัดการของเสียที่เหลือจากกระบวนการผลิต
บริษัทฯ คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากของเสียที่เหลือจากกระบวนการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กรูป
เช่น เศษน้ำมันที่เหลือจากโต๊ะหล่อแบบ เป็นต้น จึงได้นำระบบหรือเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในกระบวนการผลิต
เพื่อลดปริมาณของเสียที่อาจเกิดขึ้น ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการนำเศษน้ำมัน หรือของเสียอื่นๆ
ไปทำลายหรือทิ้งภายนอก รวมทั้งดำเนินการจัดการของเสียตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานราชการ
การบริหารจัดการน้ำทิ้งของ Batching Plant
น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็ก
เมื่อผ่านการล้าง Mixer Batching Plant จะมีค่าความเป็นด่างสูง
ทำให้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงทำบ่อตกตะกอน เพื่อนำน้ำที่ผ่านกระบวนการตกตะกอนแล้วกลับไปใช้ใหม่หมุนเวียนภายในโรงงาน
และนำกากที่ได้จากบ่อตกตะกอนไปถมที่ดินหรือถมถนน
ตารางแสดงผลความก้าวหน้าในการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำทิ้ง
|
การบริหารจัดการวัสดุ
จากการที่บริษัทฯ นำเทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมาใช้
เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการก่อสร้างของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจากประเทศเยอรมนี
ในการผลิตชิ้นส่วนจากโรงงานพฤกษา พรีคาสต์ ไปประกอบเป็นบ้านที่โครงการก่อสร้าง ทำให้มีการบริหารจัดการวัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·
การใช้เหล็กเสริม
โรงงาน พฤกษา พรีคาสต์ ได้นำระบบการผลิตเหล็กเสริม
แบบ Automated Mesh Welding Plant มาใช้งานทำให้การผลิตเหล็กเสริมสำหรับการผลิตชิ้นงาน
พรีคาสต์ ทุกแผ่น ถูกต้อง แม่นยำ สมบูรณ์ ทุกชิ้นงาน และสามารถลด Waste การใช้เหล็กเสริม ทำให้มีการใช้วัสดุสำหรับการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
· การใช้ซีเมนต์
ในการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กรูปของบริษัทฯ
ในแต่ละปี กำลังการผลิตจะแปรผันตามยอดขายบ้านในแต่ละปี โดยวัสดุหลักที่ใช้ใน กระบวนการผลิต
คือ ปูนซีเมนต์ ซึ่งมีสถิติปริมาณการใช้ ดังนี้
ผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม โรงงานพฤกษา พรีคาสต์
จากความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ณ โรงงานพฤกษา พรีคาสต์ บริษัทฯ สามารถสรุปผลการตรวจวัดคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเด็นได้ดังต่อไปนี้
จากความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ณ โรงงานพฤกษา พรีคาสต์ บริษัทฯ สามารถสรุปผลการตรวจวัดคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเด็นได้ดังต่อไปนี้
ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณพื้นที่ทำงาน
สถานที่ตรวจ
|
ปริมาณฝุ่นละอองรวมทุกขนาด (Total Dust) : หน่วย mg/m3
|
|||||
ค่ามาตรฐาน
|
2552
|
2553
|
2554*
|
2555
|
2556
|
|
โรงงานพฤกษา พรีคาสต์ 1
|
15
|
0.72
|
0.57
|
N/A
|
0.109
|
0.761
|
โรงงานพฤกษา พรีคาสต์ 5
|
15
|
N/A
|
N/A
|
N/A
|
1.67
|
1.09
|
หมายเหตุ :
มาตรฐานประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520
* ปี 2554 โรงงาน PCF 1 และ PCF 5 ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจึงไม่ได้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศ
มาตรฐานประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520
* ปี 2554 โรงงาน PCF 1 และ PCF 5 ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจึงไม่ได้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศ
ผลการตรวจวัดระดับความดังของเสียงบริเวณพื้นที่ทำงาน
สถานที่ตรวจ
|
ระดับความดังของเสียง (Noise Level Leq 8 Hrs) : หน่วย dB(A)
|
|||||
ค่ามาตรฐาน
|
2552
|
2553
|
2554*
|
2555
|
2556
|
|
โรงงานพฤกษา พรีคาสต์ 1
|
90
|
N/A
|
88.6
|
N/A
|
77.1
|
77.1
|
โรงงานพฤกษา พรีคาสต์ 5
|
90
|
N/A
|
N/A
|
N/A
|
80.1
|
80.1
|
หมายเหตุ:
มาตรฐานประกาศกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549
* ปี 2554 โรงงาน PCF 1 และ PCF 5 ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจึงไม่ได้มีการตรวจวัดระดับความดังของเสียง
มาตรฐานประกาศกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549
* ปี 2554 โรงงาน PCF 1 และ PCF 5 ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจึงไม่ได้มีการตรวจวัดระดับความดังของเสียง
การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการขนส่ง
การขนส่งวัสดุอุปกรณ์ในธุรกิจก่อสร้างเป็นส่วนงานสนับสนุนกิจกรรมทางธุรกิจที่สำคัญของบริษัทฯ
ให้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ในภาพรวม และอาจเป็นการดำเนินงานที่มีส่วนกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมได้ด้วยเช่นกัน
บริษัทฯ จึงได้นำแนวคิดเรื่อง “การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ”
ซึ่งเป็นแนวคิดจากการประกวด SGA (กิจกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆจากการคิดริเริ่มของพนักงาน)
มาใช้ในการดำเนินงานด้านการขนส่งผลิตภัณฑ์รั้วของบริษัทฯ เพื่อลดจำนวนเที่ยวในการขนส่ง
โดยคิดหาวิธีที่จะทำให้ปริมาณการขนส่งต่อเที่ยวสามารถบรรทุกวัสดุได้มากขึ้น ส่งผลให้จำนวนเที่ยวในการขนส่งลดลง
ซึ่งการดำเนินงานลักษณะนี้ นอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมัน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรพลังงานทางธรรมชาติที่สำคัญ
แล้วยังช่วยบริษัทฯ ลดต้นทุนการขนส่งในปี 2556 ลงได้ มากถึง
2.34 ล้านบาท ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของบริษัทฯ ในการริเริ่มแนวคิดการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กร
และเป็นแนวคิดที่เกิดจากการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน
ตารางเปรียบเทียบการขนส่ง ก่อน และ
หลัง การปรับปรุง
การดำเนินงาน
|
จำนวนเที่ยวการขนส่ง (เที่ยว) / ปี
|
ต้นทุนการขนส่ง (ล้านบาท)
|
ก่อนปรับปรุง
|
1,335
|
5.07
|
หลังปรับปรุง
|
668
|
2.74
|
ค่าใช้จ่ายที่ประหยัด
|
667
|
2.34
|
หมายเหตุ :
การเพิ่มน้ำหนักในการขนส่งผลิตภัณฑ์รั้ว/เที่ยว น้ำหนักรวม 16 ตัน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด
25 ตัน
Technology Roadmap
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมของบริษัทฯ
ส่งผลสำคัญในการเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจได้อย่างมาก อาทิ
การก่อสร้างด้วยระบบ Precast ที่ทำให้บริษัทฯ
เติบโตเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้ในปัจจุบัน บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้พัฒนาและสร้างสรรค์
Technology Roadmap ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เทคโนโลยีระหว่างหน่วยงานโดยทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน
รวมถึงเทคโนโลยีสำคัญที่มีศักยภาพในอนาคต เพื่อนำมาคัดเลือก ประเมิน และกำหนดเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้
เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจ ดังนี้
1. Process Technology ได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เช่น
· เทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยแบบหล่อในที่ระบบอุโมงค์ (Tunnel Form System)
· เทคโนโลยีก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนผนังและพื้นสำเร็จรูป (Precast Concrete System)
· เทคโนโลยีการก่อสร้างบ้านแบบระบบอุตสาหกรรม (Real Estate Manufacturing)
· เทคโนโลยีการทำโมเดลรายละเอียดอาคาร
(Building Information Modeling)เทคโนโลยีเพื่อเสริมศักยภาพของระบบ
Precast ที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา เช่น Precast Knock-Down
System, Prefab Bathroom System, และ Lighted Weight
Concrete
2. Product Technology แผนงานพัฒนาเทคโนโลยีในด้านผลิตภัณฑ์
ซึ่งสร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์แนวโน้ม ความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้ ในด้านต่าง ๆ
· เทคโนโลยีที่ช่วยในการประหยัดพลังงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Revolution)
· บ้านที่รองรับสังคมผู้สูงอายุ บ้านที่คำนึงถึงการใช้สอยของคนทุกช่วงอายุ (Health Society)
· เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต เช่น บ้านที่สามารถควบคุมระบบไฟฟ้า
เปิดปิดไฟ ได้ดังใจผ่านทางโทรศัพท์มือถือ (Digital
Lifestyle)
· เทคโนโลยีที่เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น เทคโนโลยีที่แจ้งเตือนและลดอุบัติเหตุ
จากการพลัดตกจากที่สูง (Safety Concern)
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย
บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยของบริษัทฯมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ที่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) เพื่อวิเคราะห์ ประเมินผลกระทบ และกำหนดมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบโครงการซึ่งบริษัทฯได้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการที่อยู่อาศัยโดยแบ่งออกเป็น
3 ระยะ ดังนี้
ก่อนก่อสร้างโครงการ
บริษัทฯ มีการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบโครงการทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
และสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ อาทิ ฝุ่นละออง มลพิษทางอากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน การพังทลายของดิน
การบำบัดน้ำเสีย การระบายน้ำ การจัดการขยะมูลฝอย ไฟฟ้า น้ำเสีย การจราจร เป็นต้น
ซึ่งมีการตรวจวัดประเมินผลกระทบ กำหนดแผนการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ระหว่างการก่อสร้างโครงการ
ตลอดระยะเวลาของการก่อสร้างโครงการ
บริษัทฯ ได้ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพ เปรียบเทียบผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
และมีการสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและข้อเสนอแนะส่งให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันพิจารณา และมีการวัดผลกระทบต่อคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
และต่อคุณค่าคุณภาพชีวิต
ช่วงดำเนินโครงการ
บริษัทฯ ดำเนินการตรวจวัดและประเมินผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางชีวภาพ
ผลกระทบต่อคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และผลกระทบต่อคุณค่าคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ในปี 2556 มีโครงการที่อยู่อาศัยของบริษัทฯ จำนวน 2
โครงการ ได้แก่ โครงการบ้านพฤกษา 80 ชลบุรี และคอนโดมิเนียม
The Tree Bang Po Station ที่มีการดำเนินงานการก่อสร้างโครงการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
โดยมีมาตรการและผลการดำเนินงานที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
ตัวอย่างการดำเนินงานของโครงการบ้านพฤกษา 80
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
|
มาตรการป้องกันและแก้ไข
|
การติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
|
ผลการดำเนินงาน
|
คุณภาพอากาศ และฝุ่นละออง
|
- จำกัดความเร็วของรถบรรทุกวัสดุก่อสร้าง
ขณะแล่นเข้าออกพื้นที่โครงการ ให้มีความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- ใช้ผ้าใบ หรือวัสดุที่คล้ายกันกั้นตัวอาคาร
โดยยึดติดกับนั่งร้านด้านนอก
ให้มีความสูงเท่ากับความสูงของอาคารขณะก่อสร้างตลอดแนวอาคาร
เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและเศษวัสดุก่อสร้าง
- ปลูกต้นไม้ใหญ่
ตามที่ได้ออกแบบไว้เพื่อช่วยดูดซับปริมาณก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์
ที่เกิดจากรถยนต์ภายในโครงการ
|
-
มีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง
|
- เกิดฝุ่นละอองสูงสุด 0.007 มก./ลบ.ม.
(ผลรวมปริมาณคุณภาพอากาศ เท่ากับ 0.093 มก./ลบ.ม. ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศ
- ต้นไม้ที่ปลูกภายในโครงการ ช่วยลด CO ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ในโครงการได้ทั้งหมด
|
เสียงและความสั่นสะเทือน
|
-
ควบคุมดูแลการก่อสร้างให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
เพื่อให้เกิดการรบกวนชุมชนน้อยที่สุด
- จัดให้มีรั้วทีมรอบแนวเขตที่ดินสูงไม่น้อยกว่า
6 เมตร
-
กำหนดแผนงานก่อสร้างและวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม อาทิ
จัดให้เครื่องจักรที่มีเสียงดังทำงานในเวลากลางคืน
จัดให้มีวิศวกรคอยตรวจสอบและควบคุมอย่างใกล้ชิด
ไม่ทำกิจกรรมที่ส่งเสียงดังพร้อมกันในเวลาเดียวกัน
- จัดหาอุปกรณ์ป้องกันเสียงให้แก่คนงานและจำกัดระยะเวลาทำงานที่สัมผัสกับระดับเสียง
|
-
มีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดเสียงตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง
|
-
ระดับเสียงจากการก่อสร้างโครงการอยู่ในช่วงค่ามาตรฐานระดับเสียงเฉลี่ย (Leg)
24 ชั่วโมง 50.5 dB(A) และไม่เกินคำระดับเสียงสูงสุด
(Lmax)
|
ทรัพยากรดินและการชะล้างพังทลายของดิน
|
- ตอกเข็มกันพัง (SHEET PILE) และทำการค้ำยัน (BRACING)
เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของผนังด้านข้าง
โดยเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะถอนเข็มกันพังและกลบร่องดินโดยการบดอัดดินให้แน่นทันที
- จัดทำรั้ว หรือกำแพงที่มีความสูงอย่างน้อย 2.0
เมตร ล้อมรอบบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อป้องกันการพังทลายของดินออกสู่ภายนอก
|
- ตรวจสอบสภาพผนังกับดิน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ตลอดช่วงก่อสร้างโครงการ
|
-
มีผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของดินออกสู่ภายนอกสูงสุด = 0.116 ตัน/ไร่/ปี
ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ (ระดับที่ยอมรับต้องไม่เกิน 5 ตัน/ไร่/ปี)
จึงไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อการพังทลายของดิน
|
การจัดการน้ำเสีย
|
- จัดให้มีวิศวกรสุขาภิบาล หรือช่างเทคนิค
เพื่อควบคุมและปรับปรุงคุณภาพระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพตลอดเวลา
-
ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียแยกจากระบบไฟฟ้าส่วนอื่น เพื่อตรวจสอบควบคุมให้มีการเดินระบบน้ำเสียตลอดเวลา
-
จัดให้มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียอยู่เสมอ
|
-
เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้วยวิธีมาตรฐาน เดือนละ 1 ครั้ง
|
- น้ำเสียของโครงการที่ผ่านการบำบัดแล้ว มีค่า BOD
ออกไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร จึงไม่ส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อคุณภาพน้ำ
|
การกำจัดขยะมูลฝอย
|
- จัดให้มีถังขยะ ที่มีความแข็งแรงทนทาน
มีฝาปิดมิดชิด สามารถรองรับขยะได้ไม่น้อยกว่า 3 วัน
เพื่อรอให้รถเก็บขยะมาจัดเก็บต่อไป
|
- มีการตรวจบริเวณที่ตั้งถังขยะมูลฝอย
ห้องพักมูลฝอยทั้งแห้งและเปียกตลอดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
|
- มีปริมาณมูลฝอย 2 ประเภท คือ
มูลฝอยจากกิจกรรมทางการก่อสร้างและมูลฝอยจากกิจกรรมของคนงาน
ซึ่งจากการที่มีมาตรการป้องกันและจัดการขยะที่ดี ทำให้ไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญ
|
หมายเหตุ :
(1) ค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2538) และฉบับที่
24 (พ.ศ. 2547) เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป
(2) ค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ.
2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป
(3) ค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร
(4) ค่ามาตรฐานตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) และ 51 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
จากการปฏิบัติตามมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ของโครงการ ซึ่งผลการปฏิบัติตามมาตรการฯ ดังแสดงรายละเอียดในแผนการดำเนินการและตารางสรุปผลการปฏิบัติข้างต้น
ทำให้การดำเนินโครงการของบริษัทฯ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมใดๆ ทั้งในด้านการจัดการน้ำ
ด้านเสียง การกำจัดขยะมูลฝอย มีการบริหารจัดการได้ดี และจากการปลูกต้นไม้ใหญ่ และจัดทำพื้นที่สีเขียว
ทำให้สภาพแวดล้อมสวยงามช่วยป้องกันและลดผลกระทบมลภาวะทางอากาศได้เป็นอย่างดี สร้างพื้นที่สีเขียวในบริเวณพื้นที่ให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
การส่งเสริมการป้องกันของบริษัท พฤกษา
เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน)
บริษัทฯ ลงทุนในด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัย ส่งผลดีอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณเมืองและพื้นที่ก่อสร้างช่วยลดเวลาในการก่อสร้างทำให้ผลกระทบของมลภาวะทางอากาศลดลง
เนื่องจากมีปริมาณฝุ่นละอองและไอเสียจากรถบรรทุกและเครื่องจักรลดลง ขณะเดียวกันมลภาวะทางเสียงต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ข้างเคียงลดลงด้วย ทำให้บริษัทเกิดขึ้นงานขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
ผลงานของบริษัท
ทาวน์เฮ้าส์ / บ้านแฝด
|
บ้านเดี่ยว
|
คอนโดมิเนียม
|
|||||
·
บ้านพฤกษา
|
·
บ้านพฤกษา
|
·
ซิตี้วิลล์
|
|||||
·
เดอะคอนเนค
|
·
พฤกษาวิลเลจ
|
·
ไอวี่
|
|||||
·
พฤกษาวิลล์
|
·
เดอะแพลนท์
|
·
เดอะซี๊ด
|
|||||
การบริหารจัดการคุณภาพน้ำ
ได้ดำเนินการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐานก่อนระบายน้ำลงสู่คูคลองสาธารณะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งใช้เครื่องจักรอัตโนมัติที่ทันสมัย
เพื่อเพิ่มมาตรฐานและคุณภาพที่มากขึ้น
ตารางแสดงผลความก้าวหน้าในการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเสียง
การป้องกันและลดผลกระทบด้านเสียงในโรงงาน
บริษัทฯ คำนึงถึงระดับความดังของเสียงในขณะปฏิบัติงาน จึงได้ติดตั้งผนังกันเสียง (Noise Barrier) และเครื่องเขย่าคอนกรีตแบบลดมลภาวะทางเสียง
(Compacting Concrete) เพื่อช่วยควบคุมและลดระดับความดังของเสียงที่อาจส่งผลกระทบต่ออาชีวอนามัยของพนักงานปฏิบัติงานและชุมชนใกล้เคียง
การบริหารจัดการน้ำทิ้งของ Batching Plant
น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็ก
เมื่อผ่านการล้าง Mixer Batching Plant จะมีค่าความเป็นด่างสูง ทำให้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ จึงทำบ่อตกตะกอน เพื่อนำน้ำที่ผ่านกระบวนการตกตะกอนแล้วกลับไปใช้ใหม่หมุนเวียนภายในโรงงาน
และนำกากที่ได้จากบ่อตกตะกอนไปถมที่ดินหรือถมถนน
ตารางแสดงผลความก้าวหน้าในการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำทิ้ง
|
การบริหารจัดการของเสียที่เหลือจากกระบวนการผลิต
บริษัทฯ คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากของเสียที่เหลือจากกระบวนการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กรูป
เช่น เศษน้ำมันที่เหลือจากโต๊ะหล่อแบบ เป็นต้น จึงได้นำระบบหรือเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในกระบวนการผลิต
เพื่อลดปริมาณของเสียที่อาจเกิดขึ้น ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการนำเศษน้ำมัน หรือของเสียอื่นๆ
ไปทำลายหรือทิ้งภายนอก
ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับบริษัท
บริษัท
พฤกษา จำกัด(มหาชน)ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ล่าสุด
คณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม เปิดเผยผลการประชุมคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม ว่า
บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท มีความผิดจริงตามที่ลูกบ้านร้องเรียน
และจี้ให้ดำเนินคดีกับบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท
ในกรณีไม่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะสร้างบ้านก่อนขาย
และปล่อยน้ำเสียออกจากทั้ง 5 โครงการ ลงในคลองชลประทาน
โดยจากการตรวจวัดคุณภาพน้ำพบว่า โครงการบ้านพฤกษา
บี มีการปล่อยน้ำทิ้งมีค่าบีโอดี (ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ : Biochemical Oxygen Demand : BOD) ปริมาณ
47.6 มิลลิกรัมต่อลิตร (Mg/l) หมู่บ้านพฤกษา
13 พบค่าบีโอดี ปริมาณ 39.6 มิลลิกรัมต่อลิตร
(Mg/l) หมู่บ้านพฤกษา 9 พบค่าบีโอดี
ปริมาณ 37.6 มิลลิกรัมต่อลิตร (Mg/l) โครงการบ้านภัสสร
12 พบค่าบีโอดี ปริมาณ 38.2 มิลลิกรัมต่อลิตร
(Mg/l) และหมู่บ้านราชพฤกษ์ 1 พบค่าบีโอดี
ปริมาณ 57.6 มิลลิกรัมต่อลิตร (Mg/l) ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกคำสั่งทางปกครองให้ปรับและห้ามมิให้ปล่อยน้ำเสียลงสู่คลองสาม
นอกจากนั้น
ยังเห็นควรให้เชิญอธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี สาขาคลองหลวง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม
ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัทพฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
ผู้ร้องเรียน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการฯ
เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว
มาตรการการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับบริษัทพฤกษา
บริษัทฯ ควรจัดหาบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านระบบบำบัดน้ำเสีย
เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสีย
รวมถึงกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ดำเนินการควบคุม ตรวจสอบ
ดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ของระบบบำบัดน้ำเสียในโครงการที่อยู่อาศัยให้ได้มาตรฐานและพร้อมใช้งาน
ตลอดจนตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง และจัดทำรายงานสรุปผลการบริหารจัดการคุณภาพน้ำ รายงานการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง
และข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเสนอต่อบุคคลหรือองค์กรที่มีส่วนได้เสีย อาทิ
องค์การบริหารส่วนตำบล กรมชลประทาน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น